วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร

พระอารามหลวงในเขตจอมทอง

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร[1] เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาก่อนการสร้างกรุงเทพมหานคร เดิมชื่อวัดจอมทอง ต่อมาพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงสถาปนาวัดจอมทองขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม เนื่องจากเมื่อครั้งที่ทรงยกทัพไปสกัดทัพพม่าที่ด่านเจดีย์สามองค์ กาญจนบุรีใน พ.ศ. 2363 เมื่อกระบวนทัพเรือมาถึงวัดจอมทอง ฝั่งธนบุรีทรงหยุดพักและทำพิธีเบิกโขลนทวารตามตำราพิชัยสงคราม พร้อมทรงอธิษฐานขอให้การไปราชการทัพครั้งนี้ได้ชัยชนะ แต่ปรากฏว่าไม่มีทัพพม่ายกเข้ามา เมื่อยกทัพกลับ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดจอมทองใหม่และถวายเป็นพระอารามหลวง ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่าวัดราชโอรส ซึ่งหมายถึง พระราชโอรสคือ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ในปัจจุบันมี พระพรหมวชิรปัญญาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) เป็นเจ้าอาวาส

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร
ประตูทางวัดราชโอรสารามราชวรวิหารจากฝั่งคลองบางขุนเทียน
แผนที่
ชื่อสามัญวัดราชโอรสาราม
ที่ตั้งเลขที่ 258 ซอยเอกชัย 4 ถนนเอกชัย แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร 10150
ประเภทพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร[1]
นิกายเถรวาท มหานิกาย
พระประธานพระพุทธอนันตคุณอดุลญาณบพิตร
พระพุทธรูปสำคัญพระพุทธไสยาสน์นารถชนินทร์
ความพิเศษวัดประจำรัชกาลที่ 3
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา
พระพุทธอนันตคุณอดุลญาณบพิตร พระอุโบสถ วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร

ลำดับเจ้าอาวาส แก้

นับตั้งแต่วัดจอมทองได้รับสถาปนาเป็นวัดราชโอรสารามเป็นต้นมา มีเจ้าอาวาสตามลำดับ ดังนี้[2]

ลำดับที่ รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 พระสุธรรมเทพเถร (ทอง) พ.ศ. 23?? พ.ศ. 23??
2 พระธรรมเจดีย์ (จีน) พ.ศ. 2395 พ.ศ. 2416
3 พระสังวรวิมล (เหม็ง) พ.ศ. 2416 พ.ศ. 24??
4 พระปรากรมมุนี (อยู่) พ.ศ. 24?? พ.ศ. 24??
5 พระปรากรมมุนี (ยอด) พ.ศ. 24?? พ.ศ. 24??
5 พระสังวรวิมล (เนียม) พ.ศ. 24?? พ.ศ. 2454
6 พระธรรมุเทศาจารย์ (มุ่ย ธมฺมปาโล) พ.ศ. 2454 พ.ศ. 2486
7 พระเทพญาณมุนี (ผวน ภทฺธโร) พ.ศ. 2486 พ.ศ. 2515
8 พระราชโมลี (ณรงค์ ฐิตญาโณ) พ.ศ. 2516 พ.ศ. 2524
9 พระพรหมวชิรปัญญาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) พ.ศ. 2525 ปัจจุบัน

คลังภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงธรรมการ แผนกกรมสังฆการี เรื่อง จัดระเบียบพระอารามหลวง, เล่ม ๓๒, ตอน ๐ ก, ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๘, หน้า ๒๘๔
  2. วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท., 2549. 193 หน้า. หน้า 103.

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°42′08″N 100°27′54″E / 13.70226°N 100.465089°E / 13.70226; 100.465089