ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 หรือ มิตรภาพมอเตอร์เวย์ เป็นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองที่กำลังก่อสร้าง ขนาด 4–6 ช่องจราจร เชื่อมต่อจากกรุงเทพมหานครไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เส้นทางเริ่มต้นจากอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไปสิ้นสุดที่จังหวัดหนองคาย โดยเริ่มก่อสร้างช่วงบางปะอิน–นครราชสีมาเป็นช่วงแรก เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559[1] มีกำหนดการเปิดใช้บริการประมาณปี พ.ศ. 2568[2][3] มีระยะทางในช่วงนี้ประมาณ 196 กิโลเมตร ทางหลวงพิเศษสายนี้มีลักษณะเส้นทางขนานไปกับถนนพหลโยธินและถนนมิตรภาพ
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 | |
---|---|
มิตรภาพมอเตอร์เวย์ | |
ข้อมูลของเส้นทาง | |
ส่วนหนึ่งของ ![]() ![]() | |
ความยาว: | 195.943 กิโลเมตร (121.753 ไมล์) |
ประวัติ: | เริ่มก่อสร้าง พ.ศ. 2559 |
ทางแยกที่สำคัญ | |
ปลายทางทิศตะวันตก: | ![]() |
| |
ปลายทางทิศตะวันออก: |
|
ระบบทางหลวง | |
ประวัติแก้ไข
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 เป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายเส้นทางในแผนแม่บทระบบทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ปี พ.ศ. 2540 ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 ประกอบด้วยโครงการก่อสร้างเส้นทาง 3 สายต่อเนื่องกัน (ระยะทางตามมติคณะรัฐมนตรีปี 2540) ได้แก่ สายบางปะอิน–นครราชสีมา, สายนครราชสีมา–ขอนแก่น และสายขอนแก่น–หนองคาย ทั้ง 3 เส้นทางนี้จะมีระยะทางรวมกัน 535 กิโลเมตร โดยทางหลวงพิเศษสายบางปะอิน–นครราชสีมา เป็นโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 ที่เริ่มดำเนินการเป็นโครงการแรกซึ่งมี พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน
รายละเอียดของเส้นทางแก้ไข
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 ประกอบด้วยโครงการก่อสร้างเส้นทาง 3 สายต่อเนื่องกัน ได้แก่
- บางปะอิน–นครราชสีมา ระยะทาง 196 กิโลเมตร (กำลังก่อสร้าง เปิดใช้ปลายปี พ.ศ. 2565)
- นครราชสีมา–ขอนแก่น ระยะทาง 169 กิโลเมตร (อยู่ในขั้นตอนศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อม[4])
- ขอนแก่น–หนองคาย ระยะทาง 160 กิโลเมตร
บางปะอิน–นครราชสีมาแก้ไข
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 ช่วงบางปะอิน-ปากช่อง เริ่มต้นจากปลายถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันออก) ที่อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เบี่ยงออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ คู่ขนานไปกับถนนพหลโยธินทางฝั่งเหนือ ผ่านจุดตัดโครงการทางหลวงพิเศษหมายเลข 5 สายบางปะอิน–นครสวรรค์ ผ่านพื้นที่อำเภอวังน้อย อำเภออุทัย และเข้าสู่จังหวัดสระบุรีที่อำเภอหนองแค ผ่านบ้านหินกองและเบนไปทางทิศตะวันออกเล็กน้อย จากนั้นตัดถนนพหลโยธินแล้วใช้เขตทางและซ้อนทับไปกับทางเลี่ยงเมืองสระบุรีด้านตะวันออก ที่อำเภอเมืองสระบุรี ก่อนแยกออกจากแนวทางเลี่ยงเมือง ตรงไปผ่านบ้านห้วยแห้ง แล้วขนานกับถนนมิตรภาพทางฝั่งใต้ ผ่านอำเภอแก่งคอย ตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3222 (แก่งคอย–บ้านนา) ผ่านบ้านโคกกรุง ผ่านด้านเหนือของวิทยาลัยเกษตรสงเคราะห์สระบุรี เข้าสู่เขตพื้นที่นิคมสร้างตนเองทับกวาง แล้วเข้าสู่เขตพื้นที่อำเภอมวกเหล็ก จากนั้นเข้าสู่เขตจังหวัดนครราชสีมา ตัดผ่านพื้นที่บ้านคั่นตะเคียน บ้านกลางดง ตัดผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2220 (ทางเข้าวัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม) ตัดผ่านบริเวณบ้านหนองน้ำแดง ผ่านพื้นที่เขตทหาร ไปสิ้นสุดเส้นทางบริเวณอำเภอปากช่อง รวมระยะทางประมาณ 109 กิโลเมตร
เส้นทางช่วงปากช่อง-นครราชสีมา ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว อำเภอสูงเนิน อำเภอขามทะเลสอ และอำเภอเมืองนครราชสีมา โดยแนวเส้นทางส่วนใหญ่เป็นถนนตัดใหม่และใช้แนวเส้นทางถนนมิตรภาพบางส่วน เริ่มจากจุดสิ้นสุดเส้นทางตอนที่ 1 ที่อำเภอปากช่อง โดยเส้นทางขนานไปกับถนนมิตรภาพและห่างออกมาทางทิศใต้ ประมาณ 2 กิโลเมตร ตัดบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 2 ของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2090 (ถนนธนะรัชต์) จนกระทั่งถึงกิโลเมตรที่ 115 แนวเส้นทางจะเลี้ยวเข้าขนานกับถนนมิตรภาพในรูปแบบถนนระดับดิน จากนั้นบริเวณก่อนถึงอ่างเก็บน้ำลำตะคองจะเปลี่ยนเป็นรูปแบบทางยกระดับเหนือถนนมิตรภาพไปจนถึงหน้าเรือนจำคลองไผ่ จากนั้นจะเบี่ยงออกไปขนานกับถนนมิตรภาพฝั่งเหนือ และลดลงสู่ระดับดินบนแนวเส้นทางตัดใหม่ มุ่งหน้าสู่อำเภอสีคิ้ว ตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 ผ่านอำเภอสูงเนินและอำเภอขามทะเลสอ ตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2068 และ 2198 ไปสิ้นสุดเส้นทางบริเวณทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 204 ในพื้นที่อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา รวมระยะทางประมาณ 87 กิโลเมตร
การเปิดทดลองใช้งานชั่วคราวในช่วงเทศกาลแก้ไข
เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการมอบหมายให้นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และกรมทางหลวง พิจารณาการเปิดทดลองใช้งานชั่วคราว ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 ในบางตอนที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ และตรวจรับงานแล้ว เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ที่จะเดินทางกลับภูมิลำเนาในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2564 พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 (โควิด-19) ในประเทศไทย ณ ขณะนั้น มีแนวโน้มที่ดีขึ้น.[5]
โดยตอนที่สามารถเปิดให้ทดลองใช้งานชั่วคราวได้นั้น คือตอนที่ 24-37 ช่วงถนนมิตรภาพ กิโลเมตรที่ 65 บริเวณศูนย์พักพิงสุนัขชัยบุรินทร์ อ.ปากช่อง ถึง ทางแยกต่างระดับสีคิ้ว (ทล.201) อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ระยะทางประมาณ 35 กิโลเมตร. โดยเปิดให้ทดลองใช้งานตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน - 19 เมษายน พ.ศ. 2564 โดยการใช้ช่องจราจรเดินรถในเส้นทาง จะใช้ช่องจราจรฝั่งขาเข้ากรุงเทพฯ เพียงฝั่งเดียว เนื่องจากช่องจราจรฝั่งขาออก จะสงวนไว้สำหรับรถฉุกเฉิน กรณีมีเหตุฉุกเฉินในเส้นทาง. ในส่วนทิศทางการเดินรถในเส้นทาง จะแบ่งออกเป็นดังนี้ วันที่ 9 - 13 เมษายน พ.ศ. 2564 เปิดทดลองใช้งานทิศทางขาออก และวันที่ 14 - 19 เมษายน พ.ศ. 2564 เปิดทดลองใช้ทิศทางขาเข้า.[6]
หลังจากที่เปิดทดลองใช้งานชั่วคราวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2564 มีปริมาณรถเข้าใช้งานเส้นทางรวม 206,105 คัน สามารถแบ่งเบาภาระการจราจรของถนนมิตรภาพ ช่วง อ.ปากช่อง ถึง อ.สีคิ้ว ได้ประมาณ 20 - 30% โดยได้รับเสียงตอบรับจากผู้ทดลองใช้เส้นทางเป็นจำนวนมาก และในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 (โควิด-19) ในประเทศไทย มีแนวโน้มดีขึ้น อาจมีการขยายเส้นทางการทดลองใช้งาน จากเดิม ถึง อ.สีคิ้ว (ทล.201) ขยายเส้นทางไปถึงทางแยกต่างระดับเลี่ยงเมืองนครราชสีมา (ทล.204) ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ประกอบการเปิดทดลองใช้เส้นทางด้วย.[7][8]
ด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางแก้ไข
ตลอดเส้นทางเป็นระบบปิด (Close System) มีอาคารเก็บค่าผ่านทางทั้งหมด 9 แห่ง ได้แก่ ด่านบางปะอิน ด่านวังน้อย ด่านหินกอง ด่านสระบุรี ด่านแก่งคอย ด่านมวกเหล็ก ด่านปากช่อง ด่านสีคิ้ว และด่านขามทะเลสอ
การจัดเก็บค่าผ่านทาง ซึ่งคิดค่าธรรมเนียมตามระยะทางที่ใช้จริง โดยมีวิธีการจัดเก็บค่าผ่านทางดังนี้
- แบบเงินสด (Manual Toll Collection : MTC)
- แบบอัตโนมัติแบบมีไม้กั้น (Electronic Toll Collection : ETC) M-pass/Easy pass
- แบบอัตโนมัติแบบไร้ไม้กั้น(Multi-lane Free flow:M-flow)
โดยมีการปรับเพิ่มอัตราค่าผ่านทางตามดัชนีผู้บริโภค (CPI) ทุก 7 ปี
- รถยนต์ 4 ล้อ ค่าแรกเข้าอยู่ที่ 10 บาท และคิดเพิ่ม 1.25 บาท/กม. หากใช้บริการทั้งเส้นทาง ค่าบริการอยู่ที่ 240 บาท
- รถยนต์ 6 ล้อ ค่าแรกเข้าอยู่ที่ 16 บาท และคิดเพิ่ม 2.00 บาท/กม. หากใช้บริการทั้งเส้นทาง ค่าบริการอยู่ที่ 380 บาท
- รถยนต์มากกว่า 6 ล้อ ค่าแรกเข้าอยู่ที่ 23 บาท และคิดเพิ่ม 2.88 บาท/กม. หากใช้บริการทั้งเส้นทาง ค่าบริการอยู่ที่ 550 บาท
รูปแบบการก่อสร้างแก้ไข
ใช้พื้นผิวคอนกรีต ขนาด 4-6 ช่องจราจร เขตทางทั่วไปกว้างประมาณ 70 เมตร (บริเวณที่มีการออกแบบทางบริการจะเพิ่มความกว้างเขตทางออกไปด้านละ 20 เมตร) มีความกว้างช่องจราจร 3.60 เมตร ความกว้างของไหล่ทางด้านใน 1.50 เมตร และความกว้างของไหล่ทางด้านนอก 3.00 เมตร
- ขนาดช่องจราจร
- ช่วง อ.บางปะอิน - อ.ปากช่อง (กม.0+000 – กม.109+500) มีขนาด 6 ช่องจราจร
- ช่วง อ.ปากช่อง - อ.เมืองนครราชสีมา (กม.109+500 – กม.+196+000) มีขนาด 4 ช่องจราจร
- เขตทางยกระดับ
- ช่วงบริเวณทางเลี่ยงเมืองสระบุรี (กม.40 – กม.47) เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร
- ช่วงบริเวณโรงปูนซีเมนต์ทีพีไอ (กม.69 – กม.75) เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร
- ช่วงบริเวณองค์การส่งเสริมกิจการโคนม (กม.82 – กม.84) เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร
- ช่วงบริเวณลำตะคอง (กม.125 – กม.143) เป็นทางยกระดับขนาด 4 ช่องจราจร
บริการแก้ไข
การพัฒนาพื้นที่ริมทางโดยรัฐบาลจะเปิดการประกวดราคาเป็นรูปแบบ PPP Net Cost ระยะเวลา 30 ปี แบบมีเงื่อนไขโดยรัฐบาลจะได้ค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นตามปริมาณการจราจรที่เข้าพักริมทางหลวง อย่างไรก็ตามการลงทุนและบริหารจัดการที่พักริมทาง (Rest Area) ไม่ได้รวมอยู่ในการร่วมทุนในส่วนงานระบบดำเนินงานเก็บค่าผ่านทางและบำรุงรักษา (O&M) ทั้งนี้ การพัฒนาพื้นที่ริมทางมีรูปแบบดังนี้
- ศูนย์บริการทางหลวง (service center) ขนาด 50 ไร่ จำนวน 1 แห่ง : ปากช่อง
- สถานที่บริการทางหลวง (service area) ขนาด 20 ไร่ จำนวน 2 แห่ง : สระบุรีและสีคิ้ว
- ที่พักริมทาง (rest area) ขนาด 15 ไร่ จำนวน 5 แห่ง : วังน้อย หนองแค ทับกวาง ปากช่อง และสูงเนิน
ทางแยกที่สำคัญแก้ไข
จังหวัด | กม.ที่ | ชื่อจุดตัด | ซ้าย | ขวา | |
---|---|---|---|---|---|
บางปะอิน−ขอนแก่น | |||||
พระนครศรีอยุธยา | 0+000 | ทางแยกต่างระดับบางปะอิน (1) | เชื่อมต่อจาก: ทล.พ.5 จากนครสวรรค์ | ||
ถนนกาญจนาภิเษก ไป อ.บางปะอิน | ถนนกาญจนาภิเษก ไป บางนา | ||||
ถนนพหลโยธิน ไป | ถนนพหลโยธิน ไป | ||||
2+500 | ทางแยกต่างระดับบางปะอิน (1) | ไม่มี | ไม่มี | ||
10+500 | ทางแยกต่างระดับวังน้อย | ไม่มี | ทางเชื่อมต่อ ทล.พ.6 (วังน้อย-) ไปวังน้อย, หนองเสือ, พระนครศรีอยุธยา บรรจบ ถนนโรจนะ | ||
สระบุรี | 33+000 | ทางแยกต่างระดับหินกอง | ไม่มี | ทางเชื่อมต่อ ทล.พ.6 (หินกอง-) ไปหนองแค, ภาชี บรรจบ ถนนสุวรรณศร | |
40+800 | ทางแยกต่างระดับสระบุรี | ถนนพหลโยธิน ไป | ถนนพหลโยธิน ไป | ||
ตรงไป: ถนนวงแหวนรอบเมืองสระบุรี ไป | |||||
53+500 | ทางแยกต่างระดับแก่งคอย | ไม่มี | ทางเชื่อมต่อ ทล.พ.6 (สีคิ้ว-) ไปบ้านนา, แก่งคอย บรรจบ ถนนแก่งคอย-บ้านนา | ||
87+500 | ทางแยกต่างระดับมวกเหล็ก | ไม่มี | ทางเชื่อมต่อ ทล.พ.6 (มวกเหล็ก-) ไปกลางดง มวกเหล็ก บรรจบ ถนนมิตรภาพ | ||
นครราชสีมา | 87+500 | ทางแยกต่างระดับปากช่อง | ไม่มี | ทางเชื่อมต่อ ทล.พ.6 (ปากช่อง-ธนะรัชต์) ไปอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่, ปากช่อง บรรจบ ถนนธนะรัชต์ | |
154+000 | ทางแยกต่างระดับสีคิ้ว | ไม่มี | ทางเชื่อมต่อ ทล.พ.6 (สีคิ้ว-) ไปสีคิ้ว, โชคชัย, ด่านขุนทด บรรจบ ถนนสีคิ้ว-เชียงคาน | ||
183+300 | ทางแยกต่างระดับขามทะเลสอ | ไม่มี | ทางเชื่อมต่อ ทล.พ.6 (ขามทะเลสอ-นครราชสีมา) ไปนครราชสีมา | ||
209+725 | ทางแยกต่างระดับโนนไทย | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 205 ไป | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 205 ไป | ||
228+000 | ทางแยกต่างระดับโนนสูง | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2067 ไป | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2067 ไป | ||
250+950 | ทางแยกต่างระดับคง | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2150 ไป | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2150 ไป | ||
ขอนแก่น | 270+100 | ทางแยกต่างระดับบัวใหญ่ | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 202 ไป | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 202 ไป | |
287+300 | ทางแยกต่างระดับพล | ถนนมิตรภาพ ไป | ถนนมิตรภาพ ไป | ||
309+725 | ทางแยกต่างระดับหนองสองห้อง | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 207 ไป | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 207 ไป | ||
340+940 | ทางแยกต่างระดับบ้านไผ่ | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23 ไป | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23 ไป | ||
369+050 | ทางแยกต่างระดับโกสุมพิสัย | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 208 ไป | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 208 ไป | ||
385+361 | ทางแยกต่างระดับขอนแก่น | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 230 ไป | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 230 ไป | ||
ทางแยกต่างระดับวังน้อย−ทางแยกต่างระดับโรจนะ | |||||
สระบุรี | 0+000 | ทางแยกต่างระดับมวกเหล็ก | ทล.พ.6 จาก | ทล.พ.6 จาก | |
ทางแยกต่างระดับโรจนะ | ถนนโรจนะ ไปพระนครศรีอยุธยา | ถนนโรจนะ ไปวังน้อย, วังน้อย | |||
ทางแยกต่างระดับหินกอง− | |||||
สระบุรี | 0+000 | ทางแยกต่างระดับหินกอง | ทล.พ.6 จาก | ทล.พ.6 จาก | |
ถนนสุวรรณศร ไปหนองแค | ถนนสุวรรณศร ไปภาชี | ||||
ทางแยกต่างระดับแก่งคอย− | |||||
สระบุรี | 0+000 | ทางแยกต่างระดับแก่งคอย | ทล.พ.6 จาก | ทล.พ.6 จาก | |
ถนนแก่งคอย-บ้านนา ไปบ้านนา | ถนนแก่งคอย-บ้านนา ไปแก่งคอย | ||||
ทางแยกต่างระดับมวกเหล็ก− | |||||
สระบุรี | 0+000 | ทางแยกต่างระดับมวกเหล็ก | ทล.พ.6 จาก | ทล.พ.6 จาก | |
ถนนแก่งคอย-บ้านนา ไป กลางดง | ถนนแก่งคอย-บ้านนา ไป มวกเหล็ก | ||||
ทางแยกต่างระดับปากช่อง−ทางแยกต่างระดับธนะรัชต์ | |||||
นครราชสีมา | 0+000 | ทางแยกต่างระดับปากช่อง | ทล.พ.6 จาก | ทล.พ.6 จาก | |
ทางแยกต่างระดับธนะรัชต์ | ถนนธนะรัชต์ ไป อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ | ถนนธนะรัชต์ ไป ปากช่อง | |||
ทางแยกต่างระดับสีคิ้ว− | |||||
นครราชสีมา | 0+000 | ทางแยกต่างระดับสีคิ้ว | ทล.พ.6 จาก | ทล.พ.6 จาก | |
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 ไป | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 ไป | ||||
ทางแยกต่างระดับขามทะเลสอ−ทางแยกต่างระดับนครราชสีมา | |||||
นครราชสีมา | 0+000 | ทางแยกต่างระดับขามทะเลสอ | ทล.พ.6 จาก | ทล.พ.6 จาก | |
ทางแยกต่างระดับวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 290 ไป | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 290 ไป | |||
12+500 | ทางแยกต่างระดับนครราชสีมา | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 204 ไป ขอนแก่น | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 204 ไป เข้าเมืองนครราชสีมา | ||
สะพาน กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต |
รายชื่อทางออกแก้ไข
โครงการในอนาคตแก้ไข
นครราชสีมา–ขอนแก่นแก้ไข
กรมทางหลวงโดยสำนักแผนงาน ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ขณะนี้เส้นทางนี้อยู่ในระหว่างขั้นตอนศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อม คาดผลการศึกษาแล้วเสร็จภายใน พ.ศ. 2562 จากนั้นจะเสนอเข้า ครม.เพื่ออนุมัติการก่อสร้าง คาดนำเสนอเข้า ครม. ปี 2567 โดยแนวเส้นทางผ่านจังหวัดนครราชสีมา มหาสารคาม และขอนแก่น[9]
ขอนแก่น–หนองคายแก้ไข
ปัจจุบันกรมทางหลวงโดยสำนักแผนงานยังไม่มีแผน เริ่มดำเนินการศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบสิ่งแวดล้อม สายขอนแก่น-หนองคาย[10] โดยคาดว่าจะเริ่มศึกษาก็ต่อเมื่อสายนครราชสีมา-ขอนแก่นได้รับการอนุมัติโครงการจาก ครม.
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ นายกฯ เป็นประธานก่อสร้างมอเตอร์เวย์บางปะอิน-นครราชสีมา[ลิงก์เสีย]
- ↑ คึกคัก! เอกชน 300 ราย แห่ฟังร่างทีโออาร์ลงทุนงานระบบมอเตอร์เวย์ 2 สายใหม่ ยื่นซอง มี.ค.นี้
- ↑ ดึงบิ๊กค้าปลีก-ปั๊มน้ำมันลงทุนจุดพักรถมอเตอร์เวย์-
- ↑ กรมทางหลวงลุยมอเตอร์เวย์ เส้นทางโคราช-ขอนแก่น เปิดเวทีปชช.๒๗-๒๘ พ.ย.
- ↑ ศักดิ์สยามแย้มข่าวดีสงกรานต์นี้ลุ้นเปิดใช้มอเตอร์เวย์'บางปะอิน-โคราช' - ไทยโพสต์
- ↑ เปิดใช้ มอเตอร์เวย์ “บางปะอิน–โคราช” 9-19 เม.ย. แก้รถติดสงกรานต์ - ประชาชาติธุรกิจ
- ↑ ทล.เล็งมอบของขวัญปีใหม่ 65 เปิดวิ่ง "มอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช" เพิ่มอีก 40 กม. - สยามรัฐ
- ↑ คาดเปิดใช้ชั่วคราวมอเตอร์เวย์ ช่วงปากช่อง-นครราชสีมา ปีใหม่ 65 - YouTube ช่อง The king communication
- ↑ ปฐมนิเทศน์โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอรเวย์)สายนครราชสีมา-ขอนแก่น ครั้งที่ 1 เพื่อศึกษาแนวเส้นทางก่อสร้างมูลค่าลงทุนกว่า70,000 ล้านบาท
- ↑ 'ทางหลวง'เตรียมเสนอรัฐขยายมอเตอร์เวย์ถึงหนองคาย