หน้านี้อธิบายนโยบายของวิกิพีเดียว่าด้วยการตั้งชื่อบทความ โดยมีแนวปฏิบัติที่เชื่อมโยงมายังนโยบายนี้เสริมและอธิบายเพิ่มเติม ซึ่งควรตีความร่วมกับนโยบายอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามนโยบายด้านเนื้อหาหลัก ได้แก่ การพิสูจน์ยืนยันได้ของข้อมูล งดงานค้นคว้าต้นฉบับ และมุมมองที่เป็นกลาง

ชื่อบทความเป็นการนิยามบทความที่เห็นได้ชัด ซึ่งแสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างบทความนั้นจากบทความอื่น ชื่อบทความไม่จำเป็นต้องเป็นชื่อของสิ่งที่เป็นหัวเรื่อง ชื่อบทความส่วนหนึ่งเป็นรายละเอียดของหัวเรื่อง ด้วยการออกแบบของวิกิพีเดีย ทำให้บทความมีชื่อซ้ำกันไม่ได้ เพราะยูอาร์แอลของแต่ละบทความที่เป็นเว็บเพจสร้างขึ้นจากชื่อ โดยทั่วไปแล้ว ชื่อบทความขึ้นอยู่กับชื่อเรียกสิ่งที่เป็นหัวเรื่องนั้นในแหล่งข้อมูลอันน่าเชื่อถือ และในกรณีที่มีหลายชื่อ วิกิพีเดียจะเลือกชื่อดังกล่าวอีกทีหนึ่งโดยพิจารณาจากหลักการต่าง ๆ ตามความเหมาะสม: ชื่อบทความในอุดมคติจะสามารถบ่งชี้หัวเรื่องได้ชัดเจน มีความกระชับ เป็นธรรมชาติ ไม่กำกวม และเป็นที่จดจำได้

พึงนึกเสมอว่าหลักการตั้งชื่อนี้เป็นแนวทางในการตั้งชื่อเพื่อให้ชื่อบทความง่ายต่อการเข้าใจ ซึ่งไม่ใช่กฎเหล็ก โดยเมื่อวิกิพีเดียโตได้ระดับหนึ่ง ข้อแนะนำต่าง ๆ ที่ไม่เป็นที่นิยมอาจลดหายไป เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการตั้งชื่อ ให้ตั้งตามบทความต่อไปนี้

การเลือกชื่อบทความ

ชื่อบทความควรตรงกับชื่อที่แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือเรียกสิ่งที่เป็นหัวเรื่องนั้นในภาษาไทย ในหลายกรณีบทความเดียวกันอาจมีชื่อเรียกได้หลายชื่อ การเลือกใช้ชื่อใดชื่อหนึ่งนั้นควรเป็นไปตามมติมหาชน

ในการอภิปรายเกี่ยวกับชื่อบทความ ควรตอบคำถามเหล่านี้ได้

  • การรู้จัก - ชื่อนั้นเป็นชื่อที่มีคนรู้จักหรืออธิบายรายละเอียดของหัวเรื่องหรือไม่
  • ความเป็นธรรมชาติ - ชื่อใดที่ผู้อ่านน่าจะใช้ค้นหาบทความนั้นมากที่สุด ชื่อใดที่ผู้ใช้มักใช้เป็นธรรมชาติเพื่อเชื่อมโยงจากบทความอื่น ซึ่งชื่อนั้นมักเป็นชื่อที่สิ่งที่เป็นหัวเรื่องถูกเรียกอยู่แล้ว
  • ความเที่ยงตรง - ชื่อนั้นเที่ยงตรงเพียงใด โดยให้ชื่อบทความเที่ยงตรงพอที่จะระบุหัวเรื่องของบทความนั้นโดยไม่คลุมเครือ
  • ความกระชับ - ชื่อนั้นกระชับหรือไม่
  • ความต้องกัน - ชื่อที่เสนอนั้นเป็นไปตามรูปแบบเดียวกับรูปแบบของชื่อบทความที่คล้ายกันหรือไม่

สำหรับหัวเรื่องส่วนใหญ่ให้ถือหลักข้างต้น อย่างไรก็ดี ในบางกรณีที่ยังไม่ชัดเจน อาจต้องมีการอภิปรายในหลักการนอกเหนือจากนี้โดยมติมหาชน การเลือกชื่อบทความควรถือประโยชน์ของผู้อ่านมาก่อนผู้เขียน และของผู้ชมทั่วไปมาก่อนผู้เชี่ยวชาญ

รูปแบบชื่อบทความ

ด้านล่างนี้เป็นรูปแบบชื่อบทความที่ควรใช้ ได้แก่

  • หลีกเลี่ยงชื่อย่อ: ชื่อบทความควรหลีกเลี่ยงการใช้ชื่อย่อและอักษรย่อ เว้นแต่สิ่งที่เป็นหัวเรื่องนั้นจะเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางด้วยชื่อย่อนั้น (อาทิ เลเซอร์) ส่วนตัวย่อหรืออักษรย่ออื่น สามารถใช้ในหน้าแก้ความกำกวมได้ นอกจากนี้ ไม่จำเป็นจะต้องระบุอักษรย่อนอกเหนือไปจากชื่อในบทความ
  • ใช้นาม: ชื่อบทความควรใช้คำนามและนามวลีมากกว่าคำประเภทอื่น สำหรับคำกริยาหรือคำคุณศัพท์ให้เปลี่ยนเป็นนามโดยการเติม "การ" หรือ "ความ" นำหน้า และอาจเปลี่ยนทางจากคำนั้นมายังคำที่เป็นนามด้วย แต่คำกริยาหรือคำคุณศัพท์ยังสามารถเป็นชื่อของหน้าแก้ความกำกวมได้อยู่
  • สะกดตามต้นฉบับ: สำหรับชื่อบทความที่เป็นวิสามานยนาม เช่น เครื่องหมายการค้า ชื่อหนังสือ ชื่อภาพยนตร์ เป็นต้น ถ้ามีชื่อทางการในภาษาไทยก็ให้สะกดตามต้นฉบับ (แม้จะขัดต่อหลักการตั้งชื่ออื่น ๆ) ส่วนวิสามานยนามภาษาต่างประเทศที่ไม่มีชื่อทางการในภาษาไทย ให้ทับศัพท์หรือถอดเป็นคำอ่านตามหลักการที่มีอยู่
  • ใช้เลขอารบิก: ยกเว้นเมื่อต้องการคงชื่อไว้ตามต้นฉบับ เช่น เลขไทยหรือเลขโรมัน

หลักการทั่วไป

ชื่อหัวข้อควรเป็นอักษรไทย

ในการสะกดถ้าชื่ออย่างเป็นทางการในภาษาไทยไม่ตรงกับหลักการทับศัพท์ ให้ถือชื่ออย่างเป็นทางการเป็นหลัก เช่น

สำหรับคำที่ยังไม่มีการบัญญัติ สามารถเขียนทับศัพท์ตามหลักการเขียนคำทับศัพท์ หรือคงชื่อในภาษาอื่นไว้พร้อมกับติดป้ายไว้บนส่วนหัวว่า {{ชื่อภาษาอื่น}} หรือ {{ชื่อภาษาอื่น|เหตุผล}} เพื่อให้ผู้อื่นช่วยหาคำทับศัพท์ที่เหมาะสม

ทั้งนี้ มีข้อยกเว้นบางประการที่ไม่ต้องใช้อักษรไทยเป็นชื่อบทความ ได้แก่:

  1. ตัวอักษรที่อ่านแตกต่างกันในสำเนียงภาษาอื่น ให้คงรูปต้นฉบับ (เช่น อักษรละติน: A B C...) ไม่รวมถึงอักษรที่มีชื่อเดียวในทุกภาษา (อักษรกรีกและอักษรอาหรับ) สามารถแทนคำอ่านภาษาไทยได้ ชุดอักษรเมื่อตั้งชื่อแบบใดแล้วก็ควรตั้งชื่อเหมือนกันทั้งชุด รวมทั้งอักษรย่อและชื่อโดเมน
  2. ใช้ตัวเลขในชื่อบทความ ในกรณีต่อไปนี้
    1. กรณีวิสามานยนามที่มีชื่อสามารถออกเสียงแตกต่างกันในแต่ละสำเนียงภาษาให้คงตัวเลขไว้ และถ้าต้นฉบับตัวเลขเขียนติดกับตัวหนังสือโดยไม่เว้นวรรค ก็ให้เขียนติดกันด้วย (เช่น วิตามินบี1 โนเกีย เอ็น95)
    2. พระนามพระมหากษัตริย์หรือชื่อบุคคลที่มีเลขโรมัน ให้ใช้ว่า "ที่ x" แทนเลขโรมัน
  3. ให้ถอดเสียงอ่านตัวเลขในกรณีต่อไปนี้
    1. วิสามานยนามที่มีวิธีอ่านวิธีเดียวให้ถอดเสียงคำอ่าน เช่น "GOT7" เป็น ก็อตเซเวน
    2. หากคงเลขไว้แล้วไม่สามารถอ่านได้ เช่น "5ive" ให้ถอดเสียงเป็น "ไฟฟ์"
    3. ชื่อที่ใช้ตัวเลขเป็นคำพ้องเสียง เช่น "Crazy 4 U" ให้ใช้ว่า "เครซีโฟร์ยู"
    4. วิสามานยนามที่มีจำนวนเชิงการนับ (cardinal number) ให้ถอดเสียงอ่าน เช่น "The 5th Dimension" เป็น "เดอะฟิฟต์ไดเมนชัน"
  4. เครื่องหมายวรรคตอนต่าง ๆ ตามชื่อต้นฉบับที่อ่านไม่ได้หรือไม่อ่านออกเสียง
  5. ชื่อฟังก์ชันที่มีความสำคัญในการเขียนโปรแกรม เช่นมีการใช้หลายภาษา มีประวัติหรือผลกระทบมาก
  6. ชื่อไฟล์เฉพาะ อาทิ ไลบรารี เฮดเดอร์ (เช่น math.h stdio.h) และคำสั่งพื้นฐานสำหรับบรรทัดคำสั่ง (เช่น chgrp chmod chown env expr) ตลอดจนแป้นบนคีย์บอร์ดต่าง ๆ (เช่น Control-Alt-Delete)

การใช้เครื่องหมายในชื่อบทความ

พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ วงเล็บ หรือเครื่องหมายอื่นที่ไม่เกี่ยวกับชื่อบทความ ถ้าไม่จำเป็น

วงเล็บต่อท้ายใช้เพื่อแก้ความกำกวม เช่น บาท (สกุลเงิน) กับ บาท (ร้อยกรอง) และในการเขียนให้เว้นวรรคระหว่างคำและวงเล็บ เช่น บาท (สกุลเงิน) ไม่ใช่ บาท(สกุลเงิน) ถ้าคำมีความหมายเดียว หรือไม่คาดว่าจะกำกวมกับเรื่องอื่น ให้ใช้ บัว แทนที่จะเป็น บัว (พรรณไม้)

ถ้าจำเป็นต้องใช้ยัติภังค์แสดงช่วงปีหรือความสัมพันธ์ระหว่างสองสิ่ง ให้ใช้ en dash เช่น พ.ศ. 2550–2558 (ในแถบแทรกอักษร อยู่ก่อน em dash) ส่วนการลบหรือตัวเลขติดลบให้ใช้เครื่องหมายลบ เช่น UTC−10 (ในแถบแทรกอักษร อยู่ก่อนเครื่องหมายคูณ)

ข้อจำกัดทางเทคนิค

เนื่องจากข้อจำกัดทางเทคนิค ทำให้ไม่สามารถตั้งชื่อบทความที่

  1. ขึ้นต้นด้วยอักษรตัวเล็ก
  2. มีอักขระ # < > [ ] | { } _ ปรากฏในชื่อ เนื่องจากมีความหมายพิเศษในวิกิ (สำหรับ _ จะถูกเปลี่ยนเป็นช่องว่าง)
    • วิธีแก้ไข อาจใช้เครื่องหมายดอกจัน (*) แทนอักขระที่ไม่สามารถใช้ได้ไปพลาง
  3. ขึ้นต้นหรือลงท้ายด้วยช่องว่างหรือ _ ตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป (จะถูกตัดออก)
  4. ขึ้นต้นด้วย : เนื่องจากหมายถึงเนมสเปซหลัก
  5. มีชื่อว่า . หรือ .. หรือขึ้นต้นด้วย ./ หรือ ../ หรือมี /./ หรือ /../ ปรากฏในชื่อ หรือลงท้ายด้วย /. หรือ /..
  6. ยาวเกินกว่า 255 ไบต์ จำนวนอักษรในยูนิโคดจึงอาจบรรจุได้น้อยกว่านี้
    • วิธีแก้ไข ให้ยกชื่อมาเท่าที่มากได้แล้วใช้เครื่องหมาย หรือใช้ตัวย่อ
  7. ขึ้นต้นด้วยรหัสภาษาของวิกิพีเดียและโครงการอื่นตามด้วย : ดูเพิ่มที่วิธีใช้:ลิงก์ข้ามภาษาและวิธีใช้:ลิงก์ข้ามโครงการ

ให้ใช้แม่แบบ {{ชื่อผิด|_ชื่อบทความที่ถูก_}} ใส่ไว้บนสุดในบทความแทน

หมายเหตุ: อาจใช้เครื่องหมาย * (ดอกจัน) เพื่อให้เครื่องหมายดังกล่าวแทนตัวอักษร อักขระหรือเครื่องหมายข้างต้น ทำนองเดียวกับเสิร์ชเอนจิน ทั้งนี้ อาจเขียนกำกับไว้ส่วนหัวของบทความว่า แท้จริงแล้วบทความชื่ออะไร

การเว้นวรรคระหว่างคำทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ

ถ้าเป็นคำเดียวกันหลายพยางค์ของคำภาษาอังกฤษให้เขียนติดกันไม่เว้นวรรค เช่น เซาท์พาร์ก (South Park) หรือ วินโดวส์วิสตา (Windows Vista)

ยกเว้น การเว้นวรรคระหว่างชื่อเจ้าของผลิตภัณฑ์ และรุ่นผลิตภัณฑ์ เพื่อแยกให้เห็นชื่อเด่นชัด เช่น ไมโครซอฟท์ วินโดวส์, มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์, ฮอนด้า แอคคอร์ด, โตโยต้า เซลิก้า

บทความที่เป็นการรวบรวมรายการ

สำหรับบทความที่มีลักษณะรวบรวมรายการ ให้ขึ้นต้นด้วยคำว่า "รายชื่อ" สำหรับรายการของวิสามานยนามหรือชื่อเฉพาะ (proper name) ล้วน ส่วนกรณีที่เหลือทั้งหมด ให้ใช้ "รายการ" เช่น

สำหรับบทความที่รวบรวมรายการพระนามเจ้า ให้ใช้ "รายพระนาม" และหากมีทั้งเจ้าและสามัญชน ให้ใช้ "รายพระนามและชื่อ"

ข้อสังเกต (เขียนแทรกในบรรทัดหรือเขียนเป็นอรรถาธิบายด้านล่าง) "วิสามานยนาม" หมายถึง "คำนามที่เป็นชื่อเฉพาะ ตั้งขึ้นสำหรับเรียกคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ เพื่อให้รู้ชัดว่าเป็นใครหรืออะไร" วิสามานยนามหรือชื่อเฉพาะ เช่น ชื่อบุคคล ชื่อกลุ่มบุคคลหรือองค์การ ชื่อสิ่งมีชีวิตเป็นตัว ๆ เช่น ช่วงช่วง หลินฮุ่ย ชื่อสิ่งของ ชื่อเหตุการณ์ ชื่อสถานที่ เป็นต้น ส่วนชื่อธาตุและสารประกอบ ชื่อรุ่นของผลิตภัณฑ์ เป็นสามานยนาม

สำหรับรายชื่อตอน หรือรายชื่อตัวละคร ให้เขียนในลักษณะ

บรรษัทและองค์กร

สำหรับบริษัทและห้างหุ้นส่วนในประเทศไทยที่จดทะเบียนนิติบุคคลหรือมีสภาพเป็นนิติบุคคลโดยวิธีอื่นใด ให้ใช้ชื่อสามัญภาษาไทยของบริษัทและห้างหุ้นส่วนนั้นตามที่ได้จดทะเบียนหรือประกาศไว้ รวมทั้งเว้นวรรคตรงตำแหน่งถ้ามี โดยไม่ต้องมีคำนำหน้าหรือลงท้าย เช่น ห้างหุ้นส่วน/สามัญ/นิติบุคคล, บริษัท/จำกัด/มหาชน องค์กรหรือหน่วยงานประเภทอื่นอาทิ มูลนิธิ, สมาคม, สหกรณ์, ธนาคาร, กระทรวง, กรม, กอง ฯลฯ ให้ใช้ชื่อเต็ม ส่วนบรรษัทและองค์กรต่างประเทศที่มิได้จดทะเบียนนิติบุคคลในประเทศไทย ให้เลือกทับศัพท์ตามหลักเกณฑ์ที่มีอยู่ หรือแปลชื่อบรรษัทและองค์กรให้ตรงความหมายที่สุด อย่างใดอย่างหนึ่ง

สำหรับองค์การมหาชนให้ยึดชื่อตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเป็นสำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่จะมี (องค์การมหาชน) ต่อท้าย ยกเว้นโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

ศาสนาและลัทธิ

ให้ขึ้นต้นด้วย ศาสนา หรือ ลัทธิ เสมอ ส่วนนิกายต่าง ๆ ไม่ต้องขึ้นต้นว่า นิกาย เนื่องจากบางศาสนามีข้อถกเถียงว่าเป็นนิกายหรือไม่ หรือไม่มีการยอมรับว่าเป็นนิกาย

ชื่อบุคคล

หลักการทั่วไปคือให้ใช้ชื่อที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด โดยไม่ต้องมีคำนำหน้าชื่อ รวมทั้ง นาย/นาง/นางสาว คุณหญิง/ท่านผู้หญิง หรือ ยศ และตำแหน่งวิชาการ ดูเพิ่มที่ ยศหรือตำแหน่ง

คำนำหน้าพระนามของกษัตริย์

  • ให้กษัตริย์ไทยที่ราชาภิเษกแล้ว ใช้คำนำหน้าชื่อว่า "พระบาทสมเด็จพระ" ถ้ายังไม่ราชาภิเษก ใช้ "สมเด็จพระ"
  • กษัตริย์ไทยในอดีต ใช้ "สมเด็จพระ" แต่อาจใช้ตามความนิยม เช่น "ขุนหลวง," "พ่อขุน," "พระยา"
  • กษัตริย์ต่างประเทศ ให้ใช้ตามที่ทางราชการของประเทศนั้น ๆ ใช้
(จาก คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาจัดทำหนังสือ "ราชาศัพท์" ในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ. (๒๕๔๕). ราชาศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ ๒). กรุงเทพฯ : สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. ISBN 9749545508. หน้า ๘-๑๐.)

ชื่อที่มีจุดหลังชื่อ

ชื่อที่มีจุดหลังชื่อ ภาษาไทยหรือภาษาอื่น ให้เว้นวรรคหนึ่งครั้งหลังจุด

ชื่อบุคคลจากภาษาอังกฤษที่ใช้ชื่อต้นตามด้วยนามสกุล

  • ในหัวข้อให้เขียนทับศัพท์ โดยเว้นวรรคระหว่างชื่อและนามสกุล ส่วนในบทความให้เขียนชื่อเดิมในวงเล็บ เช่น
  • สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ ให้อ้างอิงการทับศัพท์จากบทความ การเขียนคำทับศัพท์

ชื่อบุคคลชาวจีน ที่นามสกุลนำหน้า

ชื่อบุคคลชาวจีน มักจะมี 2-5 คำ (หนึ่งคำหมายถึงอักษรจีนหนึ่งตัว) โดยใช้นามสกุล (แซ่) 1-3 คำ ขึ้นต้นก่อนชื่อตัว สำหรับการตั้งชื่อบทความให้ทำดังนี้

  1. เริ่มต้นด้วยนามสกุลแล้วตามด้วยชื่อ เช่น โจว เหวินฟะ โดยเว้นวรรคนามสกุลกับชื่อออกจากกัน
  2. ไม่แยกคำยกย่องออกจากนามสกุล เช่น ขงจื๊อ (คำว่า จื๊อ แปลว่า อาจารย์ ซึ่งหมายถึง อาจารย์ขง)
  3. ใช้หลักการทับศัพท์ภาษาจีนของราชบัณฑิตยสถานสำหรับภาษาจีนกลาง
  4. ใช้คำอ่านแบบไทยที่ใกล้เคียงที่สุดของภาษาจีนสำเนียงอื่น เช่น ภาษาจีนกวางตุ้ง สำเนียงแต้จิ๋ว หากคำอ่านนั้นเป็นที่นิยมกว่า ไม่นำพินอินที่อ่านเป็นภาษาอังกฤษมาใช้ในการตั้งชื่อ เช่น Zǐyí พินอินต้องอ่านเป็น จื่ออี๋ แต่ภาษาอังกฤษอาจอ่านเป็น ซิยี่
  5. หากอ่านไม่ออก หรือไม่แน่ใจว่าทับศัพท์อย่างไร ให้ใช้ภาษาอังกฤษหรือพินอินไปก่อน

ชื่อบุคคลชาวญี่ปุ่น ที่นามสกุลนำหน้า

ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:ภาษาญี่ปุ่น และ ข้อยกเว้นในการทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น

ชื่อบุคคลญี่ปุ่นในภาษาญี่ปุ่นปัจจุบันนิยมเขียนนามสกุลนำหน้าชื่อซึ่งตรงข้ามกับภาษาไทย แต่ในประเทศไทยที่ปรากฏตามเอกสารราชการและหนังสือต่าง ๆ นิยมเขียนชื่อนำหน้านามสกุล และเพื่อป้องกันการสับสนให้เขียนชื่อภาษาญี่ปุ่นและคำอ่านเป็นโรมะจิในวงเล็บต่อท้าย ยกเว้นชื่อตัวละครในการ์ตูนหรือวรรณกรรมให้ใช้ชื่อเดิม เพื่อใช้ในการอ้างอิง และความสละสลวยของบทความเดิมรวมถึงชื่อในทางประวัติศาสตร์ ตัวอย่างเช่น

ชื่อบุคคลชาวเกาหลี โดยนามสกุลนำหน้า

เริ่มต้นด้วยนามสกุลแล้วตามด้วยชื่อ เช่น โช ซึงฮี โดยเว้นวรรคนามสกุลกับชื่อออกจากกัน

ชื่อบุคคลเวียดนาม โดยนามสกุลนำหน้า

  • สำหรับชื่อสามส่วน (นามสกุล นามสกุลรอง ชื่อ) เริ่มต้นด้วยนามสกุลเขียนนามสกุลนำหน้า และตามด้วยนามสกุลรอง และตามด้วยชื่อ โดยแต่ละส่วนเว้นวรรคจากกัน เช่น งฺเหวียน มิญ เจี๊ยต
  • สำหรับชื่อสองส่วน (นามสกุล ชื่อ) เริ่มต้นด้วยนามสกุล และเว้นวรรคตามด้วยชื่อ

ยศหรือตำแหน่ง

ท่านสามารถทำหน้าเปลี่ยนทางที่นอกเหนือจากกฎเกณฑ์เหล่านี้ได้ตามสมควร

ชื่อพระสงฆ์

สิ่งมีชีวิต

สัตว์

พืช

  • ตรวจสอบว่าบทความนั้นกล่าวถึง ชนิดพันธุ์ (species) หรือ สายพันธุ์ (variety) สำหรับชนิดพันธุ์ ให้ใช้หลักการต่อไปนี้
    • ชื่อบทความพืช จะไม่ใช้คำว่า "ต้น", "ไม้", "ต้นไม้", "ดอก", "ผล", "ลูก" นำหน้า โดยการตั้งชื่อบทความให้พิจารณาตามลำดับดังนี้
      1. ใช้ชื่อสามัญภาษาไทย โดยอ้างอิงจากฐาน ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ของสำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
      2. หากไม่มีชื่อสามัญในภาษาไทย ให้ใช้ชื่อท้องถิ่นก่อน
      3. หากไม่มีชื่อท้องถิ่น ให้ใช้ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ
      4. หากไม่มีชื่อสามัญภาษาอังกฤษ ให้ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ โดยใช้เป็นอักษรละตินพร้อมทั้งใส่ {{บทความชื่อวิทยาศาสตร์}} ที่ส่วนบนสุดของบทความ
      • กรณีชื่อภาษาไทยซ้ำกัน แต่ชื่อวิทยาศาสตร์ต่างกัน ให้ย้อนกลับไปดูฐานข้อมูล และยึดฐานข้อมูลเป็นหลัก ส่วนชนิดพันธุ์อื่นที่มีชื่อมาพ้องกัน ให้ใช้ชื่อพ้องอื่นตามลำดับพิจารณา
      • กรณีชื่อพ้องอื่นไม่มี ให้วงเล็บต่อท้ายด้วยชื่อภาษาอังกฤษ หรือชื่อวิทยาศาสตร์ ตามลำดับการพิจารณา
    • สำหรับดอกไม้และผลไม้ของพืชนั้น ไม่ต้องสร้างเป็นบทความใหม่ แต่ให้เขียนรวมกันในบทความพืชเป็นหัวข้อย่อย เช่น ชัยพฤกษ์ บัวหลวง จำปา กุหลาบ ฯลฯ
    • ถ้าชื่อของพืชอย่างเดียวมีความหมายอื่น ให้ใส่วงเล็บต่อท้ายชื่อบทความเพื่อแก้ความกำกวม โดยวงเล็บเป็นคำว่าพืช (นโยบายเก่าเป็นคำว่า พรรณไม้) หรือใช้คำที่นิยมรองลงมา
  • ใช้คำนำหน้าตามความเหมาะสมเช่น บัวศรีวิชัย แทนที่ "ศรีวิชัย (พันธุ์บัว)" หรือ แตงไทย แทนที่ "ไทย (แตง)"

สถานที่

ใช้เฉพาะชื่อสถานที่ ถ้าชื่อนั้น สื่อถึง สถานที่นั้น ๆ อยู่แล้วเช่น สยามพารากอน ส่วนชื่อที่อาจกำกวมให้มีคำนำหน้าเช่น ถนนสุขุมวิท น้ำตกทีลอซู ดูชื่อที่บัญญัติไว้โดยราชบัณฑิตยสถาน

เมือง

ใช้เฉพาะชื่อเมือง ส่วนเมืองหลวงที่มีคำว่า กรุง นำหน้า ทำเป็นหน้าเปลี่ยนทาง ยกเว้น กรุงเทพมหานคร เช่น ลอนดอน และ กรุงลอนดอน

ตำบล อำเภอ จังหวัด มณฑล รัฐ

ให้มีคำว่า ตำบล อำเภอ จังหวัด มณฑล รัฐ กำกับด้วย เช่น อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ มณฑลหูหนาน รัฐแทสเมเนีย รัฐฮาวาย ฯลฯ

ประเทศ

  • ใช้ชื่อ "ประเทศ..." เช่น ประเทศญี่ปุ่น ดูเพิ่ม วิกิพีเดีย:โครงการวิกิประเทศ
  • รัฐ/ดินแดน/ประเทศที่สิ้นสภาพในอดีต ให้ตั้งชื่อบทความตามคำแปลชื่อเต็มของรัฐ/ดินแดน/ประเทศนั้น เพื่อไม่ให้สับสนกับบทความประเทศปัจจุบัน หากรัฐ/ดินแดน/ประเทศที่มีชื่อเดียวกันแต่เกิดต่างเวลา ให้แก้ความกำกวมด้วยปีศักราชตามความเหมาะสม

โรค หรือความเจ็บป่วย

ชื่อบทความเกี่ยวกับโรคหรือความเจ็บป่วย

เรือรบ

สำหรับเรือรบที่มีระวางขับน้ำตั้งแต่ ๑๕๐ ตันขึ้นไป ให้มีการใช้คำนำหน้าชื่อตามระเบียบกองทัพเรือไทย [1] โดยเรือรบที่มาจากราชนาวีแห่งรัฐที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและใช้คำนำหน้าชื่อเรือเป็นภาษาอังกฤษว่า H_MS เช่น HTMS (His Thai Majesty Ship) ให้ใช้คำนำหน้าชื่อเรือว่า "เรือหลวง" ทั้งหมด

สำหรับเรือรบจากราชนาวีอื่นที่มิได้ใช้คำนำหน้าชื่อตามที่กำหนดข้างต้น ให้ใช้การถอดเสียงแทน เช่น USS ให้ใช้ ยูเอสเอส

การทับศัพท์ชื่อ

การทับศัพท์ชื่อ ให้ยึดถือตาม วิกิพีเดีย:คู่มือการเขียน#คำทับศัพท์

ชื่อปี

การเขียนปีศักราช ให้ใช้ปีพุทธศักราชเป็นหลัก และใช้ตัวเลขอารบิกโดยเขียนในรูปแบบ — พ.ศ. 2547 — โดยเว้นวรรคระหว่าง พ.ศ. และ ตัวเลข ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:โครงการวันเดือนปี

การจัดกลุ่มของภาษา

ภาษาพูดและ/หรือภาษาเขียนหลายชนิด มีการจัดแบ่งกลุ่มตามภูมิศาสตร์ ที่มาของคำศัพท์ และเชื้อชาติ ให้ตั้งชื่อบทความเกี่ยวกับกลุ่มของภาษาดังนี้

  1. กลุ่มของภาษาในระดับบนสุดให้ขึ้นต้นด้วย "ตระกูลภาษา" (language family) เช่น ตระกูลภาษาไท-กะได หากตระกูลภาษามีระดับย่อย ให้ระบุเป็น "ตระกูลภาษาย่อย" เพิ่มเติม
  2. กลุ่มของภาษาในระดับอื่นให้ขึ้นต้นด้วย "กลุ่มภาษา" (language group) ซึ่งอาจจะมีหลายระดับ ให้ใช้เหมือนกันทั้งหมด
  3. ภาษาหนึ่งภาษาใดให้ขึ้นต้นด้วย "ภาษา" เสมอ รวมทั้งภาษาโดดเดี่ยวที่จัดอยู่ในตระกูลภาษาหรือกลุ่มภาษาหนึ่ง

สารเคมี

  • หากสารเคมีนั้นมีชื่อสามัญภาษาไทย ไม่ใช่ชื่อตราสินค้า ให้ใช้ชื่อสามัญตั้งชื่อบทความ เช่น น้ำ กำมะถัน จุนสี ดินประสิว วิตามินเอ ไม่ตั้งชื่อว่า กาวตราช้าง เป็นต้น (บทความเกี่ยวกับตราสินค้า ควรให้ความสำคัญไปที่บริษัทผู้ผลิตและผลิตภัณฑ์ภายใต้ตราสินค้านั้น) โปรดแน่ใจว่าชื่อสามัญที่เลือกใช้หมายถึงสารเคมีชนิดเดียวเท่านั้น
  • ปกติแล้วชื่อสารเคมีในภาษาอังกฤษมักมีเว้นวรรคเป็นช่วง ๆ เช่น carbon dioxide, methylene diphenyl diisocyanate แต่สำหรับภาษาไทยไม่ต้องเว้นวรรคเช่น คาร์บอนไดออกไซด์ เมทิลีนไดฟีนิลไดไอโซไซยาเนต
  • ชื่อกรดที่มักมี acid ลงท้าย ให้ใช้คำว่า กรด ขึ้นต้นตามด้วยชื่อ เช่น formic acid ใช้ว่า กรดฟอร์มิก
  • เครื่องหมายประกอบอื่น ๆ ที่เป็นส่วนสำคัญของชื่ออาทิ ยัติภังค์ มหัพภาค จุลภาค นขลิขิต อะพอสทรอฟี ตัวเลข ให้ใส่ไว้เหมือนต้นฉบับ เช่น คอปเปอร์(II) คาร์บอเนต

เว็บไซต์

  1. ใช้ชื่อทางการในภาษาไทย หรือชื่อทางการที่ทับศัพท์เป็นภาษาไทย โดยไม่ต้องใส่โดเมนต่อท้าย เช่น วิกิพีเดีย เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ไฮไฟฟ์ เอ็กซ์ทีน ดิลิเชียส อินสตาแกรม
  2. ถ้าชื่อในข้อแรกมีความหมายกำกวม หรือมีเว็บไซต์อื่นที่ชื่อซ้ำกัน ให้ใส่โดเมนระดับบนสุดหรือระดับรองลงมาลงไปด้วย โดยใช้ตัวคั่นเป็นมหัพภาค (.) เช่น วิชาการ.คอม ลาสต์.เอฟเอ็ม

ดูเพิ่ม

อ้างอิง