วิกิพีเดีย:โครงการวิกิประเทศ

โครงการวิกิประเทศ

หน้าหลัก · อภิปราย · แม่แบบ · ต้องทำ · บทความ

เป้าหมาย

แก้
  • เพื่อพัฒนาบทความเกี่ยวกับประเทศและดินแดนต่าง ๆ ให้มีความสมบูรณ์ต่อการนำไปใช้งาน
  • เพื่อพัฒนาแนวทางการเขียนบทความให้เป็นไปในแนวเคียงกัน

ขอบเขตของบทความในโครงการ

แก้
ยกเว้น รัฐสิ้นสภาพ เพลงชาติ สถานที่ภายในประเทศ รัฐซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรัฐรวม

นอกจากนี้ บทความที่เกี่ยวข้องกับเขตปกครองตนเองหรือเขตปกครองที่มีความสำคัญใกล้เคียงประเทศ (โดยเฉพาะที่มีรูปแบบเนื้อหาใกล้เคียงบทความประเทศ) อาจนำมาเป็นบทความในโครงการได้ นำบทความเข้าร่วมโครงการโดยใส่ {{โครงการวิกิประเทศ}} ไว้ในหน้าพูดคุยของบทความ

แนวทางการเขียนบทความ

แก้

รูปแบบต่อไปนี้เป็นเพียงแนวทางที่แนะนำเท่านั้น รูปแบบในแต่ละบทความอาจมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับเนื้อหาบทความและผู้เขียนบทความนั้น ๆ หากไม่เห็นด้วยและต้องการเปลี่ยนแปลงแนวทาง หรือแนวทางนั้นยังไม่มีการตัดสิน สามารถอภิปรายได้ในหน้าพูดคุย

การตั้งชื่อบทความ

แก้

บทความประเทศ ให้ตั้งชื่อตามชื่อประเทศตามสำนักงานราชบัณฑิตยสภา โดย รายงานการประชุมคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมชื่อภูมิศาสตร์สากล โดยใส่คำว่า ประเทศ นำหน้า ยกเว้นชื่อประเทศที่มีคำบ่งบอกความเป็นรัฐอยู่แล้ว เช่น สหรัฐ สหราชอาณาจักร สาธารณรัฐเช็ก เป็นต้น

รัฐ/ดินแดน/ประเทศที่สิ้นสภาพในอดีต ให้ตั้งชื่อบทความตามคำแปลชื่อเต็มของรัฐ/ดินแดน/ประเทศนั้น เพื่อไม่ให้สับสนกับบทความประเทศปัจจุบัน หากรัฐ/ดินแดน/ประเทศที่มีชื่อเดียวกันแต่เกิดต่างเวลา ให้แก้ความกำกวมด้วยปีศักราชตามความเหมาะสม

บทนำ

แก้

บทนำของบทความ ควรกล่าวถึงชื่อเต็มของประเทศ ตำแหน่งที่ตั้งในโลก (ควรจะระบุเจาะจงลงไปในระดับภูมิภาค) ประเทศเพื่อนบ้าน ทะลหรือสิ่งอื่นที่ใกล้เคียงกัน นอกจากนี้อาจกล่าวถึงชื่ออื่นของประเทศที่ใช้เรียกกัน (เช่น ฮอลแลนด์) และสิ่งที่สำคัญของประเทศนั้น ๆ หากเนื้อหาเกี่ยวกับชื่อมีความยาวและซับซ้อน อาจแยกออกมาเป็นอีกส่วนย่อยของบทความ เช่น == ชื่อประเทศ == เป็นต้น

กล่องข้อมูล

แก้

ใช้แม่แบบ:กล่องข้อมูล ประเทศ โดยทั่วไปแล้วสามารถคัดลอกจากบทความภาษาอังกฤษได้ โดยเปลี่ยนเนื้อหาให้เป็นภาษาไทย

ส่วนย่อยของบทความ

แก้

บทความควรมีเนื้อหาในหัวข้อย่อยต่อไปนี้

  • ประวัติศาสตร์
  • การเมืองการปกครอง
  • การแบ่งเขตการปกครอง
  • ภูมิศาสตร์
  • เศรษฐกิจ
  • ประชากร
  • วัฒนธรรม

หากเนื้อหาส่วนนั้นมีความละเอียดเพียงพอ สามารถแยกออกเป็นบทความใหม่เช่น ประวัติศาสตร์ไทย และเขียนสรุปในบทความหลักของประเทศนั้น ๆ พร้อมกับลิงก์ไปยังบทความละเอียด

ท้ายบทความ

แก้

สมาชิกปัจจุบัน

แก้

ลิงก์ที่เป็นประโยชน์

แก้