เต่า
เต่า คือ สัตว์จำพวกหนึ่งในอันดับ Testudines จัดอยู่ในจำพวกสัตว์เลือดเย็น ในชั้นสัตว์เลื้อยคลาน เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการมาแล้วกว่า 200 ล้านปี ซึ่งเต่านั้นถือเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยเต่าจะมีกระดูกที่แข็งคลุมบริเวณหลังที่เรียกว่า "กระดอง" ซึ่งประกอบด้วยแคลเซียมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะสามารถหดหัว ขา และหางเข้าในกระดองเพื่อป้องกันตัวได้ แต่เต่าบางชนิดก็ไม่อาจจะทำได้ เต่าเป็นสัตว์ที่ไม่มีฟัน แต่มีริมฝีปากที่แข็งแรงและคม ใช้ขบกัดอาหารแทนฟัน
เต่า ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ยุคจูแรสซิกตอนปลาย – ปัจจุบัน | |
---|---|
เต่าในวงศ์ที่ต่างกัน ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย: เต่าคอสั้นท้องแดง, ตะพาบหับอินเดีย, เต่ากระ และเต่ากาลาปาโกส | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์เลื้อยคลาน Reptilia |
เคลด: | Pantestudines Pantestudines |
เคลด: | Testudinata Testudinata |
เคลด: | Perichelydia Perichelydia |
อันดับ: | เต่า Testudines Batsch, 1788[1] |
กลุ่มย่อย | |
ความหลากหลาย | |
14 วงศ์ที่มีชีวิตอยู่ | |
สีน้ำเงิน: เต่าทะเล, สีดำ: เต่าบก | |
ชื่อพ้อง[2] | |
|
โดยมากแล้ว เต่า เป็นสัตว์ที่เคลื่อนไหวและเคลื่อนที่ได้ช้า อาศัยและใช้ช่วงชีวิตหนึ่งอยู่ในน้ำ ซึ่งมีอาศัยทั้งน้ำจืด และน้ำเค็ม แต่เต่าบางจำพวกก็ไม่ต้องอาศัยน้ำเลย เรียกว่า "เต่าบก" (Testudinidae) ซึ่งเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เต่ายักษ์กาลาปากอส (Geochelone nigra) ที่อาศัยอยู่ตามเกาะต่าง ๆ ในหมู่เกาะกาลาปากอส ในเอกวาดอร์ (มีทั้งหมด 15 ชนิดย่อย) ในขณะที่เต่าน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เต่าอัลลิเกเตอร์ (Macrochelys temminckii) อาศัยอยู่ตามหนองน้ำในทวีปอเมริกาเหนือ
เต่าทะเล
แก้ดูบทความหลักที่ เต่าทะเล
เป็นเต่าจำพวกหนึ่งที่ทั้งชีวิตอาศัยอยู่แต่ในทะเลเพียงอย่างเดียว จะขึ้นมาบนบกก็เพียงแค่วางไข่เท่านั้น โดยที่เท้าทั้งสี่ข้างพัฒนาให้เป็นอวัยวะคล้ายครีบ ซึ่งเต่าทะเลทั่วโลกปัจจุบันมีทั้งหมด 7 ชนิด ใน 2 วงศ์ 5 สกุล ได้แก่ เต่าหัวค้อน (Caretta caretta), เต่าตนุ (Chelonia mydas), เต่ามะเฟือง (Dermochelys coriacea), เต่ากระ (Eretmochelys imbricata), เต่าตนุหลังแบน (Natator depressus), เต่าหญ้าแอตแลนติก (Lepidochelys kempii), เต่าหญ้า (Lepidochelys olivacea) โดยที่เต่ามะเฟืองเป็นเต่าทะเลและเป็นเต่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งในน่านน้ำไทยพบได้ถึง 5 ชนิด ไม่พบเพียง 2 ชนิดคือ เต่าตนุหลังแบน และ เต่าหญ้าแอตแลนติก
อาหารของเต่า
แก้เต่า กินอาหารได้ทั้ง พืช และสัตว์ โดยเต่าบางชนิดก็จะกินแต่เฉพาะสัตว์ เช่น เต่าอัลลิเกเตอร์, เต่าสแนปปิ้ง (Chelydra serpentina) , เต่าปูลู (Platysternon megacephalum) เป็นต้น
ตะพาบ
แก้ดูบทความหลักที่ วงศ์ตะพาบ
ตะพาบ หรือ ตะพาบน้ำ (อังกฤษ: Soft-shelled turtle) เป็นเต่าจำพวกหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Trionychidae ลักษณะโดยทั่วไปมีลำตัวแบน จมูกแหลม กระดองอ่อนนิ่ม มีกระดองหลังค่อนบ้างเรียบแบน กระดองมีลักษณะเป็นหนังที่ค่อนข้างแข็งเฉพาะในส่วนกลางกระดอง แต่บริเวณขอบจะมีลักษณะนิ่มแผ่นกระดองจะปราศจากแผ่นแข็งหรือรอยต่อ ซึ่งแตกต่างจากกระดองของเต่าอย่างสิ้นเชิง กระดองส่วนท้องหุ้มด้วยผิวหนังเรียบ มีส่วนที่เป็นกระดูกน้อยมาก กระดองจะมีรูปร่างกลมเมื่อ ยังมีขนาดเล็ก และจะรีขึ้นเล็กน้อยเมื่อโตเต็มวัยตั้งแต่คอส่วนบนไปจรดขอบกระดองจะมีตุ่มแข็งเล็ก ๆ ขึ้นอยู่ ส่วนหัวมีขนาดใหญ่ คอเรียวยาวและสามารถเอี้ยวกลับมาด้านข้าง ๆ ได้ มีจมูกค่อนข้างยาวแต่มีขนาดเล็กและส่วนปลายจมูกอ่อน ตามีขนาดเล็กโปนออกมาจากส่วนหัวอย่างเห็นได้ชัด มีฟัน ขากรรไกรแข็งแรงและคม มีหนังหุ้มกระดูกคล้ายริมฝีปาก ขาทั้งสี่แผ่กว้างที่นิ้วจะมีพังพืดเชือมติดต่อกันแบบใบพายอย่างสมบูรณ์ มีเล็บเพียง 3 นิ้ว และมีหางสั้น
มักอาศัยอยู่ในน้ำมากกว่าบนบก โดยตะพาบสามารถกบดานอยู่ใต้น้ำได้นานกว่าเต่า แม้จะหายใจด้วยปอด แต่เมื่ออยู่ในน้ำ ตะพาบจะใช้อวัยวะพิเศษช่วยหายใจเหมือนปลา เรียกว่า Rasculavpharyngcal capacity ตะพาบชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลกและสวยที่สุดในโลกคือ ตะพาบม่านลาย (Chitra chitra) [3] ที่พบในแหล่งน้ำพรมแดนไทยกับพม่า แต่ก็มีเต่าอยู่ชนิดหนึ่งที่ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่แบ่งแยกชัดเจนว่าเป็นเต่าหรือตะพาบ คือ เต่าจมูกหมู (Carettochelys insculpta) หรือที่เรียกกันในวงการปลาสวยงามว่า เต่าบิน พบที่ทวีปออสเตรเลียตอนเหนือ ปาปัวนิวกินี
ตะพาบโดยมากแล้วจะมีนิสัยดุกว่าเต่า เป็นสัตว์ที่ชอบกินเนื้อมากกว่ากินพืช ในประเทศไทยพบได้ในหนองน้ำและแหล่งน้ำจืดทั่วประเทศ ภาษาอีสานเรียกว่า กริว, ปลาฝา หรือ จมูกหลอด เป็นต้น
เต่ากับมนุษย์
แก้โดยปกติแล้ว มนุษย์จะไม่ใช้เนื้อเต่าหรือไข่เต่าเป็นอาหาร แต่ก็มีบางพื้นที่หรือคนบางกลุ่มที่นิยมบริโภคเนื้อเต่าหรือเนื้อตะพาบ โดยเชื่อว่าเป็นอาหารบำรุงกำลัง เช่น ตะพาบน้ำตุ๋นยาจีน เป็นต้น โดยความเชื่อทั่วไปแล้ว เต่า ถือเป็นสัตว์ที่มีอายุยืน คนไทยจึงมีความเชื่อว่าหากได้ปล่อยเต่าจะเป็นการทำบุญสะเดาะเคราะห์เชื่อต่ออายุให้ยืนยาว ดังนั้น จึงมักเห็นเต่าหรือตะพาบตามแหล่งน้ำในวัดบางแห่งเสมอ ๆ ในประเทศจีน หลักฐานทางโบราณคดี พบว่า สมัยราชวงศ์เซี่ยและราชวงศ์ซาง กระดองเต่า ถูกใช้เป็นเครื่องทำนายทางโหราศาสตร์ ในทางไสยศาสตร์ของไทย มีการใช้เต่าเป็นสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น ยันต์เต่าเลือน เป็นต้น
เต่า ในทางภาษาศาสตร์ของไทย ยังใช้เป็นพยัญชนะลำดับที่ ๒๑ โดยมักใช้เป็นตัวสะกด คือ ต.เต่า โดยเป็นตัวอักษรเสียงกลาง นอกจากนี้แล้ว เต่า ยังเป็นตัวแทนของความเชื่องช้า โง่งม จึงมีสำนวนทางภาษาในนัยเช่นนี้ เช่น โง่เง่าเต่าตุ่น เป็นต้น
เต่าทะเล
แก้เต่าทะเลบนโลกมี 7 ชนิด พบในประเทศไทย 5 ชนิด
ลำดับ | ชื่อไทย | สกุลและชื่อวิทยาศาสตร์ | วงศ์ |
1 | เต่าหัวค้อน | Caretta caretta | วงศ์เต่าทะเล |
2 | เต่าตนุ | Chelonia mydas | วงศ์เต่าทะเล |
3 | เต่ากระ | Eretmochelys imbricata | วงศ์เต่าทะเล |
4 | เต่าหญ้า | Lepidochelys olivacea | วงศ์เต่าทะเล |
5 | เต่ามะเฟือง | Dermochelys coriacea | วงศ์เต่ามะเฟือง |
เต่าบกและเต่านา
แก้หรือบางครั้งเรียกเต่าน้ำจืด เนื่องจากส่วนใหญ่พบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืด ตั้งแต่บนภูเขาจนถึงปากแม่น้ำ มีบางชนิดเท่านั้นที่สามารถอาศัยอยู่ในน้ำกร่อยหรือบริเวณปากแม่น้ำได้ เต่าในกลุ่มนี้พบ 3 วงศ์ ได้แก่ วงศ์เต่าบก, วงศ์เต่านา และวงศ์เต่าปูลู โดยวงศ์เต่าบกไม่สามารถว่ายน้ำได้ ส่วนวงศ์เต่านาสามารถว่ายน้ำได้ชั่วคราว
ลำดับ | ชื่อไทย | สกุลและชื่อวิทยาศาสตร์ | วงศ์ |
1 | เต่ากระอาน | Batagur baska | วงศ์เต่านา |
2 | เต่าลายตีนเป็ด | Cuora borneoensis | วงศ์เต่านา |
3 | เต่าหับ | Cuora amboinensis | วงศ์เต่านา |
4 | เต่าห้วยเขาบรรทัด | Cyclemys artipons | วงศ์เต่านา |
5 | เต่าใบไม้ | Cyclemys dentata | วงศ์เต่านา |
6 | เต่าห้วยคอลาย | Cyclemys tcheponensis | วงศ์เต่านา |
7 | เต่าหวาย | Heosemys grandis | วงศ์เต่านา |
8 | เต่าจักร | Heosemys spinosa | วงศ์เต่านา |
9 | เต่าบัว | Heosemys annandalei | วงศ์เต่านา |
10 | เต่าเหลือง | Indotestudo elongata | วงศ์เต่าบก, วงศ์ย่อย Xerobatinae |
11 | เต่านาหัวใหญ่ | Malayemys macrocephala | วงศ์เต่านา |
12 | เต่านาอีสาน | Malayemys subtrijuga | วงศ์เต่านา |
13 | เต่าหก | Manouria emys | วงศ์เต่าบก, วงศ์ย่อย Testudininae |
14 | เต่าเดือย | Manouria impressa | วงศ์เต่าบก, วงศ์ย่อย Testudininae |
15 | เต่าปากเหลือง | Melanochelys trijuga | วงศ์เต่านา |
16 | เต่าทับทิม | Notochelys platynota | วงศ์เต่านา |
17 | เต่าปูลู | Platysternon megacephalum | วงศ์เต่าปูลู |
18 | เต่าจัน | Pyxidea mouhotii | วงศ์เต่านา |
19 | เต่าดำ | Siebenrockiella crassicollis | วงศ์เต่านา |
นอกจากนี้ยังพบ เต่าแก้มแดง (Trachemys scripta elegans) อยู่ในวงศ์เต่าแก้มแดง มีลักษณะคล้ายวงศ์เต่านา ไม่ใช่เต่าพื้นเมืองของประเทศไทย แต่เป็นเต่าที่มาจากประเทศสหรัฐอเมริกา ถูกนำเข้ามาในฐานะสัตว์เลี้ยงสวยงาม ปัจจุบันได้แพร่ขยายพันธุ์ในแหล่งน้ำจนกลายเป็นสัตว์ประจำถิ่นไปแล้ว
ตะพาบ
แก้ตะพาบน้ำ หรือวงศ์ตะพาบ
ลำดับ | ชื่อไทย | สกุลและชื่อวิทยาศาสตร์ | วงศ์ |
1 | ตะพาบสวน | Amyda cartiliaginea | วงศ์ย่อยตะพาบ |
2 | ตะพาบม่านลายไทย | Chitra chitra | วงศ์ย่อยตะพาบ |
3 | ตะพาบม่านลายพม่า | Chitra vandijki | วงศ์ย่อยตะพาบ |
4 | ตะพาบแก้มแดง | Dogania subplana | วงศ์ย่อยตะพาบ |
5 | ตะพาบหับพม่า | Lissemys scutata | วงศ์ย่อยตะพาบหับ |
6 | ตะพาบหัวกบ | Pelochelys cantorii | วงศ์ย่อยตะพาบ |
นอกจากนี้ยังพบ ตะพาบไต้หวัน (Trionyx sinensis) ไม่ใช่ตะพาบพื้นเมืองของไทย แต่เป็นของประเทศจีน ถูกนำเข้ามาในฐานะเป็นสัตว์เศรษฐกิจและสัตว์เลี้ยงสวยงาม ปัจจุบันได้แพร่ขยายพันธุ์ในแหล่งน้ำจนกลายเป็นสัตว์ประจำถิ่นไปแล้ว
อ้างอิง
แก้- ↑ Turtle Taxonomy Working Group (2017). Turtles of the World: Annotated Checklist and Atlas of Taxonomy, Synonymy, Distribution, and Conservation Status (PDF). Chelonian Research Monographs. Chelonian Research Monographs (no. 1). Vol. 7 (8th ed.). Chelonian Research Foundation: Turtle Conservancy. pp. 10, 24. doi:10.3854/crm.7.checklist.atlas.v8.2017. ISBN 978-1-53235-026-9. OCLC 1124067380. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ February 25, 2021. สืบค้นเมื่อ January 20, 2018.
- ↑ Dubois, Alan; Bour, Roger (2010). "The Distinction Between Family-Series and Class-Series Nominain Zoological Nomenclature, With Emphasis on the Nomina Created by Batsch (1788, 1789) and on the Higher Nomenclature of Turtles" (PDF). Bonn Zoological Bulletin. 57 (2): 149–171.
- ↑ http://www.fisheries.go.th/if-kanchanaburi/HTML/Chitra.htm ตะพาบม่านลาย
ข้อมูลทั่วไป
แก้- Franklin, Carl J. (2011). Turtle: A Extraordinary Natural History 245 Million Years in the Making. Crestline. ISBN 978-0-7858-2775-7.
- Orenstein, Ronald (2012). Turtles, Tortoises and Terrapins: a Natural History. Firefly Books. ISBN 978-1-77085-119-1. OCLC 791162481.
- Pryke, Louise (2021). Turtle. Reaktion Books. ISBN 978-1789143362. OCLC 1223025640.