วุฒิสภาไทย ชุดที่ 12

วุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 (11 พฤษภาคม 2562 – ปัจจุบัน) เป็นสภาสูงของรัฐสภาไทย เป็นวุฒิสภาชุดแรกภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557

วุฒิสภาไทย ชุดที่ 12
ชุดที่ 11 ชุดที่ 13
ภาพรวม
เขตอำนาจประเทศไทย
ที่ประชุมสัปปายะสภาสถาน
วาระ11 พฤษภาคม 2562[a] – ปัจจุบัน
การเลือกตั้งการสรรหา
รัฐบาลคณะรัฐมนตรีประยุทธ์ 2
คณะรัฐมนตรีเศรษฐา
วุฒิสภา
สมาชิก250
ประธานพรเพชร วิชิตชลชัย
รองประธานคนที่ 1พลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร
รองประธานคนที่ 2ศุภชัย สมเจริญ
พรรคครอง  แต่งตั้ง (243)
  เป็นโดยตำแหน่ง (6)
  ว่าง (1)
สมัยประชุม
ที่ 122 พฤษภาคม 2562 – 19 กันยายน 2562
ที่ 21 พฤศจิกายน 2562 – 29 กุมภาพันธ์ 2563
ที่ 322 พฤษภาคม 2563 – 25 กันยายน 2563
ที่ 41 พฤศจิกายน 2563 – 28 กุมภาพันธ์ 2564
ที่ 522 พฤษภาคม 2564 – 18 กันยายน 2564
ที่ 61 พฤศจิกายน 2564 – 28 กุมภาพันธ์ 2565
ที่ 722 พฤษภาคม 2565 – 19 กันยายน 2565
ที่ 82 พฤศจิกายน 2565 – 28 กุมภาพันธ์ 2566
ที่ 93 กรกฎาคม 2566 – ปัจจุบัน
สมัยประชุมวิสามัญ
ที่ 117 – 21 ตุลาคม 2562
ที่ 226 – 27 ตุลาคม 2563
ที่ 317 – 18 มีนาคม 2564
ที่ 47 – 8 เมษายน 2564
ที่ 523 – 24 พฤษภาคม 2566

วุฒิสภาชุดนี้มีสมาชิก 250 คน มาจากการสรรหาโดย สมาชิกวุฒิสภา 244 คนมาจากการสรรหา สมาชิก 6 คนเป็นสมาชิกโดยตำแหน่ง ตามบทเฉพาะกาลมาตรา 269 ในรัฐธรรมนูญ มีอำนาจร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีและเร่งรัดการปฏิรูปประเทศของคณะรัฐมนตรีตลอดจนพิจารณากฎหมายที่เห็นว่าเกี่ยวข้อง

ที่มา แก้ไข

สมาชิกวุฒิสภามีจำนวน 250 คน เป็นโดยตำแหน่ง 6 คน ได้แก่ ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มาจากการคัดเลือกของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) 194 คน และมาจากการสรรหาใน 10 กลุ่มอาชีพ จำนวน 50 คน

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559 พลเอก ธีรชัย นาควานิช เลขาธิการ คสช.ในขณะนั้น เคยส่งหนังสือถึง มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ว่า "ไม่มีอำนาจเลือกหรือกำหนดตัวนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี แต่มีหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ" และ "อย่าได้หวาดระแวงว่าจะมีการสืบทอดอำนาจ คสช. ยินดีจะพ้นจากตำแหน่ง และยุติอำนาจหน้าที่ทั้งปวงตามกำหนดเวลาในโรดแมปและในร่างรัฐธรรมนูญ และจะไม่เข้ามาก้าวก่ายแทรกแซงการจัดการเลือกตั้งและการจัดตั้งรัฐบาลใหม่"[1]

อำนาจ แก้ไข

บทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ให้อำนาจสมาชิกวุฒิสภาพิจารณาบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรีร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทำให้นายกรัฐมนตรีต้องได้เสียงเห็นชอบเกิน 376 เสียงขึ้นไป นอกจากนี้ สมาชิกวุฒิสภายังมีอำนาจพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปประเทศ 11 ด้าน เช่น การเมือง การศึกษา กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม เศรษฐกิจ การถือครองที่ดิน และระบบหลักประกันสุขภาพ ร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยที่คณะรัฐมนตรีต้องระบุว่ากฎหมายฉบับใดเข้าข่ายดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ถ้าสมาชิกวุฒิสภา 50 คนขึ้นไปเห็นว่ากฎหมายใดที่คณะรัฐมนตรีไม่ได้ระบุว่าเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปประเทศ แต่ตนเห็นว่าเกี่ยวข้อง สามารถยื่นให้ประธานรัฐสภาวินิจฉัยได้ ซึ่งหากเกี่ยวข้องก็จะสามารถร่วมพิจารณากฎหมายดังกล่าวได้[2]

การดำเนินงาน แก้ไข

ในรอบ 1 ปีของวุฒิสภาชุดนี้ ไอลอว์ตั้งข้อสังเกตว่าสมาชิกลงมติผ่านทั้งหมด 145 มติที่เข้าสู่วุฒิสภา พบว่ามีค่าเฉลี่ยการลงมติเห็นชอบร้อยละ 96.1 ที่สมาชิกทั้งหมดออกเสียงไปในทิศทางเดียวกัน และพบว่าสมาชิกวุฒิสภากลุ่มอาชีพออกเสียงไม่แตกต่างจากสมาชิกวุฒิสภาจากการแต่งตั้ง[3]

ในรอบ 3 ปีของวุฒิสภาชุดนี้ พบว่าใช้งบประมาณไปแล้ว 2 พันล้านบาท ผ่านกฎหมาย 35 ฉบับ แต่ในปีแรกวุฒิสภาพิจารณากฎหมายเพียง 5 ฉบับ[4] ในช่วง 3 ปี วุฒิสภาตีกลับร่างกฎหมาย 4 ฉบับรวมทั้งร่างพระราชบัญญัติพืชกระท่อม ซึ่งทำให้ต้องตั้งคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อปรับแก้ไขและทำให้การผ่านกฎหมายล่าช้าออกไป[4]

ไอลอว์รายงานว่า เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 วุฒิสภาชุดนี้ผ่านกฎหมายกว่า 40 ฉบับ และออกเสียงไปในทิศทางเดียวกันถึงร้อยละ 98 โดยเฉพาะร่างกฎหมายที่พรรคฝ่ายรัฐบาลเสนอ[5]

ในปี 2565 วุฒิสภาชุดนี้ไม่เห็นชอบให้ศาสตราจารย์ ดร.อารยะ ปรีชาเมตตา เมธีวิจัยอาวุโส สกว. เป็นกรรมการ ป.ป.ช. และยังมีมติไม่ให้เปิดเผยบันทึกการประชุมกับรายงานลับ แต่แหล่งข่าวระบุว่า เป็นเพราะเขามีแนวคิดตรงข้ามกับอนุรักษนิยม[6]ต่อมาในปี 2566 วุฒิสภาชุดนี้ไม่เห็นชอบ สถาพร วิสาพรหม เป็นกรรมการ ป.ป.ช.

สมาชิก แก้ไข

สมาชิกวุฒิสภา 250 คน ประกอบด้วยทหารและตำรวจรวม 104 คน สมาชิกเกือบครึ่งมาจากองค์การตามรัฐธรรมนูญที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติจัดตั้งขึ้น (สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาปฏิรูปแห่งชาติ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ คณะรัฐมนตรีประยุทธ์ 1 และสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ) ทั้งยังมีอดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคพลังประชารัฐ และเครือญาตินักการเมืองพรรคพลังประชารัฐและพรรคประชาธิปัตย์[7]

พบสมาชิกวุฒิสภาชุดนี้แต่งตั้งญาติเป็นคณะทำงาน 50 คน บางส่วนใช้วิธีการ "ฝากเลี้ยง" คือสมาชิกวุฒิสภาคนหนึ่งให้ญาติของตนเป็นคณะทำงานสมาชิกคนอื่น นอกจากนี้ยังพบว่ามีทหาร-ตำรวจอยู่ในชื่อคณะทำงานอีก 493 คนจากทั้งหมด 1,830 คน ระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 มีการจ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนให้กับ ส.ว. และคณะทำงานไปแล้วอย่างน้อย 2.23 พันล้านบาท[8]

รายชื่อสมาชิกวุฒิสภา แก้ไข

มีรายชื่อดังนี้

ดำรงตำแหน่ง รายนาม หมายเหตุ
สมาชิกวุฒิสภา พลเอก กนิษฐ์ ชาญปรีชญา  
กรรณภว์ ธนภรรคภวิน  
พลตรี กลชัย สุวรรณบูรณ์  
กล้านรงค์ จันทิก  
กษิดิศ อาชวคุณ  
กอบกุล อาภากร ณ อยุธยา  
ศาสตราจารย์ (พิเศษ) กาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์  
กำพล เลิศเกียรติดำรงค์  
กิตติ วะสีนนท์  
กิตติศักดิ์ รัตนวราหะ  
กูรดิสถ์ จันทร์ศรีชวาลา  
เกียว แก้วสุทอ  
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์  
ขวัญชาติ วงศ์ศุภรานันต์  
คำนูณ สิทธิสมาน  
จเด็จ อินสว่าง  
จรินทร์ จักกะพาก  
พลโท จเรศักณ์ อานุภาพ  
พลตำรวจโท จิตติ รอดบางยาง  
จินตนา ชัยยวรรณาการ  
จิรชัย มูลทองโร่ย  
จิรดา สงฆ์ประชา  
พลเอก จิรพงศ์ วรรณรัตน์  
พลเอก จีระศักดิ์ ชมประสพ  
นายแพทย์ เจตน์ ศิรธรานนท์  
เจน นำชัยศิริ  
ฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร  
พลเอก ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข  
พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ  
เฉลา พวงมาลัย  
พลอากาศตรี เฉลิมชัย เครืองาม  
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ  
เฉลิมชัย เฟื่องคอน  
เฉลียว เกาะแก้ว  
ชยุต สืบตระกูล   ถูกศาลฎีกาพิพากษาให้จำคุกระหว่างดำรงตำแหน่ง
พลเอก ชยุติ สุวรรณมาศ  
ชลิต แก้วจินดา  
พลตำรวจเอก ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์  
พลเรือเอก ชัยวัฒน์ เอี่ยมสมุทร  
ดร. ชาญวิทย์ ผลชีวิน  
พลเอก ชาตอุดม ติตถะสิริ  
พลเรือเอก ชุมนุม อาจวงษ์   ถึงแก่อนิจกรรม 8 ส.ค. พ.ศ. 2565[9]
พลเอก เชวงศักดิ์ ทองสลวย  
ว่าที่ร้อยตรี เชิดศักดิ์ จำปาเทศ  
เชิดศักดิ์ สันติวรวุฒิ  
ซากีย์ พิทักษ์คุมพล  
พลเรือเอก ฐนิฐ กิตติอำพน  
พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย  
ณรงค์ รัตนานุกูล  
นายแพทย์ ณรงค์ สหเมธาพัฒน์  
ณรงค์ อ่อนสอาด  
พลเอก ดนัย มีชูเวท  
ดวงพร รอดพยาธิ์  
ดาวน้อย สุทธินิภาพันธ์  
ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม  
ดุสิต เขมะศักดิ์ชัย  
พลตำรวจเอก เดชณรงค์ สุทธิชาญบัญชา  
พลตำรวจโท ตรีทศ รณฤทธิวิชัย  
พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง  
ตวง อันทะไชย  
พลเอก ไตรโรจน์ ครุธเวโช  
ถนัด มานะพันธุ์นิยม  
ถวิล เปลี่ยนศรี  
ถาวร เทพวิมลเพชรกุล  
พลอากาศเอก ถาวร มณีพฤกษ์  
ทรงเดช เสมอคา  
พลเอก ทวีป เนตรนิยม  
ทวีวงษ์ จุลกมนตรี  
ทัศนา ยุวานนท์  
ศาสตราจารย์ ดร. ร้อยเอก ทินพันธุ์ นาคะตะ  
พลเอก เทพพงศ์ ทิพยจันทร์  
พลเอก ธงชัย สาระสุข  
พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร  
พลเอก ธวัชชัย สมุทรสาคร  
ธานี สุโชดายน  
ธานี อ่อนละเอียด  
พลเอก ธีรเดช มีเพียร  
นายแพทย์ ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์   ลาออก 30 สิงหาคม พ.ศ. 2562
พลเรือเอก นพดล โชคระดา  
พลเอก นพดล อินทปัญญา  
พลเอก นาวิน ดำริกาญจน์  
นิพนธ์ นาคสมภพ  
พลเอก นิวัตร มีนะโยธิน  
ศาสตราจารย์ นิสดารก์ เวชยานนท์  
นิอาแซ ซีอุเซ็ง  
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์  
บรรชา พงศ์อายุกูล  
พลเอก บุญธรรม โอริส  
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุญส่ง ไข่เกษ  
พลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์  
ร้อยเอก หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล  
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง  
ประดิษฐ์ เหลืองอร่าม  
ประภาศรี สุฉันทบุตร  
ประมนต์ สุธีวงศ์  
ประมาณ สว่างญาติ  
ร้อยเอก ประยุทธ เสาวคนธ์  
ประยูร เหล่าสายเชื้อ  
พลเอก ประสาท สุขเกษตร  
รองศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ  
พลตำรวจตรี ปรัชญ์ชัย ใจชาญสุขกิจ  
พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา  
ปรีชา บัววิรัตน์เลิศ  
ปัญญา งานเลิศ  
พลเอก ปัฐมพงศ์ ประถมภัฏ  
ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ  
ปิยฉัฏฐ์ วันเฉลิม  
ปิยพันธุ์ นิมมานเหมินท์  
พลเอก โปฎก บุนนาค  
ผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ  
คุณหญิง พรทิพย์ โรจนสุนันท์  
ศาสตราจารย์ (พิเศษ) พรเพชร วิชิตชลชัย  
นายแพทย์ พลเดช ปิ่นประทีป  
พลเรือเอก พะจุณณ์ ตามประทีป  
พลเรือเอก พัลลภ ตมิศานนท์  
พิกุลแก้ว ไกรฤกษ์  
พิทักษ์ ไชยเจริญ  
พลเอก พิศณุ พุทธวงศ์  
พิศาล มาณวพัฒน์  
พลตำรวจโท พิสัณห์ จุลดิลก  
พลเอก พิสิทธิ์ สิทธิสาร  
พีระศักดิ์ พอจิต  
เพ็ญพักตร์ ศรีทอง  
พลเอก ไพชยนต์ ค้าทันเจริญ  
ไพฑูรย์ หลิมวัฒนา  
ไพโรจน์ พ่วงทอง  
พลเอก ไพโรจน์ พานิชสมัย  
ภัทรา วรามิตร  
นายกองเอก ภาณุ อุทัยรัตน์  
มณเฑียร บุญตัน  
พลอากาศเอก มนัส รูปขจร   ลาออก 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
มหรรณพ เดชวิทักษ์  
พลเอก มารุต ปัชโชตะสิงห์  
พันตำรวจตรี ยงยุทธ สาระสมบัติ  
พลเอก ยอดยุทธ บุญญาธิการ  
พันตำรวจเอก ยุทธกร วงเวียน  
ยุทธนา ทัพเจริญ  
รณวริทธิ์ ปริยฉัตรตระกูล  
ระวี รุ่งเรือง   พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ[10]
เรณู ตังคจิวางกูร   ลาออก 12 กรกฎาคม 2566
ลักษณ์ วจนานวัช  
พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช  
พลเอก เลิศฤทธิ์ เวชสวรรค์  
วงศ์สยาม เพ็งพานิชภักดี  
พลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร  
วรารัตน์ อติแพทย์  
พลเอก วราห์ บุญญะสิทธิ์  
พลเอก วลิต โรจนภักดี  
พลเอก วสันต์ สุริยมงคล  
พลเอก วัฒนา สรรพานิช  
วันชัย สอนศิริ  
วัลลภ ตังคณานุรักษ์  
พลเอก วิชิต ยาทิพย์  
วิทยา ผิวผ่อง  
พลเอก วินัย สร้างสุขดี  
พลตำรวจโท วิบูลย์ บางท่าไม้  
วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์  
วิรัตน์ เกสสมบูรณ์  
วิไลลักษณ์ อรินทมะพงษ์  
วิวรรธน์ แสงสุริยะฉัตร  
วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ   ลาออก 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2565
วีระศักดิ์ ฟูตระกูล  
วีระศักดิ์ โควสุรัตน์  
วีระศักดิ์ ภูครองหิน  
พลเอก วีรัณ ฉันทศาสตร์โกศล  
วุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์  
ศรีศักดิ์ วัฒนพรมงคล  
ศักดิ์ชัย ธนบุญชัย  
ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร  
พลเรือเอก ศักดิ์สิทธิ์ เชิดบุญเมือง  
พลตำรวจโท ศานิตย์ มหถาวร  
ศิรินา ปวโรฬารวิทยา  
พลเรือเอก ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ  
ดร. ศุภชัย สมเจริญ  
พลเอก ศุภรัตน์ พัฒนาวิสุทธิ์  
พลเอก สกนธ์ สัจจานิตย์  
พลเอก สกล ชื่นตระกูล   ถึงแก่อนิจกรรม 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565
หม่อมหลวง สกุล มาลากุล  
สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์  
พลเรือโท สนธยา น้อยฉายา  
พลเอก สนธยา ศรีเจริญ  
พลเอก สนั่น มะเริงสิทธิ์  
ศาสตราจารย์ สม จาตุศรีพิทักษ์  
พลเอก สมเจตน์ บุญถนอม  
สมชาย ชาญณรงค์กุล  
สมชาย เสียงหลาย  
ดร.สมชาย แสวงการ  
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (พิเศษ) สมชาย หาญหิรัญ  
สมเดช นิลพันธุ์  
พลตำรวจโท สมบัติ มิลินทจินดา  
สมบูรณ์ งามลักษณ์  
สมพล เกียรติไพบูลย์  
สมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ  
พลตำรวจโท สมหมาย กองวิสัยสุข  
พลเอก สมหมาย เกาฏีระ  
พลเอก สราวุฒิ ชลออยู่  
สวัสดิ์ สมัครพงศ์  
พลเอก สสิน ทองภักดี  
รองศาสตราจารย์ สังศิต พิริยะรังสรรค์  
สัญชัย จุลมนต์  
สาธิต เหล่าสุวรรณ  
สำราญ ครรชิต  
พลเอก สำเริง ศิวาดารงค์  
พลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร  
พลอากาศเอก สุจินต์ แช่มช้อย  
สุชัย บุตรสาระ  
นายกองเอก สุธี มากบุญ  
สุนี จึงวิโรจน์  
สุรชัย ดนัยตั้งตระกูล
สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย  
พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์  
สุรเดช จิรัฐิติเจริญ  
พลเอก สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์  
พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์  
สุรสิทธิ์ ตรีทอง  
สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ  
สุวรรณ เลิศปัญญาโรจน์  
สุวรรณี สิริเวชชะพันธ์  
เสรี สุวรรณภานนท์  
พลเอก อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์  
พลอากาศเอก อดิศักดิ์ กลั่นเสนาะ  
พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว  
พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์  
อนุมัติ อาหมัด   ลาออก 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
อนุศักดิ์ คงมาลัย  
อนุศาสน์ สุวรรณมงคล  
อภิรดี ตันตราภรณ์  
อมร นิลเปรม  
ออน กาจกระโทก  
พลเอก อักษรา เกิดผล  
อับดุลฮาลิม มินซาร์  
พลเอก อาชาไนย ศรีสุข  
พลโท อำพน ชูประทุม  
นายแพทย์ อำพล จินดาวัฒนะ  
พลเรือเอก อิทธิคมน์ ภมรสูต  
ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ อุดม คชินทร   ลาออก 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 [11]
อุดม วรัญญูรัฐ  
พลเอก อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์  
อุปกิต ปาจรียางกูร  
พลเอก อู้ด เบื้องบน  
พลตรี โอสถ ภาวิไล  
ดอน ปรมัตถ์วินัย ข้าม
อภิชาติ โตดิลกเวชช์   แทนนายแพทย์ธีระเกียรติ[12]เริ่มดำรงตำแหน่ง 30 ตุลาคม พ.ศ. 2562[13]
จัตุรงค์ เสริมสุข   เริ่มดำรงตำแหน่ง 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 (แทนนายชยุต)[14]
ประสิทธิ์ ปทุมารักษ์   เริ่มดำรงตำแหน่ง 15 มิถุนายน พ.ศ. 2563 (แทนศ.เกียรติคุณนายแพทย์อุดม)[15]
วิวัฒน์ ศัลยกำธร ข้าม
วิชัย ทิตตภักดี   เริ่มดำรงตำแหน่ง 5 กันยายน พ.ศ. 2563 (แทนนายระวี)[16]
สุวัฒน์ จิราพันธุ์   เริ่มปฏิบัติหน้าที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 (แทนพล.อ.อ.มนัส) [17]
พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล ข้าม
พันตำรวจเอก จรุงวิทย์ ภุมมา   เริ่มปฏิบัติหน้าที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 (แทนนายอนุมัติ) [18]
ลือชา การณ์เมือง ข้าม
อนุสิษฐ คุณากร   เริ่มปฏิบัติหน้าที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 (แทนนายวิสุทธิ์)
พลตำรวจโท อำนวย นิ่มมะโน   ลาออกก่อนโปรดเกล้า
ประพันธ์ คูณมี   เริ่มปฏิบัติหน้าที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2565
อนุพร อรุณรัตน์   เริ่มปฏิบัติหน้าที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2566
พลเอก พหล สง่าเนตร   เริ่มปฏิบัติหน้าที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2566
พลเรือเอก ประสาน สุขเกษตร   รอโปรดเกล้า

สมาชิกวุฒิสภาโดยตำแหน่ง แก้ไข

สำหรับสมาชิกวุฒิสภาโดยตำแหน่ง 6 คน มีรายชื่อดังนี้

ดำรงตำแหน่ง รายนาม หมายเหตุ
ปลัดกระทรวงกลาโหม พลเอก ณัฐ อินทรเจริญ   พ้นจากตำแหน่ง 30 กันยายน พ.ศ. 2564
พลเอก วรเกียรติ รัตนานนท์   2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 - 30 กันยายน พ.ศ. 2565
พลเอก สนิธชนก สังขจันทร์   7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 - 30 กันยายน พ.ศ. 2566
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี   พ้นจากตำแหน่ง 30 กันยายน 2563
พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์   เริ่มดำรงตำแหน่ง 6 ธันวาคม พ.ศ. 2563[19][b] - 30 กันยายน พ.ศ. 2566
ผู้บัญชาการทหารบก พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์   พ้นจากตำแหน่ง 30 กันยายน พ.ศ. 2563
พลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้   พ้นจากตำแหน่งตำแหน่ง 12 กันยายน พ.ศ. 2566[c]
ผู้บัญชาการทหารเรือ พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์   พ้นจากตำแหน่ง 30 กันยายน พ.ศ. 2563
พลเรือเอก ชาติชาย ศรีวรขาน   6​ ธันวาคม​ ​พ.ศ. 2563 -​ 30​ กันยายน​ พ.ศ. 2564
พลเรือเอก สมประสงค์ นิลสมัย   2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 - 30 กันยายน พ.ศ. 2565
พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์   7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 - 30 กันยายน พ.ศ. 2566
ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลอากาศเอก ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน   พ้นจากตำแหน่ง 30 กันยายน พ.ศ. 2562[d]
พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์   30​ ตุลาคม ​พ.ศ. 2562​ -​ 30​ กันยายน​ พ.ศ. 2563[e]
พลอากาศเอก แอร์บูล สุทธิวรรณ   6​ ธันวาคม​ ​พ.ศ. 2563 -​ 30​ กันยายน​ พ.ศ. 2564​
พลอากาศเอก นภาเดช ธูปะเตมีย์   2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 - 30 กันยายน พ.ศ. 2565
พลอากาศเอก อลงกรณ์ วัณณรถ   7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 - 30 กันยายน พ.ศ. 2566
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พลตำรวจเอก จักรทิพย์ ชัยจินดา   พ้นจากตำแหน่ง 30 กันยายน พ.ศ. 2563
พลตำรวจเอก สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข   6 ธันวาคม พ.ศ. 2563 - 30 กันยายน พ.ศ. 2565
พลตำรวจเอก ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์   7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565[f] - 30 กันยายน พ.ศ. 2566

รายชื่อสำรอง แก้ไข

ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 1/2562 เรื่อง การกำหนดรายชื่อบุคคลสำรอง สำหรับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561[20] หรือ "สว.สำรอง กลุ่มอาชีพ" ได้ประกาศรายชื่อสำรอง ดังนี้

  1. จัตุรงค์ เสริมสุข --> ได้รับแต่งตั้ง 19 พ.ย. พ.ศ. 2562
  2. กฤษฎา ให้วัฒนานุกูล
  3. วรินทร์ เทียมจรัส
  4. พัชรินทร์ ดีสวัสดิ์
  5. พลอากาศเอก ณพฤษภ์ มัณฑะจิตร
  6. มงคล สุขเจริญคณา
  7. นฤมล โกวิน
  8. แดน ปรีชา
  9. รังสรรค์ หันสันเทียะ
  10. พิชัย อุตมาภินันท์
  11. ยุทธนา เกียรติดำเนินงาม
  12. สุรจิต ชิรเวทย์
  13. ภาณุพงษ์ เต็งวงษ์วัฒนะ
  14. สุรชัย ปิตุเตชะ
  15. สากล ภูลศิริกุล
  16. เทอดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา
  17. อำนวย แหยมยินดี
  18. ว่าที่ร้อยตรี วัลลภ วัชรอำมาตย์
  19. ณรงค์ ดวงจันทร์
  20. กัณฐัศ กุลวานิช
  21. บุญพา ลิมปะพันธุ์
  22. สุภาภรณ์ นิรมาณการย์
  23. ศิริชัย ปิติเจริญ
  24. วิเชียร รุจิธำรงกุล
  25. สุนทร วัฒนาพร
  26. สวัสดิ์ กฤตรัชตนันต์
  27. สุกฤษฎิ์ชวิศ สฤษฎ์คุณัชญ์
  28. เมฆินทร์ เมธาวิกูล
  29. ถาวร มงคลเคหา
  30. องค์กร อมรสิรินันท์
  31. เติมศักดิ์ บุญชื่น
  32. ปรีชา เมืองพรหม
  33. โกวิทย์ ทรงคุณ
  34. ศักดิ์ตระกูล เลี้ยงประเสริฐ
  35. วสวัตติ์ กฤษศิริธีรภาคย์
  36. ดุสิต ลีลาภัทรพันธุ์
  37. ชลธิชา ศรีสุข
  38. ชาลี ตั้งจีรวงษ์
  39. กิตติ โกสินสกุล
  40. ประเสริฐ หวังรัตนปราณี
  41. พลตรี พงษ์ศักดิ์ วงษ์สวรรค์
  42. ยุพา วงศ์ไชย
  43. โฉมยง ประทีปอุษานนท์ ทวีทรัพย์
  44. พงศ์พันธ์ สินผดุง
  45. ณัฏฐ์พัฒน์ ปัตตายะโก
  46. รศ. ดร.เสรี ศุภราทิตย์
  47. ภัสพลภ์ ชัยสุริยาทวิกูล
  48. อรุณี ลิ้มมณี
  49. พิเชฐ คูหาทอง
  50. รุ่งศักดิ์ สันตินันตรักษ์

ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 2/2562 เรื่อง เรื่อง ประกาศรายชื่อบุคคลสำรอง สำหรับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560[21] หรือ "สว.สำรอง กลุ่มที่ คสช.คัดเลือก" ได้ประกาศรายชื่อสำรอง ดังนี้

  1. ดอน ปรมัตถ์วินัย
  2. อภิชาติ โตดิลกเวชช์ --> ได้รับแต่งตั้งแล้ว
  3. ประสิทธิ์ ปทุมารักษ์ --> ได้รับแต่งตั้งแล้ว
  4. วิวัฒน์ ศัลยกำธร
  5. วิชัย ทิตตภักดี --> ได้รับแต่งตั้งแล้ว
  6. สุวัฒน์ จิราพันธ --> ได้รับแต่งตั้งแล้ว
  7. ชัยชาญ ช้างมงคล
  8. จรุงวิทย์ ภุมมา --> ได้รับแต่งตั้งแล้ว
  9. ลือชา การณ์เมือง
  10. อนุสิษฐ คุณากร --> ได้รับแต่งตั้งแล้ว
  11. สมศักดิ์ นิลบรรเจิดกุล
  12. ประพันธ์ คูณมี --> ได้รับแต่งตั้งแล้ว
  13. พลตำรวจโท อำนวย นิ่มมะโน --> ลาออกก่อนได้รับการโปรดเกล้า
  14. อนุพร อรุณรัตน์ --> ได้รับแต่งตั้งแล้ว
  15. พลเอก พหล สง่าเนตร --> ได้รับแต่งตั้งแล้ว
  16. พลเรือเอก ประสาน สุขเกษตร --> รอการโปรดเกล้า
  17. สุนทร ขำคมกุล
  18. เพิ่มพงษ์ เชาวลิต
  19. โสภณ เมฆธน
  20. ชิดชัย วรรณสถิตย์
  21. สมชาย มีเสน
  22. ถวิลวดี บุรีกุล
  23. วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ
  24. สร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์
  25. อโณทัย ฤทธิปัญญาวงศ์
  26. ภาณุวัชร นาควงษม์
  27. สุรชัย ภู่ประเสริฐ
  28. อภิวัฒน์ ศรีวรรธนะ
  29. เอกชัย จันทร์ศรี
  30. นพปฎล สุนทรนนท์
  31. ภาณุวัฒน์ พันธุ์วิชาติกุล
  32. พิสิษฐ์ เปาอินทร์
  33. วันชัย ศารทูลทัต
  34. เสาวณี สุวรรณชีพ
  35. อนุศิษฐ์ ศุภธนิต
  36. ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน
  37. ธนะกาญจน์ ใคร่ครวญ
  38. สัญชัย จงวิศาล
  39. จักรชัย ภู่เจริญยศ
  40. นำชัย พรหมมีชัย
  41. เพิ่มเกียรติ ลวณะมาลย์
  42. ชนะ อยู่สถาพร
  43. องอาจ พงษ์ศักดิ์
  44. พงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์
  45. บุญเลิศ คชายุทธเดช
  46. พิไลพรรณ สมบัติศิริ
  47. ไชยา ยิ้มวิไล
  48. ไพฑูรย์ รักษ์ประเทศ
  49. ธวัชชัย ฟักอังกูร
  50. บัณฑิตย์ เทวีทิวารักษ์

คณะกรรมาธิการ แก้ไข

คณะกรรมาธิการสามัญ แก้ไข

ชื่อ ประธาน
คณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมลํ้า สังศิต พิริยะรังสรรค์
คณะกรรมาธิการการกีฬา พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์
คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ
คณะกรรมาธิการคมนาคม พลเอก ยอดยุทธ บุญญาธิการ
คณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ
คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ พิกุลแก้ว ไกรฤกษ์
คณะกรรมาธิการการทหารและความมั่นคงของรัฐ พลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์
คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร
คณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช
คณะกรรมาธิการการบริหารราชการแผ่นดิน พลเอก อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์
คณะกรรมาธิการการพลังงาน พลเอก สกนธ์ สัจจานิตย์
คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน เสรี สุวรรณภานนท์
คณะกรรมาธิการการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วัลลภ ตังคณานุรักษ์
คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และการตำรวจ พลตำรวจเอก ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์
คณะกรรมาธิการแรงงาน พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว
คณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง
คณะกรรมาธิการเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์
คณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม มหรรณพ เดชวิทักษ์
คณะกรรมาธิการการศึกษา ตวง อันทะไชย
คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข นายแพทย์ เจตน์ ศิรธรานนท์
คณะกรรมาธิการการกิจการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ กล้าณรงค์ จันทิก
คณะกรรมาธิการการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์
คณะกรรมาธิการการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริต ประพฤติมิชอบและเสริมสร้างธรรมาภิบาล พลเรือเอก ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ
คณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม อภิรดี ตันตราภรณ์
คณะกรรมาธิการการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค สมชาย แสวงการ
คณะกรรมาธิการการติดตามการบริหารงบประมาณ พลเอก ชาตอุดม ติตถะสิริ
คณะกรรมาธิการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ และการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ พลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร

คณะกรรมาธิการวิสามัญ แก้ไข

ชื่อ ประธาน
คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา พรเพชร วิชิตชลชัย
คณะกรรมาธิการวิสามัญการพิทักษ์และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ[22]

เชิงอรรถ แก้ไข

  1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 109 ระบุว่า "สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาเริ่มตั้งแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการเลือก"
  2. แทนพลเอกพรพิพัฒน์ที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากเกษียณอายุราชการในตำแหน่งผบ.ทสส.
  3. แทนพลเอกอภิรัชต์ที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากพ้นจากตำแหน่งผบ.ทบ.
  4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 269 (4) ระบุว่า "...สำหรับสมาชิกวุฒิสภาโดยตำแหน่ง เมื่อพ้นจากตำแหน่งที่ดำรงอยู่ในขณะได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาก็ให้พ้นจากตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาด้วย และให้ดำเนินการเพื่อแต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นเป็นสมาชิกวุฒิสภาโดยตำแหน่งแทน ให้สมาชิกวุฒิสภาที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนตำแหน่งที่ว่าง อยู่ในตำแหน่งเท่าอายุของวุฒิสภาที่เหลืออยู่"
  5. แทนพลอากาศเอกชัยพฤกษ์ที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากเกษียณอายุราชการในตำแหน่งผบ.ทอ.
  6. แทนพลตำรวจเอกจักรทิพย์ที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากเกษียณอายุราชการในตำแหน่งผบ.ตร.

อ้างอิง แก้ไข

  1. ส.ว. เฉพาะกาล กับฉายา "ทายาท คสช."
  2. 250 ส.ว. ไม่เพียงแค่มีสิทธิโหวตนายกฯ แต่ผ่านกฎหมายปฏิรูป 11 ด้านร่วมกับ ส.ส. ได้ด้วย
  3. "ตรวจงาน 1 ปี ส.ว. ไฟเขียวทุกมติ - เหล่าทัพโหวตพร้อมหน้าแค่ 1 เรื่อง". ilaw. สืบค้นเมื่อ 16 May 2022.
  4. 4.0 4.1 "ส.ว. ชุดพิเศษทำงานครบ 3 ปี ได้เงินไปกว่า 2,000 ล้าน ผ่านกฎหมายแล้ว 35 ฉบับ". ilaw. สืบค้นเมื่อ 16 May 2022.
  5. "สภาหุ่นยนต์! ส.ว.แต่งตั้ง ผ่านกฎหมายอย่างน้อย 40 ฉบับ โหวตทางเดียวกันไม่แตกแถวถึง 98%". ilaw. สืบค้นเมื่อ 23 June 2022.
  6. "มติ ส.ว.ไม่เห็นชอบ'อารยะ ปรีชาเมตตา'นั่ง ป.ป.ช.อ้างมีแนวคิดตรงข้ามฝ่ายอนุรักษ์นิยม". สำนักข่าวอิศรา. 1 August 2022. สืบค้นเมื่อ 1 August 2022.
  7. รายชื่อ ส.ว. : โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง 250 ส.ว.
  8. "เปิดชื่อ ส.ว. แต่งตั้งญาติเป็นผู้ช่วย 50 คน รับเงินเดือนหลักหมื่น พบทหาร คนใกล้ชิด คสช. อีกกว่าครึ่งพัน". ilaw. สืบค้นเมื่อ 23 June 2022.
  9. อาลัย พล.ร.อ.ชุมนุม อาจวงษ์ ส.ว. อดีตรองปลัดกลาโหม ถึงแก่อนิจกรรม
  10. "ศาลรธน."สั่ง"ระวี รุ่งเรือง"พ้นสว.เหตุเคยถูกลงโทษทางวินัย เจ้าตัวน้อมรับคำวินิจฉัย
  11. ‬'อุดม คชินทร' ลาออกจาก ส.ว.
  12. เรียกประชุมส.ว. ‪20 ต.ค. ตั้งคณะกรรมการศึกษางบฯปี’63 ควบคู่สภาผู้แทนฯ‬
  13. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา (จำนวน 2 ราย 1. พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ 2. นายอภิชาต โตดิลกเวชช์)
  14. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา (นายจัตุรงค์ เสริมสุข)
  15. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา (นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์)
  16. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา (นายวิชัย ทิตตภักดี)
  17. ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา (นายสุวัฒน์ จิราพันธุ์ และพันตำรวจเอก จรุงวิทย์ ภุมมา)
  18. ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา (นายสุวัฒน์ จิราพันธุ์ และพันตำรวจเอก จรุงวิทย์ ภุมมา)
  19. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา (พลเอกเฉลิมพล พลเอกณรงค์พันธ์ พลเรือเอกชาติชาย พลอากาศเอกแอร์บูล พลตำรวจเอกสุวัฒน์)
  20. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 1/2562 เรื่อง การกำหนดรายชื่อบุคคลสำรอง สำหรับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๙๐ (๑) (ข))
  21. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ ๒/๒๕๖๒ เรื่อง ประกาศรายชื่อบุคคลสำรอง สำหรับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๙๐ (๑) (ค)
  22. คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564เก็บถาวร 2020-10-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น แก้ไข