ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ

บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะบริษัทที่ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นบริษัทในเครือของบีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTSG ชื่อเดิมคือบริษัท ธนายง) และยังเป็นผู้ดำเนินการโครงการรถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร-ราชพฤกษ์ และรถไฟฟ้าสายสีทองอีกด้วย

ประวัติและการดำเนินงาน

แก้

บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2535 โดยนายคีรี กาญจนพาสน์ เพื่อดำเนินการตามสัมปทานของบริษัทธนายง ในการก่อสร้างและให้บริการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนยกระดับในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นโครงการที่อยู่ในระหว่างการวางแผนในขณะนั้น ก่อตั้งขึ้นในรูปแบบของบริษัทร่วมทุน โดยมีพันธมิตรหลัก ได้แก่ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท ซิโต และ บริษัท ไดเคอร์ฮอฟ แอนด์ วิทแมน บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในปี พ.ศ. 2539 แต่หลังจากเกิดวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งในปี พ.ศ. 2540 บริษัทประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก จึงต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการและการปรับโครงสร้างหนี้ในช่วงปี พ.ศ. 2549-2551 ในปี พ.ศ. 2553 บริษัทธนายงเปลี่ยนชื่อเป็น บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ และเข้าซื้อหุ้นในบีทีเอสซีคิดเป็นสัดส่วน 94.6% ทำให้บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบีทีเอสซี[1][2]

ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพดำเนินงานรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งเปิดให้บริการเมื่อปี พ.ศ. 2542 เป็นผู้ได้รับสัมปทานในการดำเนินงานรถไฟฟ้าบีทีเอสสายแรกของกรุงเทพฯ ครอบคลุมเส้นทางจากสถานีหมอชิตถึงสถานีอ่อนนุช (สายสุขุมวิท) และสถานีสนามกีฬาแห่งชาติถึงสถานีสะพานตากสิน (สายสีลม) ซึ่งบริษัทเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด และได้ขยายเส้นทางรถไฟฟ้าเพิ่มเติมภายใต้สัญญาสัมปทานกับกรุงเทพมหานคร (ผ่านบริษัท กรุงเทพธนาคม) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) นอกจากนี้ยังดำเนินการรถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร-ราชพฤกษ์ ซึ่งเปิดให้บริการเพียงสายเดียวในปี 2553 และรถไฟฟ้าสายสีทอง ซึ่งเปิดให้บริการในปี 2563 อีกด้วย[3][4][5]

อ้างอิง

แก้
  1. Bangkok Mass Transit System PCL (2016). "แบบ 56-1 ปี 2558/59 แบบ 56-1 ปี 2558/59 บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ส่วนที่ 1 : การประกอบธุรกิจ" (PDF). Securities and Exchange Commission. สืบค้นเมื่อ 29 December 2020.
  2. Kittikanya, Charoen (19 November 2016). "Riding to the rescue". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 29 December 2020.
  3. Advertising partner (15 August 2018). "Mass-transit propels BTS Group's success (advertorial)". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 29 December 2020.
  4. ศศิวรรณ โมกขเสน (1 August 2018). "ย้อนดูสัมปทานบีทีเอส เป็นมาอย่างไรแล้วจะอยู่ด้วยกันไปอีกกี่ปี". The Momentum. สืบค้นเมื่อ 29 December 2020.
  5. "Gold Line set for October opening". Bangkok Post. 18 June 2020. สืบค้นเมื่อ 29 December 2020.