ท่าสาทร
ท่าสาทร (อังกฤษ: Sathorn Pier; รหัส: CEN) หรือ ท่าสะพานตากสิน เป็นท่าน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก หรือฝั่งพระนคร ใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน บริเวณปลายถนนสาทรและปากคลองสาทรทั้งสองฝั่ง ในพื้นที่แขวงสีลม เขตบางรัก และแขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยท่าเรือด่วนเจ้าพระยา และท่าเรือข้ามฟาก
ท่าสาทร | ||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เรือด่วน, เรือข้ามฟาก | ||||||||||||||||||||||||||||
ท่าสาทรในปี พ.ศ. 2562 มองจากแม่น้ำเจ้าพระยา กำลังมีเรือฮ็อปออน-ฮ็อปออฟจอดเทียบท่าอยู่ ด้านหลังมองเห็นตึกร้างสาธรยูนีค | ||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | ||||||||||||||||||||||||||||
ชื่ออื่น | ท่าตากสิน | |||||||||||||||||||||||||||
ที่ตั้ง | เขตบางรัก, กรุงเทพมหานคร ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เขตคลองสาน, กรุงเทพมหานคร ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา | |||||||||||||||||||||||||||
พิกัด | 13°43′07″N 100°30′46″E / 13.7186°N 100.5127°E | |||||||||||||||||||||||||||
เจ้าของ | กรมเจ้าท่า (ฝั่งพระนครและธนบุรีด้านใต้) เอกชน (ฝั่งธนบุรีด้านกลางและเหนือ) | |||||||||||||||||||||||||||
ผู้ให้บริการ | • เรือด่วนเจ้าพระยา • เรือโดยสารไมน์สมาร์ทเฟอร์รี่ | |||||||||||||||||||||||||||
สาย | แม่น้ำเจ้าพระยา | |||||||||||||||||||||||||||
ชานชาลา | 1 | |||||||||||||||||||||||||||
การเชื่อมต่อ | ||||||||||||||||||||||||||||
โครงสร้าง | ||||||||||||||||||||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | โป๊ะเหล็กลอยน้ำ 8 โป๊ะ[1] (ฝั่งพระนคร ด้านเหนือ 1 กลาง 2 ใต้ 2) (ฝั่งธนบุรี ด้านเหนือ 1 กลาง 1 ใต้ 1) | |||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลอื่น | ||||||||||||||||||||||||||||
รหัสสถานี | CEN | |||||||||||||||||||||||||||
การเชื่อมต่อ | ||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||
|
ความสำคัญ
แก้ท่าสาทร ถือเป็นจุดเชื่อมต่อการคมนาคมที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ เนื่องจากที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองในย่านธุรกิจบริเวณตลาดบางรัก ใกล้กับถนนเจริญกรุง สีลม และสาทร สามารถเชื่อมต่อกับการคมนาคมทางน้ำได้ทั้งเรือโดยสารข้ามฟากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไปยังท่าเป๊ปซี่ ถนนเจริญนคร เขตคลองสาน ฝั่งธนบุรี, เรือด่วนเจ้าพระยาที่ไปสู่พื้นที่เมืองเก่าของกรุงเทพฯ ชานเมืองจังหวัดนนทบุรี และย่านราษฎร์บูรณะ และเรือโดยสารคลองดาวคะนอง ทั้งยังเป็นท่าริมแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรกที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนทางรางได้โดยตรงที่สถานีสะพานตากสิน ในเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม แต่ละวันจึงมีผู้โดยสารทั้งประชาชนและนักท่องเที่ยวเดินทางผ่านท่าสาทรเป็นจำนวนมาก นับตั้งแต่ระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสเปิดให้บริการครั้งแรกในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 โดยเฉพาะช่วงก่อนหน้าที่รถไฟฟ้าบีทีเอสจะขยายการเดินรถจากปลายทางสะพานตากสินออกไปยังฝั่งธนบุรี ที่สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรีและวงเวียนใหญ่ เมื่อวันที 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ผู้โดยสารจำนวนมากจากฝั่งธนบุรีหรือพื้นที่ริมแม่น้ำที่ห่างออกไปจำเป็นต้องพึ่งพาการคมนาคมด้วยเรือต่างๆ มายังท่าสาทรเพื่อเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้า
นอกจากนี้ ด้วยที่ตั้งของท่าสาทรที่อยู่ในย่านพักอาศัยของนักท่องเที่ยวต่างชาติและสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าได้อย่างสะดวกสบาย ท่าสาทรจึงมีบทบาทสำคัญด้านการท่องเที่ยวในกรุงเทพฯ โดยมีทั้งเรือบริการนักท่องเที่ยวสำหรับแขกของโรงแรมต่างๆ บริเวณใกล้เคียง และมีบริการเรือนำเที่ยวชมแม่น้ำเจ้าพระยาหรือเที่ยวชมคลองในฝั่งธนบุรี
การให้บริการ
แก้ให้บริการโดย บริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด ที่ท่าสาทรด้านใต้ หรือท่าสาทร (ตากสิน), รหัส CEN (อังกฤษ: Sathorn (Taksin) Pier, Central Pier, code: CEN) ซึ่งเป็นท่าเรือศูนย์กลางของเส้นทางเดินเรือและสามารถเชื่อมต่อรถไฟฟ้าได้ ขาล่องมีปลายทางที่ท่าวัดราชสิงขร-ราษฏร์บูรณะ และขาขึ้นมีปลายทางที่ท่าน้ำนนทบุรี-ท่าปากเกร็ด
นอกจากเรือโดยสารทั่วไปแล้ว ในช่วงเวลา 9.30-15.00 น. ของทุกวัน ท่าสาทรยังเป็นต้นทางของเรือท่องเที่ยวเจ้าพระยา ที่ให้บริการระหว่างสาทรถึงท่าพระอาทิตย์ สำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ และเปิดสำหรับผู้โดยสารทั่วไปอีกส่วนหนึ่ง
รายละเอียดท่าเรือ
แก้- ประกอบด้วยโป๊ะเหล็ก 2 โป๊ะ และสะพานทางเดินเหล็กปรับระดับ 2 สะพาน
- ขนาดท่า กว้าง 6.00 เมตร ยาว 12.00 เมตร
- สะพานทางเดิน กว้าง 1.50 เมตร ยาว 10.00 เมตร
- รับน้ำหนักได้ 60 คน[2]
เรือโดยสารคลองดาวคะนอง
แก้ให้บริการที่ ท่าสาทรด้านใต้ บริเวณเดียวกันกับท่าเรือด่วนเจ้าพระยา ในเส้นทางดาวคะนอง-สาทร ตามคลองดาวคะนอง
- ท่าสาทร(ตากสิน)
- ท่าวัดเศวตฉัตร
- ท่าวัดราชสิงขร
- ท่าสะพานกรุงเทพ(ฝั่งธนบุรี)
- ท่าวัดบุคคโล
- ท่าวัดดาวคะนอง
- ท่าสะพานดาวคะนอง
- ท่าจอมทอง
- ท่าสะพานบางขุนเทียคน
- ท่าวัดบางประทุนนอก
- ท่าตลาดวัดไทร
- ท่าวัดสิงห์
- ท่าสาทร (ตากสิน)
เรือโดยสารสายสาทร-ท่าเรือคลองเตย
แก้ให้บริการที่ ท่าสาทรด้านใต้ บริเวณเดียวกันกับท่าเรือด่วนเจ้าพระยา ในเส้นทางแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ปัจจุบันได้""ยกเลิก""การให้บริการแล้วบางจุด
ประกอบไปด้วย
- ท่าสาทร (ตากสิน)
- ท่าวัดเศวตฉัตร
- ท่าวัดราชสิงขร
- ท่าสะพานกรุงเทพ (ฝั่งธนบุรี)
- ท่าวัดบุคคโล
- ท่าดาวคนอง
- ท่าถนนตก (เจริญกรุง)
- ท่าราษฎร์บูรณะ (บิกซี)
- ท่าแจงร้อน
- ท่าสาธุประดิษฐ์
- ท่าคลองลัดโพธิ์ (พระประแดง)
- ท่าวัดคลองภูมิ
- ท่าช่องนนทรี (นราธิวาส)
- ท่าวัดช่องลม
- ท่าเรือคลองเตย (กรมศุลกากร)
เรือบริการนักท่องเที่ยว
แก้ให้บริการที่ ท่าสาทรด้านใต้ บริเวณเดียวกันกับท่าเรือด่วนเจ้าพระยา โดยเป็นเรือรับ-ส่งผู้เข้าพักโรงแรม, เรือบริการรับ-ส่ง ศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี, เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟรอนต์, ไอคอนสยาม และเรือนำเที่ยวชมคลอง
เรือข้ามฟาก
แก้ให้บริการโดยห้างหุ้นส่วนจำกัด ทรัพย์ธนนคร ที่ ท่าเรือสาทรด้านเหนือ ในเส้นทางท่าสาทร-ท่าตากสิน (ท่าเป๊ปซี่) ระหว่างเวลา 5.30-23.00 น. โดยผู้โดยสารชำระค่าโดยสารที่ท่าตากสิน ฝั่งธนบุรี
รายละเอียดท่าเรือ
แก้- ประกอบด้วยโป๊ะเหล็ก และสะพานทางเดินเหล็ก
- ขนาดท่า กว้าง 6.00 เมตร 12.00 เมตร
- สะพานทางเดิน กว้าง 1.50 เมตร ยาว 12.00 เมตร
- รับน้ำหนักได้ 80 คน[3]
การเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนอื่น
แก้- รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม: สถานีสะพานตากสิน
- ป้ายรถประจำทางบางรัก ถนนเจริญกรุง สาย 1 15 17 35 75 77 504 547
- รถสี่ล้อสองแถว สาย 1256 บางรัก-ถนนจันทน์-เซนต์หลุยส์, สาย 1271 วัดไผ่เงิน-เลิดสิน
สถานที่สำคัญใกล้เคียง
แก้- สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน
- สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สะพานตากสิน
- วัดยานนาวา
- โรงแรมแชงกรี-ลา
- สวนป่าเฉลิมพระเกียรติ ใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน ฝั่งธนบุรี
ผลกระทบจากการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสส่วนต่อขยาย
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
หลังการเปิดรถไฟฟ้า รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ในปี 2552 จากสถานีสะพานตากสิน ไปยังสถานีวงเวียนใหญ่ (รถไฟฟ้าบีทีเอส) ระยะทาง 2.2 กิโลเมตร นายบุญเสริม สุภาพร เจ้าของกิจการทรัพย์ธนนคร ผู้ประกอบการเดินเรือข้ามฟากจากท่าเรือเป๊ปซี่-ท่าเรือสาทร ได้คาดการณ์ในช่วงเปิดรถไฟฟ้าจากสะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่ โดยประเมินว่าผู้โดยสารอาจหายไป 30% ส่วนวันหยุดอาจหายไปประมาณ 70- 80% วันหยุด[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ รายงานท่าเทียบเรือโดยสารในแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดสมุทรปราการ ถึงจังหวัดปทุมธานี ประจำปีงบประมาณ 2563
- ↑ ตารางรายละเอียดท่าเทียบเรือด่วนเลียบฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ปี 2551 เก็บถาวร 2009-07-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนข้อมูลและสถิติเรือโดยสารในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี
- ↑ ตารางรายละเอียดท่าเทียบเรือยนต์โดยสารข้ามฟาก ปี 2551 เก็บถาวร 2009-07-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนข้อมูลและสถิติเรือโดยสารในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี
- ↑ "เจ้าของธุรกิจเรือข้ามฝากสาทรครวญเปิดบีทีเอสฝั่งธน คาดรายได้หด". mgronline.com (ภาษาอังกฤษ). 2009-05-15.