กัลยา โสภณพนิช
คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช (เกิด 21 กันยายน 2483) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนปัจจุบัน รองหัวหน้าตามภารกิจพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตประธานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคประชาธิปัตย์
คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช ม.ป.ช., ม.ว.ม., ต.จ., ร.ท.ภ., ภ.ป.ร.5 | |
---|---|
![]() | |
คุณหญิงกัลยาในปี 2552 | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | |
ดำรงตำแหน่ง 20 ธันวาคม 2551 – 6 มิถุนายน 2553 | |
นายกรัฐมนตรี | นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ก่อนหน้า | วุฒิพงศ์ ฉายแสง |
ถัดไป | วีระชัย วีระเมธีกุล |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 10 กรกฎาคม 2562 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | อุดม คชินทร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 กันยายน พ.ศ. 2483 (80 ปี) จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2533 - ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | โชติ โสภณพนิช |
ศาสนา | พุทธ |
ประวัติแก้ไข
ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช เกิดเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2483 ณ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรีคนที่ 2 ในจำนวนพี่น้อง 8 คน ของตระกูล "พงศ์พูนสุขศรี" คุณหญิงกัลยาสมรสกับนายโชติ โสภณพนิช บุตรชายคนที่ 4 ของนายชิน โสภณพนิช ผู้ก่อตั้ง ธนาคารกรุงเทพ มีบุตรธิดาด้วยกัน 4 คน
การศึกษาแก้ไข
กัลยา โสภณพนิช จบการศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2504 และได้ทุนโคลัมโบ ไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท และได้รับทุนต่อเนื่องในระดับปริญญาเอก สาขานิวเคลียร์ฟิสิกส์ ที่ อิมพิเรียลคอลเลจลอนดอน ในเครือมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ และสำเร็จการศึกษาปริญญาเอกด้าน High Energy Nuclear Physics เมื่อปี พ.ศ. 2513
การทำงานแก้ไข
ทำงานเป็นกรรมการและเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค ขึ้นในปี พ.ศ. 2529 เป็นกรรมการและเลขานุการ โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปี พ.ศ. 2521 เป็นผู้ก่อตั้งและประธานศูนย์ฝึกเด็กที่มีปัญหาทางสมอง “ ประภาคารปัญญา ” มูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อนแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เป็นผู้ก่อตั้งและกรรมการเลขาธิการ มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ ใน ปี พ.ศ. 2524 และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 จนถึงปัจจุบัน เป็นกรรมการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตและคณะกรรมการสมาคมแห่งสถาบันพระปกเกล้า[1][ต้องการอ้างอิง]
งานการเมืองแก้ไข
กัลยา โสภณพนิช เป็นที่รู้จักกันกว้างขวางขึ้น เมื่อลงรับสมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อ ปี พ.ศ. 2543 ในนามผู้สมัครอิสระ ไม่สังกัดพรรคการเมือง ได้เบอร์ 4 แม้ไม่ได้รับการเลือกตั้ง แต่ก็ได้รับความนิยมจากชาวกรุงเทพมหานครพอสมควร ได้คะแนนมาเป็นลำดับที่ 5 ต่อมาเข้าเป็นสมาชิก พรรคประชาธิปัตย์ ลงสมัครเป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2544 และพ.ศ. 2548 ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 ได้ลงสมัครส.ส.กรุงเทพมหานคร เขต 8 (สวนหลวง ประเวศ บางนา พระโขนง) สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ชนะการเลือกตั้ง และเป็นรัฐมนตรีเงาว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[2] ต่อจากนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ภายหลังได้มีการปรับคณะรัฐมนตรีในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553 ทำให้ ดร.คุณหญิงกัลยา ถูกปรับออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี [3]
และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัคร ส.ส. ในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 7[4] และได้รับเลือกตั้งอีกสมัย รวมถึงในปี พ.ศ. 2562 อีกด้วย[5]
กัลยา โสภณพนิช เคยดำรงตำแหน่งกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์[6] และเป็นประธานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคประชาธิปัตย์ด้วย ปัจจุบัน คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ดำรงตำแหน่ง รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งระบบบัญชีรายชื่อและระบบแบ่งเขต จำนวน 5 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 เป็น สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 21 ระบบบัญชีรายชื่อ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 เป็น สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 22 ระบบบัญชีรายชื่อ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 เป็น สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 23 ระบบแบ่งเขต กรุงเทพมหานคร
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 เป็น สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24 ระบบบัญชีรายชื่อ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เป็น สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25 ระบบบัญชีรายชื่อ
การดำรงตำแหน่งที่สำคัญแก้ไข
ด้านการศึกษาแก้ไข
อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรรมการและเลขานุการโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, กรรมการวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. 2525 - 2528), กรรมการบริหาร "ศูนย์ฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์" กองแผนงานทบวงมหาวิทยาลัย, กรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC), กรรมการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ด้านสิ่งแวดล้อมแก้ไข
กัลยา โสภณพนิช เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรี กระทรวงวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม (ปี พ.ศ. 2528 - 2541), ผู้ร่วมก่อตั้ง และเป็นเลขาธิการมูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์, ประธานชมรมป้องกันควันพิษ (ปี พ.ศ. 2533 - 2535), กรรมการสิ่งแวดล้อมเหมืองแร่ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน (ปี พ.ศ. 2535 - 2540), กรรมการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (สสท.) และกรรมการอำนวยการโครงการ "รุ่งอรุณ" ของกระทรวงศึกษาธิการ สนับสนุนโดยสำนักงานพลังงานแห่งชาติ (สพช.)
ด้านสังคมแก้ไข
ประธานศูนย์ฝึกอบรม "ประภาคารปัญญา" มูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อน ในพระบรมราชินูปถัมภ์, รองประธานมูลนิธิแม่บ้านอาสา, กรรมการและเหรัญญิกมูลนิธิ C.C.F.เพื่อเด็กยากจน, ประธานคณะกรรมการจัดหา และส่งเสริมผู้ให้โลหิตแห่งสภากาชาดไทย และกรรมการมูลนิธิแพลนอินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ เรียงตามลำดับเกียรติ ดังต่อไปนี้
- พ.ศ. 2552 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2551 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2530 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายใน)[9]
- พ.ศ. 2552 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้น 6 เหรียญทองดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ท.ภ.)[10]
- พ.ศ. 2521 - เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 5 (ภ.ป.ร.5)[11]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ http://kpisociety.com/about04.php
- ↑ เว็บไซต์ ครม.เงา พรรคประชาธิปัตย์
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รวม ๑๘ ราย) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอน พิเศษ 72ง วันที่ 8 มิถุนายน 2553
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 พฤษภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-05-10. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ คณะกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคจากเว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ สืบค้นวันที่ 16 มีนาคม 2561
- ↑ 2553ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้า ๒๕ เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข, ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฉบับพิเศษ หน้า ๖ เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๘๖, ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๐
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ หน้า ๑๔ เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๗ ข, ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕ เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๑๐๕, ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๑
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
ก่อนหน้า | กัลยา โสภณพนิช | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
วุฒิพงศ์ ฉายแสง | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ครม. 59) (20 ธันวาคม 2551 – 6 มิถุนายน 2553) |
วีระชัย วีระเมธีกุล |