กูเกิล

บริษัทด้านอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกา

กูเกิล (อังกฤษ: Google LLC; เป็นบริษัทย่อยอเมริกัน มีรายได้หลักจากการโฆษณาออนไลน์ที่ปรากฏในเสิร์ชเอนจินของกูเกิล อีเมล แผนที่ออนไลน์ ซอฟต์แวร์จัดการด้านสำนักงาน เครือข่ายออนไลน์ และวิดีโอออนไลน์ รวมถึงการขายอุปกรณ์ช่วยในการค้นหา กูเกิลสำนักงานใหญ่ที่รู้จักในชื่อกูเกิลเพล็กซ์ตั้งอยู่ที่เมืองเมาน์เทนวิว รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยมีพนักงาน 16,805 คน (31 ธันวาคม พ.ศ. 2550) [ต้องการอ้างอิง] โดยกูเกิลเป็นบริษัทอเมริกันที่ใหญ่ที่สุดที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของดัชนีดาวโจนส์ (ข้อมูล 31 ตุลาคม พ.ศ. 2550) [6][7][8]

กูเกิล
ประเภทบริษัทย่อย
อุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ต Edit this on Wikidata
ก่อตั้ง4 กันยายน พ.ศ. 2541 (26 ปี)[1]
เมนโลพาร์ก, รัฐแคลิฟอร์เนีย
ผู้ก่อตั้ง
สำนักงานใหญ่กูเกิลเพล็กซ์, เมาน์เทนวิว, แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา
บุคลากรหลักสุนทร ปิจาอี (ประธานบริหาร)
รายได้เพิ่มขึ้น US$ 46,173 ล้าน (2563) [2]
รายได้จากการดำเนินงาน
เพิ่มขึ้น US$11,213 ล้าน (2563)[2]
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น US$11,247 ล้าน (2563)[2]
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น US$131.133 พันล้าน (2557)[3]
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น US$104.5 พันล้าน (2557)[3]
พนักงาน
132,121 (ไตรมาสที่ 3 ปี 2020)[4]
บริษัทแม่แอลฟาเบต
เว็บไซต์www.google.com
www.google.co.th

กูเกิลก่อตั้งโดย แลร์รี เพจ และ เซอร์เกย์ บริน ขณะที่ทั้งคู่กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งภายหลังทั้งคู่ได้ก่อตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2541 ในโรงจอดรถของเพื่อนที่ เมืองเมนโลพาร์ก ในรัฐแคลิฟอร์เนีย [9] และมีการเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชน เมื่อ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เพิ่มมูลค่าของบริษัท 1.67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และหลังจากนั้นทางกูเกิลได้มีการขยายตัวตลอดเวลาจากการพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่และการซื้อกิจการอื่นรวมเข้ามา เช่น กูเกิล ดีปไมด์ รวมถึงก่อตั้งบริษัทลูกอย่างกูเกิล เอกซ์กูเกิลได้ถูกจัดอันดับให้เป็นบริษัทที่น่าทำงานมากที่สุดในสหรัฐอเมริกาโดยนิตยสารฟอร์จูน[10] ซึ่งมีคติพจน์ประจำบริษัทคือ Don't be evil อย่างไรก็ตามทางบริษัทได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในด้านการละเมิดข้อมูลส่วนตัว การละเมิดลิขสิทธิ์ และการเซ็นเซอร์ในหลายส่วน

วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2558 แลร์รี เพจ และเซอร์เกย์ บริน สองผู้ก่อตั้งกูเกิล ได้ตั้งบริษัทใหม่ชื่อ "แอลฟาเบต" (Alphabet) โดยมีแผนจะใช้บริษัทนี้เป็นบริษัทแม่แทน และลดขนาดองค์กรกูเกิลลงเพื่อความคล่องตัวทางธุรกิจ[11][12] ต่อมาวันที่ 1 กันยายน ปีเดียวกัน กูเกิลได้เปลี่ยนโลโก้บริษัทใหม่[13][14]

ประวัติ

ช่วงแรก

กูเกิลเปิดตัวในเดือนมกราคม 2539 ซึ่งเป็นโปรเจ็ควิจัยของ แลร์รี่ เพจ และ เซอร์เกย์ บริน ขณะที่พวกเขาทั้งคู่เรียนปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย[15] อันที่จริงงานโปรเจ็ควิจัยชิ้นมีผู้ร่วมก่อตั้งสามคน , สก็อต ฮัตตสัน เป็นโปรแกรมเมอร์ผู้เขียนโค๊ดให้แก่กูเกิลเอินจิน แต่เขาได้ออกจากกูเกิลก่อนที่กูเกิลจะกลายเป็นบริษัท ต่อมาฮัตสันได้เปิดบริษัท Willow Garage ในปี 2549 ซึ่งเป็นบริษัทวิทยาการด้านหุ่นยนต์

โครงการรณรงค์

กูเกิล ร่วมรณรงค์กิจกรรมการปิดไฟ กับโครงการเอิร์ธ อาวเออร์ (Earth Hour) ของกองทุนสัตว์ป่าโลก (World Wildlife Fund : WWF) ด้วยการปรับหน้าเว็บเพจเป็นสีดำพร้อมข้อความว่า "เราปิดไฟแล้ว ต่อไปตาคุณ" (We've turned the lights out. Now it's your turn.) ในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2551[16]

"Google" ชื่อ "Google" มาจากคำว่า "googol" ซึ่งหมายถึงจำนวนทางคณิตศาสตร์ที่หมายถึงเลข 1 แล้วตามด้วยเลข 0 อีกหนึ่งร้อยตัว หรือ 10100 เพื่อเป็นการแสดงถึงเป้าหมายของบริษัทที่จะจัดการกับข้อมูลจำนวนมหาศาล อีกกระแสหนึ่งบอกว่าชื่อ Google มาจากความผิดพลาดในการจดโดเมนเนมในช่วงก่อตั้ง

ในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 กูเกิลชนะความในศาล ในคดีที่มีบริษัทอื่นตั้งชื่อใกล้เคียง ได้แก่ googkle.com ghoogle.com และ gooigle.com เพื่อเรียกให้คนอื่นเข้าเว็บไซต์ของตน ทำให้เกิดความเสียหายกับชื่อเสียงของกูเกิล

ผลิตภัณฑ์ของกูเกิล

ซอฟต์แวร์เดสก์ทอป

ซอฟต์แวร์ของกูเกิล จะเป็นซอฟต์แวร์ให้ดาวน์โหลดใช้งานฟรี และทำงานผ่านระบบของกูเกิล

กูเกิล ทอล์ก
ทอล์ก (Google Talk) ซอฟต์แวร์เมสเซนเจอร์และวีโอไอพี
กูเกิล เอิร์ธ
เอิร์ธ (Google Earth) ซอฟต์แวร์ดูภาพถ่ายผ่านดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศ ภูมิประเทศของแต่ละประเทศ ของโลก
ปีกาซา
ปีกาซา (Picasa) ซอฟต์แวร์สำหรับดูภาพภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้งานคู่กับเว็บไซต์ปีกาซา
กูเกิล แพ็ก
แพ็ก (Google Pack) เป็นชุดซอฟต์แวร์พร้อมดาวน์โหลด ประกอบด้วย โปรแกรมของกูเกิลเองได้แก่ เดสก์ท็อป ปีกาซา ทูลบาร์ โฟโต้สกรีนเซฟเวอร์ เอิร์ธ ทอร์ก วิดีโอเพลย์เยอร์ และโปรแกรมอื่นรวมถึง ไฟร์ฟอกซ์ สตาร์ออฟฟิศ อะโดบี รีดเดอร์ สไกป์
กูเกิล โครม
โครม (Google Chrome) ซอฟต์แวร์เบราว์เซอร์
สเก็ตช์อัป
สเก็ตช์อัป (SketchUp) ซอฟต์แวร์สำหรับวาดภาพสเก็ตช์ และภาพ 3 มิติ
กูเกิล สกาย แมพ
สกาย แมพ (Google sky map) ซอฟต์แวร์ที่ใช้ดู แผนที่ดาว ตำแหน่งดาวเคราห์ และ ดาวฤกษ์ ของ กาแล็กซี่ต่างๆๆ
กูเกิล แมพ
แมพ (Google Map) ซอฟต์แวร์สำหรับค้นหาแผนที่บนโลก

ด้านเอกสาร

กูเกิล เอกสาร
เอกสาร (Google Docs ) ซอฟต์แวร์ที่ใช้เกี่ยวกับ การเก็บข้อมูล ภาพ ข้อมูล เหมือนกับ Microsoft word
กูเกิล ชีต
ชีต (Google Sheet) ซอฟต์แวร์ ที่ใช้เกี่ยวกับ การทำข้อมูล กราฟเส้น ต่างๆๆ เหมือนกับ Microsoft Excel
กูเกิล สไลด์
สไลด์ (Google Slides) ซอฟแวร์ ที่ใช้เกี่ยวกับ การนำเสนอ ข้อมูล ความรู้ เหมือนกับ Microsoft power point
กูเกิล คิป
คิป (Google Keep) ซอฟแวร์ ที่ใช้เกี่ยวกับ การจดบันทึก สิ่งต่างๆๆหรือสิ่งสำคัญ ซึ่งเหมือนการเก็บข้อมูลใน สมุด หรือ ไดอารี่

บริการบนอินเทอร์เน็ต

ชื่อ ชื่ออังกฤษ รายละเอียดย่อ อ้างอิง
กูเกิล เสิร์ช Google Search เว็บไซต์เสิร์ชเอนจินค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต มีให้บริการมากกว่า 100 ภาษา google.com
กูเกิล กรุ๊ปส์ Google Groups บริการเว็บบอร์ด และสร้างเว็บไซต์ของกลุ่ม http://groups.google.com
กูเกิล ค้นหารูปภาพ Google Image Search บริการค้นหารูปภาพออนไลน์ http://images.google.com/
กูเกิล แคเลนเดอร์ Google Calendar บริการปฏิทินและจดวันนัดหมาย http://www.google.com/calendar/
จีเมล Gmail บริการอีเมล http://www.gmail.com
กูเกิล ไซต์ไกสต์ Google Zeitgeist บริการเปิดให้ดูคำค้นหา คำนิยม รูปแบบ และแนวโน้มในการค้นหาผ่านกูเกิลเสิร์ช http://www.google.com/press/zeitgeist.html เก็บถาวร 2008-03-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
กูเกิล ด็อกส์ Google Docs บริการใช้งานซอฟต์แวร์สำนักงานรวมถึง เวิร์ด สเปรดชีต พรีเซนเตชัน ให้ผู้ใช้สามารถได้ฟรีออนไลน์ โดยเพิ่มเติมความสามารถในการแชร์และให้ผู้ใช้หลายคนสามารถแก้ไขไฟล์เดียวกันพร้อมกันได้โดยผู้ใช้ [17] โดยเริ่มพัฒนาจากซอฟต์แวร์ ไรต์รี (Writely) และ กูเกิล สเปรดชีตส์ (Google Spreadsheet) เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อ 17 กันยายน พ.ศ. 2550 http://docs.google.com/
กูเกิล ทรานซเลต Google Translate บริการแปลข้อความผ่านเว็บไซต์ รวมถึงแปลเว็บไซต์ทั้งหน้า http://translate.google.com/
บล็อกเกอร์ Blogger บริการเขียนบล็อก http://www.blogger.com
กูเกิล บล็อกเสิร์ช Blog Search บริการค้นหาบล็อก http://blogsearch.google.com/ เก็บถาวร 2011-08-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ปีกาซา Picasa เว็บไซต์เก็บภาพ ใช้งานคู่กับซอฟต์แวร์ปีกาซา http://picasaweb.google.com/
กูเกิล เพจ Google Page บริการสร้างเว็บไซต์ http://pages.google.com/ เก็บถาวร 2011-11-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
กูเกิล โน้ตบุ๊ก Google Notebok บริการสมุดบันทึกออนไลน์ http://www.google.com/notebook
กูเกิล แมปส์ Google Maps บริการแผนที่ ค้นหาที่อยู่ ค้นหาธุรกิจและร้านอาหาร http://maps.google.com/
ยูทูบ YouTube บริการแชร์วิดีโอ http://www.youtube.com/
กูเกิล วิดีโอ Google Video บริการค้นหาวิดีโอออนไลน์ http://video.google.com/
กูเกิล เว็บมาสเตอร์ Google Webmaster ให้บริการเครื่องมือสำหรับเว็บมาสเตอร์ ตรวจสอบเว็บไซต์ ค้นหาดัชนีการค้นหาผ่านกูเกิล ตรวจสอบโรบอตไฟล์ [1]
กูเกิล สกอลาร์ Google Scholar บริการค้นหาวารสาร หนังสือ สิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการ http://scholar.google.com/
กูเกิล สกาย Google Sky ดูดาว และระบบสุริยะจักรวาลผ่านเว็บไซต์ http://www.google.com/sky/
กูเกิล สารบบเว็บ Google Directory ค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่ ข้อมูลจาก ดีมอซ http://directory.google.com/ เก็บถาวร 2011-01-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ออร์กัต Orkut เครือข่ายสังคมออนไลน์ลักษณะคล้ายกับ ไฮไฟฟ์ และเฟซบุ้ก ออกแบบโดยวิศวกรกูเกิลชาวตุรกี ออร์กัต บือยืกเคิกเทน (Orkut Büyükkökten) เปิดใช้งานเมื่อ มกราคม 2547 http://www.orkut.com/
กูเกิล แอดเซนส์ Google AdSense ให้บริการโค้ดสำหรับติดตั้งโฆษณาบนเว็บไซต์ ทำงานคู่กับแอดเวิรดส์
กูเกิล แอดเวิรดส์ Google AdWords บริการโฆษณาผ่านเว็บไซต์ที่ติดตั้งแอดเซนส์ http://adwords.google.com/
กูเกิล แอนะลิติกส์ Google Analytics บริการนับสถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์ พร้อมระบบวิเคราะห์ผู้ใช้งาน http://www.google.com/analytics/
กูเกิล เพลย์ Google Play บริการใช้งานผลิตภัณฑ์และบริการของกูเกิลผ่านทางชื่อโดเมนส่วนตัว โดยแอปพลิเคชันที่สามารถใช้งานได้เช่น จีเมล แคเลนเดอร์ ทอล์ก ด็อกส์ โดยมีการให้บริการทั้งฟรีและเสียเงิน https://play.google.com/store
ไอกูเกิล iGoogle ในชื่อเดิม เพอร์เซอนอลไลส์ ให้บริการทำหน้าเริ่มต้นในการเข้าชมเว็บไซต์ โดยสามารถนำเว็บฟีดและแก็ดเจ็ต จากเว็บอื่นมารวมได้ http://www.google.com/ig
กูเกิลกูรู Google guru เชิญให้สมาชิก Gmail เข้ามาตั้งคำถามและตอบคำถามได้ โดยมีคะแนนที่ทางกูเกิลให้เมื่อเข้ามาที่กูเกิล สามารถใช้ตั้งคำถามได้ เป็นเวอร์ชันทดลองให้ไปลองใช้กัน พบแต่ในประเทศไทยเท่านั้น (ปัจจุบันปิดใช้งานแล้ว) http://guru.google.co.th[ลิงก์เสีย]
กูเกิล พลัส Google Plus เครือข่ายสังคมออนไลน์ล่าสุดจากกูเกิล (เปิดตัวในวันที่ 28 มิ.ย. 2554 โดยจำกัดจำนวนผู้ใช้งานให้ทดลองใช้เฉพาะผู้ที่มี invite หลังจากนั้นวันที่ 20 ก.ย. 2554 ก็เปิดให้ผู้ใช้งานทั่วไปได้ใช้งานโดยไม่ต้องมี invite)(ปิดใช้งานภายในเดือนเมษายน 2562[18] http://plus.google.com/
กูเกิล มิวสิก Google Music บริการฟังเพลง-ดาวน์โหลดเพลงออนไลน์จากกูเกิล ในเบื้องต้นเปิดใช้เป็นทางการเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา http://music.google.com[ลิงก์เสีย]
สตาเดีย Stadia บริการเกมออนไลน์ที่เล่นเกมผ่านเกมคลาวด์โดยใช้โครมเป็นตัวเล่นbeta https://www.stadia.com ,https://www.stadia.dev

โดยบริการที่อยู่ในขั้นทดลอง จะเปิดให้ใช้งานโดยจะมีคำว่า "Beta" อยู่ภายใต้โลโก้นั้นซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการกูเกิล แล็บส์ (Google Labs)

บริการผ่านโทรศัพท์มือถือ

  • Map's for mobile
  • Mobile
  • SMS
  • App Google Play Store

ระบบปฏิบัติการ

แอนดรอยด์
แอนดรอยด์ (Android) ระบบปฏิบัติการบนสมาร์ตโฟนที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย
กูเกิล โครมโอเอส
โครม โอเอส (Chrome OS) ระบบปฏิบัติการบนคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เน็ตบุ๊ก ปัจจุบันมีผู้ผลิตอยู่ 2 ราย คือ ซัมซุงและเอเซอร์
กูเกิลทีวี
กูเกิลทีวี (Google TV) ระบบปฏิบัติการบนโทรทัศน์รุ่นใหม่ เช่น สมาร์ตทีวี แอลอีดีทีวี สามารถใช้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านทีวีได้

สำนักงาน

 
สำนักงานของกูเกิล ประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ปาร์คเวนเชอร์ อีโคเพล็กซ์

กูเกิลมีสำนักงานหลายสาขาทั่วโลก โดยในสหรัฐอเมริกามีมากกว่า 20 สาขา และที่อื่นทั่วโลกมากกว่า 40 แห่ง กูเกิลสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองเมาน์เทนวิวในรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยสถานที่ตั้งของสาขาทั้งหมดดังนี้[19]

ความขัดแย้งในกฎและสิทธิ

การเติบโตของกูเกิลในด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์และการบริการ ก่อให้เกิดความขัดแย้งและการวิพากษ์วิจารณ์หลายครั้ง ตัวอย่างเช่นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เขียนหนังสือ จากการให้บริการค้นหาหนังสือผ่าน กูเกิล บุ๊กเสิร์ช ที่มีการนำข้อมูลจากหนังสือมาสแกนเพื่อให้ผู้ใช้งานค้นคว้าง่ายขึ้น[20] เช่นเดียวกับการค้นหาภาพผ่าน กูเกิล ค้นหารูปภาพ นอกจากนี้ยังมีการวิจารณ์ที่กูเกิลได้ทำการเซ็นเซอร์ข้อมูลในการค้นหาบางส่วน เช่นกูเกิลได้ยอมให้ในประเทศจีน ที่ทางรัฐบาลไม่ต้องการให้ผู้ใช้งานกูเกิลจีนค้นหาข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองและสังคม กูเกิลได้ทำการเซ็นเซอร์ข้อมูลเกี่ยวกับ การชุมนุมประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน และเช่นเดียวกันในการเซ็นเซอร์ของเยอรมนีและฝรั่งเศสเกี่ยวกับการล้างชาติพันธุ์โดยนาซี

ในด้านการละเมิดข้อมูลส่วนตัวนั้นกูเกิลถูกวิจารณ์ว่าได้เก็บข้อมูลการใช้งานอินเทอร์เน็ตในรูปแบบของคุกกี้ เป็นระยะเวลานานกว่าเว็บไซต์อื่น โดยทางกูเกิลเก็บข้อมูลไว้เป็นเวลา 18 เดือน ขณะที่ทางยาฮู!และเอโอแอลเก็บข้อมูลเป็นเวลา 13 เดือน[21] ทางด้านข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายผ่านดาวเทียม ที่แสดงผลผ่าน กูเกิล เอิร์ธ และกูเกิล แมปส์ ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากหน่วยความมั่นคงของหลายประเทศ ในด้านความเป็นส่วนตัว และการล้วงความลับทางการเมือง รวมถึงเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปสามารถดูสถานที่สำคัญโดยไม่มีการเซ็นเซอร์ เช่น พระราชวัง ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายในด้านการจารกรรมและปัญหาการก่อการร้ายได้โดยง่าย ถึงแม้ว่าข้อมูลเหล่านั้นจะเปิดให้ดูได้มานานก่อนหน้าที่กูเกิลจะออกซอฟต์แวร์ก็ตาม

ในด้านการโฆษณาผ่านกูเกิล ได้มีการวิจารณ์ในระบบการโฆษณาที่ไม่มีประสิทธิภาพเต็มความสามารถ ซึ่งทางเจ้าของเว็บไซต์ที่ติดตั้งโฆษณาพยายามโกงโดยการกดโฆษณาเองเพื่อเพิ่มรายได้ให้ตนเอง ทำให้ผู้ลงโฆษณาต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนั้นซึ่งมีรายงานว่า 14-20 เปอร์เซนต์ เป็นการกดโดยตั้งใจเพื่อทำรายได้ให้กับเจ้าของเว็บ[22] นอกจากนี้กูเกิลยังโดนกล่าวถึงในเรื่องของการกีดกันโอกาสของคนต่างเพศและคนสูงอายุจากอดีตพนักงานที่โดนเชิญให้ออก[23][24]

อ้างอิง

  1. เกี่ยวกับ Google (อังกฤษ)
  2. 2.0 2.1 2.2 "Google Inc. Alphabet Announces Third Quarter 2020 Results" (PDF). อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "financialtables" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  3. 3.0 3.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ xbrlus_3
  4. "Google Inc. Alphabet Announces Third Quarter 2020 Results" (PDF). Google.
  5. "Google Announces Fourth Quarter And Fiscal Year 2007 Results". 31 มกราคม พ.ศ. 2551. สืบค้นเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2551. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. "Google's Surge Would Make Casey Kasem Proud". Wall Street Journal. 31 ตุลาคม พ.ศ. 2550. สืบค้นเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2551. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  7. Brin, Sergey; Page, Lawrence (1998). "The anatomy of a large-scale hypertextual Web search engine" (PDF). Computer Networks and ISDN Systems. 30 (1–7): 107–117. CiteSeerX 10.1.1.115.5930. doi:10.1016/S0169-7552(98)00110-X.
  8. Barroso, L.A.; Dean, J.; Holzle, U. (April 29, 2003). "Web search for a planet: the google cluster architecture". IEEE Micro. 23 (2): 22–28. doi:10.1109/mm.2003.1196112. We believe that the best price/performance tradeoff for our applications comes from fashioning a reliable computing infrastructure from clusters of unreliable commodity PCs.
  9. "The Rise of Google". ยูเอสเอทูเดย์. 29 เมษายน พ.ศ. 2547. สืบค้นเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  10. "100 Best Companies to Work For 2007." นิตยสารฟอร์จูน 22 มกราคม พ.ศ. 2550 เรียกข้อมูลวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551
  11. กูเกิลประกาศปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ตั้งบริษัทแม่แห่งใหม่ ลดไซซ์กูเกิลเพื่อความคล่องตัว
  12. "กูเกิ้ล" ปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ | เดลินิวส์
  13. Google ปรับโฉมใหม่ - Official Google Thailand Blog
  14. Google's New Logo Is Its Biggest Update In 16 Years | Fast Company
  15. Our history in depth
  16. Earth Hour เก็บถาวร 2008-06-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน google.co.th
  17. Writely So จากบล็อกกูเกิล
  18. "Google+ ประกาศปิดตัวเร็วขึ้น 4 เดือน หลังพบบั๊กใหม่ที่เข้าถึงข้อมูลผู้ใช้ 52.5 ล้านราย". techtalkthai.com. 22 มีนาคม 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-22. สืบค้นเมื่อ 2019-03-22.
  19. ที่ตั้งทั้งหมดของสำนักงานกูเกิล
  20. "A New Chapter". The Economist. 30 ตุลาคม 2551. สืบค้นเมื่อ 2008-11-07.
  21. Liedtke, Michael (11 ธันวาคม พ.ศ. 2550). "Ask.com will purge search info in hours". Journal Gazette. Fort Wayne Newspapers. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-01. สืบค้นเมื่อ 2007-12-11. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  22. Mills, Elinor. "Google to offer advertisers click fraud stats." c net. 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2549. เรียกดู 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2549.
  23. Kawamoto, Dawn. "Google hit with job discrimination lawsuit." c|net news.com. 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2548.
  24. "CTV.ca | Google accused of ageism in reinstated lawsuit". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-11. สืบค้นเมื่อ 2008-03-10.

แหล่งข้อมูลอื่น

หนังสืออ่านเพิ่ม

  • เรื่องราวของกูเกิล, หนังสือแปลจาก The Google Story ของ เดวิด เอ. ไวส์ และ มาร์ก มัลซีด แปลโดย วิภาดา กิตติโกวิท. ISBN 974-9754-52-2