คลองดาวคะนอง
คลองดาวคะนอง เป็นลำน้ำสาขาฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยา กับคลองบางขุนเทียน ฝั่งคลองดาวคะนองฟากเหนือจากกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา จนถึงถนนสุขสวัสดิ์ เป็นเส้นแบ่งแขวงดาวคะนอง เขตธนบุรี กับแขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ เป็นหนึ่งในคลองที่มีการสัญจรทางน้ำมาก เนื่องด้วยเป็นเส้นทางท่องเที่ยวทางน้ำของกรุงเทพมหานคร เชื่อมไปยังคลองลัดผ้าเช็ดหน้า และคลองสนามชัย สู่ตลาดน้ำวัดไทร และสวนงูธนบุรี มีประตูระบายน้ำและประตูเรือสัญจร 1 แห่งบนปากคลองริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองดาวคะนองมีความกว้างเฉลี่ย 25–30 เมตร ความลึก 4–5 เมตร[1]
คลองดาวคะนอง | |
---|---|
ระบบอุทกวิทยา | |
แอ่งสมุทร | มหาสมุทรแปซิฟิก |
ระบบแม่น้ำ | ระบบแม่น้ำเจ้าพระยา |
ลุ่มน้ำประธาน | ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา |
ลุ่มน้ำ | ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาสายหลัก |
ชื่อแหล่งน้ำ | คลองดาวคะนอง |
ข้อมูลทั่วไป | |
ต้นน้ำ | ปากคลองดาวคะนอง |
ที่ตั้งของต้นน้ำ | แขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร |
ท้ายน้ำ | บรรจบคลองบางขุนเทียน ระบายน้ำออกสู่กลุ่มคลองชายทะเล |
ประวัติ
แก้คลองดาวคะนองเป็นคลองในสมัยธนบุรี ขุดเพื่อชักน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมต่อกับคลองบางขุนเทียน สำหรับการอุปโภค บริโภคตลอดจนเป็นเส้นทางสัญจรทางน้ำให้เข้าถึงชุมชนมอญที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในย่านนี้ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2510 ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นคลองอนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรี[2]
ในช่วงประมาณ พ.ศ. 2527 เคยมีการเดินเรือโดยสารในคลองดาวคะนอง คลองบางขุนเทียน คลองสนามชัย แต่หลังก็เลิกกิจการเมื่อ พ.ศ. 2536[3]
ประตูระบายน้ำและประตูเรือสัญจร
แก้ประตูระบายน้ำและประตูเรือสัญจรดาวคะนอง อยู่ในความดูแลของ สถานีสูบน้ำคลองดาวคะนอง ตั้งอยู่ในแขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ โดยประตูระบายน้ำและประตูเรือสัญจรแห่งนี้ เป็นหนึ่งในสี่แห่งของประตูระบายน้ำและประตูเรือสัญจรในฝั่งธนบุรี สร้างขึ้นเพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม รวมทั้งการป้องกันน้ำเค็มรุก เข้ามาในพื้นที่ด้านฝั่งธนบุรีของกรุงเทพมหานคร เริ่มก่อสร้างเมื่อ 30 กันยายน พ.ศ. 2535 และเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2539 งบประมาณค่าก่อสร้าง 129,000,000 บาท
อ้างอิง
แก้- ↑ วิริยะ รอดศิริ. "การศึกษาความเหมาะสมของการฟื้นฟูเส้นทางการเดินเรือโดยสาร กรณีศึกษาเขตจอมทอง ฝั่งธนบุรี" (PDF). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
- ↑ กรมศิลปากร. "คลองดาวคะนอง " ระบบภูมิสารสนเทศ แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2566. เข้าถึงจาก http://gis.finearts.go.th/fineart/
- ↑ วิริยะ รอดศิริ. "การศึกษาความเหมาะสมของการฟื้นฟูเส้นทางการเดินเรือโดยสาร กรณีศึกษาเขตจอมทอง ฝั่งธนบุรี" (PDF). มหาวิทยาลัยศิลปากร.