เทศบาลเมืองศรีสะเกษ

เทศบาลเมืองในจังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย

เทศบาลเมืองศรีสะเกษ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประเภทเทศบาลเมือง ระดับเทศบาลขนาดใหญ่[2] มีพื้นที่ครอบคลุม 7 ตำบล ในเขตอำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ภายในเขตเทศบาลเป็นที่ตั้งหน่วยงานการบริหารของอำเภอเมืองศรีสะเกษ รวมทั้งเป็นที่ตั้งศูนย์กลางการบริหาร สถาบันการศึกษา สถานพยาบาลและสาธารณสุข เศรษฐกิจ ตลอดจนการคมนาคมขนส่งของจังหวัดศรีสะเกษ

เทศบาลเมืองศรีสะเกษ
ภาพมุมสูงเมืองศรีสะเกษ
ภาพมุมสูงเมืองศรีสะเกษ
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองศรีสะเกษ
ตรา
คำขวัญ: 
สังคมอยู่เย็น เป็นสุขร่วมกัน
ทม.ศรีสะเกษตั้งอยู่ในจังหวัดศรีสะเกษ
ทม.ศรีสะเกษ
ทม.ศรีสะเกษ
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองศรีสะเกษ
ทม.ศรีสะเกษตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทม.ศรีสะเกษ
ทม.ศรีสะเกษ
ทม.ศรีสะเกษ (ประเทศไทย)
พิกัด: 15°06′25″N 104°19′46″E / 15.10694°N 104.32944°E / 15.10694; 104.32944
ประเทศ ไทย
จังหวัดศรีสะเกษ
อำเภอเมืองศรีสะเกษ
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีฉัฐมงคล อังคสกุลเกียรติ
พื้นที่
 • ทั้งหมด36.66 ตร.กม. (14.15 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)[1]
 • ทั้งหมด41,246 คน
 • ความหนาแน่น1,125.09 คน/ตร.กม. (2,914.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04330102
ที่อยู่
สำนักงาน
987/39 ถนนขุขันธ์ ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ 33000
โทรศัพท์0 4562 0211-4
โทรสาร0 4562 0211
เว็บไซต์sisakettownmunicipality.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ แก้

เทศบาลเมืองศรีสะเกษเดิมชื่อว่า "เทศบาลเมืองขุขันธ์" จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 (87 ปี 146 วัน) มีพื้นที่ 3.26 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุม 2 ตำบล คือตำบลเมืองเหนือและตำบลเมืองใต้ ต่อมาได้มีการเปลื่ยนชื่อจังหวัดขุขันธ์ เป็นจังหวัดศรีสะเกษ จึงทำให้เทศบาลเมืองขุขันธ์ได้รับการเปลี่ยนชื่อตามพระราชกฤษฎีกามาเป็น "เทศบาลเมืองศรีสะเกษ"[3] ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2481 เป็นต้นมา

ในปี พ.ศ. 2530 ได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ พ.ศ. 2530 กำหนดขอบเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ (ใหม่) โดยขยายพื้นที่เขตเทศบาลจากเดิม 2 ตำบลออกไปครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของอีก 5 ตำบล ปัจจุบัน เทศบาลเมืองศรีสะเกษมีพื้นที่ครอบคลุม 7 ตำบล ในเขตอำเภอเมืองศรีสะเกษ รวม 36.66 ตารางกิโลเมตร

ภูมิศาสตร์ แก้

สภาพภูมิประเทศ แก้

 
แบบอาคารหอคอยเมืองศรีสะเกษและพิพิธภัณฑ์อารยธรรมสี่เผ่าไท

เทศบาลเมืองศรีสะเกษ ตั้งอยู่บนภูมิประเทศที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบลุ่มในเขตลุ่มแม่น้ำมูลตอนปลาย โดยตั้งอยู่ทางตอนใต้ของฝั่งแม่น้ำมูล ห่างจากชายฝั่งแม่น้ำมาทางทิศใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร ภูมิสัณฐานจัดเป็นแนวคันดินริมน้ำของลำน้ำสาขาแม่น้ำมูล ประกอบด้วยลำห้วยสำราญและลำห้วยแฮดซึ่งโอบล้อมเขตเทศบาลในทิศเหนือ ทิศตะวันออก ทิศใต้ และทิศตะวันตก นอกจากนั้น ยังมีลำน้ำย่อยซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของลำห้วยทั้งสองสายไหลหล่อเลี้ยงภายในพื้นที่เขตเทศบาล ลำน้ำย่อยดังกล่าวได้แก่ห้วยระกำ ห้วยปูน และห้วยน้ำคำ ทางตอนเหนือของเขตเทศบาลมีลักษณะเป็นเนินและที่ดอนสูงกว่าพื้นที่ทางตอนใต้

พื้นที่และอาณาเขต แก้

มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดใน 2 ตำบลคือตำบลเมืองเหนือ ตำบลเมืองใต้ และครอบคลุมบางส่วนในพื้นที่ตำบลอีก 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลซำ ตำบลหนองครก ตำบลหญ้าปล้อง ตำบลโพธิ์ และตำบลโพนข่า รวมพื้นที่ทั้งหมด 36.66 ตารางกิโลเมตร

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลโพธิ์และตำบลน้ำคำ
  • ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลซำ ตำบลหนองครก และตำบลโพนข่า
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลโพธิ์
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลหญ้าปล้อง

ตราสัญลักษณ์ แก้

 
อนุสาวรีย์พระนางศรีสระเกศ

พระนางศรีสระเกศ หมายถึง พระนางศรี ซึ่งปรากฏชื่อในตำนานเมืองศรีสะเกษ ว่าเป็นธิดาพญาขอม โดยพระนางเป็นผู้นำในการสร้างเมืองศรีสะเกษมาแต่ครั้งสมัยขอมโบราณ รูปพระนางศรีในอิริยาบถกำลังสระผม (เกศ) ดังกล่าวสอดคล้องกับเนื้อความตอนหนึ่งในตำนานว่าพระนางศรีได้ลงสรงน้ำและสระผม (เกษ) ในสระกำแพง ซึ่งเป็นบารายหรือสระน้ำประจำปราสาทสระกำแพงใหญ่และปราสาทสระกำแพงน้อย อันเป็นที่มาของชื่อเมืองว่า "ศรีสระเกศ" ในอดีต หรือ "ศรีสะเกษ" ในปัจจุบัน

โครงสร้างการบริหารและการปฏิบัติราชการ แก้

 
สำนักงานเทศบาลเมืองศรีสะเกษ
  • คณะเทศมนตรี ประกอบด้วยนายกเทศมนตรี ปัจจุบันคือนายฉัฐมงคล อังคสกุลเกียรติ ,รองนายกเทศมนตรี จำนวน 3 คน, เลขานุการนายกเทศมนตรี จำนวน 1 คน, ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี จำนวน 2 คน ทำหน้าที่ฝ่ายบริหาร
  • สภาเทศบาล ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลจำนวนทั้งหมด 18 คน ที่มาจากการเลือกตั้ง โดยดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติและควบคุมฝ่ายบริหาร ปัจจุบันประธานสภาเทศบาลคือนางลลิตา นวเลิศปรีชา รองประธานสภาเทศบาลคือนายนนทวัชร์ เกษชุมพล
  • โครงสร้างการปฏิบัติราชการ มีปลัดเทศบาล จำนวน 1 คน , รองปลัดเทศบาล จำนวน 2 คน และ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการบริหารงานเทศบาล จำนวน 1 คน ร่วมกันบังคับบัญชาพนักงานเทศบาลและพนักงานจ้างเทศบาล มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการควบคุมดูแลราชการประจำของเทศบาลให้เป็นไปตามนโยบาย ประกอบด้วยส่วนการบริหาร ดังนี้
    • สำนักปลัดเทศบาล : ฝ่ายอำนวยการ, ฝ่ายบริหารงานทั่วไป, ฝ่ายปกครอง, ฝ่ายป้องกันและรักษาความสงบ
    • สำนักการคลัง : ฝ่ายบริหารงานทั่วไป, ฝ่ายการเงินและบัญชี, ฝ่ายพัสดุและทรัพย์สิน, ฝ่ายพัฒนารายได้, ฝ่ายแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน
    • สำนักการช่าง : ฝ่ายบริหารงานทั่วไป, ส่วนควบคุมอาคารและผังเมือง, ส่วนควบคุมการก่อสร้าง, ส่วนการโยธา, ส่วนการช่างสุขาภิบาล
    • สำนักการศึกษา : ฝ่ายแผนงานและโครงการ,ฝ่ายการเจ้าหน้าที่, ฝ่ายกิจการโรงเรียน, ฝ่ายวิชาการ, ฝ่ายการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย, ฝ่ายส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม, ฝ่ายพัฒนาวิชาการ, ฝ่ายพัฒนานิเทศการศึกษา, ฝ่ายวิจัยและประเมินผลทางการศึกษา, ฝ่ายบริการทางการศึกษา
    • กองวิชาการและแผนงาน : ฝ่ายบริหารงานทั่วไป, ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ, ฝ่ายวิชาการและเผยแพร่วิชาการ, ฝ่ายนิติการ
    • กองสวัสดิการสังคม : ฝ่ายสังคมสงเคราะห์, ฝ่ายพัฒนาชุมชน, ฝ่ายส่งเสริมและสวัสดิการ
    • กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม : ฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข, ฝ่ายบริการและส่งเสริมการอนามัย
    • งานตรวจสอบภายใน
    • งานทะเบียนราษฎร
    • งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

ประชากรและกลุ่มชาติพันธุ์ แก้

ปัจจุบันเทศบาลเมืองศรีสะเกษมีประชากรจำนวนทั้งสิ้น 41,680 คน[4] จำแนกเป็น เพศชาย จำนวน 19,924 คน และเพศหญิง จำนวน 21,756 คน ซึ่งอาศัยอยู่ในหลังคาเรือนจำนวน 17,216 หลัง เป็นครอบครัวทั้งหมดจำนวน 17,253 ครอบครัว จัดเป็นเทศบาลเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่ง

กลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมในเขตเทศบาลคือกลุ่มชาติพันธุ์ลาว ซึ่งพูดภาษาลาว จัดเป็นภาษาถิ่นไทยอีสานภาษาหลักที่พูดกันแพร่หลายในกลุ่มประชากรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างไรก็ตาม จากอดีตจนถึงปัจจุบันมีการเคลื่อนย้ายของประชากรจากต่างถิ่นมาตั้งถิ่นฐานในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลายในพื้นที่เทศบาลแห่งนี้ ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาลาวและภาษาไทยภาคกลาง (ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาขร้า-ไท) และกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาในตระกูลภาษามอญ-เขมร ได้แก่ภาษาเขมรถิ่นไทย (คแมเลอหรือเขมรสูง) ภาษากูย (หรือกวย หรือส่วย) และภาษาเยอ [5]

 
ห้างสรรสินค้า ธุรกิจของนักลงทุนท้องถิ่นในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ

เทศบาลเมืองศรีสะเกษแบ่งเขตการปกครองออกเป็นชุมชนจำนวน 46 ชุมชน ได้แก่

  1. ชุมชนคุ้มกลาง
  2. ชุมชนโนนสวรรค์
  3. ชุมชนสะพานขาว
  4. ชุมชนหนองม่วง
  5. ชุมชนโนนเขวา
  6. ชุมชนโนนสำราญ
  7. ชุมชนหนองหล่ม
  8. ชุมชนหนองแดง
  9. ชุมชนพันทาน้อย
  10. ชุมชนโนนสำนักมิตรภาพ
  11. ชุมชนโนนทรายทอง
  12. ชุมชนหนองโพธิ์
  13. ชุมชนกุดหวาย
  14. ชุมชนโนนเค็ง
  15. ชุมชนเมืองใหม่สะพานขาว
  16. ชุมชนวัดเลียบ
  17. ชุมชนพันทาใหญ่
  18. ชุมชนไกรภักดี
  19. ชุมชนหัวนา
  20. ชุมชนป่าม่วง
  21. ชุมชนหนองอุทัย
  22. ชุมชนมงคลสมบัติ
  23. ชุมชนผดุงธรรม
  24. ชุมชนศรีสำราญ
  25. ชุมชนสวนสมเด็จ
  26. ชุมชนวัดหลวง
  27. ชุมชนหนองคู
  28. ชุมชนทุ่งนาดี
  29. ชุมชนหนองเม็ก
  30. ชุมชนเมืองเก่าหลักเมือง
  31. ชุมชนหนองยวน
  32. ชุมชนสนามบิน
  33. ชุมชนหนองยาง
  34. ชุมชนมารีหนองแคน
  35. ชุมชน ร.ส.พ.
  36. ชุมชนโนนหนามแท่ง
  37. ชุมชนต้นโก
  38. ชุมชนศรีนครลำดวน
  39. ชุมชนตลาดนอก
  40. ชุมชนหนองกะลา
  41. ชุมชนท่าเรือ
  42. ชุมชนหนองตะมะ
  43. ชุมชนศรีมงคล
  44. ชุมชนวัดเจียงอี
  45. ชุมชนวัดพระโต
  46. ชุมชนศิริทรัพย์ทวีโชค

การศึกษา แก้

เขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ เป็นศูนย์กลางทางการศึกษาของจังหวัดศรีสะเกษและพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยเป็นที่ตั้งของสถาบันการศึกษาทุกระดับตั้งแต่ระดับพื้นฐานถึงระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วยสถานศึกษาที่สำคัญในแต่ละระดับ ดังนี้

สาธารณสุข แก้

  • โรงพยาบาล จำนวน 3 แห่ง
  • โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
  • โรงพยาบาลศูนย์ศรีสะเกษ 788 เตียง
  • โรงพยาบาลเอกชน
  • โรงพยาบาลประชารักษ์เวชการ 66 เตียง
  • โรงพยาบาลพริ้นซ์ศรีสะเกษ
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข 5 แห่ง
  • คลินิกทางการแพทย์ 33 แห่ง

การพาณิชยกรรมและบริการ แก้

 
โรงแรมในเทศบาลเมืองศรีสะเกษ
 
โรงแรมในเทศบาลเมืองศรีสะเกษ
 
โรงแรมในเทศบาลเมืองศรีสะเกษ
 
โรงแรมในเทศบาลเมืองศรีสะเกษ

โครงสร้างและบริการสาธารณูปโภคพื้นฐาน แก้

การกีฬาและสันทนาการ แก้

  • สวนสาธารณะ 7 แห่ง
  • พื้นที่สีเขียวเพื่อภูมิทัศน์ 7 แห่ง
  • ลานกีฬากลางแจ้งพร้อมอุปกรณ์ออกกำลังกาย 21 แห่ง
  • สนามกีฬามาตรฐาน 2 แห่ง : 1. สนาม "ศรีนครลำดวน" สนามกีฬากลางจังหวัดศรีสะเกษ 2. สนามกีฬากลางจังหวัดศรีสะเกษ
     
    โรงแรมในเทศบาลเมืองศรีสะเกษ
  • สระว่ายน้ำมาตรฐานขนาด 50 เมตร 3 สระ
  • สระว่ายน้ำมาตรฐานขนาด 25 เมตร 2 สระ
  • สนามมวย 1 แห่ง
  • อาคารยิมเนเซียมและอินดอร์สเตเดี้ยม 15 แห่ง

สถานที่สำคัญและสถานที่ท่องเที่ยว แก้

สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ แก้

เป็นสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ แห่งแรกของประเทศ ที่รัฐบาลประกาศจัดตั้งขึ้นจำนวน 12 แห่ง เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในวโรกาสเจริญพระชนมายุครบ 80 พรรษา ใน พ.ศ. 2523 โดยมีมติเลือกพื้นที่ป่าธรรมชาติดั้งเดิมบริเวณนี้เพื่อดำเนินการปรับปรุงพัฒนาจัดตั้งเป็น "สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ" จนแล้วเสร็จและเปิดใน พ.ศ. 2524 บนเนื้อที่ 237 ไร่ ทั้งนี้ มูลนิธิสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ มีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานและระดมทุนทั้งเป็นค่าก่อสร้างและกองทุนสำหรับการดูแลรักษา โดยเป็นผู้ดูแลร่วมกับจังหวัดและท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งของสวน

สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของเขตเทศบาล เป็นสวนสาธารณะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเขตเมืองศรีสะเกษ มีความชุ่มชื้นและสมบูรณ์ตามธรรมชาติ แวดล้อมด้วยลำห้วยปูน ห้วยระกำ เป็นแหล่งอนุรักษ์สัตว์ป่าไทยและต่างประเทศหลายชนิด อาทิ ไก่ฟ้าหลายพันธุ์ กวาง เม่น นกกระจอกเทศ จระเข้ งู นกแร้ง เต่า ตลอดจนฮิปโปโปเตมัส และสัตว์อื่นๆ อีกจำนวนมาก สัตว์หลายชนิดเป็นสัตว์ป่าที่มีถิ่นอาศัยอยู่เดิมในพื้นที่ป่าอันเป็นที่ตั้งของสวน ซึ่งเปิดให้เข้าชมในลักษณะสวนสัตว์ขนาดย่อมสำหรับนักท่องเที่ยว ทั้งยังเป็นแหล่งทัศนศึกษาของนักเรียนนักศึกษาในจังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดใกล้เคียง

ลักษณะเด่นของสวนคือความเขียวชอุ่มด้วยสวนพฤกษศาสตร์ไม้ดอกนานาพรรณและไม้ยืนต้น อันเป็นพันธุ์ไม้พื้นถิ่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะ "ลำดวน" และ " ดอกลำดวน" ซึ่งถือเป็นต้นไม้และดอกไม้สัญลักษณ์ประจำจังหวัดศรีสะเกษ ที่ขึ้นหนาแน่นอยู่ในพื้นที่นี้จำนวนมากกว่า 50,000 ต้น ระหว่างเดือนมีนาคม เป็นช่วงที่ต้นลำดวนออกดอกบานสะพรั่งส่งกลิ่นหอมอบอวลทั้งในเขตสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ และพื้นที่เขตเทศบาลซึ่งมีต้นลำดวนปลูกอยู่ตามแนวถนนทุกสาย เทศบาลเมืองศรีสะเกษ ร่วมกับจังหวัดศรีสะเกษ ได้จัดให้มี"เทศกาลดอกลำดวนบาน สืบสานประเพณีสี่เผ่าไทยศรีสะเกษ" ขึ้นบริเวณสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ เป็นประจำทุกปี เป็นเทศกาลท่องเที่ยวที่ได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543

 
พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ภายในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ

พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี แก้

ใน พ.ศ. 2543 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในพระอิริยาบถประทับนั่ง ไว้ภายในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ บริเวณทางเข้า เพื่อเป็นราชสักการะและถวายพระเกียรติหลังการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จทรงประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ 22 มีนาคม

อนุสาวรีย์พระนางศรีสระเกศ แก้

ประดิษฐานอยู่ทางตอนเหนือของเขตเทศบาล บนถนนศรีสะเกษ ใกล้กับสถานีรถไฟศรีสะเกษและวัดมหาพุทธาราม (วัดพระโต) องค์พระนางศรี เป็นประติมากรรมรูปหล่อสร้างด้วยทองเหลืองรมดำ ประดิษฐานอยู่เหนือแท่นหินอ่อน บนฐานล่างทรงกลม รูปหล่อพระนางศรีประทับนั่งในอิริยาบถกำลังสระเกศ (เส้นผม) สอดคล้องกับนามเมือง "ศรีสระเกศ" หรือ "ศรีสะเกษ" ดังปรากฏในตำนานเมือง กล่าวว่าพระนางศรีผู้เป็นธิดาพญาขอม ได้เป็นผู้สร้างเมืองศรีสะเกษตั้งแต่ในสมัยอาณาจักรขอม พระนางศรีได้สรงน้ำและสระเกศ (ผม) ที่สระกำแพงซึ่งเป็นบารายหรือสระน้ำประจำเทวสถานสำคัญในสมัยนั้นคือปราสาทสระกำแพงใหญ่และปราสาทสระกำแพงน้อย จึงเป็นที่มาของชื่อ "ศรีสะเกษ" ("ศรีสระเกศ")

อนุสาวรีย์พระนางศรีสระเกศ เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนชาวศรีสะเกษ และถือเป็นสัญลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งของเมือง นอกจากนั้น บริเวณอนุสาวรีย์พระนางศรีสระเกศ เป็นที่รู้จักของชาวเทศบาลเมืองศรีสะเกษและประชาชนชาวศรีสะเกษโดยทั่วไปในชื่อ "วงเวียนแม่ศรี" หรือ "วงเวียนพระนางศรี" ซึ่งเป็นวงเวียนการจราจรอีกแห่งหนึ่งภายในเขตเทศบาล

อ้างอิง แก้

  1. รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองศรีสะเกษ ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
  2. ข้อมูลเทศบาลเมืองศรีสะเกษ ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2554 รวบรวมโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เข้าถึงออนไลน์ทาง http://www.thailocaladmin.go.th/work/apt/apt.jsp เก็บถาวร 2011-11-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามเทศบาลเมืองขุขันธ์ จังหวัดขุขันธ์ เป็นเทศบาลเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ พุทธศีกราช ๒๔๘๑ เก็บถาวร 2012-06-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 55 ตอน 0ก 6 มีนาคม พ.ศ. 2481
  4. ข้อมูลเทศบาลเมืองศรีสะเกษ ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2554 รวบรวมโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เข้าถึงออนไลน์ทาง http://www.thailocaladmin.go.th/work/apt/apt.jsp เก็บถาวร 2011-11-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. เทศบาลเมืองศรีสะเกษ.แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลเมืองศรีสะเกษ (พ.ศ. 2554-2559) .จัดทำโดยเทศบาลเมืองศรีสะเกษ, 2554.
  6. ข้อมูลการให้บริการน้ำประปาในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ ณ เดือนเมษายน 2554 จากการประปาส่วนภูมิภาคจังหวัดศรีสะเกษ
  7. ข้อมูลการให้บริการไฟฟ้าในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2554 จากกการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดศรีสะเกษ
  • เทศบาลเมืองศรีสะเกษ.แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลเมืองศรีสะเกษ (พ.ศ. 2554-2559) .จัดทำโดยเทศบาลเมืองศรีสะเกษ, 2554
  • เทศบาลเมืองศรีสะเกษ.แผนการดำเนินงานเทศบาลเมืองศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ 2555.จัดทำโดยเทศบาลเมืองศรีสะเกษ, 2554
  • เทศบาลเมืองศรีสะเกษ.แผนพัฒนาเทศบาลเมืองศรีสะเกษ ระยะสามปี (พ.ศ. 2555-2557) เพิ่มเติม ฉบับที่ 1.จัดทำโดยเทศบาลเมืองศรีสะเกษ, 2554

แหล่งข้อมูลอื่น แก้