วิกิพีเดีย:นโยบายการลบ

นโยบาย
นโยบายและแนวปฏิบัติในวิกิพีเดีย
หลักการสากล
ห้าเสาหลัก
อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย
ปล่อยวางกฎทั้งหมด
พฤติกรรม
ประพฤติเยี่ยงอารยชน
นโยบายการเขียน
สงครามแก้ไข
ความเป็นเจ้าของบทความ
อย่าว่าร้ายผู้อื่น
เนื้อหา
มุมมองที่เป็นกลาง
งดงานค้นคว้าต้นฉบับ
การพิสูจน์ยืนยันได้
หลักการตั้งชื่อบทความ
ชีวประวัติของบุคคลที่มีชีวิตอยู่
การลบ
นโยบายการลบ
เงื่อนไขสำหรับการลบทันที
กฎข้อบังคับ
ผู้ดูแลระบบ
นโยบายการบล็อกผู้ใช้
บอต
นโยบายการล็อก
หุ่นเชิด
ชื่อผู้ใช้
การก่อกวน
ลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์
นโยบายการใช้ภาพ
เนื้อหาที่ใช้งานโดยชอบธรรม
ดูเพิ่ม
รายชื่อนโยบายทั้งหมด
รายชื่อแนวปฏิบัติทั้งหมด

นโยบายการลบของวิกิพีเดียอธิบายว่าจะระบุหน้าที่ไม่เข้าเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องสำหรับเนื้อหาสารานุกรมและนำออกจากวิกิพีเดียอย่างไร

การลบหน้าหนึ่ง ๆ ในวิกิพีเดียจะลบเนื้อหารุ่นปัจจุบันและรุ่นก่อนทั้งหมดของหน้านั้นไม่ให้สาธารณะชม การลบแตกต่างจากการทำหน้าว่าง (หรือการย้อน) ซึ่งผู้ใช้คนใดทำก็ได้ แต่การลบจะกระทำได้เฉพาะผู้ดูแลระบบเท่านั้น ผู้ดูแลระบบสามารถลบหน้าต่าง ๆ ดูเนื้อหาที่ถูกลบ และเรียกคืนหลังจากการลบไปแล้วได้ ซึ่งจะถูกบันทึกไว้ในปูมการลบ

สาเหตุของการลบ

สาเหตุของการลบมีดังต่อไปนี้ (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขว่าควรพัฒนาหรือการลบส่วนที่เป็นปัญหา หากทำได้ หรือลบทั้งหน้าดีกว่ากัน) เช่น

  1. เนื้อหาซึ่งเข้าเกณฑ์การลบทันทีอย่างน้อยหนึ่งข้อ
  2. การละเมิดลิขสิทธิ์หรือเนื้อหาอื่นที่ละเมิดเกณฑ์เนื้อหาไม่เสรีของวิกิพีเดีย
  3. การก่อกวน ซึ่งรวมการเปลี่ยนทางที่น่ารำคาญ หน้าที่มีอยู่เพื่อดูถูกหัวเรื่องเท่านั้น ไม่มีเนื้อหาอย่างชัดเจน หรือไร้สาระ
  4. การแตกสาขาเนื้อหา (ยกเว้นการผสานหรือเปลี่ยนทางที่เหมาะสม)
  5. บทความซึ่งไม่สามารถระบุว่ามาจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ ซึ่งรวมคำใหม่ ทฤษฎีและข้อสรุปต้นฉบับ และบทความที่ตัวมันเองเป็นเรื่องหลอกลวง (ยกเว้นบทความที่อธิบายเรื่องหลอกลวงที่มีชื่อเสียง)
  6. บทความที่ไม่สามารถหาแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือในการพิสูจน์ยืนยันได้ แม้ค้นหาอย่างถี่ถ้วนแล้ว
  7. บทความที่หัวเรื่องไม่เข้าแนวปฏิบัติความโดดเด่นที่เกี่ยวข้อง (WP:N, WP:BIO, WP:MUSIC, WP:ORG ฯลฯ)
  8. บทความที่ละเมิดนโยบายเรื่องชีวประวัติของบุคคลที่ยังมีชีวิตของวิกิพีเดีย
  9. แม่แบบซ้ำซ้อนหรือไร้ประโยชน์
  10. หมวดหมู่ที่จัดประเภทมากเกิน (overcategorization)
  11. ไฟล์ที่ไม่ใช้ เลิกใช้หรือละเมิดนโยบายไม่เสรี
  12. การใช้เนมสเปซบทความ แม่แบบ โครงการหรือผู้ใช้ซึ่งขัดต่อนโยบายต่างหากที่มีอยู่สำหรับเนมสเปซนั้น
  13. เนื้อหาอื่นใดที่ไม่เหมาะสมกับสารานุกรม

กระบวนการ

การแจ้งลบ

สามารถทำการแจ้งลบได้ไม่ว่าในหน้าบทความ ภาพ แม่แบบ หมวดหมู่ หรือหน้าอื่น ๆ โดยใส่รหัส

{{ลบ|สาเหตุที่แจ้งลบ}}

ไว้ที่ส่วนหัวของหน้านั้น โดยคงเนื้อหาเดิมไว้ เพื่อให้ผู้ดูแลระบบพิจารณาลบหน้าดังกล่าว (สำหรับหน้าที่เข้าเกณฑ์การลบทันที ให้ใส่รหัสในพารามิเตอร์ เช่น

{{ลบ|ท1}}

เป็นต้น)

กรณีการละเมิดลิขสิทธิ์

สำหรับหน้าที่สงสัยว่าละเมิดลิขสิทธิ์ (เช่น คิดว่าคัดลอกและวางจากหน้าเว็บไซต์อื่น, ทั้งนี้ต้องระวังกรณีที่หน้าเว็บอื่นคัดลอกเนื้อหาจากวิกิพีเดียไปก่อนหน้านี้) ให้ลบเนื้อหาทั้งหมดของหน้า แล้วแทนที่ด้วยรหัส

{{copyvio|url= ยูอาร์แอล |date= วันที่แจ้ง (ใช้ d/m/y, d-m-y, หรือ วัน เดือน ปีเต็มก็ได้) }}

หน้าดังกล่าวจะไปปรากฏอยู่ใน วิกิพีเดีย:ปัญหาลิขสิทธิ์ ผู้ดูแลระบบจะลบหน้าที่ยังมีปัญหาอยู่เกิน 7 วัน

สำหรับผู้ที่ส่งงานดังกล่าว หากคุณยังประสงค์จะเผยแพร่ ให้ลองติดต่อผู้สร้างสรรค์ผลงานข้อความหรือภาพดังกล่าวแล้วสอบถามว่าประสงค์ให้เผยแพร่งานของคุณ (1) ภายใต้สัญญาอนุญาตที่วิกิพีเดียรับได้หรือไม่ (สำหรับข้อความ ประกอบด้วย CC-BY-SA หรือสัญญาอนุญาตอื่นที่เข้ากันได้) หรือ (2) เป็นสาธารณสมบัติ ทั้งนี้ คำอนุญาตให้ใช้ "เฉพาะบนวิกิพีเดีย" หรือ "ห้ามใช้เพื่อการค้า" ถือว่าไม่ดีพอ เพราะเข้าไม่ได้กับสัญญาอนุญาตของเรา

การทบทวนการลบ

หากคุณเชื่อว่าหน้าถูกลบโดยไม่มีเหตุผลสมควร หรือหน้าที่ควรถูกลบแต่ไม่ถูกลบ คุณควรอภิปรายกับผู้ดูแลระบบที่ลบ หรือผู้ที่ปิดการอภิปรายรอบก่อนในหน้าคุย แต่ถ้ายังตกลงกันไม่ได้ คุณสามารถขอให้มีการทบทวนใน หน้าแจ้งผู้ดูแลระบบ

หากบทความถูกลบเพราะขาดเนื้อหาหรือมีเนื้อหาไม่เหมาะสม และคุณต้องการสร้างบทความเรื่องเดียวกันแต่คิดว่าคุณภาพดีกว่า สามารถลงมือเขียนได้เลยโดยไม่ต้องทบทวนก่อน อย่างไรก็ตาม พึงทราบว่าการส่งเนื้อหาอย่างเดิมเข้ามาซ้ำ ๆ จะเป็นเหตุให้ถูกบล็อก

การขอสำเนาหน้าที่ถูกลบ

ผู้ใช้ล็อกอินสามารถติดต่อผู้ดูแลระบบรายบุคคลหรือผ่านทางหน้าแจ้งผู้ดูแลระบบ เพื่อขอรหัสเดิมของหน้าที่ถูกลบได้ โดยรหัสจะอยู่ในหน้าในเนมสเปซผู้ใช้หรือคุยกับผู้ใช้ของผู้ขอ และมีกำหนดลบในอีก 3 วันถัดมา

ดูเพิ่ม