ภาษาอีสาน
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ เนื่องจากขาดข้อมูลสำคัญในหลายประเด็น คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
ภาษาอีสาน[3] หรือ ภาษาลาวอีสาน[4] หรือ ภาษาไทยถิ่นตะวันออกเฉียงเหนือ หรือที่นิยมกล่าวถึงในเอกสารราชการไทยว่า ภาษาไทยถิ่นอีสาน[5] เป็นการพัฒนาในท้องถิ่นของภาษาลาวในประเทศไทย ผู้พูดในท้องถิ่นยังคงคิดว่าเป็นภาษาลาว[6] รัฐบาลไทยยอมรับภาษานี้เป็นสำเนียงภาษาไทย ทั้งชาวไทยและลาวมีความเข้าใจร่วมกันยาก เพราะแม้ว่าจะมีคำร่วมเชื้อสายในพจนานุกรมกว่าร้อยละ 80 ทั้งลาวและอีสานมีระดับเสียงวรรณยุกต์ที่ต่างกันมากและมักใช้คำจากภาษาไทย จึงทำให้เกิดการขัดขวางความเข้าใจระหว่างกันโดยไม่มีการเปิดรับก่อน[7]
ภาษาอีสาน | |
---|---|
ภาษาไทยถิ่นอีสาน, ลาวอีสาน, ลาว (ไม่ทางการ) | |
![]() | |
ประเทศที่มีการพูด | ประเทศไทย |
ภูมิภาค | ภาคอีสาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ในพื้นที่ใกล้เคียงและกรุงเทพมหานคร |
ชาติพันธุ์ | คนอีสาน (ไทลาว). ภาษาที่สองหรือสามของชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่มในภาคอีสาน |
จำนวนผู้พูด | 13-16 ล้านคน (2005)[1] 22 ล้านคน (2013) (L1 และ L2)[1][2] |
ตระกูลภาษา | |
ระบบการเขียน | ไทน้อย (อดีต, ฆราวาส) ไทธรรม (อดีต, ศาสนา) อักษรไทย |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | ![]() |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | tts |
ภาคอีสานมีบริเวณทางการเกษตรเป็นจำนวนมากและเป็นหนึ่งในภาคที่ยากจนและพัฒนาช้าที่สุดในประเทศไทย ด้วยชาวภาคอีสานหลายที่คนที่ไม่ค่อยมีการศึกษามักไปทำงานที่กรุงเทพหรือเมืองอื่นและแม้แต่ต่างประเทศในฐานะคนงาน, คนทำอาหาร, คนขับแท็กซี, คนงานก่อสร้าง และอื่น ๆ รวมกับอคติทางประวัติศาสตร์อย่างเปิดเผยต่อชาวภาคอีสานและภาษาของพวกเขา ได้เป็นเชื้อเพลิงของความเข้าใจในแง่ลบในภาษานี้ ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 ตัวภาษาได้เปลี่ยนภาษาไปเป็นภาษาไทยอย่างช้า ๆ ส่งผลถึงความอยู่รอดของภาษา[8][9] อย่างไรก็ตาม ด้วยมุมมองที่ผ่อนคลายลงในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ทางนักวิชาการไทยในมหาวิทยาลัยในภาคอีสานได้ดำเนินงานวิจัยเกี่ยวกับภาษานี้ โดยบางส่วนได้เริ่มมีผลในการช่วยรักษาภาษาที่กำลังหายไป อุปถัมภ์ด้วยการเติบโตในด้านการรับรู้และชื่นชมวัฒนธรรม, วรรณกรรม และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น[10][7]
สำเนียงแก้ไข
ภาษานี้แบ่งออกเป็น 6 สำเนียงใหญ่ คือ
- ภาษาลาวเวียงจันทน์ ใช้ในประเทศลาว ท้องที่นครหลวงเวียงจันทน์ แขวงบอลิคำไซ และในประเทศไทยท้องที่จังหวัดชัยภูมิ หนองบัวลำภู หนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ โพนพิสัย โพธิ์ตาก สังคม(บางหมู่บ้าน) ) ขอนแก่น (อำเภอภูเวียง ชุมแพ สีชมพู ภูผาม่าน หนองนาคำ เวียงเก่า หนองเรือบางหมู่บ้าน โคกโพธิ์ไชยบางหมู่บ้าน) ยโสธร (อำเภอเมืองยโสธร ทรายมูล กุดชุม บางหมู่บ้าน) อุดรธานี (อำเภอบ้านผือ เพ็ญ บางหมู่บ้าน) ศรีสะเกษ (ในบางหมู่บ้านของอำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอขุขันธ์ อำเภอขุนหาญ) นครราชสีมา (อำเภอสูงเนิน ปักธงชัย)
- ภาษาลาวเหนือ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงหลวงพระบาง ไซยะบุรี อุดมไซ ในประเทศไทยท้องที่จังหวัดเลย อุตรดิตถ์ (อำเภอบ้านโคก น้ำปาด ฟากท่า) เพชรบูรณ์ (อำเภอหล่มสัก หล่มเก่า น้ำหนาว) ขอนแก่น (อำเภอภูผาม่าน และบางหมู่บ้านของอำเภอสีชมพู ชุมแพ) ชัยภูมิ (อำเภอคอนสาร) พิษณุโลก (อำเภอชาติตระการและนครไทยบางหมู่บ้าน) หนองคาย (อำเภอสังคม) อุดรธานี (อำเภอน้ำโสม นายูง บางหมู่บ้าน)
- ภาษาลาวตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงเชียงขวาง หัวพัน ในประเทศไทยท้องที่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี และบางหมู่บ้านในจังหวัดสกลนคร หนองคาย(บางหมู่บ้านในอำเภอท่าบ่อ อำเภอศรีเชียงใหม่ และอำเภอโพธิ์ตาก) และยังมีชุมชนลาวพวนในภาคเหนือบางแห่งในจังหวัดสุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ ไม่กี่หมู่บ้านเท่านั้น
- ภาษาลาวกลาง แยกออกเป็นสำเนียงถิ่น 2 สำเนียงใหญ่ คือ ภาษาลาวกลางถิ่นคำม่วน และถิ่นสุวรรณเขต ถิ่นคำม่วน จังหวัดที่พูดในประเทศไทย เช่น จังหวัดนครพนม สกลนคร บึงกาฬ (อำเภอเซกา บึงโขงหลง บางหมู่บ้าน) ถิ่นสุวรรณเขต จังหวัดที่พูดมีจังหวัดเดียว คือ จังหวัดมุกดาหาร
- ภาษาลาวใต้ ใช้ในประเทศลาวท้องที่แขวงจำปาศักดิ์ สาละวัน เซกอง อัตตะปือ จังหวัดที่พูดในประเทศไทย จังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร สุรินทร์ (อำเภอรัตนบุรี)
- ภาษาลาวตะวันตก (ภาษาลาวร้อยเอ็ดหรือภาษาลาวอีสาน) ไม่มีใช้ในประเทศลาว เป็นภาษาที่ใช้ในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ท้องที่จังหวัดร้อยเอ็ด อุดรธานี ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม บุรีรัมย์ หนองคาย (บางหมู่บ้าน) นครราชสีมา (อำเภอบัวใหญ่ บัวลาย สีดา แก้งสนามนาง ประทาย โนนแดง บ้านเหลื่อม เมืองยาง ลำทะเมนชัย คง ห้วยแถลง ชุมพวง จักราช) และบริเวณใกล้เคียงมณฑลร้อยเอ็ดของสยาม สำเนียงนี้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในพื้นที่ส่วนมากของภาคอีสานสำเนียงนี้ส่วนมากจะใช้"สระเอียแทนสระเอือ"ในปัจจุบันจนได้ขึ้นชื่อว่าเป็นสำเนียงกลางหรือสำเนียงมาตรฐานของภาษาอีสาน เทียบเท่ากับ แหลงใต้ อู้คำเมือง พูดไทยกลาง ของแต่ละภาค
ส่วนภาษาเขียนในอดีตใช้อักษรธรรมล้านช้างหรือตัวธรรม สำหรับบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมะหรือพระพุทธศาสนา และเขียนด้วยอักษรไทน้อยหรือตัวลาวเดิม (เป็นอักษรลาวล้านช้างโบราณ มีความแตกต่างกับอักษรลาวในประเทศลาวในปัจจุบันเล็กน้อย) สำหรับเรื่องราวทางโลก อักษรลาวล้านช้าง (ตัวลาวหรืออักษรไทน้อย) มีพยัญชนะ 20 เสียง สระเดี่ยว 18 เสียง สระประสม 2-3 เสียง บางท้องถิ่นไม่มีเสียงสระเอือแต่จะใช้สระเอียแทน ในปัจจุบันนิยมใช้อักษรไทยสำหรับเขียนบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งในทางโลกและทางธรรม เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่ไม่สามารถอ่านตัวอักษรธรรมและอักษรลาวออก แต่ความนิยมในการเขียนบันทึกเป็นภาษาถิ่นไม่ค่อยได้รับความนิยมนัก โดยส่วนใหญ่ภาษาเขียนในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยจะใช้อักษรไทยและบันทึกเป็นภาษาไทยกลางเป็นหลักแทน
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination. (2011). Reports submitted by States parties under article 9 of the Convention: First to third periodic reports of States parties due in 2008, Thailand. (GE.11-46262 (E) 141011 181011). New York NY: United Nations.
- ↑ Paul, L. M., Simons, G. F. and Fennig, C. D. (eds.). 2013. Ethnologue: Languages of the World, Seventeenth edition. Dallas, Texas: SIL International. Retrieved from http://www.ethnologue.com
- ↑ "กลุ่มชาติพันธุ์ : ลาวอีสาน". ศูนย์ข้อมูลมานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). สืบค้นเมื่อ 13 January 2022.
- ↑ "ภาษาลาวอีสานที่ถูกกำกับโดยศูนย์กลางอำนาจส่วนกลาง". เดอะอีสานเรคคอร์ด. 2020-04-19.
- ↑ กิ่งคำ, วิไลศักดิ์ (2007). "ภาษาไทยถิ่นอีสาน : มรดกวัฒนธรรมบ้านเกิด". วารสารภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย. 1 (1): 58–75.
- ↑ Keyes, Charles F. (1966). "Ethnic Identity and Loyalty of Villagers in Northeastern Thailand". Asian Survey.
- ↑ 7.0 7.1 Draper, John (2004). "Isan: The planning context for language maintenance and revitalization". Second Language Learning and Teaching. 4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-11.
- ↑ Simpson, A. & Thammasathien, N. (2007). "Thailand and Laos", Simpson, A. (ed.) in Language and National Identity in Asia. Oxford: Oxford University Press. (p. 401).
- ↑ Chanthao, R. (2002). Code-mixing between Central Thai and Northeastern Thai of the Students in Khon Kaen Province. Bangkok: Mahidol University.
- ↑ Phra Ariyuwat. (1996). Phya Khankhaak, the Toad King: A Translation of an Isan Fertility Myth in Verse . Wajuppa Tossa (translator). (pp. 27–34). Lewisburg, PA: Bucknell University Press.
อ่านเพิ่มแก้ไข
- Hayashi, Yukio. (2003). Practical Buddhism among the Thai-Lao. Trans Pacific Press. ISBN 4-87698-454-9.
- เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์. ภาษาถิ่นตระกูลไทย. กทม. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบทมหาวิทยาลัยมหิดล. 2531.
- อีสานร้อยแปด. พจนานุกรมภาษาอีสาน. อีสาน : https://esan108.com/dict
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
มีการทดสอบ ภาษาอีสาน ของวิกิพีเดีย ที่วิกิมีเดีย อินคิวเบเตอร์ |
- Basic Isaan phrases เก็บถาวร 2010-03-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (Some basic Isaan phrases with sound files).
- McCargo, Duncan, and Krisadawan Hongladarom. "Contesting Isan‐ness: discourses of politics and identity in Northeast Thailand." Asian Ethnicity 5.2 (2004): 219-234.
- พจนานุกรมภาษาอีสาน
- โครงการอักษรอีสาน
- อักษรไทน้อย
- ความเป็นมาของอักษรไทยน้อย เก็บถาวร 2021-09-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ความเป็นมาของอักษรธรรมอีสาน เก็บถาวร 2020-09-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
บทความเกี่ยวกับภาษานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ภาษา |