โหราศาสตร์ (อังกฤษ: astrology) เป็นศาสตร์หนึ่งที่ไม่ได้รับการยอมรับทางวิทยาศาสตร์ มีความเกี่ยวข้องกับการทำนายอนาคต หรือ โชคชะตาของมนุษย์, ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของบ้านเมืองและของโลก โดยอาศัย เวลา และ ตำแหน่งของดวงดาวต่าง ๆ บนท้องฟ้า เป็นสำคัญ แล้วบันทึกไว้เป็นสถิติ โหราศาสตร์ เป็นวิชาที่ต่างกับวิทยาศาสตร์ ด้วยแม้จะสามารถพิสูจน์ทราบได้โดยใช้กฎเกณฑ์ และเหตุผลในทางโหราศาสตร์ นำมาทดลอง พิสูจน์ให้เห็นประจักษ์ สามารถสรุปออกมาเป็นทฤษฎีได้ ไม่ว่าจะทดลองกี่ครั้ง ที่ใด ๆ ในโลกเช่นเดียวกับวิทยาศาสตร์[ต้องการอ้างอิง] โหราศาสตร์ก็ยังคงเป็นวิชาที่ค่อนข้างลึกลับ ด้วยเหตุนี้นักวิทยาศาสตร์จึงไม่รับรองโหราศาสตร์ว่าเป็นศาสตร์อย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตามทางรัฐบาลอินเดียได้มีการประกาศเมื่อวันที่ 11 พค. 2544 ให้มีการสอนวิชาโหราศาสตร์ในมหาวิทยาลัยได้[ต้องการอ้างอิง]

สมุดข่อยโบราณที่บันทึกเกี่ยวกับการดูฤกษ์ยามตามโหราศาสตร์ไทย

วิชาโหราศาสตร์มีหลายระบบและมีความแตกต่างกัน แบ่งออกเป็น โหราศาสตร์ไทย โหราศาสตร์สากล โหราศาสตร์จีน โหราศาสตร์ยูเรเนียน การพยากรณ์ในโหราศาสตร์ต้องอาศัยโหรผู้มีความรู้ความชำนาญในการผูกดวงและเป็นผู้พยากรณ์เพื่อตีความหมายเป็นโอกาสของการเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ในอนาคต

โหราศาสตร์ เป็นสาขาหนึ่งของการพยากรณ์และเนื่องจากการใช้ตำแหน่งของดวงดาวจึงมีความเกี่ยวข้องกับวิชาดาราศาสตร์

ศัพทมูลวิทยา

แก้

คำว่า โหราศาสตร์ ที่ใช้กันในภาษาไทย (รวมถึง โหร) มาจากภาษาสันสกฤตคำว่า "โหรา" ซึ่งมีที่มาจากภาษากรีกโบราณคือ ὥρᾱ (hṓrā) ที่หมายถึง "โมงยาม" และเป็นรากศัพท์ของภาษาอังกฤษคำว่า hour ที่หมายถึง "ชั่วโมง"[1]

โหราศาสตร์ในประเทศไทย

แก้

ทฤษฎีหรือหลักวิชาที่ใช้ในการ "อ่าน" หรือ "แปล" การโคจรของดวงดาว เพื่อเป็นการทำนายเหตุการณ์นั้นก็มีหลากหลายและแตกต่างกัน สำหรับในประเทศไทย หลักวิชาที่ใช้ถ่ายทอดกันก็มี โหราศาสตร์ไทย โหราศาสตร์ภารตะ โหราศาสตร์พม่า โหราศาสตร์สากลยูเรเนียน โหราศาสตร์พาราณสี

ทั้งนี้โหราศาสตร์ไทยก็ยังแบ่งแยกออกเป็นอีกหลายสำนักและหลายสายวิชา เช่น โหราศาสตร์ไทยสายวิชา อ.อรุณ ลำเพ็ญ โหราศาตร์ไทยสายสิบลัคนา โหราศาสตร์ไทยระบบลัคนาจร โหราศาสตร์ไทยสายวิชา อ.ประทีป อัครา โหราศาสตร์ไทยสายวิชา อ.ส.แสงตะวัน โหราศาสตร์ไทยหลักสูตรอินทภาส-บาทจันทร์

และปัจจุบันสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้มีการเปิดการสอนวิชาเลือกที่ชื่อว่า “โหราศาสตร์” ให้แก่นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Big Picture คิดสลับสี 20 03 61 เบรก 1". ฟ้าวันใหม่. 2018-03-20.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้