อำเภอราษีไศล

อำเภอในจังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย

ราษีไศล [รา-สี-สะ-ไหฺล][1] เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ และเป็นที่ตั้งเขื่อนราษีไศล ซึ่งเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ของจังหวัด

อำเภอราษีไศล
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Rasi-salai
เขื่อนราษีไศล
คำขวัญ: 
หาดทรายมูลคู่บ้าน ลิงบ้านหว้านคู่เมือง
ดงภูดินลือเลื่อง เมืองแห่งบั้งไฟแสน
ดินแดนหอมแดง แหล่งหมูหันรสดี
ฝายราษีสุดสวย พร้อมด้วยไข่ไก่งาม
แผนที่จังหวัดศรีสะเกษ เน้นอำเภอราษีไศล
แผนที่จังหวัดศรีสะเกษ เน้นอำเภอราษีไศล
พิกัด: 15°20′24″N 104°9′12″E / 15.34000°N 104.15333°E / 15.34000; 104.15333
ประเทศ ไทย
จังหวัดศรีสะเกษ
พื้นที่
 • ทั้งหมด691.65 ตร.กม. (267.05 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2567)
 • ทั้งหมด153,862 คน
 • ความหนาแน่น222.46 คน/ตร.กม. (576.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 33160
รหัสภูมิศาสตร์3309
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอราษีไศล ถนนบริการ ตำบลเมืองคง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ 33160
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

อำเภอราษีไศลตั้งอยู่ตอนบนของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ[2]

แก้

พุทธศักราช 2421 พระยาวิเศษภักดี (บุญจันทร์) เจ้าเมืองศรีสะเกษ ตั้งกองนอกฝ่ายเหนือขึ้น ตั้งท้าวจันศรีบุตรหลวงอภัย เป็นพระพลราชวงศา นาย กอง ให้รวบรวมตัวเลขและปรับปรุงบ้านเมืองเพื่อขอยกฐานะเป็นเมืองต่อไป พระพลราชวงศา ได้ไปตั้งรวมตัวเลขอยู่ ณ บ้านโนนหินกอง ในปีนี้ พระยาวิเศษภักดี (บุญจันทร์) เจ้าเมือง ไปไร่ซึ่งอยู่ข้างบ้านโนนจาน ได้ลงอาบน้ำที่แม่น้ำมูลจมน้ำตาย บ่าวไพร่ช่วยเหลือไม่ทัน ครั้นรุ่งขึ้นจึงพบศพ ครองเมืองย่าง 54 ปี

พุทธศักราช 2423 พระพรหมภักดี (โท) ยกกระบัตรเมือง บุตรพระยาวิเศษภักดีกับท้าวคำปานผู้ช่วยราชการเมือง ลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เพื่อแย่งกันขอเป็นเจ้าเมือง แต่พอไปถึงกรุงเทพมหานคร ท้าวคำปานก็ถึงแก่กรรมเสีย

พุทธศักราช 2424 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมตั้งพระพรหมภักดี (โท) ยกกระบัตรเมืองเป็นพระยาวิเศษภักดี เจ้าเมือง ถือศักดินา 3,000 ให้ท้าวเหง้าบุตรพระยาวิเศษภักดี (บุญจันทร์) เป็น พระภักดีโยธา ปลัดเมือง ถือศักดินา 600 ให้ราชวงศ์ปัญญาบุตรหลวงไชย (สุก) เป็น พระพรหมภักดี ยกกระบัตรเมือง ถือศักดินา 500 และท้าววิเศษบุตรพระยาวิเศษภักดี (โท) ได้เป็นผู้ช่วยราชการเมือง

ในปีนี้เจ้าเมืองและกรมการเมืองศรีสะเกษ ได้ขอตั้งบ้านโนนหินกอง เป็นเมืองราษีไศล ขึ้นแก่เมืองศรีสะเกษ ให้พระพลราชวงศา เป็น พระประจนปัจจนึก ผู้ว่าราชการเมืองราษีไศล ถือศักดินา 800 โปรดฯ ตั้งหลวงแสง (จัน) น้องชายพระประจนปัจจนึก เป็น หลวงหาญศึกพินาศ ปลัดเมือง ให้ท้าวคำเม็ก บุตรพระประจนปัจจนึก เป็น หลวงพิฆาตไพรี ยกกระบัตรเมือง

พุทธศักราช 2431 อุปฮาดเมืองสุวรรณภูมิ ในฐานะผู้รักษาเมืองและกรมการเมืองมีใบบอกกล่าวโทษเมืองมหาสารคาม เมืองสุรินทร์ เมืองศรีสะเกษ ว่าแย่งชิงเขตแขวงเมืองสุวรรณภูมิ ไปขอตั้งเป็นเมืองขึ้น คือ เมืองมหาสารคาม ขอตั้งบ้านนาเลา เป็น เมืองวาปีปทุม เมืองสุรินทร์ ขอตั้งบ้านทัพค่ายเป็น เมืองชุมพลบุรี เมืองศรีสะเกษขอตั้งบ้านโนนหินกองเป็น เมืองราษีไศล ได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ข้าหลวงเมืองนครจำปาศักดิ์และข้าหลวงเมืองอุบลราชธานี ไต่สวนว่ากล่าวเรื่องนี้ แม้ว่าจะไต่สวนได้ความจริง แต่ก็รื้อถอนไม่ไหว เพราะเมืองทั้ง 3 นี้ ได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งเป็นเมืองขึ้นแก่เมืองทั้งสามมาหลายปีแล้ว จึงเป็นอันโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้คงเป็นเมืองขึ้นของทั้ง 3 เมืองตามเดิม

พุทธศักราช 2438 ได้ย้ายเมืองราษีไศล มาตั้งอยู่ที่บ้านท่าโพธิ์ ตำบลเมืองคง (ปัจจุบันอยู่ในเขตเทศบาลตำบลเมืองคง)

พุทธศักราช 2443 เมื่อจัดการปกครองบริเวณถูกยุบลงเป็นอำเภอ เรียกชื่อว่า อำเภอราษีไศล ขึ้นกับเมืองศรีสะเกษ เมืองราษีไศลจึงหมดสภาพเป็นเมืองนับตั้งแต่นั้นมา

พุทธศักราช 2456 เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอคง โดยเอานามตำบลที่ตั้งเป็นชื่ออำเภอ

พุทธศักราช 2482 จึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอราษีไศล ตามเดิม เพราะต้องการอนุรักษ์ชื่อเมืองเดิมไว้

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอราษีไศลแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 13 ตำบล 190 หมู่บ้าน ได้แก่

1. เมืองคง (Mueang Khong) 15 หมู่บ้าน 8. บัวหุ่ง (Bua Hung) 18 หมู่บ้าน
2. เมืองแคน (Muang Khaen) 14 หมู่บ้าน 9. ไผ่ (Phai) 12 หมู่บ้าน
3. หนองแค (Nong Khae) 17 หมู่บ้าน 10. ส้มป่อย (Som Poi) 17 หมู่บ้าน
4. จิกสังข์ทอง (Chik Sang Thong) 10 หมู่บ้าน 11. หนองหมี (Nong Mi) 18 หมู่บ้าน
5. ด่าน (Dan) 13 หมู่บ้าน 12. หว้านคำ (Wan Kham) 13 หมู่บ้าน
6. ดู่ (Dui) 14 หมู่บ้าน 13. สร้างปี่ (Sang Pi) 12 หมู่บ้าน
7. หนองอึ่ง (Nong Aueng) 17 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอราษีไศลประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 14 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลเมืองคง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองคง (เฉพาะหมู่ที่ 1–4, 14)
  • เทศบาลตำบลบัวหุ่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบัวหุ่งทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลส้มป่อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลส้มป่อยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองคง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองคง (เฉพาะหมู่ที่ 5–13, 15)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองแคน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองแคนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแค ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแคทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลจิกสังข์ทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจิกสังข์ทองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลด่าน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลด่านทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดู่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดู่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองอึ่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองอึ่งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไผ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหมี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองหมีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหว้านคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหว้านคำทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสร้างปี่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสร้างปี่ทั้งตำบล

สถาบันทางการเงิน

แก้
  • ธนาคารกรุงเทพ สาขา ราษีไศล
  • ธนาคารออมสิน สาขา ราษีไศล
  • ธนาคารกรุงไทย สาขา ราษีไศล
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขา ราษีไศล

สถานที่ท่องเที่ยว

แก้

วัดที่สำคัญ

แก้
  • วัดป่าบ้านบาก
  • วัดกัลยาโฆสิตาราม
  • วัดเมืองคง
  • วัดใต้
  • วัดกลาง
  • วัดป่าโนนเวียงคำ
  • วัดป่ายางใหญ่
  • วัดกู่แก้ว 4 ทิศ

สายการเดินทางสายหลัก

แก้
  • ราษีไศล - ศรีสะเกษ (รถตู้ 60 นาที โดยประมาณ)
  • ราษีไศล - ศรีสะเกษ - อุบลราชธานี
  • ราษีไศล - ร้อยเอ็ด - มหาสารคาม
  • ราษีไศล - ยโสธร - ขอนแก่น - อุดรธานี - หนองคาย
  • ราษีไศล - สุรินทร์ - กรุงเทพมหานคร

สายการเดินทางสายรอง

แก้
  • ราษีไศล - โพนทราย - สุวรรณภูมิ
  • ราษีไศล - ส้มป่อยน้อย - อุทมพรพิสัย
  • ราษีไศล - ส้มป่อย - ยางชุมน้อย
  • ราษีไศล - พลไว - ฟ้าหยาด
  • ราษีไศล - ด่านนอกดง - ค้อวัง
  • ราษีไศล - ศิลาลาด - บ้านโพธิ์
  • ราษีไศล - บึงบูรพ์ - โพธิ์ศรีสุวรรณ
  • ราษีไศล - มหาชนะชัย - คำเขื่อนแก้ว
  • ราษีไศล - ยางชุมน้อย - กันทรารมย์
  • ราษีไศล - ห้วยขยุง - อุบลราชธานี

สถานศึกษา

แก้

โรงเรียนในเขตเมือง

แก้
  • โรงเรียนราษีไศล
  • โรงเรียนเมืองคง(คงคาวิทยา)
  • โรงเรียนอนุบาลราษีไศล
  • โรงเรียนเกศเกล้าวิทยา(เอกชน)
  • โรงเรียนบ้านบากเรือ

โรงเรียนมัธยมเขตนอกเมือง

แก้
  • โรงเรียนจินดาวิทยาคาร
  • โรงเรียนส้มป่อยพิทยาคม
  • โรงเรียนหวายคำวิทยา
  • โรงเรียนจิกสังข์ทองวิทยา
  • โรงเรียนเบญจประชาสรรค์
  • โรงเรียนไผ่งามพิทยาคม
  • โรงเรียนด่านอุดมศึกษา
  • โรงเรียนบ้านอีหนา(รัฐประชานุกูล)
  • โรงเรียนบ้านหนองหมีหัวดง(ประชาวิทยาคาร)
  • โรงเรียนเมืองแคนวิทยาคม
  • โรงเรียนบ้านกระเดาอุ่มแสง

สถาบันอาชีวศึกษา

แก้
  • วิทยาลัยเทคนิคราษีไศล
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการราษีไศล

แหล่งน้ำ

แก้
 
เขื่อนราษีไศล

อำเภอราษีไศลมีแหล่งน้ำสำคัญ คือ เขื่อนราษีไศล เป็นเขื่อนคอนกรีต มีบานประตูระบายน้ำ 7 บาน กั้นแม่น้ำมูลที่บ้านห้วย-บ้านดอนงูเหลือม เขื่อนเริ่มเก็บกักน้ำในปี พ.ศ. 2536 เขื่อนราษีไศล เริ่มเก็บกักน้ำในเดือนตุลาคม 2537 ซึ่งเขื่อนแห่งนี้มีประชาชนจำนวนมากในรับผลกระทบ และมีความขัดแย้งตั้งแต่เริ่มเปิดงาน จนถึงปัจจุบัน

งานประเพณีและงานประจำอำเภอราษีไศล

แก้
  • บุญบั้งไฟ
  • บุญแข่งเรือยาว (ชิงถ้วยพระราชทาน)
  • กีฬาอำเภอสานสัมพันธ์ (ชิงถ้วยพระราชทาน)
  • งานงิ้ว
  • งานสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์4ภาค
  • งานลอยกระทง
  • งานครบรอบวีรกรรมพระยากตะศิลา
  • งานรำครบรอบก่อตั้งเมืองราษีไศล ณ โรงเรียนราษีไศล
  • งานกีฬาราษีไศล ยูไนเต็ด (Rasisalai United)

อ้างอิง

แก้
  1. ราชบัณฑิตยสถาน. อ่านอย่างไร และ เขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2546.
  2. สภาวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ. ประวัติศาสตร์จังหวัดศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ : โรงพิมพ์ศรีสะเกษการพิมพ์, 2537.