เขตบางบอน
บางบอน เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพทั่วไปทางด้านตะวันออกของเขตเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยและหนาแน่นปานกลาง โดยมีย่านการค้าและเขตอุตสาหกรรมภายในพื้นที่ ส่วนทางด้านตะวันตกเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยและเขตเกษตรกรรม
เขตบางบอน | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khet Bang Bon |
ถนนบางขุนเทียนช่วงตลาดบางบอน | |
คำขวัญ: หลวงพ่อขาวทรงฤทธิ์ ศักดิ์สิทธิ์หลวงพ่อเกษร งามนคเรศเขตบางบอน สมุทรสาครชิดชายแดน ถนนวงแหวนคู่อุตสาหกรรม น้อมนำเกษตรพอเพียง | |
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตบางบอน | |
พิกัด: 13°39′50″N 100°24′32″E / 13.66389°N 100.40889°E | |
ประเทศ | ไทย |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 34.745 ตร.กม. (13.415 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 100,203[1] คน |
• ความหนาแน่น | 2,883.96 คน/ตร.กม. (7,469.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10150 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1050 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 1 ซอยเอกชัย 135/1 (เสือโต) ถนนเอกชัย แขวงบางบอนใต้ เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร 10150 |
เว็บไซต์ | www |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้เขตบางบอนตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งธนบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตหนองแขม เขตบางแค และเขตภาษีเจริญ มีคลองหนามแดงและคลองบางโคลัดเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตจอมทอง มีคลองวัดสิงห์เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางขุนเทียน มีทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่–มหาชัยเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองสมุทรสาครและอำเภอกระทุ่มแบน (จังหวัดสมุทรสาคร) มีแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรสาครเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ
แก้บางบอนในอดีตเป็นชื่อหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่มีความเก่าแก่อย่างน้อยตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีหลักฐานเป็นวรรณคดีหลายเรื่องที่กล่าวถึง ได้แก่ โคลงนิราศทวาย (โคลงนิราศไปแม่น้ำน้อย) ของพระพิพิธสาลีในสมัยรัชกาลที่ 1[2] โคลงนิราศนรินทร์ ของนายนรินทรธิเบศร์ (อิน) ในสมัยรัชกาลที่ 2[3] และ นิราศเมืองเพชร ของสุนทรภู่ในสมัยรัชกาลที่ 4[4][5] ต่อมาเมื่อมีการจัดการปกครองส่วนภูมิภาคโดยแบ่งออกเป็นมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน บางบอนจึงกลายมาเป็นท้องที่การปกครองของอำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี โดยในพื้นที่แถบนี้รวมทั้งพื้นที่ใกล้เคียงมีการปรับเปลี่ยนเขตการปกครองหลายครั้ง ในที่สุดเมื่อ พ.ศ. 2483 ทางราชการได้ยุบรวมท้องที่ตำบลบางบอนเหนือ ตำบลบางบอนใต้ และตำบลแสมดำเข้าด้วยกันและตั้งเป็น ตำบลบางบอน ขึ้น[6]
ใน พ.ศ. 2514 จังหวัดธนบุรีถูกรวมเข้ากับจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[7] และใน พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร[8] ซึ่งได้เปลี่ยนการเรียกหน่วยการปกครองใหม่ด้วย ตำบลบางบอนจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงบางบอน และอยู่ในเขตการปกครองของสำนักงานเขตบางขุนเทียน
ภายหลังในเขตบางขุนเทียนมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้นมาก เพื่อให้การปกครองและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศแยกพื้นที่แขวงบางบอนออกจากเขตบางขุนเทียนตั้งเป็น เขตบางบอน โดยสำนักงานเขตบางบอนได้เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2541[9] เป็นสำนักงานเขตลำดับที่ 50 ของกรุงเทพมหานคร เดิมตั้งอยู่ที่อาคารตลาดสดเทพยดาอารักษ์ หมู่ที่ 4 แขวงบางบอน[10] ต่อมาใน พ.ศ. 2547 ได้ย้ายมาตั้งสำนักงานเขตถาวรที่ซอยเอกชัย 135/1 หมู่ที่ 3 แขวงบางบอน[10]
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 กรุงเทพมหานครได้ประกาศยุบแขวงบางบอนและตั้งแขวงขึ้นใหม่ 4 แขวง โดยมีถนนเอกชัยและถนนกาญจนาภิเษกฝั่งตะวันตกเป็นเส้นแบ่งเขตและให้มีผลบังคับใช้ในวันเดียวกัน[11] ส่งผลให้เขตบางบอนในปัจจุบันประกอบด้วยแขวงดังต่อไปนี้
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2566) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2566) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
2. |
บางบอนเหนือ | Bang Bon Nuea | 15.203 |
22,472 |
1,478.13 |
|
3. |
บางบอนใต้ | Bang Bon Tai | 8.939 |
23,997 |
2,684.53
| |
4. |
คลองบางพราน | Khlong Bang Phran | 5.423 |
30,808 |
5,680.99
| |
5. |
คลองบางบอน | Khlong Bang Bon | 5.180 |
22,926 |
4,425.87
| |
ทั้งหมด | 34.745 |
100,203 |
2,883.96
|
หมายเลขที่หายไปคือแขวงที่ถูกยุบเลิก
ประชากร
แก้สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตบางบอน[12] | ||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2541 | 69,829 | แบ่งเขต |
2542 | 72,726 | +2,897 |
2543 | 76,040 | +3,314 |
2544 | 79,765 | +3,725 |
2545 | 84,660 | +4,895 |
2546 | 89,140 | +4,480 |
2547 | 93,216 | +4,076 |
2548 | 96,723 | +3,507 |
2549 | 99,348 | +2,625 |
2550 | 101,263 | +1,915 |
2551 | 102,963 | +1,700 |
2552 | 103,470 | +507 |
2553 | 104,535 | +1,065 |
2554 | 104,768 | +233 |
2555 | 105,161 | +393 |
2556 | 106,085 | +924 |
2557 | 107,140 | +1,055 |
2558 | 107,397 | +257 |
2559 | 107,136 | -261 |
2560 | 107,118 | -18 |
2561 | 106,919 | -199 |
2562 | 105,684 | -1,235 |
2563 | 104,366 | -1,318 |
2564 | 102,635 | -1,731 |
2565 | 101,246 | -1,389 |
2566 | 100,203 | -1,043 |
การคมนาคม
แก้ถนนสายหลักในพื้นที่เขตบางบอน ได้แก่
- ถนนกาญจนาภิเษก (ทล.9) และทางคู่ขนาน (ทล.3901 และ 3902)
- ถนนเอกชัย (ทล.3242)
- ถนนบางขุนเทียน
- ถนนบางบอน 1
- ถนนกัลปพฤกษ์ (ทางหลวงชนบท กท.1001)
ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่
|
|
สถานที่สำคัญ
แก้ทางน้ำ
แก้
|
|
เศรษฐกิจ
แก้เกษตรกรรมเป็นสิ่งที่สำคัญในเขตนี้ พืชที่ปลูกได้แก่ มะม่วงน้ำดอกไม้มัน มะพร้าว กล้วยไม้ และดอกบัว เป็นต้น[13]
อ้างอิง
แก้- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php เก็บถาวร 2020-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้น 14 กุมภาพันธ์ 2567.
- ↑ โคลงนิราศทวาย เก็บถาวร 2009-10-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากตู้หนังสือเรือนไทย.
- ↑ นิราศนรินทร์ จากวิกิซอร์ซ.
- ↑ "นิราศเมืองเพชร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-02. สืบค้นเมื่อ 2012-03-31.
- ↑ เนื่องจากการเดินทางทางน้ำเพื่อจะทะลุออกไปยังแม่น้ำท่าจีนในแถบนี้จะใช้คลองด่าน คลองสนามชัย และคลองมหาชัยเป็นหลัก หมู่บ้านบางบอนในนิราศทั้งสามเรื่องจึงน่าจะตั้งอยู่ตรงปากคลองบางบอนแยกจากคลองวัดสิงห์หรือริมคลองสนามชัย (ระหว่างวัดไทร วัดสิงห์ และวัดกก) เช่นเดียวกับหมู่บ้านรายทางแห่งอื่น ๆ ที่ผู้ประพันธ์กล่าวถึง ซึ่งในปัจจุบัน พื้นที่ย่านนั้นส่วนใหญ่อยู่ในเขตจอมทองและเขตบางขุนเทียน ไม่เกี่ยวข้องกับท้องที่เขตบางบอนหรือแขวงบางบอนโดยตรง
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตต์ตำบลและอำเภอในจังหวัดพระนครและธนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 57: 2598–2606. 29 ตุลาคม 2483.
- ↑ "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (พิเศษ 144 ก): 816–824. 21 ธันวาคม 2514. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-04-25. สืบค้นเมื่อ 2012-03-31.
- ↑ "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๓๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (พิเศษ 190 ก): 187–201. 13 ธันวาคม 2515.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางขุนเทียน และตั้งเขตบางบอน กรุงเทพมหานคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 108 ง): 61–65. 18 พฤศจิกายน 2540.
- ↑ 10.0 10.1 สำนักงานเขตบางบอน. "ประวัติความเป็นมา." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://203.155.220.239/subsite/index.php?strOrgID=001057&strSection=aboutus&intContentID=549[ลิงก์เสีย] [ม.ป.ป.]. สืบค้น 7 มีนาคม 2555.
- ↑ "ยุบพื้นที่แขวงบางบอน และตั้งแขวงบางบอนเหนือ แขวงบางบอนใต้ แขวงคลองบางพราน และแขวงคลองบางบอน เขตบางบอน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 134 (พิเศษ 215 ง): 53–56.
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
- ↑ สนุก! ออนไลน์. "สองเท้าพาเดิน: ชีวิตชาวสวนและแหล่งผลิตดอกไม้ย่านบางบอน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://travel.sanook.com/bangkok/bangkok_08195.php. [ม.ป.ป.]. สืบค้น 30 มีนาคม 2555.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์สำนักงานเขตบางบอน
- แผนที่เขตบางบอน เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน