เขตจอมทอง
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
จอมทอง เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากแห่งหนึ่งทางทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร
เขตจอมทอง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khet Chom Thong |
ชุมชนเก่าริมถนนวุฒากาศ หน้าวัดนางนองวรวิหาร | |
คำขวัญ: หลวงปู่เฒ่าวัดหนัง ตลาดดังวัดไทร หวานชื่นใจส้มบางมด ราชโอรสวัดงาม | |
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตจอมทอง | |
พิกัด: 13°40′38″N 100°29′5″E / 13.67722°N 100.48472°E | |
ประเทศ | ไทย |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 26.265 ตร.กม. (10.141 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566)[1] | |
• ทั้งหมด | 141,098 คน |
• ความหนาแน่น | 5,372.09 คน/ตร.กม. (13,913.6 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10150 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1035 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 38 ซอยพระรามที่ 2 ซอย 3 (จันทร์เศรษฐ์ 2) ถนนพระรามที่ 2 แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร 10150 |
เว็บไซต์ | www |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้เขตจอมทองตั้งอยู่บริเวณทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งธนบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตภาษีเจริญและเขตธนบุรี มีลำรางสาธารณะ คลองบางประทุน คลองตาฉ่ำ คลองรางบัว คลองสวนหลวงใต้ คลองบางหว้า คลองวัดโคนอน (คลองวัดอ่างแก้ว) คลองตาม่วง คลองวัดนางชี (คลองวัดเพลง) คลองด่าน คลองวัดใหม่ยายนุ้ย 1 (คลองศาลเจ้าต้นโพธิ์) และคลองแยกบางสะแก 13 เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตธนบุรีและเขตราษฎร์บูรณะ มีคลองบางสะแก คลองดาวคะนอง และถนนสุขสวัสดิ์เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ และเขตบางขุนเทียน มีคลองบางปะแก้ว คลองยายจำปี คลองกอไผ่ขวด ลำรางสาธารณะ คลองบางมด คลองตาสุก และคลองบัว (คลองตาเปล่ง) เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางขุนเทียน เขตบางบอน และเขตภาษีเจริญ มีคลองวัดกก คลองสนามชัย คลองวัดสิงห์ และคลองบางระแนะเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์
แก้บริเวณเขตจอมทองเดิมเป็นพื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี ซึ่งบริเวณนี้ต่อมามีชุมชนหนาแน่นและมีความเจริญขึ้นเนื่องจากเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ มีทั้งคลอง ถนน และเส้นทางรถไฟตัดผ่าน ทางราชการจึงได้จัดตั้งเทศบาลนครธนบุรีขึ้นใน พ.ศ. 2479 โดยให้ตำบลบางค้ออยู่ในท้องที่ด้วย และตั้งสุขาภิบาลบางขุนเทียนขึ้นในพื้นที่บางส่วนของตำบลบางขุนเทียนและตำบลบางมดใน พ.ศ. 2508 และ ตำบลจอมทอง ก็ได้รับการจัดตั้งขึ้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2513 โดยแบ่งพื้นที่ 11 หมู่บ้านทางตอนเหนือของตำบลบางมดออกมา
ต่อมาได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร ยกเลิกการเรียกชื่อตำบลและอำเภอแบบเดิม ตำบลจอมทองจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงจอมทอง และอยู่ในเขตการปกครองของสำนักงานเขตบางขุนเทียน จนกระทั่งในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 จึงได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยจัดตั้ง เขตจอมทอง ขึ้น โดยแบ่งพื้นที่เขตบางขุนเทียนออกมา 4 แขวง
ต่อมาในวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 เขตจอมทองได้รับพื้นที่บางส่วนของแขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ และแขวงบุคคโล เขตธนบุรี มาเป็นพื้นที่ปกครองของทางสำนักงานเขต ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตธนบุรี เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ และตั้งเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ในช่วงจัดพื้นที่การบริหารในกรุงเทพมหานครใหม่ โดยแบ่งพื้นที่เขตการปกครองจากเดิม 38 เขตเป็น 50 เขต
ลักษณะทางกายภาพ
แก้ลักษณะภูมิประเทศของเขตจอมทองเป็นที่ราบลุ่มโดยตลอด ในอดีตมีสภาพเป็นเรือกสวนไร่นาแบบสังคมชนบท มีการทำการเกษตรกรรม แต่ในปัจจุบันลักษณะการใช้ที่ดิน เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเกือบหมดแล้ว กลายเป็นสังคมเมือง เต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่อง อาคารพาณิชย์ โรงงาน อุตสาหกรรม และสถานประกอบกิจการทั้งขนาดเล็กและขนาด ใหญ่ ตลอดจนหมู่บ้านจัดสรรต่าง ๆ มากมาย พื้นที่สวนอยู่เหลือเพียงเล็กน้อย และที่มีชื่อเสียงคือ สวนส้มบางมดและสวนลิ้นจี่
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้เขตจอมทองแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 แขวง ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2566) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2566) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1. |
บางขุนเทียน | Bang Khun Thian | 5.789 |
34,119 |
5,893.76 |
|
2. |
บางค้อ | Bang Kho | 3.375 |
33,456 |
9,912.89
| |
3. |
บางมด | Bang Mot | 11.918 |
42,347 |
3,553.20
| |
4. |
จอมทอง | Chom Thong | 5.183 |
31,176 |
6,015.05
| |
ทั้งหมด | 26.265 |
141,098 |
5,372.09
|
ประชากร
แก้สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตจอมทอง[2] | ||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2535 | 164,049 | ไม่ทราบ |
2536 | 167,762 | +3,713 |
2537 | 170,079 | +2,317 |
2538 | 169,382 | -697 |
2539 | 170,194 | +812 |
2540 | 169,360 | -834 |
2541 | 176,309 | +6,949 |
2542 | 174,611 | -1,698 |
2543 | 172,863 | -1,748 |
2544 | 173,184 | +321 |
2545 | 172,815 | -369 |
2546 | 173,133 | +318 |
2547 | 167,814 | -5,319 |
2548 | 167,175 | -639 |
2549 | 166,377 | -798 |
2550 | 165,070 | -1,307 |
2551 | 163,846 | -1,224 |
2552 | 162,151 | -1,695 |
2553 | 160,451 | -1,700 |
2554 | 158,646 | -1,805 |
2555 | 157,970 | -676 |
2556 | 157,156 | -814 |
2557 | 156,030 | -1,126 |
2558 | 155,048 | -980 |
2559 | 153,668 | -1,380 |
2560 | 152,315 | -1,353 |
2561 | 151,174 | -1,141 |
2562 | 150,108 | -1,066 |
2563 | 148,290 | -1,818 |
2564 | 145,771 | -2,519 |
2565 | 143,330 | -2,441 |
2566 | 141,098 | -2,232 |
การคมนาคม
แก้- ถนนพระรามที่ 2
- ถนนเอกชัย
- ถนนวุฒากาศ
- ถนนจอมทอง
- ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน
- ถนนสุขสวัสดิ์
- ถนนราชพฤกษ์
- ถนนกัลปพฤกษ์
- ถนนกำนันแม้น
- ถนนพุทธบูชา
- ถนนจอมทองบูรณะ
- ถนนเทอดไท
- ถนนอนามัยงามเจริญ
- รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม (สถานีวุฒากาศ)
- สถานีรถไฟคลองต้นไทร
- สถานีรถไฟจอมทอง
- สถานีรถไฟวัดสิงห์
- ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
ทางน้ำ
แก้- คลองสนามชัย
- คลองด่าน
- คลองบางขุนเทียน
- คลองดาวคะนอง
- คลองบางมด
- คลองวัดกก
- คลองวัดสิงห์
- คลองบางปะแก้ว
- คลองลัดเช็ดหน้า
- คลองบางสะแก
- คลองบางระแนะ
- คลองบางระแนะน้อย
- คลองบางประทุน
- คลองบางหว้า
- คลองสวนเลียบ
- คลองบางค้อ
- คลองวัดโคนอน
- คลองสวนหลวงใต้
- คลองลำรางสาธารณะ
- คลองตาฉ่ำ
- คลองวัดนางชี
- คลองวัดใหม่ยายนุ้ย
- คลองยายจำปี
- คลองกอไผ่ขวด
- คลองตาสุก
- คลองบัว
สถานที่สำคัญ
แก้โรงเรียน
แก้- โรงเรียนบางมดวิทยา "สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์"
- โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์
- โรงเรียนวัดราชโอรส
- โรงเรียนเลิศพัฒนา
- โรงเรียนวัดไทร
- โรงเรียนแม่พระประจักษ์
- โรงเรียนวัดสีสุก
- โรงเรียนจินดามณี(โครงการเคมบริดจ์)
- โรงเรียนวัดนางนอง(พิพัฒน์)
- โรงเรียนอนุบาลวัดนางนอง
- โรงเรียนวัดศาลาครืน
- โรงเรียนวัดมงคลวราราม
ศาสนสถาน
แก้- วัดแก้วไพฑูรย์ (วัดบางประทุนใน)
- วัดไทร
- วัดนาคนิมิตรราษฎร์บำรุง
- วัดนางนองวรวิหาร
- วัดบางขุนเทียนนอก
- วัดบางขุนเทียนกลาง
- วัดบางขุนเทียนใน
- วัดบางประทุนนอก
- วัดโพธิ์แก้ว
- วัดโพธิ์ทอง
- วัดมงคลวราราม (วัดมะเกลือ)
- วัดยายร่ม
- วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร (วัดจอมทอง)
- วัดศาลาครืน
- วัดสิงห์
- วัดสีสุก
- วัดหนังราชวรวิหาร
- วัดแม่พระประจักษ์เมืองลูร์ด
สถานที่ราชการ
แก้- สำนักงานเขตจอมทอง
- ศาลแขวงธนบุรี
- ศาลอาญาธนบุรี
- ศาลแพ่งธนบุรี
- สำนักงานอัยการสูงสุดจังหวัดธนบุรี
- สถานีตำรวจนครบาลบางมด
- กองบังคับการตำรวจนครบาล 8
- สถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียน
- กองบังคับการตำรวจนครบาล 9
- สำนักงานสรรพากรเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27
- การประปานครหลวงสาขาตากสิน
อื่น ๆ
แก้- ตลาดน้ำวัดไทร
อ้างอิง
แก้- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php. สืบค้น 27 มกราคม 2567.
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์สำนักงานเขตจอมทอง
- แผนที่เขตจอมทอง เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน