พรรคมัชฌิมาธิปไตย

อดีตพรรคการเมืองไทย

พรรคมัชฌิมาธิปไตย (อังกฤษ: Neutral Democratic Party; ชื่อเดิม: พรรคมัชฌิมา[2]) เป็นพรรคการเมืองที่แยกตัวออกมาจากพรรคประชาราช นำโดยกลุ่มมัชฌิมา ซึ่งนำโดย อนงค์วรรณ เทพสุทิน และกลุ่มของ ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ อดีตเลขาธิการพรรคประชาราช

พรรคมัชฌิมาธิปไตย
ผู้ก่อตั้งธนพร ศรียากูล
หัวหน้าอนงค์วรรณ เทพสุทิน
รองหัวหน้าอินทรัตน์ ยอดบางเตย
บรรยิน ตั้งภากรณ์
วิวัฒน์ นิติกาญจนา
วีระศักดิ์ จินารัตน์
เลขาธิการพรทิวา นาคาศัย
รองเลขาธิการรชฏ พิสิษฐบรรณกร
ดิษฐ์อัชพณ สูตรสุคนธ์
โฆษกศุภพรพงศ์ ชวนบุญ
รองโฆษกพิเชษฐ์ หวังเทพอนุเคราะห์
กรรมการบริหารมาลีรัตน์ แก้วก่า
คำขวัญประมาณตน มีเหตุผล ประชาชนได้ประโยชน์
(พรรคมัชฌิมา)
ชีวิตร่ำรวย ประชาเป็นสุข ได้รับความเป็นธรรม
(พรรคมัชฌิมาธิปไตย)
ก่อตั้ง1 ตุลาคม พ.ศ. 2550
ถูกยุบ2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (1 ปี 62 วัน)
รวมตัวกับกลุ่มมัชฌิมา
แยกจากพรรคไทยรักไทย
พรรคประชาราช
ถัดไปพรรคภูมิใจไทย (โดยพฤตินัย)
พรรคชาติไทยพัฒนา
ที่ทำการ131 ถนนขาว แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
จุดยืนกลาง[1]
สีแดงและน้ำเงิน
เว็บไซต์
http://www.matchima.or.th
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

ประวัติ

แก้

พรรคมัชฌิมาก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 โดยมี ธนพร ศรียากูล ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ต่อมา ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ อดีตเลขาธิการพรรคประชาราช ได้นำสมาชิกกลุ่มย้ายมาสังกัดพรรคมัชฌิมา และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคถัดจากธนพร และ อนงค์วรรณ เทพสุทิน แกนนำกลุ่มมัชฌิมา ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค พร้อมชูนโยบายรวม 42 ข้อ โดยนโยบายหลักๆ ได้แก่ ขุดบ่อน้ำทั้งประเทศ 9 ล้านบ่อ, ลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าตลอดสาย เหลือเพียง 15 บาทเป็นระยะเวลา 10 ปี, ประกันราคาพืชผลทางการเกษตรในราคาที่สูง, เรียนฟรีจนถึงปริญญาตรี

ในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2551 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้มีมติให้ประชัยพ้นจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค เนื่องจากวินิจฉัยว่า การยื่นใบลาออกของนายประชัยตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ปีเดียวกัน ที่ประชุมของพรรคได้มีมติให้ อนงค์วรรณ เทพสุทิน เป็นหัวหน้าคนใหม่สืบไป รวมทั้งได้เปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรค โดยมีทั้งหมด 14 คน แต่ยังคงนโยบายเดิม รวมทั้งเปลี่ยนที่ทำการพรรคใหม่จาก ชั้น 10 อาคารทีพีไอทาวเวอร์ ถนนจันทน์ตัดใหม่ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร เป็นเลขที่ 131 ถนนขาว แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร อันเป็นที่ตั้งเดิมของกลุ่มมัชฌิมา[3]

บุคลากรพรรค

แก้

รายนามหัวหน้าพรรค

แก้
หัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย
ลำดับที่ รูป รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1   ธนพร ศรียากูล 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
2   ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 4 ธันวาคม พ.ศ. 2550
3   อนงค์วรรณ เทพสุทิน 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551

รายนามเลขาธิการพรรค

แก้
เลขาธิการพรรคมัชฌิมาธิปไตย
ลำดับที่ รูป รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1   ฉัตรชัย ชูแก้ว 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
2   อนงค์วรรณ เทพสุทิน 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
3   พรทิวา นาคาศัย 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551

กรรมการบริหารพรรค

แก้

นโยบายพรรค

แก้
 
ภาพการหาเสียงของผู้สมัครแบบแบ่งเขต พ.ศ. 2550 ในจังหวัดเชียงใหม่

พรรคมัชฌิมาธิปไตย มีนโยบายพรรค 42 ข้อ แบ่งออกเป็น 13 กลุ่ม คือ

  1. บททั่วไป
  2. ด้านเศรษฐกิจการเงินการคลังและการลงทุน
  3. ด้านการคมนาคมขนส่ง
  4. ด้านแรงงาน
  5. ด้านการท่องเที่ยว
  6. ด้านพลังงาน
  7. ด้านการเพิ่มรายได้เกษตรกร
  8. ด้านที่ดินและแหล่งน้ำ
  9. ด้านการบริหารระบบราชการและส่วนท้องถิ่น
  10. ด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
  11. ด้านสาธารณสุข
  12. ด้านการส่งเสริมกลุ่มสตรีและความมั่นคงของสถาบันครอบครัว
  13. ด้านกีฬา

การเลือกตั้ง

แก้
ผลการเลือกตั้ง จำนวนที่นั่ง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ที่นั่งเปลี่ยน ผลการเลือกตั้ง ผู้นำเลือกตั้ง
2550
7 / 480
450,382 1.50%  7 ร่วมรัฐบาล อนงค์วรรณ เทพสุทิน

ยุบพรรค

แก้

หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 คณะกรรมการการเลือกตั้งพบการทุจริต มีการให้ใบแดงและพิจารณาเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของ สุนทร วิลาวัลย์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งและรองหัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย[4] แม้ว่าคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงได้สรุปก่อนหน้านั้นว่าหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคคนอื่น ไม่มีส่วนรู้เห็นต่อการกระทำผิดของ สุนทร วิลาวัลย์ แต่การที่ผู้สมัครต่างก็เป็นกรรมการบริหารพรรคเสียเอง กกต.จึงพิจารณาตามมาตรา 237 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และมาตรา 103 วรรคสอง ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 ซึ่งบัญญัติไว้ตรงกันว่า ถ้าการกระทำดังกล่าวปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าหัวหน้าพรรคหรือกรรมการบริหารพรรคมีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย หรือทราบแล้วไม่ได้ยับยั้งหรือแก้ไข เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำการซึ่งให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

ในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2551 ที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อพิจารณากรณี พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ได้ลงมติ 4 ต่อ 1 เห็นชอบตามที่นายอภิชาติ สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง เสนอให้ส่งเรื่องถึงอัยการสูงสุด เพื่อพิจารณาเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยยุบพรรคพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย โดยมติเสียงข้างน้อย 1 เสียง คือ นายสมชัย จึงประเสริฐ กกต.ฝ่ายกิจการสอบสวนสอบสวน

โดยในส่วนของคำวินิจฉัยเรื่องพรรคมัชฌิมาธิปไตย ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์สั่งยุบพรรคมัชฌิมาธิปไตย เนื่องจากมีความผิดตามมาตรา 237 วรรค 2 และมาตรา 68 ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ[5]

โดยในวันแถลงปิดคดียุบพรรคมัชฌิมาธิปไตย อนงค์วรรณ เทพสุทิน หัวหน้าพรรคกล่าวว่า ขณะนี้มีสมาชิกของพรรคจำนวนหนึ่งไปจดทะเบียนตั้ง พรรคภูมิใจไทย ไว้แล้ว เพื่อเป็นทางออกในกรณีที่พรรคอาจถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคจากคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551 โดยมีอดีตสมาชิกพรรคมัชฌิมาธิปไตยคนหนึ่งลาออกเพื่อไปรับตำแหน่งหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ซึ่งคือพิพัฒน์ พรมวราภรณ์ ที่กล่าวถึงไปข้างต้น[6]

ภายหลังจากพรรคมัชฌิมาธิปไตยถูกศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคพร้อมกับพรรคพลังประชาชนและพรรคชาติไทยจากคดียุบพรรคการเมืองข้างต้น อดีตสมาชิกพรรคมัชฌิมาธิปไตยส่วนมากก็ได้ย้ายมาสังกัดพรรคภูมิใจไทยตามที่อนงค์วรรณเคยประกาศไว้[7] แต่ก็ยังมีอดีตสมาชิกพรรคมัชฌิมาธิปไตยบางส่วนที่ได้ย้ายไปสังกัดพรรคอื่นเช่นกัน เช่น พรรคชาติไทยพัฒนา, พรรคประชาธิปัตย์

กรรมการบริหารพรรคมัชฌิมาธิปไตยชุดที่ถูกคำสั่งยุบพรรค

แก้

กรรมการบริหารพรรคมัชฌิมาธิปไตย ชุดที่ถูกคำสั่งยุบพรรค เป็นผลให้ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี

  1. ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ หัวหน้าพรรค
  2. ประมวล เลี่ยวไพรัตน์ รองหัวหน้าพรรค
  3. สุนทร วิลาวัลย์ รองหัวหน้าพรรค (ถูก กกต.เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง)
  4. พลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย รองหัวหน้าพรรค
  5. พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์ รองหัวหน้าพรรค
  6. ประดุจ มั่นหมาย รองหัวหน้าพรรค
  7. การุณ ใสงาม รองหัวหน้าพรรค
  8. ธนพร ศรียากูล รองหัวหน้าพรรคและนายทะเบียนสมาชิกพรรค
  9. วิวัฒน์ นิติกาญจนา รองหัวหน้าพรรค
  10. อนงค์วรรณ เทพสุทิน เลขาธิการพรรค
  11. มนู มณีวัฒนา รองเลขาธิการพรรค
  12. ร้อยเอก รชฏ พิสิษฐบรรณกร รองเลขาธิการพรรค
  13. สมบูรณ์ ทองบุราณ รองเลขาธิการพรรค
  14. สุวิช ชมพูนุทจินดา รองเลขาธิการพรรค
  15. ศิลปิน บูรณศิลปิน เหรัญญิกพรรค
  16. ณรงค์ พิริยอเนก โฆษกพรรค
  17. สมพร หลงจิ รองโฆษกพรรค
  18. ศุภพรพงศ์ ชวนบุญ รองโฆษกพรรค
  19. กนกวรรณ วิลาวัลย์ รองโฆษกพรรค
  20. พันตำรวจเอก สุเทพ สัตถาผล กรรมการบริหารพรรค
  21. ชุมพร ขุณิกากรณ์ กรรมการบริหารพรรค
  22. เมธี ฉัตรจินดารัตน์ กรรมการบริหารพรรค
  23. มาลีรัตน์ แก้วก่า กรรมการบริหารพรรค
  24. คำนวณ เหมาะประสิทธิ์ กรรมการบริหารพรรค
  25. กฤษฎา สัจจกุล กรรมการบริหารพรรค
  26. สุขุม เลาวัณย์ศิริ กรรมการบริหารพรรค
  27. นาวิน ขันธหิรัญ กรรมการบริหารพรรค
  28. บุษบา ยอดบางเตย กรรมการบริหารพรรค
  29. ดิษฐ์อัชพณ สูตรสุคนธ์ กรรมการบริหารพรรค

อ้างอิง

แก้
  1. "ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงนโยบายพรรค ข้อบังคับพรรค และกรรมการบริหารพรรค (พรรคมัชฌิมา)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (112 ง): 89–107. 2007-11-06. สืบค้นเมื่อ 2023-10-11.
  2. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคมัชฌิมา
  3. กกต. ได้มีมติให้นายประชัยพ้นจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค[ลิงก์เสีย]
  4. ไทยโพสต์, มติ กกต. 4:1 เชือด'ชท.-มฌ.', 12 เมษายน 2551, หน้า 2
  5. ผู้จัดการออนไลน์, ศาล รธน.มติเอกฉันท์! สั่งยุบ “พปช.” ตัดสิทธิ กก.บห.5 ปี - “ชายอำมหิต” หลุดเก้าอี้ เก็บถาวร 2011-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เข้าถึงข้อมูลวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
  6. ""อนงค์วรรณ"เผยสมาชิพรรค มฌ.จดทะเบียนตั้งพรรคใหม่ "ภูมิใจไทย"แล้ว". ryt9.com. สืบค้นเมื่อ 2025-03-11.
  7. "เพื่อนเนวินลั่น "ถอยเป็นหมา เดินหน้าเพื่อชาติ"". ประชาไท. 9 ธันวาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2025.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้