เขตราษฎร์บูรณะ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ราษฎร์บูรณะ เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร
เขตราษฎร์บูรณะ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khet Rat Burana |
คำขวัญ: ราษฎร์รัฐร่วมใจ ชมสมุนไพรในเมือง ลื่อเลื่องภาคเกษตรกรรม ก้าวล้ำภาคอุตสาหกิจ เนรมิตจิตรกรรมฝาผนัง เกจิดังหลวงปู่โมหลวงปู่พริ้ง ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งหลวงพ่อหินแดง เชิญชมแหล่งอาหารหลากรส | |
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตราษฎร์บูรณะ | |
พิกัด: 13°40′56″N 100°30′20″E / 13.68222°N 100.50556°E | |
ประเทศ | ไทย |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 15.782 ตร.กม. (6.093 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 75,534[1] คน |
• ความหนาแน่น | 4,786.09 คน/ตร.กม. (12,395.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10140 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1024 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 1 ถนนราษฎร์บูรณะ แขวงราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร 10140 |
เว็บไซต์ | www |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้เขตราษฎร์บูรณะตั้งอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งธนบุรี) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตธนบุรีและเขตบางคอแหลม มีคลองดาวคะนองและแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตยานนาวา และอำเภอพระประแดง (จังหวัดสมุทรปราการ) มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองบางพึ่งเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตทุ่งครุ มีลำรางสาธารณะ คลองแจงร้อน ลำรางสาธารณะ คลองข้างโรงเรียนขจรโรจน์ คลองราษฎร์บูรณะ คลองตาเทียบ และลำรางสาธารณะเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตจอมทอง มีคลองกอไผ่ขวด คลองยายจำปี คลองบางปะแก้ว และถนนสุขสวัสดิ์เป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์
แก้ท้องที่เขตราษฎร์บูรณะเดิมเป็นเขตแดนหนึ่งของกรุงธนบุรี เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนาเมืองนี้เป็นราชธานี ต่อมาในช่วงปฏิรูปการปกครอง บริเวณนี้ได้รับการจัดตั้งเป็น อำเภอราษฎร์บูรณะ ขึ้นอยู่กับจังหวัดธนบุรี
อำเภอราษฎร์บูรณะได้ถูกโอนไปเป็นเขตปกครองของจังหวัดนครเขื่อนขันธ์ (พระประแดง) อยู่ช่วงหนึ่ง จนกระทั่งจังหวัดนี้ถูกยุบลงเป็นอำเภอในจังหวัดสมุทรปราการ อำเภอราษฎร์บูรณะจึงกลับมาอยู่ในการปกครองของจังหวัดธนบุรีอีกครั้ง
และภายหลังได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เปลี่ยนการเรียกตำบลและอำเภอใหม่ด้วย อำเภอราษฎร์บูรณะจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตราษฎร์บูรณะ จนกระทั่งใน พ.ศ. 2540 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยแบ่งพื้นที่ทางทิศใต้ของเขตออกไปจัดตั้งเป็นเขตทุ่งครุและโอนพื้นที่บางส่วนของเขตไปขึ้นกับเขตจอมทอง
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้เขตราษฎร์บูรณะแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2566) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2566) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1. |
ราษฎร์บูรณะ | Rat Burana | 6.716 |
29,022 |
4,321.32 |
|
2. |
บางปะกอก | Bang Pakok | 9.066 |
46,512 |
5,130.38
| |
ทั้งหมด | 15.782 |
75,534 |
4,786.09
|
ประชากร
แก้สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตราษฎร์บูรณะ[2] | ||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2535 | 163,254 | ไม่ทราบ |
2536 | 168,973 | +5,719 |
2537 | 172,094 | +3,121 |
2538 | 174,330 | +2,236 |
2539 | 179,072 | +4,742 |
2540 | 183,253 | +4,181 |
2541 | 95,564 | แบ่งเขต |
2542 | 94,620 | -944 |
2543 | 93,482 | -1,138 |
2544 | 96,130 | +2,648 |
2545 | 97,690 | +1,560 |
2546 | 97,273 | -417 |
2547 | 95,032 | -2,241 |
2548 | 94,097 | -935 |
2549 | 93,548 | -549 |
2550 | 92,929 | -619 |
2551 | 92,094 | -835 |
2552 | 90,559 | -1,535 |
2553 | 89,297 | -1,262 |
2554 | 87,841 | -1,456 |
2555 | 86,643 | -1,198 |
2556 | 85,825 | -818 |
2557 | 84,881 | -944 |
2558 | 84,157 | -818 |
2559 | 83,248 | -909 |
2560 | 82,545 | -703 |
2561 | 81,806 | -739 |
2562 | 80,509 | -1,297 |
2563 | 78,687 | -1,822 |
2564 | 77,509 | -1,178 |
2565 | 76,590 | -919 |
2566 | 75,534 | -1,056 |
เหตุการณ์สำคัญ
แก้22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 - เปิดใช้สะพานพระราม 9 เป็นสะพานขึงโดยใช้สายเคเบิลขนาดใหญ่ เริ่มดำเนินการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2527 โดยมีกิจกรรมวิ่งมาราธอนลอยฟ้าในเวลา 06.00 น. ในวันที่ทำพิธีการเปิด โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธาน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 85,000 คน และในเวลาค่ำ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำประชาชนจุดเทียนชัยถวายพระพรพร้อมกับร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี และมีการแสดงพลุดอกไม้ไฟอย่างตระการตา[3]
การคมนาคม
แก้ถนนสายหลักในพื้นที่เขตราษฎร์บูรณะได้แก่
- ถนนสุขสวัสดิ์ เริ่มตั้งแต่ซอยสุขสวัสดิ์ 1 (รุ่งอรุณ) ไปจนถึงซอยสุขสวัสดิ์ 60 (สุดเขตกรุงเทพมหานคร) รวมทั้งหมด 44 ซอย
- ถนนราษฎร์บูรณะ เริ่มตั้งแต่ซอยราษฎร์บูรณะ 1 ถึงซอยราษฎร์บูรณะ 48 (บูรณะสุดเขต 5) รวมทั้งหมด 45 ซอย
- ถนนประชาอุทิศ เริ่มตั้งแต่ซอยประชาอุทิศ 1 (สายสำรวจ 1) ถึงซอยประชาอุทิศ 37 (มติมิตร) รวมทั้งหมด 31 ซอย
- ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ระบบทางด่วนขั้นที่ 1 หรือ "ทางด่วน 1")
- รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (เตาปูน–ราษฎร์บูรณะ–ครุใน) กำลังก่อสร้าง
ถนนสายรอง มีทั้งหมด 3 สายได้แก่ ถนนราษฎร์พัฒนา ซอยสุขสวัสดิ์ 13 และถนนจอมทองบูรณะ
เขตราษฎร์บูรณะมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา แห่งเดียว คือสะพานพระราม 9 ซึ่งเชื่อมระหว่างแขวงราษฎร์บูรณะกับแขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา
สถานที่สำคัญ
แก้
โรงเรียนแก้
วิทยาลัยแก้สะพานแก้วัดแก้
โรงพยาบาลแก้
|
อ้างอิง
แก้- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php. สืบค้น 26 มกราคม 2567.
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
- ↑ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (บรรณาธิการ). กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554. กรุงเทพฯ : โพสต์ พับลิชชิง, มีนาคม 2555. 366 หน้า. หน้า 256. ISBN 978-974-228-070-3