สุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล
สุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล (เกิด 2 กันยายน พ.ศ. 2519)สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขต 3 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 ในสังกัดพรรคพลังประชาชน ปัจจุบันสังกัดพรรคภูมิใจไทย และ ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทย
สุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 1 กันยายน พ.ศ. 2566 (0 ปี 99 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน |
รัฐมนตรีว่าการ | พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ |
ก่อนหน้า | กัลยา โสภณพนิช กนกวรรณ วิลาวัลย์ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 13 ธันวาคม พ.ศ.2550 (15 ปี 351 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 2 กันยายน พ.ศ. 2519 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | พลังประชาชน เพื่อไทย ภูมิใจไทย |
คู่สมรส | สุรภา ศิริจินดาชัย |
ประวัติ แก้
สุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล เกิดเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2519 เป็นบุตรของนาย วีระชัย พันธ์เจริญวรกุล อาชีพรับเหมาก่อสร้าง และนางสมทรง พันธ์เจริญวรกุล นายก อบจ. พระนครศรีอยุธยา มีพี่น้อง 5 คน อาทินางสมศรี ต้นจรารักษ์ นายกเทศมนตรีตำบลลำตาเสา, นางสาวสุวิมล พันธ์เจริญวรกุล อดีต ส.ส. พระนครศรีอยุธยา พรรคไทยรักไทย[1] และนางสาวนภัสวรรณ พันธ์เจริญวรกุล ภรรยาร้อยโทปรีชาพล พงษ์พานิช[2]
สุรศักดิ์ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา วาสุกรี และ บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการ จากมหาวิทยาลัยรังสิต สมรสกับ นางสาวสุรภา ศิริจินดาชัย
งานการเมือง แก้
อดีตเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอวังน้อย เขต1 ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคพลังประชาชน แทนนางสาวสุวิมล พี่สาว ซึ่งเป็นอดีต ส.ส. พรรคไทยรักไทย ที่ถอยจากวงการ
เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน ในปี 2566[3]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้
สุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 4 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2551) → พรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดพรรคภูมิใจไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขต 4 สังกัดพรรคภูมิใจไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้
- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
อ้างอิง แก้
- ↑ นางสมทรง พันธ์เจิญวรกุล นายกอบจ.พระนครศรอยุธยา แม่ดีเด่นปี 2554 เมืองกรุงเก่า (รายงานพิเศษ) [ลิงก์เสีย]
- ↑ [1]
- ↑ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง คณะรัฐมนตรี "เศรษฐา" นายกฯ ควบ "รมว.คลัง"
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
แหล่งข้อมูลอื่น แก้
- นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล เก็บถาวร 2012-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์รัฐสภาไทย
- บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล[ลิงก์เสีย], สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ข้อมูลนักการเมืองไทย (นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล), ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย