ถนนบำรุงเมือง
ถนนบำรุงเมือง (อักษรโรมัน: Thanon Bamrung Mueang) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เชื่อมต่อจากถนนกัลยาณไมตรีบริเวณจุดตัดกับถนนอัษฎางค์ที่แยกสะพานช้างโรงสี ในพื้นที่เขตพระนคร ไปทางทิศตะวันออก เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงวัดราชบพิธกับแขวงศาลเจ้าพ่อเสือ ตัดกับถนนเฟื่องนคร และถนนตะนาว เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงวัดราชบพิธกับแขวงเสาชิงช้าไปจนถึงเสาชิงช้า จากนั้นตัดกับถนนอุณากรรณ เข้าสู่แขวงสำราญราษฎร์ ตัดกับถนนมหาไชยข้ามคลองรอบกรุงเข้าสู่แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ตัดกับถนนบริพัตร ตัดกับถนนวรจักรและถนนจักรพรรดิพงษ์ จากนั้นเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงคลองมหานาคกับแขวงวัดเทพศิรินทร์ ตัดกับถนนยุคล 2 และถนนพลับพลาไชย ไปสิ้นสุดที่แยกกษัตริย์ศึกบริเวณจุดตัดกับถนนกรุงเกษม โดยมีถนนที่ต่อเนื่องต่อไปคือถนนพระรามที่ 1
ถนนบำรุงเมือง | |
---|---|
ถนนบำรุงเมือง ช่วงผ่านเสาชิงช้า | |
ทางแยกที่สำคัญ | |
จาก | ถนนกัลยาณไมตรี ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
| |
ถึง | ถนนพระรามที่ 1 / ถนนกรุงเกษม ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานครกรุงเทพมหานคร |
ประวัติ
แก้ถนนบำรุงเมืองเป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างตามแบบตะวันตก หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนเจริญกรุงซึ่งเป็นถนนสมัยใหม่ และเป็นที่นิยมใช้สัญจรไปมาของชาวไทยและชาวยุโรป ใน พ.ศ. 2406 รัฐบาลจึงปรับปรุงถนนเสาชิงช้าซึ่งเริ่มต้นจากสะพานช้างโรงสี และเป็นถนนเก่าแก่มีมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยทำเป็นถนนสมัยใหม่มีท่อระบายน้ำและไม่ปล่อยให้หญ้าขึ้นรกรุงรังเหมือนก่อน มีความยาว 29 เส้นเศษ จากนั้นได้พระราชทานนามว่า ถนนบำรุงเมือง ซึ่งเป็นนามที่มีความหมายเกี่ยวกับความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง เพราะเมื่อแรกที่สร้างถนนบำรุงเมืองนั้นยังแคบอยู่และไม่ตรง และเมื่อสร้างเสร็จแล้วเจ้าของที่ดินริมถนนได้สร้างตึกแถว ห้องแถว และร้านค้า 2 ชั้น ถนนบำรุงเมืองเป็นถนนสายสำคัญที่มีคนสัญจรไปมามาก ซึ่งอาคารร้านค้าต่าง ๆ เหล่านี้ต่างก็ได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมของอาคารในสิงคโปร์ คือ จีน-โปรตุเกส มีทางเดินด้านหน้าที่มีหลังคาคลุมถึงกันโดยตลอด คือ อาเขด
ลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งของถนนบำรุงเมือง คือ ถนนช่วงตั้งแต่สี่กั๊กเสาชิงช้าจนถึงแยกเสาชิงช้า รวมถึงฝั่งถึงแยกสำราญราษฎร์ เป็นช่วงที่ไม่มีบาทวิถีอย่างถนนอื่น ๆ ทั่วไป เนื่องจากเจ้าของอาคารต่าง ๆ ที่อยู่ริมถนนรู้สึกว่าอาคารร้านค้าของตนนั้นคับแคบไปจึงได้มีการขยายพื้นที่ออกไปยังหน้าถนนและทำให้สามารถเดินทะลุถึงกันได้ตลอด ถนนบำรุงเมืองในช่วงนี้จึงไม่มีบาทวิถีเพราะไปอยู่ในตัวอาคาร แต่ภายหลังเจ้าของอาคารแต่ละหลังก็ได้ซ่อมแซมกลายเป็นปิดกั้นหมด ไม่สามารถเดินทะลุได้อย่างแต่ก่อน[1][2]
รายชื่อทางแยก
แก้จังหวัด | กม.ที่ | ชื่อจุดตัด | ซ้าย | ขวา | |
---|---|---|---|---|---|
ถนนบำรุงเมือง (สะพานช้างโรงสี–กษัตริย์ศึก) | |||||
กรุงเทพมหานคร | 0+000 | แยกสะพานช้างโรงสี | เชื่อมต่อจาก: ถนนกัลยาณไมตรี | ||
ไม่มี | ถนนอัษฎางค์ ไปปากคลองตลาด | ||||
แยกสี่กั๊กเสาชิงช้า | ถนนตะนาวไป บางลำพู | ถนนเฟื่องนครไป ปากคลองตลาด | |||
แยกเสาชิงช้า | ถนนดินสอไป ถนนประชาธิปไตย | ถนนศิริพงศ์ ไปถนนเจริญกรุง | |||
แยกเมรุปูน | ถนนบริพัตรไป ถนนราชดำเนินกลาง | ถนนบริพัตรไป ถนนเยาวราช | |||
แยกแม้นศรี | ถนนจักรพรรดิพงษ์ไป สะพานพระราม 8 | ถนนวรจักรไป ถนนเจริญกรุง | |||
แยกยุคล 2 | ไม่มี | ถนนยุคล 2ไป โรงพยาบาลกลาง | |||
แยกอนามัย | เชื่อมต่อจาก: ถนนพลับพลาไชยจาก ถนนเจริญกรุง | ||||
แยกกษัตริย์ศึก | ถนนกรุงเกษม ไป หลานหลวง | ถนนกรุงเกษม ไปหัวลำโพง | |||
ตรงไป: ถนนพระรามที่ 1ไป พระรามที่ ๖ | |||||
สะพาน กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต |
อ้างอิง
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ ถนนบำรุงเมือง
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์