ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ อุดม คชินทร (เกิด 17 สิงหาคม พ.ศ. 2497) ป็นแพทย์และนักวิชาการชาวไทย ประธานกรรมการ กรรมการอิสระ ประธานกรรมการบรรษัทภิบาลและการพัฒนาความยั่งยืน บริษัท อินเตอร์ ฟาร์มา จำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการสาธารณสุข อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[2] ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560[3] อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล[4] อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

อุดม คชินทร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
(1 ปี 166 วัน)
นายกรัฐมนตรีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าหม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล
ถัดไปกัลยา โสภณพนิช
กนกวรรณ วิลาวัลย์
สมาชิกวุฒิสภา
ดำรงตำแหน่ง
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
(286 วัน)
อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล
ดำรงตำแหน่ง
27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560
(2 ปี 186 วัน)
ก่อนหน้าศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน
ถัดไปศ.นพ.บรรจง มไหสวริยะ
คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2553 – พ.ศ. 2558
(5 ปี 0 วัน โดยประมาณ)
ก่อนหน้าศ.คลินิก นพ.ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์
ถัดไปศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด17 สิงหาคม พ.ศ. 2497 (70 ปี)[1]
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสนางกาญจนา คชินทร

ประวัติการศึกษา

แก้
  • พ.ศ. 2519 ระดับปริญญาตรี วทบ. (วิทยาศาสตร์การแพทย์) มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2521 ระดับปริญญาโท พบ. จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2525 ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงทางการแพทย์ จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  • พ.ศ. 2527 ระดับปริญญาเอก วว. อายุรศาสตร์ แพทยสภา
  • พ.ศ. 2531 - 2533 Certificate research fellowship training in Gastroenterology at University of California, San Diego, U.S.A.[5]

ประวัติการทำงาน

แก้
  • คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (9 ธ.ค. พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2558)
  • ประธานคณะกรรมการอำนวยการโรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ (9 ธ.ค. พ.ศ. 2554 – ปัจจุบัน)
  • หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล วาระที่ 1 (วันที่ 20 ก.พ. พ.ศ. 2548 – 19 ก.พ. พ.ศ. 2552), วาระที่ 2 (วันที่ 20 ก.พ. พ.ศ. 2552 – 8 ธ.ค. พ.ศ. 2554)
  • รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช (12 ธ.ค. พ.ศ. 2543 – 19 ก.พ. พ.ศ. 2548)
  • ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการศึกษาหลังปริญญา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (2 ธ.ค. พ.ศ. 2534 -11 ธ.ค. พ.ศ. 2543)[6]
  • อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2558 - 30 ก.ค. 2560)
  • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 - 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)[7][8]
  • ประธานกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการสาธารณสุข (พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน)

เกียรติประวัติ/รางวัลที่เคยได้รับ

แก้
  • หัวหน้าแพทย์ฝึกหัดโรงพยาบาลศิริราช พ.ศ. 2521 - 2522
  • แพทย์ประจำบ้านดีเด่น ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พ.ศ. 2524
  • หัวหน้าแพทย์ประจำบ้านภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พ.ศ. 2526 - 2527
  • Quality Person of the Year 2009 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พ.ศ. 2552
  • ศิษย์เก่าดีเด่นสมาคมศิษย์เก่าแพทย์ศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2554
  • ประธานการจัดประชุมวิชาการโรคระบบทางเดินอาหารภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค พ.ศ. 2555
  • บุคลากรดีเด่น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พ.ศ. 2555
  • ศิษย์เก่าดีเด่นบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2555
  • ศิษย์เก่าดีเด่นสมาคมศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2556
  • นักบริหารโรงพยาบาลดีเด่นแห่งชาติ พ.ศ. 2556
  • พระปฐมเจดีย์ทองคำ ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ต่อส่วนรวมด้านพระพุทธศาสนาอย่างเด่นชัด พ.ศ. 2557[9]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. กางประวัติ "ศ.คลินิก นพ.อุดม" นั่งอธการบดี "ม.มหิดล" คนใหม่
  2. ราชกิจจานุเบกษา, รัฐมนตรีลาออก, เล่มที่ ๑๓๖, ตอน พิเศษ ๑๑๘ ง, ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒, หน้า ๑
  3. "นายกฯ เซ็น ตั้ง 39 ผู้ทรงคุณวุฒิ ป.ย.ป.แล้ว คนดังเพียบ!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-19. สืบค้นเมื่อ 2017-07-31.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล], เล่มที่ ๑๓๒, ตอน พิเศษ ๕๑ ง, ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘, หน้า ๒๗
  5. "บุคคลคุณภาพแห่งปี 2014 ด้านสาธารณสุข ศ.คลินิก นายแพทย์ อุดม คชินทร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-03-30.
  6. "บุคคลคุณภาพแห่งปี 2014 ด้านสาธารณสุข ศ.คลินิก นายแพทย์ อุดม คชินทร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-03-30.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี เล่ม 134 ตอนพิเศษ 290 ง หน้า 1 24 พฤศจิกายน 2560
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี
  9. "บุคคลคุณภาพแห่งปี 2014 ด้านสาธารณสุข ศ.คลินิก นายแพทย์ อุดม คชินทร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-03-30.
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๔ ข หน้า ๑, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๑๗, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
ก่อนหน้า อุดม คชินทร ถัดไป
หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล    
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ครม. 61)
(23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)
  คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช
กนกวรรณ วิลาวัลย์