โรงเรียนมารีวิทยา

โรงเรียนมารีวิทยา (อังกฤษ: Marywitthaya School, ย่อ: ม.ว., M.R.) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2503 โดยบาทหลวงสุเทพ นามวงศ์ โรงเรียนเอกชน สายสามัญศึกษาประเภทสหศึกษาสังกัดคณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี ขึ้นต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี เขต ๑ เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นปฐมวัย จนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และหลักสูตร Mini English Program ในระดับชั้นอนุบาล 2 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรุ่นแรกจบปีการศึกษา 2555 ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปราจีนบุรี ติดกับวัดอัครเทวดามีคาแอล ปราจีนบุรี ตรงข้ามกับโรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง และวิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรี ปัจจุบัน ซิสเตอร์ ดร.อัจฉรา สุขพิบูลย์ เป็นผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการ และผู้อำนวยการโรงเรียน

โรงเรียนมารีวิทยา
Marywitthaya School
ข้อมูล
ชื่ออื่นม.ว. (M.R.)
คติพจน์ปรัชญา : คุณธรรมนำการศึกษา เพื่อพัฒนาตนเองและสังคม
คำขวัญ : วินัยดี ศึกษาเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม
คติพจน์ : รัก เมตตา ซื่อสัตย์
สถาปนา5 มีนาคม พ.ศ. 2503
ผู้ก่อตั้งบาทหลวงสุเทพ นามวงศ์
เขตการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี เขต 1
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
สภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย
คณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี
รหัส25100003
ผู้อำนวยการซิสเตอร์ ดร.อัจฉรา สุขพิบูลย์
ระดับปีที่จัดการศึกษาชั้นปฐมวัย (อนุบาล) ถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย สหศึกษา
สี  ชมพู และ
  ขาว
เว็บไซต์www.maree.ac.th

ประวัติโรงเรียน

แก้

โรงเรียนมารีวิทยา ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2503 โดยบาทหลวงสุเทพ นามวงศ์ อธิการโบสถ์อัครเทวดามีคาแอลในขณะนั้น โดยอัญเชิญพระนามของพระนางมารีย์พรหมจารี องค์พระแม่ผู้ศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูคริสตเจ้ามาเป็นชื่อของโรงเรียน เพื่อให้ชุมชนเมืองปราจีนบุรี มีสถานที่สำหรับให้บุตรหลานของคริสตชนชนชาวพุทธ และศาสนิกอื่น ๆ ได้ศึกษาเล่าเรียนทั้งภาควิชาการ และมีสถานที่สำหรับอบรมบ่มนิสัย ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม เมื่อแรกเริมมีบาทหลวงสุเทพ นางวงศ์ และซิสเตอร์เกษร กิจทำ รับหน้าที่เป็นผู้จัดการและครูใหญ่

เมื่อแรกเริ่มก่อตั้ง โรงเรียนมารีวิทยา มีอาคารเรียนเพียง 1 หลัง แบ่งเป็น 3 ห้องเรียน เปิดสอนเพียงชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 มีนักเรียนทั้งที่เป็นลูกหลานชาวคริสต์และชาวพุทธเพียง 80 คน เมื่อเวลาผ่านไป ด้วยคุณภาพและความมุ่งมั่นตั้งใจของคณะซิสเตอร์และคณะครูผู้สอนทุกคน ทำให้การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนมารีวิทยาได้รับความเชื่อถือศรัทธาจากผู้ปกครองทั้งในชุมชนเมืองปราจีนบุรี และชุมชนใกล้เคียง นำบุตรหลานมาเข้าเรียนเพิ่มมากขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2505 โรงเรียนเปิดสอนถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีนักเรียน 270 คน ในปี พ.ศ. 2506 ต้องสร้างอาคารไม้เพิ่มอีกหนึ่งหลัง เพื่อให้เพียงพอรองรับนักเรียนที่เพิ่มมากขึ้นถึง 350 คน และในปี พ.ศ. 2507 ได้สร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 3 ชั้น อีกหนึ่งหลัง และในปี พ.ศ. 2517 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศรับรองวิทยฐานะโรงเรียนมารีวิทยา ให้มีศักดิ์และสิทธิเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาล ซึ่งขณะนั้นโรงเรียนมารีวิทยา เปิดทำการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และมีนักเรียนรวมทั้งสิ้น 1,215 คน ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ราชการได้อนุมัติให้โรงเรียนเปิดรับนักเรียนอายุตั้งแต่ 3 ขวบครึ่ง เพื่อเข้าเรียนในระดับอนุบาลได้

โรงเรียนมารีวิทยา ภายใต้การบริหารของคณะนักบวชหญิงของคณะรักกางเขน แห่ง จันทบุรี ที่ผลัดเปลี่ยนกันมาทำหน้าที่บริหารในตำแหน่งผู้จัดการและครูใหญ่ ได้เจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับ ในปี พ.ศ. 2529 ได้สร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 6 ชั้นอีกหนึ่งหลัง ใช้ชื่ออาคารว่า อาคาร 25 ปี ในปี พ.ศ. 2543 อันเป็นปีที่ครบรอบ 40 ปี สมาคมครู ผู้ปกครอง และศิษย์เก่าโรงเรียนมารีวิทยา ปราจีนบุรี ได้ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการ ในปี พ.ศ. 2546 โรงเรียนได้คืนพื้นที่อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 3 ชั้น ซึ่งมีอายุเกือบ 40 ปี แก่วัดอัครเทวดามีคาแอลเพื่อสร้างโบสถ์ใหม่ และได้สร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 6 ชั้น ใช้ชื่อว่า อาคารเซนต์โยเซฟ ในปี พ.ศ. 2547 ได้สร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 3 ชั้น ใช้ชื่อว่าอาคารเซนต์เมรี่ และเปิดทำการเรียนการสอนหลักสูตร Mini English Program (MEP) เป็นปีแรกในระดับชั้นอนุบาล 3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และในปี พ.ศ. 2548 ซึ่งเป็นปีที่ 45 ของการก่อตั้งโรงเรียน โรงเรียนมารีวิทยาได้รับอนุญาตให้เปิดการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ทั้งสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ และสายศิลปศาสตร์-ภาษาอังกฤษ-ภาษาจีนกลาง และได้มีการสอนภาษาจีนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเป็นปีแรกอีกด้วย

ปัจจุบัน

แก้

ในปัจจุบัน โรงเรียนมารีวิทยา ตั้งอยู่บนพื้นที่ 4 ไร่ ประกอบด้วยอาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 6 ชั้น จำนวน 2 อาคาร ได้แก่ อาคาร 25 ปี และอาคารเซนต์โยเซฟ ซึ่งภายในอาคารทั้งสองจะประกอบด้วยห้องเรียน ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ แล้ว ยังมีห้องประชุม ห้องสมุด โรงอาหาร ลานเอนกประสงค์ขนาดใหญ่ ธนาคารขยะรีไซเคิล ธนาคารโรงเรียน และห้องพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี นอกจากนี้ยังมีอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 3 ชั้น อีก 1 หลัง คือ อาคารเซนต์เมรี่ สำหรับเป็นอาคารอำนวยการ และใช้เป็นห้องเรียน ห้องสมุดและห้องปฏิบัติการสำหรับนักเรียนระดับชั้นอนุบาล และนักเรียนในหลักสูตร MEP เปิดทำการเรียนการสอนในระดับปฐมวัย ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีการจัดการสอนภาษาอังกฤษโดยครูชาวไทย ชาวอังกฤษ และชาวฟิลิปปินส์ที่เชี่ยวชาญ และมีการจัดการสอนภาษาจีนกลางโดยครูชาวจีน ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ยกเว้นชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์)

รายนามผู้บริหารโรงเรียนมารีวิทยา

แก้
ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 นางสาวเกษร กิจทำ พ.ศ. 2503-2509
2 นางสาวเพชรัตน์ เซ็ดเจริญ พ.ศ. 2510-2512
3 นางสาวปราณีต นามประดิษฐ์ พ.ศ. 2513
4 นางสาวมาลา ทัดมาลี พ.ศ. 2513-2515
5 นางสาวศรีไพร กระทอง (ครั้งที่ 1) พ.ศ. 2516-2517
6 นางสาวบุญศรี วิสุทธิอุทัยกุล (ครั้งที่ 1) พ.ศ. 2518-2519
7 นางสาวศรีไพร กระทอง (ครั้งที่ 2) พ.ศ. 2520-2523
8 นางสาวมลิวัลย์ กู้ชาติ พ.ศ. 2524-2525
9 นางสาวบุญศรี วิสุทธิอุทัยกุล (ครั้งที่ 2) พ.ศ. 2526-2527 (ครึ่งปีแรก)
10 นางสาวจำรัส อานามนารถ พ.ศ. 2527 (ครึ่งปีหลัง)
11 นางสาวพนิดา สุขสำราญ พ.ศ. 2528-2537
12 นางสาวสาลี่ ตันติกุล พ.ศ. 2538
13 นางสาววันทนา อโศกสกุล พ.ศ. 2539-2540
14 นางสาวศรีไพร กระทอง (ครั้งที่ 3) พ.ศ. 2541-2542
15 นางสาวลำยงค์ อุ้นวุ้น พ.ศ. 2543-2552
16 นางสาวอัจฉรา สุขพิบูลย์ พ.ศ. 2553-ปัจจุบัน

บุคคลที่มีชื่อเสียงที่จบจากโรงเรียนมารีวิทยา

แก้

วงการการเมือง

แก้

วงการบันเทิง

แก้

อ้างอิง

แก้
  • วารสารร่มพญาสัตบรรณ ฉบับพิเศษ "๔๕ ปี มารีวิทยา" ปีที่ ๑๒ ฉบับพิเศษที่ ๑๒ เดือนมกราคม ๒๕๔๙

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้