A (ตัวใหญ่: A, ตัวเล็ก: a) คืออักษร และ สระตัวแรก ในอักษรละติน มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า เอ ในขณะที่หลายภาษาเช่น ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี เรียกตามชื่อเดิมของอักษรนี้คือ อา /a/, /aː/ รูปพหูพจน์เขียนเป็น A's, As, as, หรือ a's[1] อักษร A มีพัฒนาการมาตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณโดยมีหลักฐานในอักษรภาพไฮโรกลิฟฟิก และมีการหยิบยืมไปใช้โดยวัฒนธรรมอื่นจนกระทั่งปัจจุบัน โดยยังคงไว้ซึ่งจุดเด่นนั่นคือ A เป็นตัวอักษรแรกของชุดตัวอักษรในภาษาเสมอ ใช้แทนเสียงสระ อา เอ หรือ แอ ที่ประกอบกับเสียงพยัญชนะ หรือใช้แทนเสียงสระอย่างเดียวก็ได้ นอกจากนั้นอักษร A ก็มีการเติมเครื่องหมายและถูกดัดแปลงไปหลายรูปแบบเพื่อการนำไปใช้เป็นอักขรวิธีในภาษาหนึ่ง ๆ

ประวัติ

แก้

อักษร A มีจุดเริ่มต้นมาจากอักษรภาพ (pictogram) จากรูปหัวของวัวในไฮโรกลิฟ หรืออักษรในยุคสำริด[2]

ไฮโรกลิฟ
หัวของวัว
อักษรยุคสำริด
หัวของวัว
อักษรฟินิเชีย
อะเลฟ
อักษรกรีก
แอลฟา
อักษรอีทรัสคัน
A
อักษรโรมัน
A
           

ในช่วงประมาณ 1600 ปีก่อนคริสตกาล อักษร A ของอักษรฟินิเชียได้พัฒนาเป็นรูปแบบเชิงเส้น ซึ่งเป็นพื้นฐานของรูปแบบการเขียน A ในเวลาต่อมา ชื่อของอักษรนี้มีชื่อเหมือนกับ "อะลิฟ" ในอักษรอาหรับ หรือ "อะเลฟ" ในอักษรฮีบรู

เมื่อถึงยุคกรีซโบราณ ชาวกรีกก็ได้รับเอาอักษรฟินิเชียมาดัดแปลง และเนื่องจากชาวกรีกไม่มีการใช้เสียงกัก เส้นเสียง (glottal stop) /ʔ/ เหมือนภาษาฟินิเชียหรือภาษากลุ่มเซมิติกอื่น ๆ ดังนั้นชาวกรีกจึงใช้อักษรนี้แทนเสียงสระ อา /a/ และเรียกชื่อใหม่เป็นแอลฟา (alpha) ในจารึกเริ่มแรกหลังจากยุคมืดของกรีซ (Greek Dark Ages) จนถึงศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล อักษร A เขียนโดยตะแคงด้านหนึ่งราบลงไปกับเส้นบรรทัดคล้ายอักษรฟินิเชีย แต่ในภายหลังอักษรกรีกได้พัฒนาให้คล้ายกับอักษรในปัจจุบัน

     
Blackletter A Uncial A Another Capital A
     
Modern Roman A Modern Italic A Modern Script A

ชาวอีทรัสคันได้นำอักษรกรีกไปใช้ในดินแดนคาบสมุทรอิตาลีและยังคงไว้ซึ่งรูปอักษร ต่อมาชาวโรมันนำเอาอักษรอีทรัสคันไปเขียนภาษาละติน ส่งผลให้อักษรนี้ยังคงมีใช้อยู่ในอักษรละตินสมัยใหม่และใช้เขียนภาษาต่าง ๆ ในปัจจุบันรวมทั้งภาษาอังกฤษ

อักษรนี้มีอักษรตัวเล็กสองแบบ แบบหนึ่งประกอบด้วยห่วงคล้ายวงกลมและเส้นตั้งหนึ่งขีด (ɑ) เรียกว่า "ละตินแอลฟา" มักพบในการเขียนด้วยลายมือ ในขณะที่สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ใช้อีกแบบหนึ่งซึ่งประกอบด้วยห่วงคล้ายวงกลมและเส้นโค้งที่คลุมด้านบน (a) อักษรทั้งสองแบบต่างก็พัฒนามาจากอักษรตัวใหญ่ตัวเดียวกัน โดยเชื่อมขาข้างซ้ายเข้ากับเส้นขวางตรงกลางให้เป็นห่วงอันเดียว (ดูภาพ Unicial A) แบบอักษรจำนวนมากได้ทำให้ขาข้างขวาตั้งตรง ซึ่งอักษรบางแบบก็ทำให้เซริฟที่อยู่บนขาข้างขวากลายเป็นเส้นโค้งไป ทำให้รูปแบบนี้ใช้สำหรับการพิมพ์ ส่วนอีกรูปแบบหนึ่งก็ใช้สำหรับการเขียนด้วยลายมือ

การใช้งาน

แก้
 
อักษรตัวเล็กของ A ที่มีความแตกต่างกันในการพิมพ์

อักษร A ถูกใช้แทนเสียงสระซึ่งแตกต่างกันออกไปในแต่ละภาษา อาทิ เสียงสระ อา /a/, อา-ออ /ɑ/ (ปากกว้างกว่า อา) , เอ /eɪ/, หรือ แอ /æ/ และเพื่อแยกแยะเสียงเหล่านี้ บางภาษาได้กำหนดให้เติมเครื่องหมายเสริมสัทอักษร (diacritics) ลงไปบนอักษร เช่น Á À Å เป็นต้น ส่วนในสัทอักษรสากลก็มีสัญลักษณ์จำนวนหนึ่งที่มาจากอักษร A ในรูปแบบต่าง ๆ แทนเสียงสระที่นอกเหนือจากที่กล่าวมา

อักษร A เป็นอักษรที่ถูกใช้บ่อยเป็นอันดับสามในภาษาอังกฤษ และเป็นอันดับสองในภาษาสเปนและภาษาฝรั่งเศส ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วจำนวนอักษร A ในหนังสือภาษาอังกฤษคิดเป็น 8.2% ของตัวอักษรทั้งหมด ในขณะที่ภาษาสเปนและภาษาฝรั่งเศสเท่ากับ 6.2% และ 4% ตามลำดับ[3]

วัฒนธรรมของการใช้อักษร A มักจะถูกตีความว่าเป็นอันดับแรกสุด หรือดีที่สุด เช่นการให้เกรดในสถานศึกษา เกรด A หมายถึงได้คะแนนดีที่สุด เป็นต้น มักใช้จัดลำดับความสำคัญซึ่ง A หมายถึงสำคัญที่สุด ดังเช่นการจัดลำดับหัวข้อโดยใช้อักษรละติน หัวข้อ (A) จะขึ้นต้นก่อนเสมอตามลำดับตัวอักษร[4] การศึกษาในปี พ.ศ. 2553 ของสมาคมจิตวิทยาอังกฤษ ได้ข้อสรุปว่า การที่นักเรียนเห็นตัวอักษร A ก่อนหน้าการสอบจะเป็นการเพิ่มผลการสอบของนักเรียนได้[5]

นอกเหนือไปจากนี้อักษร A ที่ไม่ได้ใช้ตีความในทางดังกล่าว สามารถยกตัวอย่างได้ดังนี้

อักษรตัวใหญ่หรือตัวเล็ก

แก้
  • A หรือ a ใช้เป็นคำนำหน้านามที่ไม่เฉพาะเจาะจง (indefinite article) ในภาษาอังกฤษ เช่น a cat หมายถึง "แมวตัวหนึ่ง" (ตัวใดก็ได้เพียงตัวเดียว) สำหรับคำที่ขึ้นต้นด้วยเสียงสระ จะเปลี่ยนไปใช้ an แทน เช่น an elephant หรือ an hour
  • –a เป็นคำปัจจัยในภาษาเอสเปรันโต ใช้สำหรับเปลี่ยนรากศัพท์ (หรือคำนาม) ให้กลายเป็นคำวิเศษณ์
  • แท็ก <A> หรือ <a> ใช้สำหรับสร้างการเชื่อมโยงหรือกำหนดตำแหน่งคั่นหน้าใน HTML
  • A หรือ a ใช้แทนค่าที่เท่ากับ 10 ในระบบเลขตามฐานตั้งแต่เลขฐานสิบเอ็ดเป็นต้นไป เช่น เลขฐานสิบหก เป็นต้น
  • MS-DOS ใช้สัญลักษณ์ A: หรือ a: แทนไดรฟ์ของฟลอปปีดิสก์เครื่องที่หนึ่ง
  • ในคอมพิวเตอร์บางระบบ ไอคอนรูป A เป็นตัวแทนของฟอนต์ทรูไทป์ ส่วนไอคอนรูป a เป็นตัวแทนของฟอนต์ไทป์วัน

เฉพาะอักษรตัวใหญ่

แก้
 
สัญลักษณ์ของลัทธิอนาธิปไตย

เฉพาะอักษรตัวเล็ก

แก้

รหัสคอมพิวเตอร์

แก้

รหัสแอสกีของ A และ a คือ 65 (0x41) และ 97 (0x61) ตามลำดับ รหัสเอบซีดิกคือ 193 (0xC1) กับ 129 (0x81) ตามลำดับ ส่วนรหัสยูนิโคดสามารถแจกแจงได้ดังนี้ [6]

อักษรละติน A

แก้
อักษรตัวใหญ่ อักษรตัวเล็ก
อักขระ โคดเพจ ความหมาย อักขระ โคดเพจ ความหมาย
A U+0041 อักษรละติน A ตัวใหญ่ a U+0061 อักษรละติน A ตัวเล็ก
À U+00C0 อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมเกรฟ (grave) à U+00E0 อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมเกรฟ
Á U+00C1 อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมอะคิวต์ (acute) á U+00E1 อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมอะคิวต์
 U+00C2 อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมเซอร์คัมเฟลกซ์ (circumflex) â U+00E2 อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมเซอร์คัมเฟลกซ์
à U+00C3 อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมทิลเดอ (tilde) ã U+00E3 อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมทิลเดอ
Ä U+00C4 อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมไดเอเรซิส (diaeresis) ä U+00E4 อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมไดเอเรซิส
Å U+00C5 อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมริง (ring) ด้านบน å U+00E5 อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมริงด้านบน
Ā U+0100 อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมแมครอน (macron) ā U+0101 อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมแมครอน
Ă U+0102 อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมบรีฟ (breve) ă U+0103 อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมบรีฟ
Ą U+0104 อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมออกอแนก (ogonek) ą U+0105 อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมออกอแนก
Ǎ U+01CD อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมแครอน (caron) ǎ U+01CE อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมแครอน
Ǟ U+01DE อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมไดเอเรซิสและแมครอน ǟ U+01DF อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมไดเอเรซิสและแมครอน
Ǡ U+01E0 อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมดอต (dot) ด้านบนและแมครอน ǡ U+01E1 อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมดอตด้านบนและแมครอน
Ǻ U+01FA อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมริงด้านบนและอะคิวต์ ǻ U+01FB อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมริงด้านบนและอะคิวต์
Ȁ U+0200 อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมดับเบิลเกรฟ (double grave) ȁ U+0201 อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมดับเบิลเกรฟ
Ȃ U+0202 อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมบรีฟกลับหัว ȃ U+0203 อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมบรีฟกลับหัว
Ȧ U+0226 อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมดอตด้านบน ȧ U+0227 อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมดอตด้านบน
Ⱥ U+023A อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมขีดเฉียงทับ U+2C65 อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมขีดเฉียงทับ
  ◌ͣ U+0363 ตัวผสาน อักษรละติน A ตัวเล็ก
U+2C6F อักษรละติน A ตัวใหญ่ กลับหัว ɐ U+0250 อักษรละติน A ตัวเล็ก กลับหัว
U+1D00 อักษรละติน A ตัวใหญ่ ขนาดเล็ก  
U+1D2C ตัวดัดแปร อักษรละติน A ตัวใหญ่ U+1D43 ตัวดัดแปร อักษรละติน A ตัวเล็ก
  U+1D44 ตัวดัดแปร อักษรละติน A ตัวเล็ก กลับหัว
  U+1D8F อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมฮุกปลายลิ้นม้วน (retroflex hook)
U+1E00 อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมริงด้านล่าง U+1E01 อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมริงด้านล่าง
  U+1E9A อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมริงครึ่งขวา †
U+1EA0 อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมดอตด้านล่าง U+1EA1 อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมดอตด้านล่าง
U+1EA2 อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมฮุก (hook) ด้านบน U+1EA3 อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมฮุกด้านบน
U+1EA4 อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมเซอร์คัมเฟลกซ์และอะคิวต์ U+1EA5 อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมเซอร์คัมเฟลกซ์และอะคิวต์
U+1EA6 อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมเซอร์คัมเฟลกซ์และเกรฟ U+1EA7 อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมเซอร์คัมเฟลกซ์และเกรฟ
U+1EA8 อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมเซอร์คัมเฟลกซ์และฮุกด้านบน U+1EA9 อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมเซอร์คัมเฟลกซ์และฮุกด้านบน
U+1EAA อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมเซอร์คัมเฟลกซ์และทิลเดอ U+1EAB อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมเซอร์คัมเฟลกซ์และทิลเดอ
U+1EAC อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมเซอร์คัมเฟลกซ์และดอตด้านล่าง U+1EAD อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมเซอร์คัมเฟลกซ์และดอตด้านล่าง
U+1EAE อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมบรีฟและอะคิวต์ U+1EAF อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมบรีฟและอะคิวต์
U+1EB0 อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมบรีฟและเกรฟ U+1EB1 อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมบรีฟและเกรฟ
U+1EB2 อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมบรีฟและฮุกด้านบน U+1EB3 อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมบรีฟและฮุกด้านบน
U+1EB4 อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมบรีฟและทิลเดอ U+1EB5 อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมบรีฟและทิลเดอ
U+1EB6 อักษรละติน A ตัวใหญ่ เติมบรีฟและดอตด้านล่าง U+1EB7 อักษรละติน A ตัวเล็ก เติมบรีฟและดอตด้านล่าง
  U+2090 อักษรละติน A ตัวเล็ก ตัวห้อย
U+FF21 อักษรละติน A ตัวใหญ่ เต็มความกว้าง U+FF41 อักษรละติน A ตัวเล็ก เต็มความกว้าง

† ตามมาตรฐานยูนิโคด อักษรนี้ไม่มีรูปอักษรตัวใหญ่ แต่ฟังก์ชันการแปลงเป็นอักษรตัวใหญ่ในภาษาจาวา ได้แปลงอักษรนี้ ẚ ไปเป็น Aʾ ซึ่งประกอบขึ้นจากอักขระสองตัว [7] นอกจากนั้นสัญลักษณ์ครึ่งวงกลมก็ถูกย้ายให้ค่อนไปทางขวาในยูนิโคดรุ่น 5.1.0 หลังจากที่เคยปรับให้อยู่ตรงกลางมาตั้งแต่รุ่น 3.0 [8]

อักษรละติน Alpha

แก้
อักษรตัวใหญ่ อักษรตัวเล็ก
อักขระ โคดเพจ ความหมาย อักขระ โคดเพจ ความหมาย
U+2C6D อักษรละติน Alpha ตัวใหญ่ ɑ U+0251 อักษรละติน Alpha ตัวเล็ก
U+2C70 อักษรละติน Alpha ตัวใหญ่ กลับหัว ɒ U+0252 อักษรละติน Alpha ตัวเล็ก กลับหัว
  U+1D45 ตัวดัดแปร อักษรละติน Alpha ตัวเล็ก
  U+1D90 อักษรละติน Alpha ตัวเล็ก เติมฮุกปลายลิ้นม้วน (retroflex hook)
  U+1D9B ตัวดัดแปร อักษรละติน Alpha ตัวเล็ก กลับหัว

อักษรรวมที่ประกอบด้วย A

แก้
อักษรตัวใหญ่ อักษรตัวเล็ก
อักขระ โคดเพจ ความหมาย อักขระ โคดเพจ ความหมาย
Æ U+00C6 อักษรละติน AE ตัวใหญ่ æ U+00E6 อักษรละติน AE ตัวเล็ก
Ǣ U+01E2 อักษรละติน AE ตัวใหญ่ เติมแมครอน ǣ U+01E3 อักษรละติน AE ตัวเล็ก เติมแมครอน
Ǽ U+01FC อักษรละติน AE ตัวใหญ่ เติมอะคิวต์ ǽ U+01FD อักษรละติน AE ตัวเล็ก เติมอะคิวต์
U+1D01 อักษรละติน AE ตัวใหญ่ ขนาดเล็ก  
  U+1D02 อักษรละติน AE ตัวเล็ก กลับหัว
U+1D2D ตัวดัดแปร อักษรละติน AE ตัวใหญ่  
  U+1D46 ตัวดัดแปร อักษรละติน AE ตัวเล็ก กลับหัว
U+A732 อักษรละติน AA ตัวใหญ่ U+A733 อักษรละติน AA ตัวเล็ก
U+A734 อักษรละติน AO ตัวใหญ่ U+A735 อักษรละติน AO ตัวเล็ก
U+A736 อักษรละติน AU ตัวใหญ่ U+A737 อักษรละติน AU ตัวเล็ก
U+A738 อักษรละติน AV ตัวใหญ่ U+A739 อักษรละติน AV ตัวเล็ก
U+A73A อักษรละติน AV ตัวใหญ่ เติมขีดแนวนอน U+A73B อักษรละติน AV ตัวเล็ก เติมขีดแนวนอน
U+A73C อักษรละติน AY ตัวใหญ่ U+A73D อักษรละติน AY ตัวเล็ก

อักษรตระกูลอื่นและสัญลักษณ์ที่คล้าย A

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Merriam-Webster's Manual for Writers and Editors p. 61 (1998) ; Chicago Manual of Style, 15th ed. (University of Chicago Press, 2003) p. 281
  2. "A". The World Book Encyclopedia. Vol. 1. Field Enterprises, Inc. 1956. p. 1.
  3. "Percentages of Letter frequencies per Thousand words". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-25. สืบค้นเมื่อ 2006-05-01.
  4. "a." Dictionary.com Unabridged (v 1.1). Random House, Inc. 28 May. 2008. Dictionary.com.
  5. "Letters affect exam results เก็บถาวร 2013-10-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". British Psychological Society. สืบค้นเมื่อ 5-12-2553.
  6. Unicode 6.0 Character Code Charts
  7. "Unicode Character at FileFormat.info". สืบค้นเมื่อ 2008-05-28.
  8. "Errata Fixed in Unicode 5.1.0". สืบค้นเมื่อ 2008-05-28.

ดูเพิ่ม

แก้
อักษร A ที่ประกอบกับอักษรละตินตัวอื่น
AA AB AC AD AE AF AG AH AI AJ AK AL AM AN AO AP AQ AR AS AT AU AV AW AX AY AZ
AA BA CA DA EA FA GA HA IA JA KA LA MA NA OA PA QA RA SA TA UA VA WA XA YA ZA