โบราณคดี (อังกฤษ: Archaeology) คือ วิชาที่ว่าด้วย การศึกษาเรื่องราวในอดีตของมนุษย์ โดยผ่านทางการศึกษาหลักฐานทางโบราณคดี ที่ได้มาจากการสำรวจ การขุดค้น (โบราณวัตถุ) การขุดแต่ง (โบราณสถาน) และการศึกษาเอกสารทางประวัติศาสตร์ประเภทต่าง ๆ (ศิลาจารึก จดหมายเหตุ พงศาวดาร) โดยทั่วไป จะต้องใช้ศาสตร์ด้านอื่น ๆ ประกอบในการวิเคราะห์และตีความหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้จากกระบวนการข้างต้น เพื่อให้เรื่องราวในอดีตของมนุษย์มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ศาสตร์เหล่านั้น เช่น ประวัติศาสตร์ศิลปะ ธรณีวิทยา สัตววิทยา พฤกษศาสตร์ ละอองเรณูวิทยา การกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ที่ประเทศไทย มีการเปิดสอนคณะโบราณคดี ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ เป็นเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย​ และมีกรมศิลปากร เป็นหน่วยงานราชการหลักที่รับผิดชอบการดำเนินงานทางโบราณคดีส่วนใหญ่ในประเทศไทย​และมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย.

การขุดค้นโบราณสถาน​ ในภาพนักโบราณคดีกำลังบันทึกตำแหน่งการวางตัวของโบราณวัตถุในหลุมขุดค้น

วิธีวิทยาทางโบราณคดี

แก้

การศึกษาโบราณคดี การศึกษาทางโบราณคดีเป็นการศึกษาจากหลักฐานต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้ว การที่จะทราบเรื่องราวของมนุษย์ในยุคใดในสมัยใดได้ละเอียดมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับหลักฐานที่พบเป็นหลัก

แนวทางการศึกษาทางโบราณคดีอาจแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ[1]
1. การสำรวจ (survey)

เป็นการตรวจหาแหล่งโบราณคดี อาจทำได้โดยการตรวจสอบจากภาพถ่ายทางอากาศ การศึกษาจากเอกสารและการเดินสำรวจเพื่อเป็นการรวบรวมหลักฐานสำหรับประเมินค่าของแหล่งโบราณคดีนั้น ๆ ในการวางแผนขุดค้นต่อไป

2. ขุดค้น (excavation)

เป็นกรรมวิธีขั้นที่สองของการศึกษาทางโบราณคดี เพื่อให้ได้หลักฐานที่ถูกต้องมากที่สุด การขุดค้นจะต้องทำอย่างระมัดระวังเพื่อให้ได้หลักฐานที่ถูกต้องมากที่สุด เพื่อไม่ให้เป็นการทำลายหลักฐานที่ทับถมอยู่ในดินเป็นเวลาหลายร้อยหลายพันปีจึงต้องมีการบันทึกอย่างละเอียด และการวาดภาพหรือถ่ายภาพประกอบด้วย

3. วิเคราะห์ (analysis)

หลักฐานที่ได้จากการขุดค้น จะต้องนำมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการเพื่อหาแบบอย่างของรูปร่างของสิ่งของที่ขุดได้เพื่อประโยชน์ในการศึกษาต่อไป

4. การแปลความ (interpretation)

และการเขียนรายงานเป็นการรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ ที่ได้จากการสำรวจการขุดค้น และการวิเคราะห์แล้วนำมาแปลความหมายเพื่อเขียนเป็นรายงานพิมพ์ออกเผยแผร่และจัดนิทรรศการสรุปเรื่องราวของมนุษย์ในยุคนั้น สมัยนั้นต่อจากนั้นก็เป็นการรักษาโบราณศิลปวัตถุที่ค้นพบซึ่งได้แก่ การจัดแสดงข้อมูลในพิพิธภัณฑ์เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการนำเสนอข้อมูลการศึกษาทางโบราณคดีต่อสาธารณชน.

บทความภาษาไทย

แก้
  • ศ.เกียรติคุณ ปรีชา กาญจนาคม. "โบราณคดีเบื้องต้น" (2557)


แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "โบราณคดี (Archeology)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-04-11. สืบค้นเมื่อ 2015-03-22.