สุชาติ โชคชัยวัฒนากร

นายสุชาติ โชคชัยวัฒนากร (ชื่อเล่น : ต๋อย) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม สังกัดพรรคภูมิใจไทย

สุชาติ โชคชัยวัฒนากร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
15 มกราคม พ.ศ. 2553 – 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ก่อนหน้าประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ
ถัดไปพล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก
กิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด17 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 (66 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองภูมิใจไทย
คู่สมรสนงลักษณ์ โชคชัยวัฒนากร

ประวัติ แก้

นายสุชาติ เกิดเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 (66 ปี) เป็นบุตรของนายอาจิว นางกิมเฮียะ แซ่ตัน สมรสกับนางนงลักษณ์ โชคชัยวัฒนากร มีบุตรธิดา 3 คน คือ นางสาวฐิติรัตน์ โชคชัยวัฒนากร นายลัทธชัย โชคชัยวัฒนากร และ นางสาวฐิติมา โชคชัยวัฒนากร

นายสุชาติ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ และระดับปริญญาตรี สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

การทำงาน แก้

นายสุชาติ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรกในปี พ.ศ. 2529[1] เคยได้รับตำแหน่งทางการเมืองหลายตำแหน่ง ได้แก่ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กระทรวงอุตสาหกรรม เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ต่อมาภายหลังจากการลาออกของนายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ทำให้นายสุชาติ ได้รับตำแหน่งนี้แทน [2]

สุชาติ โชคชัยวัฒนากร เคยเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 ต่อมาได้ย้ายมาสังกัดพรรคประชาราช ในปี พ.ศ. 2550 และย้ายมาสังกัดพรรคพลังประชาชนในปีเดียวกัน จากนั้นในปี พ.ศ. 2552 จึงได้ย้ายมาสังกัดพรรคภูมิใจไทย

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย ลำดับที่ 16[3] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคได้รับที่นั่งในระบบบัญชีรายชื่อเพียง 5 ที่นั่งเท่านั้น

พ.ศ. 2562 เมื่อนางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ขอลาออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ ทำให้นายสุชาติ ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนนางกนกวรรณ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-24. สืบค้นเมื่อ 2010-01-15.
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี
  3. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคภูมิใจไทย)
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓

แหล่งข้อมูลอื่น แก้