ถนนกัลปพฤกษ์ (อังกฤษ: Thanon Kanlapaphruek) หรือ ทางหลวงชนบท กท.1001 เป็นเส้นทางคมนาคมในพื้นที่ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยเป็นถนนลาดยางขนาด 6 ช่องจราจร เชื่อมต่อระหว่างถนนราชพฤกษ์กับถนนกาญจนาภิเษก

ถนนกัลปพฤกษ์
ทางหลวงชนบท กท.1001
ถนนกัลปพฤกษ์
แผนที่
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว7.700 กิโลเมตร (4.785 ไมล์)
ประวัติ
มีขึ้นเมื่อพ.ศ. 2545–ปัจจุบัน
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันตก ถ.กาญจนาภิเษก (ตะวันตก) ใน เขตบางแค กรุงเทพมหานคร
 
ปลายทางทิศตะวันออก ถ.ราชพฤกษ์ ใน เขตภาษีเจริญ , เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง

รายละเอียดเส้นทาง

แก้

เริ่มต้นจากถนนราชพฤกษ์ที่ทางแยกต่างระดับสวนเลียบ ระหว่างพื้นที่แขวงบางค้อ (เขตจอมทอง) กับแขวงปากคลองภาษีเจริญ (เขตภาษีเจริญ) ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ในพื้นที่แขวงบางค้อ ข้ามคลองวัดโคนอนเข้าพื้นที่แขวงบางหว้า (เขตภาษีเจริญ) ข้ามคลองบางหว้าเข้าพื้นที่แขวงบางขุนเทียน (เขตจอมทอง) ข้ามคลองสวนหลวงเข้าแขวงบางหว้า ข้ามคลองรางบัวเข้าแขวงบางขุนเทียน ตัดกับถนนกำนันแม้นและข้ามคลองวัดสิงห์เข้าแขวงบางหว้าอีกครั้งหนึ่ง แล้วเลียบไปกับคลองบางโคลัด (บางส่วนซ้อนทับแนวคลองจึงเข้าไปในพื้นที่แขวงคลองบางพราน (เขตบางบอน) ด้วย) ข้ามคลองพระยาราชมนตรีเข้าพื้นที่แขวงบางแค (เขตบางแค) ก่อนตัดกับถนนบางแค จากนั้นจึงเริ่มแยกออกจากแนวคลองไปทางทิศตะวันตก จนบรรจบกับถนนกาญจนาภิเษกที่ทางแยกต่างระดับบางโคลัด ระหว่างพื้นที่แขวงบางแคกับแขวงหลักสอง (เขตบางแค)

ประวัติ

แก้

ถนนกัลปพฤกษ์ตัดขึ้นตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตจอมทอง เขตภาษีเจริญ เขตบางขุนเทียน และเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2537 เพื่อขยายและเชื่อมโยงการคมนาคมระหว่างพื้นที่ตอนในของกรุงเทพมหานครกับบริเวณรอบนอก เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดการจราจรในปี พ.ศ. 2545 กรมทางหลวงชนบทได้ใช้ชื่อถนนในเบื้องต้นว่า ถนนสายแยกตากสิน-เพชรเกษมไปถนนวงแหวนรอบนอก เนื่องจากถนนสายนี้มีจุดเริ่มต้นแยกจากถนนตากสิน-เพชรเกษม และไปสิ้นสุดที่ถนนวงแหวนรอบนอกตะวันตก (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของถนนกาญจนาภิเษก)

ต่อมากรมทางหลวงชนบทได้ขอให้กรมศิลปากรพิจารณาชื่อถนนตากสิน-เพชรเกษม และถนนสายแยกตากสิน-เพชรเกษมไปถนนวงแหวนรอบนอกใหม่ กรมศิลปากรโดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์จึงพิจารณาโดยใช้หลักการที่กรมทางหลวงชนบทเคยใช้ตั้งชื่อถนนในโครงการสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณวัดนครอินทร์ และถนนต่อเชื่อมสายติวานนท์-เพชรเกษม-รัตนาธิเบศร์ไปแล้ว กล่าวคือ ใช้ชื่อพรรณไม้มงคลตั้งเป็นชื่อถนน ในส่วนของถนนตากสิน-เพชรเกษม ให้รวมเป็นสายเดียวกันกับถนนที่ตัดใหม่จากเพชรเกษมไปรัตนาธิเบศร์ซึ่งใช้ชื่อว่าถนนราชพฤกษ์ ส่วนถนนสายแยกตากสิน-เพชรเกษมไปถนนวงแหวนรอบนอกนั้นตั้งชื่อว่า ถนนกัลปพฤกษ์ เนื่องจากกัลปพฤกษ์ (Cassia bakeriana) เป็นชื่อไม้มงคลที่มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้ในวงศ์และสกุลเดียวกันกับราชพฤกษ์ (Cassia fistula) รวมทั้งยังออกดอกและทิ้งใบในช่วงระยะเวลาเดียวกันอีกด้วย

ถนนกัลปพฤกษ์ได้รับการขยายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 แล้วเสร็จเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 โดยปรับปรุงจากถนนคอนกรีตขนาด 4 ช่องจราจร เป็นถนนลาดยางขนาด 6 ช่องจราจร[1] และมีโครงการต่อขยายไปบรรจบที่ถนนพุทธสาครและถนนเศรษฐกิจ 1 อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร โดยคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2568[2]

รายชื่อทางแยก

แก้
รายชื่อทางแยกบน   ถนนกัลปพฤกษ์ ทิศทาง: บางโคลัด–สวนเลียบ
จังหวัด เขต กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
  กัลปพฤกษ์ บางโคลัด–สวนเลียบ
กรุงเทพมหานคร บางแค 0+000 ทางแยกต่างระดับบางโคลัด เชื่อมต่อจาก:   ส่วนต่อขยายถนนกัลปพฤกษ์-พุทธสาคร (โครงการในอนาคต)
    ถนนกาญจนาภิเษก (ตะวันตก) ไปบางแค, นครปฐม, บางบัวทอง     ถนนกาญจนาภิเษก (ตะวันตก) ไปถนนพระรามที่ 2, ทางพิเศษกาญจนาภิเษก
≈2+950 แยกบางพฤกษ์ ถนนบางแค ไปถนนเพชรเกษม (แยกบางแค) ถนนบางบอน 1 ไปถนนเอกชัย (แยกบางบอน)
จอมทอง ≈4+425 แยกนิลกาจ ถนนกำนันแม้น ไปถนนเทอดไท (แยกกำนันแม้น) ถนนกำนันแม้น ไปถนนเอกชัย (แยกวัดสิงห์)
ภาษีเจริญ 7+700 ทางแยกต่างระดับสวนเลียบ ทางเชื่อม: ไปถนนเทอดไท ไม่มี
  ถนนราชพฤกษ์ ไปถนนเพชรเกษม, ถนนบรมราชชนนี ไม่มี
ตรงไป:   ถนนราชพฤกษ์ ไปสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

รายการอ้างอิง

แก้
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-11. สืบค้นเมื่อ 2020-03-09.
  2. https://www.dailynews.co.th/economic/738384