รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม

รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา สาย 2 หรือ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม หรือ รถไฟฟ้าสายสีเขียว (สีลม) ซึ่งเรียกตามสีที่กำหนดในแผนแม่บทโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นรถไฟฟ้ายกระดับของระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตลอดจนพื้นที่ส่วนใต้ของจังหวัดนนทบุรี เปิดให้บริการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2542 ดำเนินการโดยบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BTSC) เป็นบริษัทในเครือของบีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ภายใต้สัมปทานซึ่งเป็นเจ้าของโดยกรุงเทพมหานคร มีเส้นทางเริ่มต้นจากศูนย์กลางที่สถานีสยามที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท สายตะวันตกมีแนวเส้นทางไปตามถนนพระรามที่ 1 ปลายทางสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ สายใต้มีแนวเส้นทางไปตามถนนสีลมและสาทรซึ่งเป็นย่านศูนย์กลางธุรกิจของกรุงเทพมหานคร ก่อนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่ฝั่งธนบุรีไปยังปลายทางสถานีบางหว้า สายนี้มีความยาว 14 กิโลเมตร (8.7 ไมล์) และประกอบด้วย 14 สถานี ถือเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าสายแรกในประเทศไทยที่มีแนวเส้นทางข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่ฝั่งธนบุรี[3]

รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา สาย 2 (สีลม)
รถไฟฟ้าบีทีเอสเข้าสู่สถานีราชดำริ
ข้อมูลทั่วไป
เจ้าของกรุงเทพมหานคร
ที่ตั้งกรุงเทพมหานคร, จังหวัดนนทบุรี
ปลายทาง
จำนวนสถานี14
สีบนแผนที่     สีเขียวเข้ม (#02817d)
การดำเนินงาน
รูปแบบระบบขนส่งมวลชนเร็ว
ระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส
ผู้ดำเนินงานบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
(กลุ่มบีทีเอส)
(สัญญาสัมปทานโครงการ หมด พ.ศ. 2572 / สัญญาจ้างเดินรถ หมด พ.ศ. 2585)
บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด
(สัญญาสัมปทานโครงการ หมด พ.ศ. 2585)
ศูนย์ซ่อมบำรุงหมอชิต, บางหว้า, คูคต (สำรอง)
ประวัติ
เปิดเมื่อ5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 (24 ปีก่อน)
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง14 km (8.7 mi)
จำนวนทางวิ่ง2
รางกว้าง1,435 mm (4 ft 8 12 in) สแตนดาร์ดเกจ
ระบบจ่ายไฟ750 V DC รางที่สาม
อาณัติสัญญาณบอมบาร์ดิเอร์ CITYFLO 450 moving block CBTC ATC ภายใต้ ATO GoA 2 (STO), ด้วยระบบย่อยของ ATP, ATS และ CBI[1][2]
แผนที่เส้นทาง

สนามกีฬาแห่งชาติ
 คูคต – เคหะฯ 
สยาม
ราชดำริ
สีลม  หลักสอง – ท่าพระ (ผ่าน บางซื่อ) 
ศาลาแดง
ช่องนนทรี
เซนต์หลุยส์
สุรศักดิ์
ทางพิเศษศรีรัช
สะพานตากสิน
แม่น้ำเจ้าพระยา
กรุงธนบุรี
(โครงการ)  หัวลำโพง 
(โครงการ)  คลองบางไผ่ – ราษฎร์บูรณะ 
วงเวียนใหญ่
โพธิ์นิมิตร
ตลาดพลู
สายแม่กลอง ( โครงการ)  มหาชัย 
วุฒากาศ
บางหว้า
 หลักสอง – ท่าพระ (ผ่าน บางซื่อ) 
ศูนย์ซ่อมบำรุง

ภาพรวม

แก้

รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีโครงสร้างเป็นทางยกระดับเหนือพื้นดินตลอดโครงการ และเป็นเส้นทางที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่ฝั่งธนบุรีได้เป็นสายแรกของประเทศไทย มีแนวเส้นทางเป็นแนวตะวันตก–ใต้ พาดผ่านพื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นในไปจนถึงฝั่งธนบุรี เริ่มต้นเส้นทางจากบริเวณด้านหน้าโรงพยาบาลหัวเฉียว วิ่งผ่านกรีฑาสถานแห่งชาติ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อถึงแยกราชประสงค์แนวเส้นทางจะหักขวาเข้าถนนราชดำริ วิ่งผ่านสวนลุมพินี ราชกรีฑาสโมสร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งตรงเข้าสู่ถนนสีลม จากนั้นหักซ้ายเข้าถนนนราธิวาสราชนครินทร์ และหักขวาเข้าสู่ถนนสาทรเพื่อมุ่งหน้าข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาและข้ามไปยังฝั่งธนบุรี แนวเส้นทางจะมุ่งหน้าเข้าสู่ถนนราชพฤกษ์และสิ้นสุดเส้นทางของโครงการที่บริเวณทางแยกต่างระดับเพชรเกษม (ทางแยกเพชร–ราชพฤกษ์) รวมระยะทางทั้งสิ้น 14.67 กิโลเมตร แนวเส้นทางจะเน้นขนส่งผู้โดยสารจากบริเวณใจกลางฝั่งธนบุรีให้เข้าสู่พื้นที่ใจกลางกรุงเทพมหานคร

รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ส่วนแรกสุดในเส้นทางสนามกีฬาแห่งชาติ–สะพานตากสิน ดำเนินการโดยบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (บีทีเอสซี) ซึ่งได้รับสัมปทานโครงการเป็นระยะเวลา 30 ปีจากกรุงเทพมหานคร ถึง พ.ศ. 2572 ส่วนเส้นทางส่วนต่อขยายที่เหลือดำเนินการโดยบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด[4] โดยยังมีบีทีเอสซีเป็นผู้ให้บริการเดินรถตลอดทั้งเส้นทาง

พื้นที่เส้นทางผ่าน

แก้
แขวง เขต จังหวัด
วังใหม่, ปทุมวัน, ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
สุริยวงศ์, สีลม, บางรัก บางรัก
ยานนาวา สาทร
คลองต้นไทร, บางลำภูล่าง คลองสาน
สำเหร่, บุคคโล, ดาวคะนอง, ตลาดพลู ธนบุรี
บางค้อ จอมทอง
ปากคลองภาษีเจริญ, บางหว้า ภาษีเจริญ

แนวเส้นทาง

แก้
 
ทางวิ่งรถไฟฟ้าช่วงโค้งเหนือแยกราชประสงค์ เลี้ยวจากถนนพระรามที่ 1 เข้าสู่ถนนราชดำริ

แนวเส้นทางเป็นเส้นทางยกระดับทั้งโครงการในแนวตะวันตก-ใต้ มีจุดเริ่มต้นของทั้งโครงการที่สถานีสยาม ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท รวมระยะทางทั้งสิ้น 14.67 กิโลเมตร

ในแนวตะวันตก เส้นทางจะเริ่มจากสถานีสยามไปทางทิศตะวันตกตามแนวถนนพระรามที่ 1 และเข้าสู่สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ อันเป็นสถานีเดียวของฝั่งตะวันตก ในอนาคตแนวเส้นทางจะขยายต่อไปเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้มที่สถานียศเส

ในแนวใต้ เส้นทางจะเริ่มจากสถานีสยามไปทางทิศตะวันออกตามแนวถนนพระรามที่ 1 จากนั้นหักขวาเข้าถนนราชดำริ ถนนสีลม ผ่านจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่สถานีศาลาแดง หักซ้ายเข้าถนนนราธิวาสราชนครินทร์ และหักขวาเข้าสู่ถนนสาทร ข้ามทางพิเศษศรีรัช มุ่งหน้าข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สถานีสะพานตากสินเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีทองที่สถานีกรุงธนบุรี เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมที่สถานีวงเวียนใหญ่ และสิ้นสุดเส้นทางทั้งโครงการที่สถานีบางหว้า บริเวณทางแยกต่างระดับเพชรเกษม ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลอีกหนึ่งจุด ในอนาคตได้มีการศึกษาแนวเส้นทางต่อขยายเพิ่มเติม โดยไปตามถนนราชพฤกษ์ข้ามทางยกระดับบรมราชชนนี และไปเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนที่สถานีตลิ่งชัน รวมถึงมีแผนจะต่อขยายไปเชื่อมรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมที่สถานีบางรักน้อยท่าอิฐเพิ่มเติมด้วย

แผนที่เส้นทาง

 


สถานีที่ให้บริการในปัจจุบัน

แก้
ชื่อและสีของสถานี รหัสสถานี จุดเปลี่ยนเส้นทาง วันที่เปิดให้บริการ
สนามกีฬาแห่งชาติ W1 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
สยาม CEN สายสุขุมวิท (สถานีร่วม)
สายสีส้ม สถานีประตูน้ำ (โครงการ)
ราชดำริ S1
ศาลาแดง S2 สายสีน้ำเงิน สถานีสีลม
ช่องนนทรี S3  บีอาร์ที  สถานีสาทร
สายสีเทา สถานีช่องนนทรี (โครงการ)
เซนต์หลุยส์ S4 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
สุรศักดิ์ S5 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
สะพานตากสิน S6  เรือด่วนเจ้าพระยา  ท่าสาทร
สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
กรุงธนบุรี S7 สายสีทอง สถานีกรุงธนบุรี 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
วงเวียนใหญ่ S8 สายสีม่วง สถานีวงเวียนใหญ่ (กำลังก่อสร้าง)
สายสีแดงเข้ม สถานีวงเวียนใหญ่ (โครงการ)
โพธิ์นิมิตร S9 12 มกราคม พ.ศ. 2556
ตลาดพลู S10  บีอาร์ที  สถานีราชพฤกษ์
สายสีเทา สถานีตลาดพลู (โครงการ)
14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
วุฒากาศ S11 สายสีแดงเข้ม สถานีวุฒากาศ (โครงการ) 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556
บางหว้า S12 สายสีน้ำเงิน สถานีบางหว้า
 เรือโดยสารคลองภาษีเจริญ  ท่าบางหว้า

การเชื่อมต่อ

แก้

เส้นทางคมนาคมทางบก

แก้

ทางเดินเข้าอาคาร

แก้

ในบางสถานีผู้โดยสารสามารถเดินจากสถานีไปยังอาคารต่างๆ ในบริเวณใกล้เคียงได้ ดังนี้ (ตัวเอน หมายถึงกำลังก่อสร้าง)

รถรับส่ง

แก้

ในบางสถานีผู้โดยสารสามารถเดินทางจากสถานีไปยังอาคารต่าง ๆ ด้วยบริการรถรับส่งจากสถานี ดังต่อไปนี้

เส้นทางคมนาคมทางราง

แก้

รถไฟฟ้าบีทีเอสและระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร

แก้

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังเส้นทางอื่น ๆ ในระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ได้ที่สถานีดังต่อไปนี้

รถไฟฟ้ามหานคร

แก้
 
สะพานเชื่อมต่อระหว่างสถานีศาลาแดงกับสถานีสีลม

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนไปรถไฟฟ้ามหานครได้ที่สถานีนี้

รหัสสถานี สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีรถไฟฟ้ามหานคร หมายเหตุ
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีที่เปิดให้บริการแล้ว [5]
S2 สถานีศาลาแดง สายสีน้ำเงิน : สถานีสีลม เชื่อมต่อด้วยสะพานยกระดับจากตัวสถานีระยะทางประมาณ 150 เมตร
S12 สถานีบางหว้า สายสีน้ำเงิน : สถานีบางหว้า เชื่อมต่อโดยตรง
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีในอนาคต
CEN สถานีสยาม สายสีส้ม : สถานีประตูน้ำ โดยผ่านทางเชื่อมราชประสงค์นอร์ทวอล์ก (R Walk - North Walk) จากศูนย์การค้าเกษรวิลเลจ ผ่านหน้าโรงแรมอโนมา
S8 สถานีวงเวียนใหญ่ สายสีม่วง : สถานีวงเวียนใหญ่ เชื่อมต่อด้วยทางเดินใต้ดินพร้อมระบบปรับอากาศจากตัวสถานีระยะทางประมาณ 270 เมตร [6]
S23 บางรักน้อยท่าอิฐ สายสีม่วง : บางรักน้อยท่าอิฐ เชื่อมต่อโดยตรง

รถไฟฟ้าชานเมือง

แก้

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังรถไฟฟ้าชานเมืองได้ที่สถานีนี้

รหัสสถานี สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส รหัสสถานี สถานีรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง หมายเหตุ
จุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีในอนาคต [7]
W2 สถานียศเส RS 05 สายสีแดงเข้ม : สถานียศเส เชื่อมต่อโดยตรง
S8 สถานีวงเวียนใหญ่ RS 09 สายสีแดงเข้ม : สถานีวงเวียนใหญ่ เชื่อมต่อด้วยทางเดินจากตัวสถานีระยะทางประมาณ 210 เมตร [6]
S11 สถานีวุฒากาศ RS11 สายสีแดงเข้ม : สถานีวุฒากาศ เชื่อมต่อโดยตรง
S18 สถานีตลิ่งชัน RW06 สายสีแดงอ่อน : สถานีตลิ่งชัน เชื่อมต่อโดยตรง

เส้นทางคมนาคมทางน้ำ

แก้

เรือโดยสารคลองแสนแสบ

แก้

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังเรือโดยสารคลองแสนแสบ ได้ที่สถานีนี้

รหัสสถานี สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ท่าเรือคลองแสนแสบ หมายเหตุ
จุดเชื่อมต่อระหว่างท่าเรือที่เปิดให้บริการแล้ว
CEN สถานีสยาม  เรือโดยสารคลองแสนแสบ  : ท่าสะพานหัวช้าง เชื่อมต่อโดยทางเดินยกระดับ

เรือโดยสารเจ้าพระยา

แก้

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังเรือโดยสารเจ้าพระยา ได้ที่สถานีนี้

รหัสสถานี สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส รหัสท่าเรือ ท่าเรือ หมายเหตุ
จุดเชื่อมต่อระหว่างท่าเรือที่เปิดให้บริการแล้ว
S6 สถานีสะพานตากสิน  CEN   เรือข้ามฟากสาทร-ตากสิน  : ท่าสาทร เชื่อมต่อโดยตรง
 เรือด่วนเจ้าพระยา  : ท่าสาทร
 เรือโดยสารสาธารณะ ไทย สมายล์ โบ้ท  : ท่าสาทร

เรือรับ-ส่งโรงแรม

แก้

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังเรือรับ-ส่งโรงแรม ได้ที่สถานีนี้

รหัสสถานี สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ท่าเรือ หมายเหตุ
จุดเชื่อมต่อระหว่างท่าเรือที่เปิดให้บริการแล้ว
S6 สถานีสะพานตากสิน  เรือโรงแรมอนันตรา กรุงเทพฯ ริเวอร์ไซด์ รีสอร์ท แอนด์ สปา  : ท่าสาทร เชื่อมต่อโดยตรง
 เรือโรงแรมอวานี ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพ  : ท่าสาทร
 เรือโรงแรมชาเทรียม ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพ  : ท่าสาทร
 เรือโรงแรมเพนนินซูล่า กรุงเทพโรงแรมเพนนินซูล่า กรุงเทพ  : ท่าสาทร
 เรือโรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน กรุงเทพ  : ท่าสาทร
 เรือโรงแรมรอยัล ออร์คิด เชอราตัน กรุงเทพ   : ท่าสาทร
 เรือโรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ  : ท่าสาทร

เรือรับ-ส่งศูนย์การค้า

แก้

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังเรือรับ-ส่งโรงแรม ได้ที่สถานีนี้

รหัสสถานี สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ท่าเรือ หมายเหตุ
จุดเชื่อมต่อระหว่างท่าเรือที่เปิดให้บริการแล้ว
S6 สถานีสะพานตากสิน  เรือศูนย์การค้าเอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟรอนต์  : ท่าสาทร เชื่อมต่อโดยตรง (ตั้งแต่เวลา 16.00 - 24.00 น.)
 เรือศูนย์การค้าไอคอนสยาม  : ท่าสาทร เชื่อมต่อโดยตรง (ตั้งแต่เวลา 8.00 - 23.00 น.)

รูปแบบของโครงการ

แก้
  • เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดหนัก (heavy rail transit)
  • ทางวิ่งยกระดับที่ความสูง 12 เมตรตลอดทั้งโครงการ ส่วนช่วงข้ามทางพิเศษศรีรัชบริเวณทิศตะวันตกของสถานีสุรศักดิ์มีความสูง 17 เมตร และมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 1 แห่ง โดยใช้สะพานเดิมที่เคยเตรียมไว้สำหรับโครงการรถไฟฟ้าลาวาลิน
  • ขนาดราง 1.435 เมตร (European standard gauge) โดยมีรางที่ 3 ขนานไปกับรางวิ่งสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวรถ
  • ตัวรถไฟฟ้าเป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 3.2 เมตร ยาว 20-24 เมตร สูงประมาณ 3.7 เมตร ความจุ 320 คนต่อคัน เดินรถ 3-6 คันต่อขบวน ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลท์ ป้อนระบบขับเคลื่อนรถ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
  • ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถ และใช้ระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ

ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ

แก้

เส้นทางช่วงยศเส-ตลิ่งชัน จะใช้ศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่หมอชิต (ที่ทำการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน) ร่วมกับสายสุขุมวิท โดยใช้วิธีการป้อนขบวนรถจากสายสุขุมวิทในช่วงก่อนเข้าสถานีสยาม และมีศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยบางหว้าที่เป็นศูนย์ซ่อมบำรุงขนาดย่อยที่ใช้โครงสร้างร่วมกับทางวิ่งในช่วงบางหว้า-บางแวก ระบบเดินรถทั้งระบบมีศูนย์ควบคุมการเดินรถกลางอยู่ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่หมอชิต และมีระบบเดินรถสำรองอยู่ที่ศูนย์บำรุงย่อยสายไหม โดยในอนาคตมีแผนก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงแยกเฉพาะอีกหนึ่งแห่ง เพื่อลดภาระของศูนย์ซ่อมบำรุงหมอชิต ศูนย์ซ่อมบำรุงสายไหม และศูนย์ซ่อมบำรุงบางปู รวมถึงจะได้ไม่ต้องป้อนขบวนรถข้ามเข้ามาจากสายสุขุมวิทเพื่อลดความสับสนของผู้โดยสาร

สิ่งอำนวยความสะดวก

แก้

มีจุดจอดแล้วจร (park and ride) ที่สถานีกรุงธนบุรี และสถานีตลาดพลู

สถานี

แก้

มีทั้งหมด 26 สถานี เปิดให้บริการ 14 สถานี และเป็นสถานีโครงการในอนาคต 12 สถานี โดยทั้งหมดเป็นสถานียกระดับ

รูปแบบสถานี

สถานีทั่วไปมีความยาวประมาณ 150 เมตร ยกเว้นสถานีสะพานตากสินมีความยาวเพียง 115 เมตร (รองรับขบวนรถต่อพ่วงได้สูงสุด 5 ตู้ต่อ 1 ขบวน) มีประตูชานชาลา (platform screen door) ความสูงแบบ Half-Height ในบางสถานี ออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคใต้ดินและบนดิน และรักษาสภาพผิวจราจรบนถนนมากที่สุด และมีเสายึดสถานีอยู่บริเวณเกาะกลางถนน

ขบวนรถโดยสาร

แก้

ส่วนต่อขยาย

แก้

ส่วนต่อขยายบางหว้า - ท่าอิฐ

แก้

ส่วนต่อขยายสนามกีฬาแห่งชาติ - ยศเส

แก้

รายชื่อสถานี

แก้
รหัสสถานี ชื่อสถานี จุดเปลี่ยนเส้นทาง
บางหว้า – ตลิ่งชัน
S12 บางหว้า สายสีน้ำเงิน : บางหว้า
S13 บางแวก
S14 บางพรม
S15 วัดโพธิ์
S16 ตลิ่งชัน สายสีแดงอ่อน : ตลิ่งชัน
ตลิ่งชัน – ท่าอิฐ
S16 ตลิ่งชัน สายสีแดงอ่อน : ตลิ่งชัน
S17 บางกรวย
S18 พระราม 5
S19 บางกรวย-ไทรน้อย
S20 เตรียมพัฒน์
S21 อ้อมนนท์
S22 บางรักน้อย
S23 บางรักน้อยท่าอิฐ สายสีม่วง : บางรักน้อยท่าอิฐ
สนามกีฬาแห่งชาติ – ยศเส
W1 สนามกีฬาแห่งชาติ
W2 ยศเส สายสีแดงเข้ม : ยศเส

ส่วนต่อขยายของโครงการที่ถูกยกเลิก

แก้

ส่วนต่อขยายช่องนนทรี - พระราม 3

แก้

ส่วนต่อขยายวุฒากาศ - มหาชัย

แก้

ส่วนต่อขยายสนามกีฬาแห่งชาติ - พรานนก

แก้
  • หน่วยงานที่รับผิดชอบ : สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร
  • พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน : เขตปทุมวัน, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย,เขตพระนคร,และ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
  • เส้นทาง : แนวเส้นทางนี้ปรากฏขึ้นครั้งแรกในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง พ.ศ. 2543 (URMAP) โดยแนวเส้นทางจะต่อขยายจากสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ ไปตามแนวกลางของถนนพระรามที่ 1 ต่อเนื่องไปถนนบำรุงเมือง ซึ่งหลังจากพ้นสถานีสนามกีฬาแห่งชาติแนวเส้นทางจะลดระดับลงจากลักษณะของทางยกระดับไปเป็นอุโมงค์ เมื่อถึงถนนจักรพรรดิพงษ์แนวเส้นทางจะเลี้ยวขวาขึ้นไปทางทิศเหนือ และเลี้ยวกลับตามทางทิศตะวันตกตามแนวถนนหลานหลวง ตรงเข้าถนนราชดำเนินกลางด้านทิศเหนือ ผ่านอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถึงบริเวณด้านหน้าสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลแล้วแนวเส้นทางจะเลี้ยวไปตามแนวถนนราชินี ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาไปยังบริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยไปตามแนวทางรถไฟสายตะวันตกแล้วจึงเลี้ยวซ้ายไปด้านทิศใต้ตามแนวถนนอิสรภาพ จนถึงถนนพรานนกจึงเลี้ยวซ้ายไปตามแนวถนนพรานนก ลอดใต้ถนนจรัญสนิทวงศ์ไปตามแนวถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4 ที่อยู่ระหว่างการเวนคืนไปสิ้นสุดห่างจากทางแยกประมาณ 600 ม. อย่างไรก็ตามโครงการดังกล่าวได้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่หลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนรูปแบบเป็นทางยกระดับ หรือให้เป็นรถไฟใต้ดิน หรือเปลี่ยนแนวเส้นทาง จนในที่สุดในแผนแม่บทฯ พ.ศ. 2551 ได้มีการยกเลิกเส้นทางลง เนื่องมาจากแนวเส้นทางส่วนใหญ่ทับซ้อนกับสายสีส้มของรถไฟฟ้ามหานคร มีค่าใช้ในการดำเนินการสูง และจำเป็นต้องเสียพื้นที่จราจรบนถนนพระรามที่ 1 จำนวน 1 ช่องจราจรทั้งขาเข้าและขาออก เป็นระยะทาง 1 กิโลเมตรเพื่อสร้างเป็นอุโมงค์ลดระดับ ด้วยปัญหาทั้งหมด สนข. จึงเห็นสมควรให้ยกเลิกการศึกษาโครงการนี้ไป และคงไว้เพียงสถานียศเสเพียงหนึ่งสถานีเพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ - หัวลำโพง [13]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Mass transit signalling". Bombardier Transportation (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-01. สืบค้นเมื่อ 2020-06-16.
  2. "Bombardier Projects in Mass-transit signalling" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-11-23.
  3. "Structure and Stations : Routes". www.bts.co.th. สืบค้นเมื่อ 2023-07-23.
  4. "ด้านระบบขนส่งมวลชน". บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด. สืบค้นเมื่อ 17 February 2021.
  5. เว็บไซต์ MRTA เก็บถาวร 2019-12-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน แผนที่บริเวณสถานีของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
  6. 6.0 6.1 "รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก): หน้า 3—84" (PDF). 19 กุมภาพันธ์ 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-05-13. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง
  8. Siripanjana, Maneerat. "ส่อง "M-MAP 2" เกิดแน่! ประเดิมรถไฟฟ้าสายใหม่ 10 เส้นทางไม่เกินปี 72". เดลินิวส์.
  9. Kobkaew, Jaturong (2023-07-28). "ล้ำไปอีกขั้น! เปิดแผนแม่บท 33 เส้นทางรถไฟฟ้าสายใหม่ M-MAP 2 กรุงเทพฯ-ปริมณฑล...ผ่านบ้านใครบ้าง?". www.Salika.co (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  10. "โครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครส่วนต่อขยายโดยรวม" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-01-27. สืบค้นเมื่อ 2018-11-14.
  11. Kobkaew, Jaturong (2023-07-28). "ล้ำไปอีกขั้น! เปิดแผนแม่บท 33 เส้นทางรถไฟฟ้าสายใหม่ M-MAP 2 กรุงเทพฯ-ปริมณฑล...ผ่านบ้านใครบ้าง?". www.Salika.co (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  12. Siripanjana, Maneerat. "ส่อง "M-MAP 2" เกิดแน่! ประเดิมรถไฟฟ้าสายใหม่ 10 เส้นทางไม่เกินปี 72". เดลินิวส์.
  13. Oops! We ran into some problems.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้