สุนทร วิลาวัลย์
สุนทร วิลาวัลย์ หรือ โกทร (เกิด 30 เมษายน พ.ศ. 2482) เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี 8 สมัย และอดีตสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 9 หรือที่สื่อมวลชนกล่าวถึงว่าเป็น "บ้านใหญ่ปราจีนบุรี"[1]
สุนทร วิลาวัลย์ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 15 สิงหาคม พ.ศ. 2540 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 เมษายน พ.ศ. 2482 จังหวัดปราจีนบุรี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ภูมิใจไทย (2556–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | สุภาภร วิลาวัลย์ |
ประวัติ
แก้สุนทร วิลาวัลย์ เกิดเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2482 ที่อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี เป็นบุตรของนายเงิน กับนางคำ วิลาวัลย์ สำเร็จการศึกษาสาขาบริหารธุรกิจ จากสถาบันราชภัฏสวนดุสิต เมื่อปี พ.ศ. 2543[2]
การทำงาน
แก้สุนทร วิลาวัลย์ เป็นนักการเมืองชาวจังหวัดปราจีนบุรี ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 สังกัดพรรคชาติไทย ต่อมาย้ายไปสังกัดพรรคราษฎร ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2529 จากนั้นจึงย้ายกลับมาสังกัดพรรคชาติไทยตามเดิม จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2539 จึงย้ายมาสังกัดพรรคความหวังใหม่ และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[3] จากนั้นในปี พ.ศ. 2544 ได้เข้าร่วมงานกับพรรคไทยรักไทย และสนับสนุนให้นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ ศรีจันทร์งาม (บุตรสาว) ลงสมัครรับเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2548[1]
ในปี พ.ศ. 2550 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคมัชฌิมาธิปไตย และได้รับเลือกตั้ง แต่ต่อมาถูกตัดสิทธิ์เลือกตั้ง (ใบแดง) เนื่องจากกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 และเป็นเหตุให้ยุบพรรคมัชฌิมาธิปไตย[1][4]
ในปี 2563 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี[5] แทนบังอร วิลาวัลย์ ผู้เป็นน้องสาว ที่ถูกปลดออกจากตำแหน่งในคดีทุจริตฮั้วประมูลโครงการของ อบจ.ปราจีนบุรี
เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2565 นายสุนทร ถูกออกหมายเรียกในคดีรุกพื้นที่ป่าบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ในเขตจังหวัดปราจีนบุรี[1] ภายหลังได้เข้ามอบตัวต่อเจ้าพนักงานสอบสวน และแจ้งว่าที่ตนเองไม่ได้มาตามหมายเรียกนั้น เนื่องจากต้องพักรักษาตัวจากอาการป่วยของโรคประจำตัว โดยได้มี ส.ส.คนสนิท เป็นผู้ยืนยันว่านายสุนทรไม่ได้มีเจตนาหลบหนีแต่อย่างใด
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2510 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 สุนทร วิลาวัลย์ : 40 ปีที่สร้างตำนาน “บ้านใหญ่ปราจีนบุรี” ก่อนตกเป็นผู้ต้องหาหนีหมายจับ
- ↑ "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-29. สืบค้นเมื่อ 2013-06-25.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
- ↑ "สรุปคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ ๑๘/๒๕๕๑". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-02. สืบค้นเมื่อ 2013-06-25.
- ↑ เช็กผลเลือกตั้ง นายก อบจ. 76 จังหวัด กกต.ประกาศแล้ว
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙