วิทยาลัยพณิชยการเชตุพน สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร

วิทยาลัยพณิชยการเชตุพน (Chetupon Commercial College)  เป็นวิทยาลัยด้านพณิชยกรรมและบริหารธุรกิจ สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร โดยเปิดสอน 3 หลักสูตร คือ ปวช., ปวส. และปริญญาตรี (ต่อเนื่อง)

วิทยาลัยพณิชยการเชตุพน
คติพจน์การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพและสังคม
ประเภทวิทยาเขต ในกำกับของสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร
ที่ตั้ง
เว็บไซต์http://www.chetupon.ac.th


ประวัติวิทยาลัย

แก้

วิทยาลัยพณิชยการเชตุพน เป็นสถานศึกษาด้านพาณิชยกรรมและบริหารธุรกิจ ได้ก่อตั้งมาเป็นเวลากว่า 50 ปี โดยเริ่มก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2500 โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาน สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 อดีตเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ในวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 และชื่อเดิมคือ โรงเรียนวัดพระเชตุพนตั้งตรงจิตรวิทยาลัย ปัจจุบันคือ "วิทยาลัยเทคโนโลยีตั้งตรงจิตรพาณิชยการ" สังกัดกองโรงเรียนพาณิชย์และอุตสาหกรรม กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่บริเวณสังฆาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ท่าเตียน ในการจัดตั้งนั้นเพื่อรับนักเรียนไม่มีที่เรียน โดยขอเช่าอาคารโรงเรียนตั้งตรงจิตรวิทยาลัย ในปีแรก โรงเรียนได้เปิดสอนเพียง 3 สาขาวิชา คือ แผนกพณิชยการ แผนกเลขานุการ และแผนกภาษาต่างประเทศ

การเปิดสอนครั้งแรกมี นายบัณฑิต บุณยาคม เป็นอาจารย์ใหญ่ และในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2502 มล.ปิ่น มาลากุล ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มาตรวจเยี่ยมโรงเรียน จึงริเริ่มโครงการขยายให้โรงเรียนกว้างขึ้น ปี พ.ศ. 2509 กรมอาชีวศึกษาได้มีโครงการย้ายโรงเรียนไปตั้งยังสถานที่แห่งใหม่คือ โรงเรียนการช่างอินทราชัย ประตูน้ำ (วิทยาลัยพณิชยการอินทราชัยในปัจจุบัน) โดยมีนายปัญญา โชติคุณ ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่โรงเรียนการช่างอินทราชัย และนายสุพจน์ สุขกมล อาจารย์เอกเป็นผู้เสนอให้ปรับปรุงและขยายโรงเรียนวัดพระเชตุพนตั้งตรงจิตรวิทยาลัยเป็นโรงเรียนพณิชยการแห่งใหม่ ณ ดรงเรียนการช่างอินทราชัย แต่ปรากฏว่าที่ดินคับแคบ จึงต้องระงับโครงการดังกล่าว

ต่อมาจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นจนไม่สามารถรับได้ทั้งหมด รับได้เพียง ปีละ 450 คนเท่านั้น ไม่สามารถขยายได้ เนื่องจากโรงเรียนตั้งอยู่ในเขตวัดในปี พ.ศ. 2511 กรมอาชีวศึกษาได้เช่าที่ดินของ คุณละออ หลิมเซ่งท่าย ซึ่งมอบให้กับกรมการศาสนา ใช้ประโยชน์ทางการศึกษาที่ถนนประชาอุทิศ แขวงราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร และกลายมาเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยจวบจนปัจจุบันที่ 126 ถนนประชาอุทิศ แขวงราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร 10140 โทร. 02-427-3399 โทรสาร 02-427-5066

หลังจากนั้นโรงเรียนได้เสนอขอเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนพณิชยการเชตุพน และคงยังให้ใช้อักษรย่อ พ.ต. ตามเดิม เพื่อให้ความสัมพันธ์ระหว่างศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันได้ต่อเนื่องกัน

ในปี พ.ศ. 2516 โรงเรียนได้เปิดการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) มี 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการเลขานุการ และสาขาวิชาการตลาด และโรงเรียนพณิชยการเชตุพน ได้รับการยกฐานะเป็น วิทยาลัยพณิชยการเชตุพน ในวันที่ 1 ตุลาคม

ในปี พ.ศ. 2519 วิทยาลัยขออนุมัติเปิดการศึกษาพิเศษระดับประโยคครูมัธยม (ป.ม.) ขึ้นอีกระดับหนึ่ง

ในปี พ.ศ. 2524 กรมอาชีวศึกษาได้อนุมัติให้วิทยาลัยเปิดสอนประเภทวิชาพาณิชยกรรม สาขาวิชาพณิชยการโดยจัดให้นักเรียนได้เลือกเรียนตามความถนัดได้แก่ กลุ่มวิชาการบัญชี กลุ่มวิชาการเลขานุการ และกลุ่มวิชาการขาย (ยกเลิกแล้วในปัจจุบัน)

ในปี พ.ศ. 2528 วิทยาลัยได้เปิดสอนอีก 1 สาขาวิชา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) คือ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

ในปี พ.ศ. 2535 กรมอาชีวศึกษาได้ร่วมมือกับกลุ่มโรงแรมรอยัลการ์เด้น เปิดหลักสูตรพิเศษต่อยอดจากระดับ ปวช. สาขาวิชาธุรกิจการโรงแรม โดยมีระยะเวลาเรียน 1 ปี ซึ่งเป็นหลักสูตรพิเศษ

ในปี พ.ศ. 2538 วิทยาลัยได้เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) คือกลุ่มวิชาธุรกิจโรงแรม และยังได้เปิดสอน'"กลุ่มวิชาธุรกิจค้าปลีก"' โดยได้รับความร่วมมือจากสถานประกอบการ คือ บริษัท ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น

ในปี พ.ศ. 2540 วิทยาลัยได้เปิดสอนเพิ่มขึ้นอีก 1 สาขาวิชา คือ ธุรกิจประกันภัย (ยกเลิกแล้วในปัจจุบัน) และเนื่องจากมีผู้สนใจกรมอาชีวศึกษาได้อนุมัติให้วิทยาลัยเปิดสอนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในภาคสมทบ 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการตลาด และสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ โดยที่ผู้สมัครเข้าศึกษาต่อในระดับ ปวส.ภาคสมทบ จะต้องสำเร็จการศึกษาระดับ ปวช. มีงานทำแล้วและประสงค์จะเพิ่มวุฒิการศึกษาขึ้น โดยทำมีการเรียนการสอนวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 17.30 - 21.00 น. และวันเสาร์ 13.00 - 20.00 น.

ในปี พ.ศ. 2545 วิทยาลัยได้เปิดในระดับปริญญาตรี เทคโนโลยีบัณฑิต (ต่อเนื่อง) ในคณะวิชาบริหารอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรม สาขาวิชาการโรงแรมและการบริการ

ในปี พ.ศ. 2559 วิทยาลัยได้เปิดสอนอีก 1 สาขาวิชาในะดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในประเภทวิชาศิลปกรรม คือ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 วิทยาลัยได้เปิดสอนสาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก ในะดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

ในปัจจุบันวิทยาลัยได้ผลิตบุคลากรทางธุรกิจ เพื่อให้เข้าถึงความต้องการของตลาดแรงงานและสังคม มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ และมีคุณธรรม ตามปรัชญาของวิทยาลัย การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพและสังคม

ดอกแก้วเจ้าจอม

แก้

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกต้นแก้วเจ้าจอมไว้เป็นที่ระลึกในบริเวณวิทยาลัย เนื่องในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารเรียนหลังที่ 4 และสมาคมศิษย์เก่าพณิชยการเชตุพน เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2520

หลักสูตร

แก้

ปัจจุบันวิทยาลัยพณิชยการเชตุพนได้เปิดสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.), ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และปริญญาตรี เทคโนโลยีบัณฑิต (ต่อเนื่อง)

ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

แก้

ประเภทวิชาพาณิชยกรรม

แก้

• สาขาวิชาการบัญชี

• สาขาวิชาการตลาด

• สาขาวิชาการเลขานุการ

• สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

• สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก

• สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก

ประเภทวิชาการโรงแรมและบริการ

แก้

• สาขาวิชาการโรงแรม

ประเภทวิชาศิลปกรรม

แก้

• สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก

ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

แก้

ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ

แก้

• สาขาวิชาการบัญชี

• สาขาวิชาการตลาด

• สาขาวิชาการเลขานุการ

• สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

• สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก

ประเภทวิชาบริหารอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรม

แก้

• สาขาวิชาธุรกิจโรงแรม

ประเภทวิชาศิลปกรรม

แก้

• สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก

ระดับปริญญาตรี เทคโนโลยีบัณฑิต

แก้

• คณะวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชี (2 ปีต่อเนื่อง)

• คณะวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการตลาด (2 ปีต่อเนื่อง)

• คณะวิชาบริหารอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรม สาขาวิชาการโรงแรมและการบริการ (2 ปีต่อเนื่อง)

อาคารเรียน

แก้

พื้นที่ทั้งหมด 14 ไร่ 2 งาน 59 ตารางวา

อาคาเรียนของวิทยาลัยมีทั้งหมด 8 อาคาร ประกอบไปด้วย

อาคาร 1 อาคารสำนักงานบริหาร และอาคารเรียนแผนกวิชาการบัญชี

อาคาร 2 อาคารเรียนแผนกวิชาสามัญสัมพันธ์

อาคาร 3 อาคารเรียนแผนกวิชาการตลาดและแผนกวิชาธุรกิจค้าปลีก

อาคาร 4 อาคารเรียนแผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจและการบัญชี

อาคาร 5 ห้องสมุด, ห้องประชุม 1 (โสตทัศนศึกษา), โรงฝึกพลศึกษา (โรงยิม) และศูนย์การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

อาคาร 6 อาคารเรียนแผนกวิชาเลขานุการและแผนกการโรงแรม, อาคารปฏิบัติการทักษะทางเลขานุการ, ห้องคอมพิวเตอร์แผนกวิชาเลขานุการ, ห้องเรียนจัดการสัมมนา, ห้องพิมพ์ดีด และห้องถอดข้อความ

อาคาร 7 หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ

อาคาร 8 อาคารเรียนคณะวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรม

Rover Den คูหาลูกเสือ - เนตรนารีวิสามัญ วิทยาลัยพณิชยการเชตุพน

อาคารประชุมอเนกประสงค์

ผู้อำนวยการ อดีต - ปัจจุบัน

แก้
ชื่อ - นามสกุล
เริ่มดำรงตำแหน่ง
สิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง
นายบัณฑิต บุญยาคม 1 มิถุนายน พ.ศ. 2500 1 เมษายน พ.ศ. 2511
นายสุพจน์ สุขกมล 1 เมษายน พ.ศ. 2511 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520
คุณหญิงชูศรี เมาลานนท์ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 30 กันยายน พ.ศ. 2527
นายสมยงค์ อาจจำนงค์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2527 30 กันยายน พ.ศ. 2538
นางณัฐศุภางค์ นพคุณ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 30 กันยายน พ.ศ. 2542
นางสุมาลี จุลเจิม 18 ตุลาคม พ.ศ. 2542 1 เมษายน พ.ศ. 2547
นางทัศนียา รัตนเศรษฐ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 5 มกราคม พ.ศ. 2548
นางพรพรรณ สงพะโยม 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 30 กันยายน พ.ศ. 2552
นายบุญส่ง จำปาโพธิ์ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
ดร.ชมพูนุช บัวบังศร 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554 1 สิงหาคม พ.ศ. 2558
ดร.ชัยฤทธิ์ แสงสว่าง 1 สิงหาคม พ.ศ. 2558 พ.ศ. 2562
นางสาวธิติมา โรจน์วัชราภิบาล พ.ศ. 2562 ปัจจุบัน

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้