เต่าหก
เต่าหก | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Reptilia |
อันดับ: | Testudines |
วงศ์: | Testudinidae |
วงศ์ย่อย: | Xerobatinae |
สกุล: | Manouria |
สปีชีส์: | M. emys |
ชื่อทวินาม | |
Manouria emys (Schlegel & Müller, 1844) | |
ชนิดย่อย | |
| |
ชื่อพ้อง | |
เต่าหก (อังกฤษ: Asian forest tortoise) เป็นเต่าบกชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Manouria emys
เมื่อโตเต็มที่มีกระดองยาว 2 ฟุต น้ำหนักประมาณ 30-40 กิโลกรัม กระดองโค้งสูงมาก ขาหน้าด้านบนมีเกล็ดใหญ่ ๆ ขาหลังสั้นทู่มีเล็บกลมใหญ่ และไม่มีเกล็ดขนาดใหญ่ มีเดือยอยู่ระหว่างขาหลังกับหางข้างละอัน เดือยมีกระดูกอยู่ข้างใน สำหรับใช้ยันพื้นดินเวลาปีนขึ้นที่สูงจึงดูคล้ายมีขาเพิ่มอีกสองขา เป็นหกขา จึงเป็นที่มาของชื่อเรียก
เต่าหก พบกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปเอเชีย ตั้งแต่เอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงอินโดนีเซีย จัดเป็นเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบได้ในทวีปเอเชีย
แม้จะเป็นเต่าบก แต่ก็ชอบความชื้น ชอบอาศัยอยู่ในโคลนตมหรือใกล้แหล่งน้ำ ในป่าดิบเขา โดยจะขุดหลุมแล้วฝังตัวอยู่ ไม่ค่อยพบในที่ราบ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย คือ
- เต่าหกเหลือง (M. e. emys) มีกระดองเป็นสีเหลือง ด้านขอบเป็นสีน้ำตาลอ่อน เดือยด้านข้างลำตัวมีลักษณะกลมกว่า พบได้ตั้งแต่ภาคใต้ของไทย แหลมมลายู ไปจนถึงเกาะต่าง ๆ ในอินโดนีเซีย[2]
- เต่าหกดำ (M. e. phayrei) มีกระดองสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ เป็นชนิดที่พบได้ทั่วไป มีขนาดใหญ่กว่าเต่าหกเหลือง จัดเป็นเต่าบกที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก[3]
กินพืชและผลไม้เป็นอาหารหลัก แต่ก็สามารถกินสัตว์ขนาดเล็กได้ด้วย เช่น ทากหรือสัตว์น้ำอย่าง ปู กุ้ง หรือหอย เป็นต้น
เมื่อผสมพันธุ์แล้ว ตัวเมียจะวางไข่ครั้งละ 30-50 ฟอง จัดได้เป็นเต่าบกชนิดที่มีการวางไข่มากที่สุด ด้วยการกวาดใบไม้และวัสดุต่าง ๆ มาคลุมทับไข่ไว้และเฝ้าไข่เป็นเวลาหลายวัน แทนที่จะขุดหลุมฝังเหมือนเต่าบกทั่วไป[4] มีอายุยืนกว่า 100 ปี ในประเทศไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 และมีชื่อติดอยู่ในบัญชีหมายเลข 2 (Appendix II) ของไซเตส แต่ก็นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง[5]
รูปภาพ
แก้-
เต่าหกเหลือง
-
เต่าหกขณะยังเป็นวัยอ่อน
-
ภาพวาดลักษณะกระดองเต่าหก
อ้างอิง
แก้- ↑ Asian Turtle Trade Working Group (2000). Manouria emys. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 11 May 2006. Listed as Endangered (EN A1cd+2 cd v2.3)
- ↑ "เต่าหกเหลือง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-18. สืบค้นเมื่อ 2011-01-10.
- ↑ เต่าหกดำ
- ↑ หน้า 365, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก โดย วีรยุทธ์ เลาหะจินดา. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2552: ISBN 978-616-556-016-0
- ↑ เต่าหก[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Manouria emys ที่วิกิสปีชีส์