โรงเรียนวัดราชโอรส

โรงเรียนมัธยม

โรงเรียนวัดราชโอรส เดิมเป็นโรงเรียนประชาบาล ตั้งอยู่ในเขตวัดราชโอรสาราม ด้านหน้าติดกับคลองสนามชัย หรือ คลองด่าน เดิมชื่อโรงเรียนประสิทธิ์วิทยาคม ต่อมาได้โอนเป็นโรงเรียนรัฐบาลขึ้นกับกระทรวงธรรมการ โดยรองอำมาตย์เอกหลวงพิรุณพิทยาพรรณเจ้าหน้าที่กระทรวงธรรมการกับพระธรรมุเทศาจารย์ เจ้าอาวาส ได้พิจารณาร่วมกันว่ายังไม่มีโรงเรียนมัธยมในละแวกนี้จึงเสนอให้โอนโรงเรียนประสิทธิ์วิทยาคมไปขึ้นกับกระทรวงธรรมการ มีชื่อว่า โรงเรียนวัดราชโอรส ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2457 เปิดสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2458 แต่ปัจจุบันมีชั้นเรียนตั้งแต่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1-6 โดยมีเนื้อที่ทั้งสิ้น 21 ไร่ 262 ตารางวา

โรงเรียนวัดราชโอรส
Wat Raja o ros school
Logo-ro.gif
ตราสัญลักษณ์
ที่ตั้ง
Map
ข้อมูล
ชื่ออื่นร.อ. (R.O.)
ประเภทรัฐบาล
คำขวัญทำตัวน่ารัก ใจภักดิ์โรงเรียน หมั่นเพียรศึกษา ใฝ่หาความรู้ อยู่ด้วยวินัย
สถาปนา19 มีนาคม 2457
ผู้ก่อตั้งขุนจงจิตต์ฝึก (โชติ ไชยภัฏ)
หน่วยงานกำกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กลุ่มที่ 4 ในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกรุงเทพมหานคร กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1000103501
ผู้อำนวยการวรนันท์ ขันแข็ง
ภาษาไทย
เพลงเพลงราชโอรสสถาบัน
เว็บไซต์http://www.ro.ac.th/roweb

ประวัติโรงเรียนแก้ไข

โรงเรียนวัดราชโอรส เดิมเป็นโรงเรียนประชาบาล ตั้งอยู่ในเขตวัดราชโอรสาราม ด้านหน้าติดกับคลองสนามไชย ชื่อโรงเรียนประสิทธิ์วิทยาคม ต่อมาได้โอนเป็นโรงเรียนรัฐบาลขึ้นกับกระทรวงธรรมการ โดยรองอำมาตย์เอกหลวงพิรุณพิทยาพรรณ เจ้าหน้าที่กระทรวงธรรมการกับพระธรรมุเทศาจารย์ เจ้าอาวาส ได้พิจารณาร่วมกันว่ายังไม่มีโรงเรียนมัธยมในละแวกนี้ จึงเสนอให้โอนโรงเรียนประสิทธิ์วิทยาคมไปขึ้นกับกระทรวงธรรมการ มีชื่อว่า โรงเรียนวัดราชโอรส ในวันที่ 19 มีนาคม 2457 เปิดสอนในวันที่ 17 พฤษภาคม 2458 โดยมี ขุนจงจิตต์ฝึก (ราชบุรุษโชติ ไวยกฎ) ดำรงตำแหน่งครูใหญ่และคนแรก ระยะแรกโรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนเพียง 2 ชั้น คือ ประถมปีที่ 1 และประถมปีที่ 2 ในช่วงเวลา 13 ปี ที่ขุนจงจิตต์ฝึกเป็นครูใหญ่ ได้ขยายการศึกษาอย่างเต็มที่ คือมีชั้นเรียนตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 1, 2 และ 3 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6

  • พ.ศ. 2474 ได้ยุบเลิกชั้นเรียนประถมเหลือแต่มัธยมศึกษา
  • พ.ศ. 2485 ได้ย้ายนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นไปอยู่ โรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์ และเปลี่ยนระบบการสอนเป็นโรงเรียนชายล้วน
  • พ.ศ. 2527 ทางโรงเรียนเปิดรับนักเรียนหญิงในระดับ ม.ปลาย อีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ได้เป็นโรงเรียนชายล้วนมาถึง 42 ปี
  • พ.ศ. 2532 โรงเรียนได้เปิดสอนแบบสหศึกษา โดยเริ่มรับในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
  • พ.ศ. 2546 ศูนย์พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนวิชาภาษาญี่ปุ่น กรมสามัญศึกษา
  • พ.ศ. 2547 ศูนย์พัฒนาวิชาการภาษาจีน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • พ.ศ. 2552 โรงเรียนได้เปิดสอนการเรียนการสอนส่งเสริมความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ (Gifted)
  • พ.ศ. 2553 โรงเรียนเปลี่ยนหลักสูตรจัดการเรียนการสอน เป็นการจัดการตามแบบโรงเรียนมาตรฐานสากล (World - Class Standard School)
  • พ.ศ. 2555 โรงเรียนได้จัดหลักสูตรการเขียนวิจัยเบื้องต้น (IS) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และส่งเสริมหลักสูตรจิตอาสาเพื่อสาธารณประโยชน์ให้กับนักเรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติและลงพื้นที่จริง
  • พ.ศ. 2556 โรงเรียนได้ดำเนินการเปลี่ยนการจัดการระบบบริหารโรงเรียนตามมาตรฐาน Thailand Quality Award (TQA)[1][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]
  • พ.ศ. 2560 โรงเรียนได้เปิดหลักสูตรห้องเรียนพิเศษทางภาษาจีน หรือ CIC สำหรับนักเรียนมัธยมต้น

บริเวณโรงเรียนแก้ไข

  • โรงอาหารอยู่ใต้อาคารปัทมานุชหลังพระพุทธรูปประจำโรงเรียน
  • ลานมะขามเทศไว้พักผ่อนหย่อนใจซึ่งอยู่ทางด้านล่างของหอประชุมธรรมกิตติวงศ์
  • หอประชุมราชโมลีอยู่ชั้น 1 เป็นห้องประชุมขนาดเล็กทางด้านเข้าหอประชุมมีประวัติทำเนียบผู้บริหาร โรงเรียน ตลอดจน วิสัยทัศน์ พันธกิจ ต่าง ๆ
  • ห้องพิพิธภัณฑ์ มหาเจษฎาบดินทร์
  • หอประชุมธรรมกิตติวงศ์ ประกอบด้วย หอประชุมขนาดใหญ่ ห้องสมุด ห้องแนะแนว ตลอดจนห้องกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และ ห้องลูกเสือ - เนตรนารี
  • ห้องประชุมพิกุล ห้องประชุมขนาดเล็ก
  • สระว่ายน้ำโรงเรียนวัดราชโอรส และสนามกีฬา-สนามแฮนด์บอล

เกียรติประวัติของโรงเรียนแก้ไข

  • ปี 2536 ได้รับรางวัลโรงเรียนดีเด่น กรมสามัญศึกษา
  • ปี 2536-2540 เป็นโรงเรียนพี่เลี้ยงโรงเรียนวังไกลกังวลในพระบรมราชูปถัมภ์ด้านงานแนะแนว
  • ปี 2536-2541 ได้รับคัดเลือกให้เป็นศูนย์จัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ของสถาบันส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ปี 2527-2537 ได้รับถ้วยรางวัลการแข่งขันยูโดชนะเลิศติดต่อกัน 11 ปี
  • ปี 2538 ได้รับรางวัลโรงเรียนสิ่งแวดล้อมดีเด่น เขตการศึกษาส่วนกลาง
  • ปี 2538 ได้รับรางวัลห้องสมุดดีเด่นกรมสามัญศึกษา
  • ปี 2540 ได้รับโล่รางวัล “ โรงเรียนที่มีนักเรียนประพฤติดี มีคุณธรรม บำเพ็ญประโยชน์มากที่สุด ” จากกระทรวงศึกษาธิการ
  • ปี 2542 ได้รับเกียรติบัตร “ โรงเรียนที่จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และ สนับสนุนงานสารวัตรนักเรียน ” จากกรมพลศึกษา
  • ปี 2544 โล่รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การประกวดคำขวัญ เนื่องใน วันต่อต้านยาเสพติด จากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ปี 2544 โล่รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การประกวดสื่อต่อต้านยาเสพติด จากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
  • ปี 2544 ได้รับเกียรติบัตรยกย่องต้านส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย ในการเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร จากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
  • ปี 2545 โล่รางวัล “ เป็นโรงเรียนซึ่งมีนักเรียนจำนวนมาก ได้รับการยกย่องว่าประพฤติดี และ บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม ” จากคณะกรรมการจัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ
  • ปี 2545 ได้รับการยกย่องเป็น “ โรงเรียนยอดนิยม กรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร ”
  • ปี 2545 ได้รับรางวัลเกียรติยศ “ สถาบันการศึกษาปลอดยาเสพติดดีเด่น ภาครัฐบาลจากพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ”
  • ปี 2540-2548 ได้รับรางวัลชนะเลิศกีฬาแฮนด์บอล จากการแข่งขันกีฬา นักเรียน นักศึกษาแห่งประเทศไทย 7 ปีซ้อน - การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ 3 สมัยซ้อน การ แข่งขันกีฬาแฮนด์บอลกรมพลศึกษา 8 ปีซ้อน
  • ปี 2543- 2547 ได้รับโล่รางวัลธนาคารโรงเรียนดีเด่นและการปฏิบัติงานธนาคาร ดีเยี่ยมระดับประเทศ จากธนาคารออมสินติดต่อกัน 5 ปี
  • ปี 2549 ได้รับพระราชทานรางวัลเกียรติคุณ สัญญา ธรรมศักดิ์ ( ชมเชย) ประจำปีการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2548 จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • ปี 2553 ได้รับรางวัล เป็นสถานศึกษา 3D ของ สพฐ.เขต ๑
  • ปี 2558 เป็นโรงเรียนที่ได้รับผลการประเมินคุณภาพระดับคุณภาพดีมาก รอบสาม จาก สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
  • ปี 2558 เป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลที่ได้รับรางวัลคุณภาพด้านการบริหารจัดการ จาก สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Quality Award) ประจำปีงบประมาณ 2558
  • ปี 2562 เป็นโรงเรียนที่ได้รับผลการประเมินคุณภาพระดับคุณภาพดีเยี่ยม รอบสี่ จาก สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.)[2]

รายนามผู้อำนวยการโรงเรียนแก้ไข

ครูใหญ่
ลำดับ รูป รายนาม วาระดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
1 ขุนจงจิตต์ฝึก (โชติ ไชยภัฏ) พ.ศ. 2458 - พ.ศ. 2471
2 ขุนกิตติวุฒิ (แถม มุสิกกานนท์) พ.ศ. 2471 - พ.ศ. 2486
3 ขุนวิเศษจรรยา (สนอง กาจนรมย์) พ.ศ. 2486 – พ.ศ. 2496
4 นายศักดิ์ วิทยารักษ์ พ.ศ. 2496 – พ.ศ. 2506
5 นายเดี่ยน ศรีวิโรจน์ พ.ศ. 2506 – พ.ศ. 2508
ผู้อำนวยการ
ลำดับ รูป รายนาม วาระดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
6 นายแสวง นิโครธานนท์ พ.ศ. 2508 – พ.ศ. 2520 ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการ
7 นายทิม ผลภาค พ.ศ. 2520 – พ.ศ. 2521
8 นายโชติ เพชรานนท์ พ.ศ. 2521 – พ.ศ. 2524
9 นายสนอง มณีรัตน์ พ.ศ. 2524 – พ.ศ. 2525
10 นายเทพ เที่ยงตรง พ.ศ. 2525 – พ.ศ. 2527
11 นายวิเวช แจ่มทวี พ.ศ. 2527 – พ.ศ. 2532
12 นายวรรณิศ วงษ์สง่า พ.ศ. 2532 – พ.ศ. 2535
13 นายสงพงษ์ พลูสวัสดิ์ พ.ศ. 2535 – พ.ศ. 2539
14 นาวยสมเด็จ โภชนจันทร์ พ.ศ. 2539 – พ.ศ. 2541
15 นายสุวัฒน์ วิวัฒนานนท์ พ.ศ. 2541 – พ.ศ. 2545
16 นายยงยุทธ สุวรรณรัตน์ พ.ศ. 2545 – พ.ศ. 2548
17 ดร.ปรีชา บุญคมรัตน์ พ.ศ. 2548 – พ.ศ. 2549 ผู้อำนวยการโรงเรียนเชี่ยวชาญ
18 นายราชวัตร สว่างรักษ์ พ.ศ. 2549 – พ.ศ. 2555
19 ดร.นิพนธ์ เสือก้อน พ.ศ. 2555 – พ.ศ. 2557
20 นายจักรพงษ์ เร่งฐาปนกุล พ.ศ. 2557 – พ.ศ. 2559
21 นายบุญชู กล้าแข็ง พ.ศ. 2559 – พ.ศ.2565 ( 22 ต.ค.)
22 ดร.วรนันท์ ขันแข็ง พ.ศ.2565 ( 31 ต.ค.) - ปัจจุบัน

[3]

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงแก้ไข

ข้าราชการระดับสูงและผู้บริหารองค์กรที่สำคัญแก้ไข

  • พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก ชัยชาญ ช้างมงคล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม และอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • พลเรือเอก ชุมพล วงศ์เวคิน อดีตประธานคณะที่ปรึกษากองทัพเรือ และอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • พลเรือเอก สมชาย ณ บางช้าง อดีตประธานคณะที่ปรึกษากองทัพเรือ
  • พลตำรวจเอก รุ่งโรจน์ แสงคร้าม อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
  • พลตำรวจเอก ศักดา เตชะเกรียงไกร อดีตที่ปรึกษาพิเศษ ตร.
  • พลเอกวีระ ลือวิชนะ
  • พลเรือเอกสุรศักดิ์ เมธยาภา ผู้ทรงคุณพิเศษกองทัพเรือ
  • พลโทกันตภณ อัครานุรักษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก
  • พลอากาศตรี อาวุธ เงินชูกลิ่น ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (ประยุกต์ศิลป์) สาขาย่อย สถาปัตยกรรม ผู้เชี่ยวชาญด้านออกแบบสถาปัตยกรรมไทย และอดีตอธิบดีกรมศิลปากร
  • พลเรือโทไตรวิชญ์ ภู่เจริญ อดีตผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
  • พลตรีฉลองรัช ศรีปรีชา ผุ้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
  • พลเรือตรีไชยวัฒน์ ม่วงน้อย ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ
  • ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • มณฑล ภาคสุวรรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  • รศ.ดร.สุธน เสถียรยานนท์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • นายอิศเรศ ประจิตต์มุทิตา นายกสมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย และ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอเพ็น สตูดิโอ จำกัด
  • นายชัยยงค์ พัวพงศกร อดีตผู้ว่าการไฟฟ้านครหลวง
  • นาย กิตติเทพ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เลขานุการเอก คณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

นักการเมืองแก้ไข

นักธุรกิจแก้ไข

  • สัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ ผู้ร่วมก่อตั้งห้างเซ็นทรัล
  • วันชัย จิราธิวัฒน์ ผู้ร่วมก่อตั้งห้างเซ็นทรัล
  • กนก รัตน์วงศ์สกุล คณะผู้บริหาร ตำแหน่งผู้อำนวยการส่วนงานผู้ประกาศข่าว บริษัทเนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ นักข่าวในสถานีโทรทัศน์ เนชั่น แชนแนล
  • ขรรค์ชัย บุนปาน หนึ่งในผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน, ประธานกรรมการ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน), นักหนังสือพิมพ์, คอลัมนิสต์, นักเขียนรางวัลศรีบูรพา ประจำปี พ.ศ. 2548
  • คุณสุพัฒน์- คุณเรือนงาม จินาพันธ์ เจ้าของเครือบริษัทรองเท้ายี่ห้อ Goldcity
  • ชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ (CEO) บมจ.ปตท

ดาราแก้ไข

  • นนทนันท์ อัญชุลีประดิษฐ์ (คชา AF8) นักร้องจากรายการเรียลลิตี้โชว์ ทรู อะคาเดมี แฟนเทเชีย ฤดูกาลที่ 8
  • น.ส.ศิรดา ทวีกิจรัตน์ หรือเชอรี่ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ในการประกวด Miss Thailand Chinese Cosmos 2013 และผู้เข้ารอบ 44 คนสุดท้าย Miss Universe Thailand 2013
  • แป้ง ก่อนบ่าย นักแสดงตลกช่อง3
  • นพรัตน์ ประเสริฐสุข นักแสดงเรื่องยอพระกลิ่น สังกัดช่อง 7 สี

นักเขียนแก้ไข

  • สรจักร ศิริบริรักษ์ นักเขียนเรื่องสั้นแนวเขย่าขวัญ ได้รับฉายาว่าเป็น สตีเฟ่น คิง เมืองไทย เจ้าของผลงาน ศพใต้เตียง ศพข้างบ้าน และ ศพท้ายรถ ปัจจุบันเสียชีวิตเนื่องจากมีอาการปอดบวม แทรกซ้อน
  • นิเวศน์ กันไทยราษฎร์ นักเขียน นักแสดง วิทยากรด้านการพูด ได้รับรางวัลพระราชทานในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ปี 2524 จากผลงานนวนิยายเรื่อง "ถนนนอกเมือง"

บุคคลทั่วไปแก้ไข

  • ผศ.พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ นักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี และอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อ้างอิงแก้ไข

  1. คู่มือผู้ปกครอง ครู และนักเรียน ปีการศึกษา 2557 หน้า 9 -10
  2. คู่มือผู้ปกครอง ครู และนักเรียน ปีการศึกษา 2554 หน้า 12-13
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-17. สืบค้นเมื่อ 2018-02-17.

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°42′08″N 100°27′54″E / 13.70226°N 100.465089°E / 13.70226; 100.465089