วิกิพีเดีย:โครงการวิกิสัตววิทยา

โครงการวิกิสัตววิทยา
สารานุกรมโลกของสัตว์บทความสัตว์รายชื่อสัตว์สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังสัตว์มีกระดูกสันหลัง

ไฟลัมพอริเฟอราไฟลัมทีโนฟอราไฟลัมไนดาเรียไฟลัมแอนเนลิดาไฟลัมนีมอร์เทียไฟลัมเอไคโนดอร์มาทาไฟลัมแพลทีเฮลมินธิสไฟลัมนีมาโทดา
ไฟลัมมอลลัสคาไฟลัมอาร์โธรโพดา

ปลานกสัตว์เลื้อยคลานสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
สมาชิก
สารบัญ
สถิติบทความ
บทความสัตววิทยา ความสำคัญ
ไม่มี ทั้งหมด
คุณภาพ
 บทความคัดสรร คัดสรร  7 7
 บทความคุณภาพ คุณภาพ  6 6
ดี 61 61
พอใช้ 279 279
โครง 1107 1107
รายชื่อ 16 16
จัดระดับแล้ว 1476 1476
ยังไม่ได้จัดระดับ 438 438
ทั้งหมด 1914 1914

โครงการวิกิสัตววิทยา เป็นส่วนหนึ่งของสถานีย่อย:โลกของสัตว์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ทุกประเภทในอาณาจักรสัตว์ ซึ่งเป็นอาณาจักรของสิ่งมีชีวิตที่ใหญ่ที่สุด ได้แก่สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น ฟองน้ำ แมงกะพรุน พยาธิ แมลง ฯลฯ และสัตว์มีกระดูกสันหลัง เช่น ปลา นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก โดยเน้นหลักที่บทความสัตว์ทุกประเภท การดำรงชีวิตรวมถึงความสัมพันธ์ของสัตว์และสภาพสิ่งแวดล้อม และเพื่อเป็นการรวบรวมลักษณะทางกายวิภาค สรีรวิทยา พฤติกรรมและลักษณะที่แตกต่างกันตามแต่ละสายพันธุ์

นอกจากนี้โครงการวิกิสัตววิทยา ยังรวมสาขาย่อยทางด้านชีววิทยาในด้านสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่นวิทยาเซลล์, วิทยาตัวอ่อน, สัณฐานวิทยา, โบราณชีววิทยา, พันธุศาสตร์และวิวัฒนาการ, อนุกรมวิธาน, พฤติกรรมวิทยา, นิเวศวิทยา และสัตวภูมิศาสตร์ เป็นต้น

สัตว์ เป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวในโลกที่มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างน่าอัศจรรย์และพิศวง สามารถดำรงสถานะชีวิตความเป็นอยู่ตามธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แม้กาลเวลาจะผันแปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย โครงการวิกิสัตววิทยาจึงเป็นโครงการที่ถือกำเนิดขึ้นเพื่อทุก ๆ คน ที่มีความรัก ความชอบและความสนใจเกี่ยวกับการศึกษาและการเรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์ สนใจถึงธรรมชาติการเจริญเติบโตของสัตว์ตัวเล็ก ๆ เช่นมด แมลงจนกระทั่งถึงสัตว์ตัวใหญ่ยักษ์เช่นช้างหรือไดโนเสาร์ สำหรับก้าวแรกของทุกคนในการก้าวเข้าสู่โครงการ สามารถตรวจดูรายชื่อสัตว์ต่าง ๆ ภายในโลกนี้และดูรายชื่อสัตว์ต่าง ๆ ที่สนใจเพิ่มเติมได้ที่รายชื่อสัตว์

แม่แบบ

แก้

หน้าพูดคุย

แก้

ช่วยทำการจัดอันดับบทความด้วยการใส่{{บทความสัตววิทยา}}ในหน้าพูดคุยและจัดอันดับบทความโดยดูจากระดับการเขียนบทความด้านล่าง

โดยจะแสดงผลดังนี้:
โครงการวิกิสัตววิทยา เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิสัตววิทยาและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า สัตว์ รวมถึงโครงสร้างทางกายวิภาคและสรีรวิทยาของระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้ในการศึกษา ค้นคว้า และดูแลสิ่งมีชีวิต ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ โครงการวิกิสัตววิทยา หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
??? บทความนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณาตามการจัดระดับการเขียนบทความ

การจำแนกสายพันธุ์

แก้

{{taxobox}} (ตารางจำแนกพันธุ์)

บคความที่ไม่สมบูรณ์

แก้

ใส่แม่แบบนี้{{โครงสัตว์}}ถ้าคุณเห็นว่าบทความเกี่ยวกับสัตววิทยาบทความนั้นยังไม่สมบูรณ์

โดยจะแสดงผลดังนี้:


ติดกล่องผู้ใช้

แก้

ช่วยสนับสนุนโครงการของเราด้วยการติดกล่องผู้ใช้ {{User Zoology}} ที่หน้าผู้ใช้ของท่าน และอย่าลืมเพิ่มชื่อผู้ใช้ของคุณที่นี่!

โดยจะแสดงผล:
ผู้ใช้คนนี้เข้าร่วม
โครงการวิกิสัตววิทยา

มอบดาวเกียรติยศ

แก้
ดาวเชิดชูเกียรติแห่งสัตววิทยา มอบให้สำหรับผู้มีส่วนร่วมในการเขียนบทความที่เกี่ยวข้องกับสัตววิทยาอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยติดแม่แบบ {{ดาวสรรพสัตว์|เหตุผล}} พร้อมลงชื่อผู้ใช้ที่หน้าพูดคุยของผู้ใช้ที่ได้รับดาว หลังจากติดป้ายจะแสดงผลดังนี้:
ดาวเชิดชูเกียรติแห่งสรรพสัตว์
เหตุผล --~~~~

บทความตัวอย่าง

แก้

ดัชนีรายชื่อ

แก้

ดัชนีรายชื่อ เป็นการรวบรวมรายชื่อสัตว์ทุกประเภท ทุกสายพันธุ์ เพื่อเป็นการง่ายและสะดวกต่อการสืบค้นหากทุกคนสนใจค้นหารายชื่อสัตว์ประเภทต่าง ๆ สามารถเพิ่มเติมรายชื่อสัตว์ที่ต้องการได้ตลอดเวลา เพื่อโครงการวิกิสัตววิทยา จะได้เป็นแหล่งรวบรวมรายชื่อสัตว์ต่าง ๆ ทั่วทุกมุมโลกมากที่สุดในประเทศไทย

ท่องไปในโลกของสัตว์

แก้

ท่องไปในโลกของสัตว์ เป็นการสำรวจรายชื่อและหมวดหมู่ของสัตว์ในบทความสัตว์ของวิกิพีเดียทุก ๆ คนสามารถเพิ่มเติมหมวดหมู่ ลบหมวดหมู่บทความสัตว์ใหม่ได้ตลอดเวลา ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่การจัดหมวดหมู่

คู่มือวิธีการเขียนบทความสัตว์

แก้

คู่มือวิธีการเขียนบทความสัตว์ เป็นคู่มือแนะนำหลักการเขียนบทความสัตว์ในวิกิพีเดีย จากจุดเริ่มต้นของการเขียนบทความ จนสามารถไต่ระดับของการเขียนจาก {{โครง}} เพื่อให้ได้ระดับ {{บทความคัดสรร}} โดย ใช้แม่แบบ {{Taxobox}} หรือ {{ตารางจำแนกพันธุ์}} ในการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์สำหรับการจำแนกสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าสัตว์ โดยดูรายละเอียดการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ได้ที่การอ่านตารางจำแนกพันธุ์

การใช้กล่องข้อมูลตารางจำแนกพันธุ์

แก้

การใช้กล่องข้อมูลตารางจำแนกพันธุ์ เป็นการแนะนำเบื้องต้นของการเริ่มเขียนบทความสัตว์ ทุก ๆ คนที่มีความสนใจที่จะเริ่มต้นการเขียนบทความสัตว์ในวิกิพีเดีย สามารถเริ่มต้นก้าวแรกของบทความ ด้วยการคัดลอกเอา code ของกล่องข้อมูลตารางจำแนกพันธุ์จากบทความสัตว์จากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ และนำมาใช้งานในวิกิพีเดียไทยได้ทั้งหมด เพราะการแสดงผลของกล่องข้อมูล ถูกกำหนดค่าไว้ให้สามารถแสดงผลเป็นภาษาไทย โดยลักษณะเฉพาะของกล่องข้อมูลตาราจำแนกพันธุ์สำหรับสัตว์ มีรายละเอียดดังนี้

  1. สีกล่องข้อความ เป็นสีที่ใช้สำหรับแบ่งแยกสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ตามโดเมนและอาณาจักร โดยสีของกล่องข้อมูลตารางจำแนกพันธุ์ จะจำแนกสีของกล่องข้อมูลให้โดยอัตโนมัติ สำหรับสีของอาณาจักรสัตว์ เป็นสี
    • โดยกำหนดในส่วนของ | regnum =Animalia สีของกล่องข้อมูลตารางจำแนกพันธุ์จะกำหนดสีให้อัตโนมัติทันที
  2. ชื่อสามัญ เป็นชื่อที่ใช้ในการเรียกขานสิ่งมีชีวิตกันทั่ว ๆ ไป โดยเขียนชื่อสามัญเพื่อกำหนดให้รู้ว่า สิ่งมีชีวิตนี้คืออะไร? แต่ถ้าสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ ไม่มีชื่อสามัญที่เป็นที่ยอมรับ ผู้เริ่มต้นการเขียนบทความสามารถนำชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตนั้นมาใส่แทนได้
  3. ภาพของสิ่งมีชีวิต เป็นภาพที่ใช้แสดงเพื่อบ่งบอกลักษณะทางกายภาพของสิ่งมีชีวิต ส่วนใหญ่เป็นภาพถ่ายของสิ่งมีชีวิต แต่ในกรณีที่ไม่สามารถหาภาพถ่ายของสิ่งมีชีวิตได้ เช่นสิ่งมีชีวิตนั้นได้สูญพันธุ์ไปจากโลกนี้แล้ว สามารถใช้ภาพวาดของสิ่งมีชีวิตนั้นมาแทนได้
    • การนำภาพของสิ่งมีชีวิตมาใช้ประกอบในกล่องข้อมูลตารางจำแนกพันธุ์ สามารถใช้ได้ทั้งภาพแนวตั้งและแนวนอน โดยกำหนดขนาดของภาพที่นำมาใช้ที่ขนาด 250px
    • หากต้องการภาพของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ สามารถนำภาพสิ่งมีชีวิตสวย ๆ จากวิกิคอมมอนส์ อาณาจักรสัตว์มาประกอบบทความ
  4. คำบรรยาย เป็นคำบรรยายที่ใช้ในการอธิบายรายละเอียดภาพ แหล่งที่มา ชื่อผู้ถ่าย หรืออื่น ๆ ถ้าไม่สามารถกำหนดคำบรรยายได้ ให้ปล่อยว่างไว้ เช่นตัวอย่างคำบรรยายของภาพ "เสือโคร่งเป็นสัตว์ที่ชอบน้ำ ซึ่งแตกต่างจากเสือชนิดอื่น ๆ"
  5. การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ เป็นการแสดงการจัดสายวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ซึ่งจะสัมพันธ์กับลักษณะของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ซึ่งประกอบด้วยชื่อชั้นการจำแนกต่าง ๆ เช่น
  6. ข้อมูลทั่วไป
    • ชื่อทวินาม หรือ ชื่อไตรนาม (หรือชื่อวิทยาศาสตร์) เป็นการเขียนชื่อที่กำหนดให้แก่สิ่งมีชีวิตในแต่ละสปีชีส์ เพื่อให้เข้าใจได้โดยทั่วกัน ถ้ามีสองส่วนเรียกชื่อทวินาม และถ้ามีสามส่วนก็เรียกชื่อไตรนาม และชื่อย่อนักวิทยาศาสตร์ เป็นชื่อย่อของนักวิทยาศาสตร์ผู้ตีพิมพ์ชื่อวิทยาศาสตร์นั้นเป็นครั้งแรก มักใส่ไว้ท้ายชื่อวิทยาศาสตร์ เมื่อกล่าวถึงเป็นครั้งแรกในงานตีพิมพ์ต่าง ๆ โดยมีกฎเกณฑ์บางประการคือใส่ชื่อสกุลเต็ม เมื่อใช้กับสัตว์ (มักใส่ปีที่ตีพิมพ์ด้วย) เช่น
    • สถานะการอนุรักษ์ เป็นการแสดงเฉพาะสิ่งมีชีวิตบางสปีชีส์เท่านั้น โดยเฉพาะในอาณาจักรสัตว์ ที่มีสถานการณ์การดำรงเผ่าพันธุ์ใกล้สูญพันธุ์หรือสูญพันธุ์ไปจากโลกนี้แล้ว แต่โดยส่วนมากในวิกิพีเดียไทยจะไม่นิยมเขียนไว้นอกจากสิ่งมีชีวิตนั้นอยู่ในสถานะที่วิกฤติต่อการสูญพันธุ์
  7. การกระจายและถิ่นอาศัย สิ่งมีชีวิตบางสปีชีส์ อาจมีข้อมูลสำรวจเรื่องถิ่นที่อยู่ นิยมที่จะทำแผนที่แสดงเขตถิ่นที่อยู่กำกับบทความ
  8. นอกเหนือจากนี้ อาจมีข้อมูลอื่น ๆ เช่นชื่อพ้อง (synonym) ฯลฯ

สถานะการอนุรักษ์

แก้

สถานะการอนุรักษ์ (Conservation status) เป็นตัวเลือกเสริมสำหรับแสดงสถานะอนุรักษ์ของสิ่งมีชีวิต ที่ทุกคนเลือกที่จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ โดยกำหนดสถานะอนุรักษ์ลงในกล่องข้อมูลตารางจำแนกพันธุ์ ในรูปแบบดังต่อไปนี้

| status = code

หรือกำหนดสถานะอนุรักษ์ในกรณีที่สามารถระบุปีที่สูญพันธุ์ได้ เช่น

| status = EX
| extinct = 1992

กรณีเป็นสถานะปกติที่ไม่ใช่สูญพันธุ์ (EX) ไม่ต้องใส่ปีที่สูญพันธ์ (| extinct = 1992) เพราะจะไม่แสดงผลใด ๆ โดยรหัสสถานะอนุรักษ์และผลลัพทธ์ที่ปรากฏในกล่องข้อมูลตารางจำแนกพันธุ์ มีดังนี้

ภาพสถานะอนุรักษ์ รหัส ความหมาย
SE ปลอดภัยจากการคุกคาม
DOM เป็นสัตว์เลี้ยงหรือพืชสวน
LC ความเสี่ยงต่ำ
NT ความเสี่ยงต่ำแต่ควรรีบดำเนินการอนุรักษ์
VU มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
EN มีความเสี่ยงสูงต่อการสูญพันธุ์
CR กำลังจะสูญพันธุ์
PEW อาจจะสูญพันธ์ไปจากธรรมชาติแล้ว
PE อาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว
EW สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติ แต่ยังมีในการเพาะเลี้ยงหรือสวนสัตว์
EX สูญพันธุ์ไปจากโลกนี้แล้ว

วิธีใช้งาน

แก้

วิธีใช้งานกล่องข้อมูลตารางจำแนกพันธุ์สำหรับบทความสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าสัตว์ ให้ทำการคัดลอกข้อมูลทางด้านล่างนี้ แล้วนำไปใส่ไว้ในส่วนบนสุดของบทความสัตว์ที่เริ่มดำเนินการเขียน

code ของกล่องข้อมูลตารางจำแนกพันธุ์ที่นำมาใส่ การจำแนกพันทางวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต
 
{{Taxobox
| name = 
| status = 
| trend = 
| status_ref = 
| image = 
| image_caption = 
| image_width = 
| regnum = 
| phylum = 
| classis = 
| ordo = 
| familia = 
| genus = 
| species = 
| binomial = 
| binomial_authority = 
| synonyms = 
| range_map = 
| range_map_caption = 
}}


-  เสือ
-  EN
-  down
-  {{ส่วนนี้เป็นการอ้างอิงของบทความ ถ้าไม่มีอ้างอิงก็เว้นว่างไว้}}
-  Tigerramki.jpg
-  [[Bengal Tiger]] (''P. tigris tigris'') 
-  250px 
-  [[สัตว์]] ([[Animalia]])
-  [[สัตว์มีแกนสันหลัง]] ([[Chordata]])
-  [[สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม]] ([[Mammal]]ia)
-  [[สัตว์กินเนื้อ]] ([[Carnivora]])
-  [[วงศ์เสือและแมว]] ([[Felidae]])
-  [[สกุลเสือ]] ([[Panthera]])
-  [[เสือโคร่ง]] (P. tigris)
-  Panthera tigris
-  ([[Carolus Linnaeus|Linnaeus]], [[1758]])
-  {{ส่วนนี้เป็นส่วนของชื่อพ้องของสิ่งมีชีวิต ถ้ามีก็ใส่ แต่ถ้าไม่มีก็เว้นว่างไว้}}
-  Tiger_map.jpg
-  Historical distribution of tigers (pale yellow) and 2006 (green) 

หลักวิธีการเขียนบทความสัตว์

แก้

หลักวิธีการเขียนบทความสัตว์ เป็นการกำหนดทิศทางของบทความเพื่อให้ทุก ๆ คนที่สนใจร่วมเขียนบทความสัตว์ สามารถเขียนบทความที่มีเนื้อหาและรายละเอียดครบถ้วนและสมบูรณ์ จนถึงได้รับคัดเลือกให้เป็นบทความคุณภาพและบทความคัดสรรของวิกิพีเดียไทย เช่นเสือ งูจงอางและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ต่างมีเนื้อหาและรายละเอียดครบถ้วนตามหลักวิธีการเขียนบทความ การเขียนบทความสัตว์ในวิกิพีเดีย ควรมีหลักการและเนื้อหาในการเขียนดังนี้

  1. บทนำ : เป็นส่วนแรกของเนื้อหา เพื่อเกริ่นให้รู้ถึงเนื้อหาและรายละเอียดคร่าว ๆ ของบทความสัตว์
  2. เนื้อหาของบทความ : เนื้อหาของบทความสัตว์ เป็นส่วนหลักสำคัญที่เก็บรายละเอียดต่าง ๆ ทั้งหมด เช่น เสือ จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เป็นสัตว์กินเนื้อ เป็นต้น โดยมีองค์ประกอบสำคัญของบทความ ดังนี้
    • ลักษณะทั่วไป
    • วิวัฒนาการ (ถ้ามี)
    • กายวิภาคและสรีรวิทยา
    • การสืบพันธุ์
    • ถิ่นอาศัยและการล่าเหยื่อ (ในกรณีเป็นสัตว์กินเนื้อ) / ถิ่นอาศัยและการดำรงชีพ (ในกรณีเป็นสัตว์กินพืช)
  3. อ้างอิง : อ้างอิง เป็นส่วนสำคัญที่สุดของการเขียนบทความ เพื่อเป็นการยืนยันและเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่บทความ การอ้างอิงในบทความสัตว์ สามารถใช้เอกสารอ้างอิงภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ
  4. ดูเพิ่ม : ใช้ในกรณีที่ในวิกิพีเดียมีบทความที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา เพื่อเป็นการแนะนำให้ผู้อ่านสามารถค้นคว้าอ่านเพิ่มเติม
  5. แหล่งข้อมูลอื่น : ใช้สำหรับแนะนำแหล่งข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาและบทความสัตว์
  6. แม่แบบเชื่อมโยงบทความ : แม่แบบเชื่อมโยงบทความ ใช้สำหรับเชื่อมโยงบทความที่ลักษณะใกล้เคียงกันผ่านทางแม่แบบ อาจอยู่ทางด้านขวามือหรือทางด้านล่างสุดของบทความเช่น แม่แบบ:สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
  7. หมวดหมู่ : ใช้สำหรับจัดหมวดหมู่บทความสัตว์ เรียงลำดับตามความสำคัญเช่น หมวดหมู่:สัตว์ | หมวดหมู่:สัตว์มีแกนสันหลัง | หมวดหมู่:สัตว์กินเนื้อ | หมวดหมู่:สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม | หมวดหมู่:เสือ
  8. โครง : ใส่ {{โครงสัตว์}} ในส่วนล่างสุดของบทความสัตว์ สำหรับบทความสัตว์ที่ยังไม่สมบูรณ์
  9. ลิงก์ข้ามภาษา : ใช้สำหรับเชื่อมโยงบทความสัตว์ไปยังบทความสัตว์เรื่องเดียวกันในวิกิพีเดียภาษาอื่น เช่น en:tiger

การจัดระดับบทความสัตว์

แก้

ทุกคนสามารถช่วยจัดระดับบทความสัตววิทยาตามระดับการเขียนบทความ ในหน้าพูดคุยของบทความนั้น ๆ โดยติดป้ายดังนี้

การพิจารณาในการจัดระดับบทความสัตว์ในโครงการวิกิสัตววิทยา ใช้ระดับการพิจารณาดังต่อไปนี้

ระดับรายชื่อ

แก้

การจัดระดับบทความสัตววิทยาในระดับรายชื่อ ใช้จัดระดับสำหรับบทความสัตว์ที่เป็นดัชนีรายชื่อ มีเนื้อหาแสดงรายชื่อของสัตว์ประเภทต่าง ๆ เช่น รายชื่อปลา รายชื่องู รายชื่อนก ฯลฯ ทุกคนที่ทำการจัดระดับบทความสัตว์ในระดับรายชื่อ ให้ใส่ {{บทความสัตววิทยา|ระดับ=รายชื่อ}} ในหน้าพูดคุยของบทความนั้น ดังตัวอย่าง

การจัดระดับรายชื่อ แม่แบบสัตววิทยาที่ปรากฏ
{{บทความสัตววิทยา|ระดับ=รายชื่อ}}
โครงการวิกิสัตววิทยา เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิสัตววิทยาและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า สัตว์ รวมถึงโครงสร้างทางกายวิภาคและสรีรวิทยาของระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้ในการศึกษา ค้นคว้า และดูแลสิ่งมีชีวิต ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ โครงการวิกิสัตววิทยา หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
รายชื่อ บทความนี้อยู่ที่ระดับรายชื่อ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ระดับโครง

แก้

การจัดระดับบทความสัตววิทยาในระดับโครง ใช้จัดระดับสำหรับบทความสัตว์ที่มีเพียงกล่องข้อมูล {{ตารางจำแนกพันธุ์}} และมีเนื้อหาแสดงเพียงแค่ชื่อของบทความสัตว์ ขาดเนื้อหาในส่วนสำคัญ ๆ ตามหลักการเขียนบทความสัตว์ สามารถเขียนรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตลอดเวลา หรือถ้าในกรณีที่ทุกคนที่เริ่มเขียนบทความสัตว์ มีข้อมูลและรายละเอียดครบถ้วน สามารถนำมาเขียนใหม่ได้ทั้งหมด โดยแก้ไขปรับเปลี่ยนเนื้อหาและรายละเอียดบางส่วน เช่นสัตว์ ผีเสื้อ พยาธิ ฯลฯ ทุกคนที่ทำการจัดระดับบทความสัตว์ในระดับรายชื่อ ให้ใส่ {{บทความสัตววิทยา|ระดับ=โครง}} ในหน้าพูดคุยของบทความนั้น ดังตัวอย่าง

การจัดระดับโครง แม่แบบสัตววิทยาที่ปรากฏ
{{บทความสัตววิทยา|ระดับ=โครง}}
โครงการวิกิสัตววิทยา เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิสัตววิทยาและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า สัตว์ รวมถึงโครงสร้างทางกายวิภาคและสรีรวิทยาของระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้ในการศึกษา ค้นคว้า และดูแลสิ่งมีชีวิต ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ โครงการวิกิสัตววิทยา หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 โครง  บทความนี้อยู่ที่ระดับโครง ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ระดับพอใช้

แก้

การจัดระดับบทความสัตววิทยาในระดับพอใช้ ใช้จัดระดับสำหรับบทความสัตว์ที่มีกล่องข้อมูลตารางจำแนกพันธุ์ มีเนื้อหาในส่วนบทนำ เนื้อหาส่วนสำคัญมีค่อนข้างละเอียดแต่อาจจะไม่ครบถ้วนเท่าที่ควร ขาดรายละเอียดของบทความในบางส่วน สามารถแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาในบางส่วนให้สมบูรณ์ แต่สรุปโดยรวมคือเมื่อผู้อ่านได้อ่านบทความสัตว์แล้ว เห็นว่าพอที่จะให้ประโยชน์แก่ผู้อ่านพอสมควร เช่น งูเห่า เต่า แพนด้า ฯลฯ ทุกคนที่ทำการจัดระดับบทความสัตว์ในระดับรายชื่อ ให้ใส่ {{บทความสัตววิทยา|ระดับ=พอใช้}} ในหน้าพูดคุยของบทความนั้น ดังตัวอย่าง

การจัดระดับพอใช้ แม่แบบสัตววิทยาที่ปรากฏ
{{บทความสัตววิทยา|ระดับ=พอใช้}}
โครงการวิกิสัตววิทยา เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิสัตววิทยาและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า สัตว์ รวมถึงโครงสร้างทางกายวิภาคและสรีรวิทยาของระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้ในการศึกษา ค้นคว้า และดูแลสิ่งมีชีวิต ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ โครงการวิกิสัตววิทยา หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ระดับดี

แก้

การจัดระดับบทความสัตววิทยาในระดับดี ใช้จัดระดับสำหรับบทความสัตว์ที่มีกล่องข้อมูลตารางจำแนกพันธุ์ มีเนื้อหาในส่วนบทนำ เนื้อหาส่วนสำคัญครบถ้วนตามหลักวิธีการเขียนบทความ ข้อมูลอ้างอิงและแหล่งข้อมูลอื่นสำหรับผู้อ่านที่สนใจติดตามอ่านในส่วนรายละเอียดอื่น ๆ ของบทความ เนื้อหาสำคัญของบทความสามารถแก้ไขเพิ่มเติมและปรุบปรุงนิดหน่อย เพื่อเป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้อ่านได้อย่างครบถ้วน เช่น ช้าง นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร บีเวอร์ ฯลฯ ทุกคนที่ทำการจัดระดับบทความสัตว์ในระดับรายชื่อ ให้ใส่ {{บทความสัตววิทยา|ระดับ=ดี}} ในหน้าพูดคุยของบทความนั้น ดังตัวอย่าง

การจัดระดับดี แม่แบบสัตววิทยาที่ปรากฏ
{{บทความสัตววิทยา|ระดับ=ดี}}
โครงการวิกิสัตววิทยา เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิสัตววิทยาและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า สัตว์ รวมถึงโครงสร้างทางกายวิภาคและสรีรวิทยาของระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้ในการศึกษา ค้นคว้า และดูแลสิ่งมีชีวิต ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ โครงการวิกิสัตววิทยา หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 ดี  บทความนี้อยู่ที่ระดับดี ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ระดับคุณภาพ

แก้

การจัดระดับบทความสัตววิทยาในระดับคุณภาพ ใช้จัดระดับสำหรับบทความสัตว์ที่มีการส่งบทความเข้าคัดเลือกเพื่อให้เป็นบทความคุณภาพของวิกิพีเดีย โดยมีเนื้อหาและรายละเอียดครบถ้วน ให้ประโยชน์แก่ผู้อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างบทความสัตววิทยาในระดับคุณภาพได้แก่บทความงูจงอาง และต่อมาได้รับการคัดเลือกให้เป็นบทความคัดสรร โดยถือว่าบทความงูจงอาง เป็นตัวอย่างของการเขียนบทความที่ได้รับคัดเลือกเป็นบทความสัตววิทยาระดับคุณภาพและบทความสัตววิทยาระดับคัดสรร ทุกคนที่ทำการจัดระดับบทความสัตว์ในระดับรายชื่อ ให้ใส่ {{บทความสัตววิทยา|ระดับ=คุณภาพ}} ในหน้าพูดคุยของบทความนั้น ดังตัวอย่าง

การจัดระดับคุณภาพ แม่แบบสัตววิทยาที่ปรากฏ
{{บทความสัตววิทยา|ระดับ=คุณภาพ}}
โครงการวิกิสัตววิทยา เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิสัตววิทยาและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า สัตว์ รวมถึงโครงสร้างทางกายวิภาคและสรีรวิทยาของระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้ในการศึกษา ค้นคว้า และดูแลสิ่งมีชีวิต ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ โครงการวิกิสัตววิทยา หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 บทความคุณภาพ คุณภาพ  บทความนี้อยู่ที่ระดับคุณภาพ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ระดับคัดสรร

แก้

การจัดระดับบทความสัตววิทยาในระดับคัดสรร ใช้จัดระดับสำหรับบทความสัตว์ที่มีการส่งบทความเข้าคัดเลือกเพื่อให้เป็นบทความคัดสรร ซึ่งถือว่าเป็นบทความที่ดีที่สุดของวิกิพีเดีย โดยมีเนื้อหาและรายละเอียดครบถ้วน ให้ประโยชน์แก่ผู้อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างบทความสัตววิทยาในระดับคัดสรรเป็นบทความแรกได้แก่บทความเสือ และบทความงูจงอาง ได้รับการคัดเลือกให้เป็นบทความคัดสรร ภายหลังจากได้รับคัดเลือกให้เป็นบทความคุณภาพ และบทความสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้คับคัดเลือกให้เป็นบทความคัดสรรบทความที่ 3 ของบทความสัตววิทยาในระดับคัดสรร ทุกคนที่ทำการจัดระดับบทความสัตว์ในระดับรายชื่อ ให้ใส่ {{บทความสัตววิทยา|ระดับ=คัดสรร}} ในหน้าพูดคุยของบทความนั้น ดังตัวอย่าง

การจัดระดับคัดสรร แม่แบบสัตววิทยาที่ปรากฏ
{{บทความสัตววิทยา|ระดับ=คัดสรร}}
โครงการวิกิสัตววิทยา เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิสัตววิทยาและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า สัตว์ รวมถึงโครงสร้างทางกายวิภาคและสรีรวิทยาของระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้ในการศึกษา ค้นคว้า และดูแลสิ่งมีชีวิต ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ โครงการวิกิสัตววิทยา หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 บทความคัดสรร คัดสรร  บทความนี้อยู่ที่ระดับคัดสรร ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
ร่วมด้วยช่วยกัน
ส่วนหนึ่งที่คุณสามารถช่วยสร้างโลกของสัตว์ได้

แตนทะเลพยาธิตัวจี๊ดพยาธิไส้เดือนหนอนทะเลแมลงหางหนีบดาวหมอนหอยเจดีย์หอยหวีแมงมุมปูหอยโข่งไรฝุ่นตัวสามง่ามมวนจิงโจ้น้ำต่อแมงมุมต่อหลุมต่อหัวเสือมอดเห็บริ้นไรตั๊กแตนทะเลทรายตัวกะปิผีเสื้อกระดองเต่าเล็กผีเสื้อนกยูงผีเสื้อปีกขาวเล็กผีเสื้อกะลาสีผีเสื้อหางแฉกผีเสื้ออพอลโลด้วงงวงขนด้วงดินต่อฟันเลื่อยต่อทาแทนทูลาฮอวก์ตั๊กแตนกิ่งไม้เพลี้ยกระโดดมดกัดใบมดเก็บเกี่ยวมดบลูด็อกมดป่าแมงป่องน้ำแมงมุมกับดักแมลงช้างแมลงปอเข็มแมลงปอจักรพรรดิแมลงสาบยักษ์มาดากัสการ์กิ้งกือยักษ์กิ้งกือหลังแบนด้วงกินซากด้วงน้ำมันด้วงมูลสัตว์ด้วงแรดด้วงสี่ตาด้วงดิ่งต่อรังตั๊กแตนกิ่งไม้น้ำตั๊กแตนสีหอยทากต้นไม้หอยทากแอฟริกาหอยโข่งตั๊กแตนกล้วยไม้ผีเสื้อกลางคืนซินนาบาร์ผีเสื้อกัมจักรพรรดิผีเสื้อเหยี่ยวผีเสื้อเดินขบวนผีเสื้อฮามาไดรแอสผีเสื้ออุปราชผีเสื้อม้าลายผีเสื้อมอร์ไฟผีเสื้อฟ้าธรรมดาผีเสื้อกลางคืนไอโอผีเสื้อกลางคืนแอตลาสผีเสื้อกลางคืนโลปา

ไก่มัลลีตัวดีดทรายตะกวดออสเตรเลียกบซับน้ำปลาพยาบาลตะพาบน้ำม่านลายนกปากไขว้นกกาน้ำตาสีน้ำเงินนกทูแคนนกสาลิกาดำนกตบยุงกระต่ายทะเลทรายโพลาร์ค้างคาวแม่ไก่เม่นกินมดนกอินทรีหางพลั่วปลาไหลทรายงูเหลือมต้นไม้สีมรกตนกโรดรันเนอร์บาราลนกอีมูงูทะเลสีมะกอกงูทะเลลายดำเหลืองงูทะเลหัวสุนัขนกทูแคนนกไต่กำแพงนกปากไขว้นกจับหอยนกช้อนหอยเหลือบนกนางนวลแกลบอาร์กติกนกนางนวลหางแฉกปลากระจกปลากระต่ายโลมาลายจุดโลมาสปินเนอร์วาฬนำร่องวาฬสีเทาสิงโตทะเลแคลิฟอร์เนียกระรอกแดงแมวเบงกอลแมวป่ายุโรปเสือโคร่งสีทอง

บทความที่ต้องขยายความ

แก้

ทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิสัตววิทยาได้ ด้วยการช่วยปรับปรุงแก้ไขบทความสัตว์ที่มีผู้เริ่มต้นเขียนไว้แล้ว โดยดูบทความสัตว์ที่มีป้าย {{ขยายความ}} ในบทความที่มีเพียง{{ตารางจำแนกพันธุ์}} ซึ่งมีการขยายรายละเอียดของบทความไว้เพียงเล็กน้อย เช่น

เสือดาวหิมะ (Snow Leopard) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ไฟลัมย่อยสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม อันดับสัตว์กินเนื้อ วงศ์เสือและแมว สกุลเสือ

ซึ่งจะเห็นว่า มีการขยายความให้รู้ว่า เสือดาวหิมะนั้น อยู่ในไฟลัมใด ชั้นใด อันดับใด วงศ์และสกุลใดเท่านั้นเอง ยังขาดเนื้อหาและรายละเอียดส่วนสำคัญอีกมาก ในกรณีนี้ถ้าทุก ๆ คนที่มีความรู้หรือมีข้อมูลของสัตว์ชนิดใดอยู่ในมือ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือหรือพบเห็นตามเว็บไซต์ สามารถนำมาช่วยกันเขียนและพัฒนาบทความให้สมบูรณ์ได้ แต่ต้องคอยระวังเรื่องการเขียนบทความโดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งจะถูกแจ้งละเมิดบทความและโดนลบเนื้อหาส่วนละเมิดทิ้ง

บทความสั้นมาก

แก้

นอกจากทุก ๆ คนจะช่วยกันเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนของบทความที่ต้องการขยายความแล้ว ยังสามารถช่วยเหลือโครงการวิกิสัตววิทยาด้วยการช่วยเก็บกวาดป้าย {{สั้นมาก}} ที่แปะอยู่ในส่วนบนสุดของบทความ โดยนำป้ายออกเมื่อมีการเพิ่มเติมเนื้อหาของบทความแล้ว เพื่อให้บทความได้รับการพัฒนาจากระดับโครงเป็นระดับพอใช้

การพิจารณาว่าบทความสัตว์บทความใดเข้าข่ายบทความสั้นมาก โครงการวิกิสัตววิทยาใช้หลักเกณฑ์ในการพิจารณาบทความสัตว์ให้เป็นบทความสั้นมาก ด้วยการดูเนื้อหาของบทความ ถ้ามีการกล่าวถึงเพียงแค่ขยายความให้รู้ว่าบทความนี้คืออะไร? ลักษณะเป็นเช่นใด? และมีเนื้อหาของบทความน้อยกว่า 3 บรรทัด บทความนั้นเข้าข่ายบทความสัตว์ที่สั้นมาก ถ้าทุก ๆ คนที่พบเห็นบทความสัตว์ที่มีลักษณะตรงกับหลักในการพิจารณาบทความ สามารถช่วยเหลือได้ด้วยการแปะป้าย {{สั้นมาก}} ในส่วนบนสุดของบทความ และอย่างลึมนำป้ายออกเมื่อบทความนั้นมีการขยายเนื้อหาพอสมควร

บทความสัตว์ที่ยังไม่สมบูรณ์

แก้

ทุกคนสามารถร่วมกับพัฒนาบทความสัตว์ที่ยังไม่สมบูรณ์ได้ตลอดเวลา โดยดูเพิ่มเติมได้ที่ บทความเกี่ยวกับสัตว์ที่ยังไม่สมบูรณ์ หรือแปะป้าย {{โครงสัตว์}} ในส่วนล่างสุดของบทความ

บทความสัตว์ขาดแหล่งอ้างอิง

แก้

ทุกคนสามารถช่วยกันพัฒนาและปรับปรุงบทความสัตว์ให้สมบูรณ์ครบถ้วน ด้วยการเพิ่มแหล่งข้อมูลอ้างอิงให้แก่บทความ เพื่อเป็นการเน้นย้ำให้เนื้อหาส่วนสำคัญของบทความสัตว์ มีความสมบูรณ์ในตัวเองและน่าเชื่อถือ สามารถนำไปใช้เป็นแหล่งอ้างอิงภายนอกได้ เช่น

เสือ (Tiger) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ฟิลิดี (Felidae) ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับแมวโดยชนิดที่เรียกว่าเสือมักมีขนาดลำตัวค่อนข้างใหญ่กว่าและอาศัยอยู่ภายในป่า ขนาดของลำตัวประมาณ 168 - 227 เซนติเมตร และหนักประมาณ 180 - 245 กิโลกรัม[1] รูม่านตากลม เป็นสัตว์กินเนื้อกลุ่มหนึ่ง มีลักษณะและรูปร่างรวมทั้งพฤติกรรมที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างจากสัตว์ในกลุ่มอื่น หากินเวลากลางคืน มีถิ่นกำเนิดในป่า เสือส่วนใหญ่ยังคงมีความสามารถในการปีนป่ายต้นไม้ (ยกเว้นเสือชีต้า Cheetah) เสือทุกชนิดมีกรามที่สั้นและแข็งแรง มีเขี้ยว 2 คู่สำหรับกัดเหยื่อ ทั่วทั้งโลกมีเสืออยู่ประมาณ 37 ชนิด ซึ่งรวมทั้งแมวบ้านด้วย

จะเห็นว่าส่วนสำคัญที่สุดของบทความ ที่คนเขียนบทความทำการอ้างอิงแหล่งที่มาคือ ขนาดของลำตัวและน้ำหนักของเสือที่หนักประมาณ 180-245 กิโลกรัม และมีขนาดของลำตัวยาวประมาณ 168-227 เซนติเมตร โดยเป็นการยืนยันถึงจำนวนตัวเลขที่ทำการอ้างอิง โดยใส่ <ref>[http://www.ubonzoo.com/wild_animals/tigris_left.html เสือ]></ref> ท้ายประโยคที่ต้องการอ้างอิง หรือเมื่อนำแหล่งอ้างอิงมาจากเว็บไซต์ หรือใส่ <ref name="เสือ จ้าวแห่งนักล่า">ศลิษา สถาปนวัฒน์,ดร.อลัน ราบิโนวิทซ์, เสือ จ้าวแห่งนักล่า, สำนักพิมพ์สารคดี, 1995, หน้า 22</ref> เมื่อนำแหล่งอ้างอิงมาจากหนังสือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่การอ้างอิงแหล่งที่มา ถ้าทุกคนพบเห็นบทความสัตว์บทความใดในวิกิพีเดียขาดแหล่งข้อมูลในการอ้างอิงเนื้อหาของบทความ สามารถช่วยกันแจ้งให้ทุก ๆ คนทราบและช่วยกันค้นคว้าหาแหล่งอ้างอิงให้แก่บทความได้ ด้วยการแปะป้าย {{ต้องการอ้างอิง}} ในส่วนบนสุดของบทความ เพื่อให้บทความสัตว์ได้รับการพัฒนาจนสมบูรณ์

การจัดลำดับหมวดหมู่บทความสัตว์

แก้

การจัดลำดับหมวดหมู่บทความสัตว์ในโครงการวิกิสัตววิทยา เป็นการจัดหมวดหมู่ตามหลักของการจัดหมวดหมู่สัตว์เรียงตามลำดับความสำคัญ เช่น บทความเสือ จะใช้หลักในการจัดหมวดหมู่คือ

หมวดหมู่:สัตว์หมวดหมู่:สัตว์มีแกนสันหลังหมวดหมู่:สัตว์กินเนื้อหมวดหมู่:สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหมวดหมู่:เสือ

การจัดลำดับหมวดหมู่บทความเสือตามตัวอย่าง เป็นการจัดลำดับหมวดหมู่ของเสือ เรียงลำดับจากหมวดหมู่หลักไปหาหมวดหมู่ย่อย เช่น เสือจัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าสัตว์ เป็นสัตว์มีแกนสันหลัง เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม และสามารถแยกรายชื่อเสือออกไปได้อีกเป็นจำนวนมาก