กนกวรรณ วิลาวัลย์
กนกวรรณ วิลาวัลย์[1](เกิด 27 มิถุนายน พ.ศ. 2509) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[2][1]อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย รองเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย[3] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี 1 สมัย
กนกวรรณ วิลาวัลย์ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 26 สิงหาคม พ.ศ. 2565 (3 ปี 47 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | อุดม คชินทร |
ถัดไป | สุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 27 มิถุนายน พ.ศ. 2509 อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ภูมิใจไทย |
คู่สมรส | ปกรณ์ ศรีจันทร์งาม |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเกริก |
ประวัติ
แก้กนกวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2509 ที่อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี มีชื่อเล่นว่า โอ๊ะ[4] เป็นบุตรีของนายสุนทร วิลาวัลย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรีหลายสมัย และนางสุภาภร วิลาวัลย์ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง[5] และปริญญาเอก จากคณะสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก
ด้านชีวิตครอบครัว สมรสกับนายปกรณ์ ศรีจันทร์งาม รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)[6] มีบุตร-ธิดา 3 คน[7]
การทำงาน
แก้กนกวรรณ เริ่มสนใจการเมืองจากการที่ได้ช่วยพ่อแม่หาเสียงมาตลอด จนกระทั่งปี 2543 ได้ลงสมัครและได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี เขตอำเภอกบินทร์บุรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 กนกวรรณได้รับตำแหน่งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี
ในปี พ.ศ. 2548 ได้ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี เขต 1 สังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในการเลือกตั้งครั้งนั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ได้รับเลือกตั้ง แต่การเลือกตั้งเป็นโมฆะ
ในระหว่างปี พ.ศ. 2550 - 2560 กนกวรรณเป็นอาจารย์พิเศษ วิชาการเมืองการปกครองไทย (Thai Politics Government) คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
จนกระทั่งและในปี พ.ศ. 2562 ได้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคภูมิใจไทย และได้รับแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย[8] รวมทั้งได้ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 16 สังกัดพรรคภูมิใจไทย ซึ่งในรอบแรกไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ จำนวน 14 ที่นั่ง ต่อมาเธอได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 62[1] และได้รับการเรียกขานจากสื่อมวลชนว่า "ครูโอ๊ะ"[9][10] จนกระทั่งในกลางปี พ.ศ. 2563 ได้มีการประกาศเลื่อนให้เธอดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อแทนนางนาที รัชกิจประการ ที่ถูกศาลฎีกามีคำพิพากษาชั้นวินิจฉัยอุทธรณ์ให้พ้นจากตำแหน่งตาม มาตรา 101 (13) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560[11][12] แต่ต่อมาไม่นานเธอได้ลาออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเปิดทางให้สุชาติ โชคชัยวัฒนากรได้เลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[13]
กนกวรรณ วิลาวัลย์ ต้องเผชิญกับข้อกล่าวหาเรื่องการบุกรุกป่าเขาใหญ่ จังหวัดปราจีนบุรี จนกระทั่งเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ศาลฎีการับคำร้องของ ป.ป.ช. กล่าวหาเธอฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงจากกรณีดังกล่าว พร้อมสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรี[14] ต่อมาศาลฎีกาพิพากษาว่าเธอมีความผิดตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ให้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดไป และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกําหนด 10 ปี[15]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ (ศรีจันทร์งาม) ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดปราจีนบุรี สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ (เลื่อนแทน) สังกัดพรรคภูมิใจไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2564 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[16]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[17]
เชิงอรรถ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี". ราชกิจจานุเบกษา. 10 กรกฎาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-07-10.
- ↑ ส่องประวัติ 'กนกวรรณ วิลาวัลย์' แม่ทัพสุดปัง สางปม 'สารสาสน์'
- ↑ 'ภูมิใจไทย' เคาะแล้ว 'กรรมการบริหารพรรค' ชุดใหม่
- ↑ รู้จักครูพี่โอ๊ะ ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รมช.ศธ.ผู้นำทัพเคลียร์ปมสารสาสน์
- ↑ ประวัตินางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- ↑ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒๑/๒๕๕๘ เรื่อง การกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง
- ↑ เส้นทางชีวิต 2 สตรี ว่าที่รมช. ดอกไม้เหล็ก เบ่งบานกลางโผ ครม.ประยุทธ์ 2/1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคภูมิใจไทย, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๒๒ ง หน้า ๒๐๗, ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๒
- ↑ “ครูโอ๊ะ” กนกวรรณ วิลาวัลย์ กับเส้นทางวิบากบนเก้าอี้รมต.
- ↑ ประวัติ "ครูพี่โอ๊ะ" ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รมช.ศธ.นำทัพสางปม "สารสาสน์"
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่องให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง เลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง, เล่ม ๑๓๗ ตอนพิเศษ ๒๐๐ ง หน้า ๓๐, ๑ กันยายน ๒๕๖๓
- ↑ ราชกิจจาฯแพร่ประกาศสภาฯ 'กนกวรรณ' เลื่อนลำดับเป็นส.ส.บัญชีรายชื่อแทน 'นาที'
- ↑ “กนกวรรณ” ยื่นไขก๊อก ส.ส.เปิดทาง “สุชาติ” เป็นผู้แทนแบบบัญชีรายชื่อ ภท.
- ↑ ศาลฎีกาสั่ง “กนกวรรณ วิลาวัลย์” รมช.ศึกษาฯ หยุดปฏิบัติหน้าที่ จนกว่าจะมีคำพิพากษา นัดพิจารณาคดีครั้งแรกวันที่ 5 ต.ค.นี้
- ↑ "จบชีวิตทางการเมือง! ศาลฎีกาพิพากษา 'กนกวรรณ' ผิดจริยธรรม คดีรุกป่าเขาใหญ่". สำนักข่าวอิศรา. 2023-02-22.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔