วิสามานยนาม
วิสามานยนาม[1] หรือ คำนามวิสามัญ[2] (อังกฤษ: proper noun) คือคำนามเฉพาะของชื่อคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่เพื่อไม่ให้ปะปนกับคำนานทั่วไป[3] ซึ่งคำวิสามานยนามในภาษาไทยเกิดมาจากการผสมผสานคำระหว่างวรรณกรรมฮินดู และวรรณกรรมพุทธศาสนา[4] แตกต่างจากคำสามานยนาม (common noun) หมายถึงกลุ่มของสิ่งต่าง ๆ เช่น เมือง ดาวเคราะห์ บุคคล บริษัท หรือกรณีตัวอย่างไม่จำเพาะของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น นครหนึ่ง ดาวเคราะห์ดวงอื่น บุคคลเหล่านี้ หรือบริษัทของเรา วิสามานยนามบางคำอยู่ในรูปพหูพจน์ แล้วหมายถึงสิ่งที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ เช่น ครอบครัวเฮนเดอร์สัน หรืออะโซร์ส (กลุ่มเกาะ) วิสามานยนามบางคำสามารถพบในการใช้ชุดรองเช่นกัน ตัวอย่างเช่น การขยายนาม (ประสบการณ์โมซาร์ต; การผจญภัยอะโซร์สของเขา) หรือแทนสามานยนามบางคำ บทนิยามในรายละเอียดของคำนี้เป็นปัญหาและมีแบบแผนอยู่ในระดับหนึ่ง
หลักการอ่านคำวิสามานยนามจะต้องอ่านออกเสียงตามความต้องการของเจ้าของ หรือชื่อเฉพาะนั้น ๆ ซึ่งอาจถือตามความต้องการมากกว่าความถูกต้องตามหลักภาษา[5]
ตัวอย่าง
แก้ตัวอย่างการจำแนกคำวิสามานยนาม เช่น
- ชื่อจริง นามสกุล ราชทินนามของขุนนาง ชื่อนามเดิมขุนนาง พระนามพระบรมวงศานุวงศ์ นามพระกรม ชื่อสมญานามและเฉลิมพระนามพระเจ้าแผ่นดิน รวมทั้งชื่อเฉพาะที่มีอักษรอักษรโรมันกํากับอยู่ เช่น สุวรรณภูมิ (Suvarnabhumi) นามสกุลพระราชทานที่มีอักษรโรมันกำกับ
- ชื่อย่อ ชื่อนามปากกา เช่น น.ณ ปากน้ำ ของประยูร อุลุชาฎะ น.ม.ส. ของพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
- ชื่อสายพันธุ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ เช่น ชีตาห์ (เสือ) แบล็คสวอลโล (ปลา)
- ชื่อสถานที่ อาคาร สิ่งก่อสร้าง ถนน สะพาน ชื่อพระพุทธรูป เช่น จุฬาวิชช์ อังรีดูนังต์ พระพุทธชินราช
- ชื่อสถานศึกษา สถานประกอบการ หน่วยงานราชการ วัด วัง เช่น ธรรมศาสตร์ สรรพากร วัดสุทัศน์
- ชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เช่น ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ
- ชื่อเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง เครื่องหมายร่วม ชื่อตราสัญลักษณ์ เช่น ซาราห์ ไมโครซอฟท์ การบินไทย 7-Eleven อย. ฮาลาล
- ชื่อเฉพาะเรื่อง เฉพาะวิชา วรรณกรรม (ศิลปะ ความสามารถ วัฒนธรรม) เช่น ขนมไทยโบราณ บุญบั้งไฟ
- ชื่อภูมิศาสตร์ ดาว นักษัตร เช่น ดาวพฤหัสบดี เมถุน เอเวอเรสต์ (ชื่อเทือกเขา)
- ชื่อวัน ชื่อเดือน ชื่อเทศกาล ชื่อพระราชพิธี ชื่อประเภทปฏิทิน เช่น วันจันทร์ วันลอยกระทง เดือนธันวาคม จันทรคติ โสกันต์
- ชื่อกฏหมาย เช่น กฏมณเฑียรบาล[6]
- ชื่อหน่วยการปกครอง เช่น ชื่อเมือง จังหวัด ประเทศ ฯลฯ เช่น กรุงเทพมหานคร ลอนดอน สุไหง-โกลก
- ชื่อเฉพาะทั่วไปซึ่งยากต่อการถอดเสียงมีความจำเป็นต้องทำการทับศัพท์ เช่น สจ๊วด (Steward) หากถอดตามหลักภาษาจะกลายเป็น สตีวอร์ด ซึ่งไม่ถูกต้อง
- ชื่อภาษาต่างประเทศที่นิยมใช้ คุ้นเคย หรือรู้จักกันโดยทั่วไปในภาษาไทย เช่น โอซาก้า (ขณะที่ภาษาญี่ปุ่นออกเสียง โอซะกะ)
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ กรมวิชาการ. (2510). หลักภาษาไทย: ประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย. พระนคร: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. 398 หน้า. หน้า 179.
- ↑ นววรรณ พันธุเมธา. (2548). ไวยากรณ์ไทย. โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย. 373 หน้า. หน้า 6. ISBN 978-616-5-51888-8
- น้ำเพชร จินเลิศ. "การจำแนกหมวดคำในตำราหลักไวยากรณ์ไทย: หลากวิธีคิดหลายทฤษฎี", วรรณวิทัศน์, 6(2549):165–166.
- ↑ อุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ), พระยา. (2522). หลักภาษาไทย: อักขรวิธี วจีวิภาค วายกสัมพันธ์ ฉันทลักษณ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. 498 หน้า. หน้า 144.
- เปลื้อง ณ นคร. (2540). ภาษาวรรณนา: วิวัฒน์และวิบัติของภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง. 214 หน้า. หน้า 105. ISBN 9789747703429
- ↑ วินัย พงศ์ศรีเพียร. (2545). อันเนื่องมาแต่พจนานุกรมคําเก่าในภาษาไทย ฉบับชะเลยสัก. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. 154 หน้า. หน้า 84. ISBN 978-616-7-15411-4
- ↑ จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และบาหยัน อิ่มสำราญ. (2552). การใช้ภาษาไทย. นครปฐม: คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 207 หน้า. หน้า 25. ISBN 978-974-6-41280-3
- ↑ พระกวีวรญาณ (จำนงค์ ชุตินฺธโร). (2516). ภาษาของเรา เล่ม ๒. กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา. หน้า 162.