อำเภอเมืองศรีสะเกษ
เมืองศรีสะเกษ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ โดยเป็นศูนย์กลางทางด้านการปกครอง การคมนาคม และเศรษฐกิจของจังหวัด เป็น 1 ใน 4 อำเภอของจังหวัดที่มีทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือตัดผ่าน (สายกรุงเทพมหานคร–นครราชสีมา–อุบลราชธานี)
อำเภอเมืองศรีสะเกษ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Mueang Si Sa Ket |
สถานีรถไฟศรีสะเกษ เป็น สถานีระดับที่ 1 ในทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ มีขบวนรถโดยสารหยุดรับ–ส่งผู้โดยสารที่สถานี (ในสถานการณ์ปกติ) ทั้งหมด 24 ขบวน | |
แผนที่จังหวัดศรีสะเกษ เน้นอำเภอเมืองศรีสะเกษ | |
พิกัด: 15°7′14″N 104°19′20″E / 15.12056°N 104.32222°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ศรีสะเกษ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 576.366 ตร.กม. (222.536 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 138,143 คน |
• ความหนาแน่น | 239.68 คน/ตร.กม. (620.8 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 33000 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 3301 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเมืองศรีสะเกษ ถนนหลักเมือง ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ 33000 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอเมืองศรีสะเกษมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอราษีไศลและอำเภอยางชุมน้อย
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอกันทรารมย์
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอพยุห์ และอำเภอวังหิน
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภออุทุมพรพิสัย
ประวัติ
แก้เมืองศีร์สะเกษ ระยะแรกมี 4 อำเภอ คือ อำเภอกลางศีร์สะเกษ อำเภออุทัยศีร์สะเกษ อำเภอปจิมศีร์สะเกษ และอำเภอราษีไศล มีพระภักดีโยธา (เหง้า) เป็นผู้ว่าราชการเมือง ในปี พ.ศ. 2447 พระยาบำรุงบุรประจันต์ (จันดี) ได้ย้ายศาลากลางเมืองขุขันธ์ ไปตั้งที่อำเภอกลางศีร์ษะเกษเป็นที่ตั้งปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องมาจากเหตุผลความปลอดภัยจากความตึงเครียดกรณีกบฏท้าวบุญจันทร์ ที่ทำการบริเวณขุขันธ์ ตั้งอยู่ที่เมืองขุขันธ์ ได้ย้ายไปตั้งอยู่ที่อำเภอกลางศีร์สะเกษ ทั้งนี้เพราะทราบว่ารัฐบาลจะตัดทางรถไฟผ่านอำเภอกลางศีร์สะเกษ
ปี พ.ศ. 2450 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงมหาดไทยปรับปรุงการปกครองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยคงจัดเป็นมณฑล แต่แบ่งการปกครองมณฑลเป็นบริเวณ ดังนี้ 1. มณฑลอีสาน แบ่งการปกครองเป็น 4 บริเวณ คือ บริเวณอุบลราชธานี บริเวณขุขันธ์ บริเวณสุรินทร์ และบริเวณร้อยเอ็ด บริเวณขุขันธ์ประกอบด้วย เมืองขุขันธ์ เมืองศีร์ษะเกษ และเมืองเดชอุดม
ปี พ.ศ. 2455 มีการประกาศแบ่งมณฑลอีสาน ซึ่งมีพื้นที่กว้างใหญ่ออกเป็น 2 มณฑล คือ มณฑลอุบลราชธานี และมณฑลร้อยเอ็ด เมืองขุขันธ์ เมืองศีร์ษะเกษและเมืองเดชอุดม อยู่ในการปกครองของมณฑลอุบลราชธานี และมีการปรับบริเวณเมืองให้รวมเมืองขุขันธ์ เมืองศีร์ษะเกษ และเมืองเดชอุดม ซึ่งเรียกว่า บริเวณขุขันธ์เป็นเมืองเดียวกัน เรียกว่า เมืองขุขันธ์ มีศาลากลางอยู่ที่อำเภอกลางศีร์ษะเกษ และเปลี่ยนชื่ออำเภอกลางศีร์ษะเกษ เป็นอำเภอเมืองศีร์ษะเกษ[1]
ปี พ.ศ. 2459 มี “ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมือง ให้เรียกว่าจังหวัด มีสาระสำคัญว่า “…เพื่อความเข้าใจง่ายในการปกครอง จึงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่า เมือง ให้เรียกว่าจังหวัด ผู้ว่าราชการเมือง ให้เรียกผู้ว่าราชการจังหวัด ดังนั้นเมืองขุขันธ์จึงเปลี่ยนเป็น “จังหวัดขุขันธ์” ตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม ปีเดียวกัน โดยเริ่มแรกมี 7 อำเภอ คือ อำเภอศีร์ษะเกษ อำเภอห้วยเหนือ อำเภออุทุมพรพิสัย อำเภอท่าช้าง อำเภอน้ำอ้อม อำเภอคง และอำเภอเดชอุดม มีที่ตั้งศาลากลางจังหวัดที่อำเภอศีร์ษะเกษ ต่อมามีการเพิ่มอีก 1 กิ่งอำเภอ คือ กิ่งอำเภอบัวบุณฑริก (ต่อมาชื่อกิ่งอำเภอโพนงาม แยกออกมาจากอำเภอเดชอุดม ในปี พ.ศ. 2466 ต่อมาได้รับการโอนไปขึ้นกับ จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมกับอำเภอเดชอุดม)
ปี พ.ศ. 2481 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ได้ตราพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามจังหวัดและอำเภอบางแห่ง โดยในมาตรา 3 กำหนดให้เปลี่ยนชื่อ “จังหวัดขุขันธ์” เป็น “จังหวัดศรีสะเกษ” โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนชื่ออำเภอ คือ อำเภอศีร์ษะเกษเป็นอำเภอเมืองศรีสะเกษ ให้สอดคล้องกับความเป็นจริงและสากลเหมือนกันทั่วประเทศ ชื่อจังหวัดศรีสะเกษจึงยึดตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา หลังจากที่มีการเขียนไม่เหมือนกันมาจึงเป็นที่ยุติว่า “อำเภอเมืองศรีสะเกษ” และ “จังหวัดศรีสะเกษ” ตลอดมาจนปัจจุบัน
- วันที่ 12 ตุลาคม 2456 เปลี่ยนชื่ออำเภอกลางศีร์ษะเกษ จังหวัดขุขันธ์ เป็น อำเภอเมืองศีร์ษะเกษ[1]
- วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนชื่ออำเภอเมืองศีร์ษะเกษ จังหวัดขุขันธ์ เป็น อำเภอศีร์ษะเกษ[2]
- วันที่ 26 ตุลาคม 2467 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอคงกับอำเภอศีร์ษะเกษ โดยโอนพื้นที่ตำบลลิ้นฟ้า อำเภอคง (อำเภอราษีไศล) มาขึ้นกับอำเภอศีร์ษะเกษ[3]
- วันที่ 3 กันยายน 2476 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภออุทุมพรพิสัยกับอำเภอศีร์ษะเกษ โดยโอนพื้นที่ตำบลคูซอด อำเภออุทุมพรพิสัย มาขึ้นกับอำเภอศีร์ษะเกษ[4]
- วันที่ 29 พฤศจิกายน 2479 จัดตั้งเทศบาลเมืองขุขันธ์ ในท้องที่บางส่วนของตำบลเมืองเก่า[5]
- วันที่ 6 มีนาคม 2481 เปลี่ยนแปลงชื่อเทศบาลเมืองขุขันธ์ เป็น เทศบาลเมืองศรีสะเกษ[6]
- วันที่ 14 พฤศจิกายน 2481 เปลี่ยนแปลงชื่อจังหวัดขุขันธ์ เป็น จังหวัดศรีสะเกษ และเปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอศีร์ษะเกษ เป็น อำเภอเมืองศีร์ษะเกษ[7]
- วันที่ 28 พฤศจิกายน 2481 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเมืองศีร์ษะเกษ เป็น อำเภอเมืองศรีสะเกษ[8]
- วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2490 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอกันทรารมย์กับอำเภอเมืองศรีสะเกษ โดยโอนพื้นที่ตำบลตำแย (ยกเว้นหมู่บ้านบัวระรมย์) อำเภอกันทรารมย์ มาขึ้นกับอำเภอเมืองศรีสะเกษ[9]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลหมากเขียบ แยกออกจากตำบลหนองครก ตั้งตำบลบุสูง แยกออกจากตำบลธาตุ ตั้งตำบลโนนเพ็ก แยกออกจากตำบลทุ่ม ตั้งตำบลโพนค้อ แยกออกจากตำบลโพนข่า ตั้งตำบลตะดอบ แยกออกจากตำบลหนองไฮ ตั้งตำบลหนองแก้ว แยกออกจากตำบลโพนเขวา และตำบลโพธิ์[10]
- วันที่ 9 ธันวาคม 2490 ยุบตำบลเมืองเก่า ในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ[11] และใช้พื้นที่ 6 หมู่บ้านของตำบลเมืองเก่า (เดิม) ฝั่งทิศเหนือทางรถไฟสายกรุงเทพ–อุบลราชธานี ตั้งเป็นตำบลเมืองเหนือ และพื้นที่ 6 หมู่บ้านของตำบลเมืองเก่า (เดิม) ฝั่งทิศใต้ทางรถไฟสายกรุงเทพ–อุบลราชธานี ตั้งเป็นตำบลเมืองใต้
- วันที่ 20 มิถุนายน 2493 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอราษีไศลกับอำเภอเมืองศรีสะเกษ โดยโอนพื้นที่ตำบลคอนกาม และตำบลยางชุมน้อย อำเภอราษีไศล มาขึ้นกับอำเภอเมืองศรีสะเกษ[12]
- วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2494 โอนพื้นที่หมู่ 9 (ในขณะนั้น) ของตำบลซำ ไปตั้งเป็นหมู่ 6 ตำบลโพนข่า[13]
- วันที่ 11 กันยายน 2494 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอราษีไศลกับอำเภอเมืองศรีสะเกษ โดยโอนพื้นที่หมู่ 4 บ้านแก้ง (ในขณะนั้น) ของตำบลส้มป่อย อำเภอราษีไศล มาขึ้นกับตำบลคอนกาม อำเภอเมืองศรีสะเกษ[14]
- วันที่ 8 พฤษภาคม 2505 ตั้งตำบลพรหมสวัสดิ์ แยกออกจากตำบลพยุห์[15]
- วันที่ 7 กันยายน 2514 แยกพื้นที่ตำบลยางชุมน้อย ตำบลคอนกาม และตำบลลิ้นฟ้า จากอำเภอเมืองศรีสะเกษ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอยางชุมน้อย[16] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเมืองศรีสะเกษ
- วันที่ 1 สิงหาคม 2521 ตั้งตำบลโนนคูณ แยกออกจากตำบลคอนกาม[17]
- วันที่ 25 มีนาคม 2522 ยกฐานะกิ่งอำเภอยางชุมน้อย อำเภอเมืองศรีสะเกษ เป็น อำเภอยางชุมน้อย[18]
- วันที่ 22 มิถุนายน 2525 ตั้งตำบลบ่อแก้ว แยกออกจากตำบลหมากเขียบ[19]
- วันที่ 27 กันยายน 2526 จัดตั้งสุขาภิบาลพยุห์ ในท้องที่บางส่วนของตำบลพยุห์[20]
- วันที่ 2 ตุลาคม 2527 ตั้งตำบลศรีสำราญ แยกออกจากตำบลบุสูง[21]
- วันที่ 11 มีนาคม 2530 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ[22] ตามความจำเป็นแห่งการบริหารงานของเทศบาล โดยขยายพื้นที่ในเขตตำบลเมืองเหนือและตำบลเมืองใต้ทั้งตำบล รวมทั้งพื้นที่บางส่วนในตำบลหนองครก ตำบลโพนข่า ตำบลหญ้าปล้อง และตำบลโพธิ์
- วันที่ 12 มีนาคม 2530 แยกพื้นที่ตำบลบุสูง ตำบลธาตุ ตำบลดวนใหญ่ ตำบลบ่อแก้ว และตำบลศรีสำราญ จากอำเภอเมืองศรีสะเกษ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอวังหิน[23] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเมืองศรีสะเกษ
- วันที่ 17 สิงหาคม 2533 ตั้งตำบลทุ่งสว่าง แยกออกจากตำบลธาตุ[24]
- วันที่ 1 สิงหาคม 2534 ตั้งตำบลหนองไผ่ แยกออกจากตำบลหญ้าปล้อง[25]
- วันที่ 15 มกราคม 2536 ตั้งตำบลวังหิน แยกออกจากตำบลดวนใหญ่[26]
- วันที่ 3 พฤศจิกายน 2536 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอวังหิน อำเภอเมืองศรีสะเกษ เป็น อำเภอวังหิน[27]
- วันที่ 8 พฤศจิกายน 2536 ตั้งตำบลหนองค้า แยกออกจากตำบลโนนเพ็ก[28]
- วันที่ 26 พฤษภาคม 2537 แยกพื้นที่ตำบลพยุห์ ตำบลพรหมสวัสดิ์ ตำบลตำแย ตำบลโนนเพ็ก และตำบลหนองค้า จากอำเภอเมืองศรีสะเกษ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอพยุห์[29] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเมืองศรีสะเกษ
- วันที่ 26 กันยายน 2540 ยกฐานะกิ่งอำเภอพยุห์ อำเภอเมืองศรีสะเกษ เป็น อำเภอพยุห์[30]
- วันที่ 18 กรกฎาคม 2551 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำคำ เป็น เทศบาลตำบลน้ำคำ[31]
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอเมืองศรีสะเกษแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 18 ตำบล 165 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | เมืองเหนือ | (Mueang Nuea) | - | 10. | โพนเขวา | (Phon Khwao) | 11 หมู่บ้าน | ||||||||||
2. | เมืองใต้ | (Mueang Tai) | - | 11. | หญ้าปล้อง | (Ya Plong) | 11 หมู่บ้าน | ||||||||||
3. | คูซอด | (Khu Sot) | 10 หมู่บ้าน | 12. | ทุ่ม | (Thum) | 13 หมู่บ้าน | ||||||||||
4. | ซำ | (Sam) | 14 หมู่บ้าน | 13. | หนองไฮ | (Nong Hai) | 7 หมู่บ้าน | ||||||||||
5. | จาน | (Chan) | 12 หมู่บ้าน | 14. | หนองแก้ว | (Nong Kaeo) | 12 หมู่บ้าน | ||||||||||
6. | ตะดอบ | (Tadop) | 8 หมู่บ้าน | 15. | น้ำคำ | (Nam Kham) | 15 หมู่บ้าน | ||||||||||
7. | หนองครก | (Nong Khrok) | 8 หมู่บ้าน | 16. | โพธิ์ | (Pho) | 10 หมู่บ้าน | ||||||||||
8. | โพนข่า | (Phon Kha) | 10 หมู่บ้าน | 17. | หมากเขียบ | (Mak Khiap) | 11 หมู่บ้าน | ||||||||||
9. | โพนค้อ | (Phon Kho) | 6 หมู่บ้าน | 18. | หนองไผ่ | (Nong Phai) | 11 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอเมืองศรีสะเกษประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 17 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองศรีสะเกษ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองเหนือและตำบลเมืองใต้ทั้งตำบล รวมทั้งพื้นที่ตำบลหนองครก (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 5–6, 8) ตำบลโพนข่า (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 6) ตำบลหญ้าปล้อง (เฉพาะหมู่ที่ 9–11 และบางส่วนของหมู่ที่ 8) ตำบลโพธิ์ (เฉพาะหมู่ที่ 7–10)
- เทศบาลตำบลน้ำคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำคำทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคูซอด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคูซอดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลซำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลซำทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลจาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจานทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลตะดอบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะดอบทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองครก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองครก (นอกเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลโพนข่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพนข่า (นอกเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลโพนค้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพนค้อทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโพนเขวา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพนเขวาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหญ้าปล้อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหญ้าปล้อง (นอกเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่มทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองไฮ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองไฮทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแก้วทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพธิ์ (นอกเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลหมากเขียบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหมากเขียบทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองไผ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองไผ่ทั้งตำบล
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนนามอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (0 ง): 1536–1537. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2022-10-20. วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2456
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2022-10-21. วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2460
- ↑ "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในท้องที่อำเภอคง จังหวัดขุขันธ์ สำหรับตำบลลิ้นฟ้า ซึ่งโอนไปขึ้นอำเภอศรีสะเกษ และตำบลบัวน้อย กับตำบลอีปาด ซึ่งโอนไปขึ้นอำเภอกันทรารมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (0 ก): 185. วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2467
- ↑ "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ สำหรับในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดขุขันธ์ ซึ่งได้ยุบโอนและตั้งขึ้นใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 50 (0 ก): 521–522. วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2476
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองขุขันธ์ จังหวัดขุขันธ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43 (0 ก): 806–810. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-07. สืบค้นเมื่อ 2022-10-21. วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามเทศบาลเมืองขุขันธ์ จังหวัดขุขันธ์ เป็นเทศบาลเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ พุทธศักราช ๒๔๘๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ก): 968–970. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-07. สืบค้นเมื่อ 2022-10-21. วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2481
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามจังหวัด และอำเภอบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ก): 658–666. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2021-12-28. วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481
- ↑ "แก้คำผิด ราชกิจจานุเบกษา แผนกกฤษฎีกา เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๔๙ พระราชกฤษฎีกา เปลี่ยนนามจังหวัด และอำเภอบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๑ หน้า ๖๕๙, ๖๖๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 2964.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดพิษณุโลก ศรีสะเกษ ตราด สิงห์บุรี อ่างทอง เพชรบุรี และระนอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (9 ง): 254–257. วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-10-21. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ปรับปรุงตำบลในเขตเทศบาล จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (60 ง): 3197–3200. วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2490
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67 (34 ง): 2612–2613. วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2493
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอขุขันธ์ และอำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. ุ68 (10 ง): 509–510. วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในท้องที่จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 68 (57 ง): 3814. วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2494
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองศรีสะเกษและอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (43 ง): 1198–1201. วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2505
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอยางชุมน้อย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (97 ง): 2483. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2022-10-21. วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2514
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอยางชุมน้อย อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (76 ง): 2443–2445. วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2521
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอหนองกุงศรี อำเภอไทรงาม อำเภอบ้านฝาง อำเภออุบลรัตน์ อำเภอเวียงชัย อำเภอดอยเต่า อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอนาหว้า อำเภอเสิงสาง อำเภอศรีสาคร อำเภอบึงสามพัน อำเภอนาดูน อำเภอค้อวัง อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอเมืองสรวง อำเภอปลวกแดง อำเภอยางชุมน้อย อำเภอกาบเชิง อำเภอสุวรรณคูหา และอำเภอกุดข้าวปุ้น พ.ศ. ๒๕๒๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (42 ก): 19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2022-10-21. วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2522
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (85 ง): 2294–2303. วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2525
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลพยุห์ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (154 ง): 3486–3488. วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2526
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่มีอำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอไพรบึง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (137 ง): 3509–3517. วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2527
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ พ.ศ. ๒๕๓๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (44 ก): (ฉบับพิเศษ) 12-16. วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2531
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอวังหิน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (45 ง): 1752. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2022-10-21. วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2530
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอขุขันธ์ อำเภอกันทรลักษณ์ อำเภอยางชุมน้อย กิ่งอำเภอน้ำเกลี้ยง และกิ่งอำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (149 ง): (ฉบับพิเศษ) 61-83. วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2533
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอขุขันธ์ อำเภออุทุมพรพิสัย อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (133 ง): 7356–7373. วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2534
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอวังหิน อำเภอยางชุมน้อย และอำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (5 ง): (ฉบับพิเศษ) 80-86. วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2536
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอลำทับ อำเภอร่องคำ อำเภอเวียงแหง อำเภอนาโยง อำเภอแก้งสนามนาง อำเภอโนนแดง อำเภอบ้านหลวง อำเภอกะพ้อ อำเภอศรีบรรพต อำเภอแก่งกระจาน อำเภอหนองสูง อำเภอสบเมย อำเภอเมยวดี อำเภอโคกเจริญ อำเภอทุ่งหัวช้าง อำเภอผาขาว อำเภอวังหิน อำเภอดอนพุด อำเภอบึงโขงหลง และอำเภอห้วยคต พ.ศ. ๒๕๓๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (179 ก): (ฉบับพิเศษ) 1-3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2022-10-21. วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอกันทรลักษ์และอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (182 ง): (ฉบับพิเศษ) 17-23. วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอพยุห์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (42 ง): 21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2022-10-21. วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2537
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอหนองปรือ อำเภอห้วยกระเจา อำเภอทรายทองวัฒนา อำเภอปางศิลาทอง อำเภอเนินสง่า อำเภอนาทม อำเภอพระพรหม อำเภอแม่วงก์ อำเภอสองแคว อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ อำเภอไทยเจริญ อำเภอกาบัง อำเภอพยุห์ อำเภอเมืองจันทร์ อำเภอภูพาน อำเภอคลองหอยโข่ง อำเภอเขาฉกรรจ์ อำเภอนาวัง อำเภอพิบูลย์รักษ์ และอำเภอทุ่งศรีอุดม พ.ศ. ๒๕๔๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (50 ก): 24–27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2022-10-21. วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2540
- ↑ "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล น้ำคำ เป็น เทศบาลตำบล". กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น: 1. ลงวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 18 กรกฎาคม ปีเดียวกัน