อินทรัตน์ ยอดบางเตย

พลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย (เกิด 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488) เป็นนักการเมืองและนายทหารชาวไทย อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงใหม่ อดีตรองหัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย อดีตผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด และเคยเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (อนงค์วรรณ เทพสุทิน)

อินทรัตน์ ยอดบางเตย
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
31 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม พ.ศ. 2557
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 (79 ปี)
จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
พรรคการเมืองมัชฌิมาธิปไตย
คู่สมรสบุษบา ยอดบางเตย
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัด กองทัพบกไทย
ยศ พลตรี
ผ่านศึกสงครามเวียดนาม
สงครามกลางเมืองลาว

ประวัติ

แก้

ชีวิตส่วนตัว

แก้

อินทรัตน์ เกิดเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 ที่ ตำบลช้างม่อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ บิดาเป็นพลตำรวจอาสา มารดาเป็นแม่ค้าขายหมูในตลาดวโรรส ชีวิตในวัยเด็กเริ่มต้นต่อสู้กับชีวิตด้วยตนเอง จากการขายของตามตลาดต่าง ๆ เมื่อวัยเยาว์ และขายหนังสือพิมพ์แผ่นดินไทยให้กับไกรสร ตันติพงศ์ อดีตรัฐมนตรี

อินทรัตน์ สมรสกับบุษบา ยอดบางเตย อดีตนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่

การศึกษา

แก้

ก่อนรับราชการ

แก้

ลำดับการการศึกษา ดังนี้

อินทรัตน์[1] สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เมื่ออายุ 14 ปี รุ่นเดียวกันกับธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ระหว่างศึกษาในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า อินทรัตน์ ได้จบหลักสูตรทหาร ดังนี้

  • พ.ศ. 2510 : หลักสูตรกระโดดร่ม ศูนย์สงครามพิเศษ
  • พ.ศ. 2510 : หลักสูตรจู่โจม ศูนย์สงครามพิเศษ
  • พ.ศ. 2510 : หลักสูตรชั้นนายร้อย โรงเรียนทหารรราบ ศูนย์การทหารราบ

หลังจากจบการศึกษาได้เข้ารับราชการทหารในสายงานนายทหารยุทธการ และศึกษาต่อโรงเรียนเสนาธิการทหารบก จนได้ฉายาว่า "เสธ.ม่อย" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเล่นของตัวเป็น "ยอด"

หลังรับราชการ

แก้

ลำดับการการศึกษา ดังนี้

  • พ.ศ. 2515 : หลักสูตรพลแม่นปืน,โรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ
  • พ.ศ. 2516 : หลักสูตรข่าวลับ, บก.33
  • พ.ศ. 2518 : หลักสูตรชั้นนายพัน, โรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ
  • พ.ศ. 2518 : หลักสูตรประจำ ชุดที่ 57, โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
  • พ.ศ. 2531 : วิทยาลัยการทัพบก รุ่นที่ 33
  • ปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์การเมือง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การทำงาน

แก้

ราชการทหาร

แก้

อินทรัตน์ ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่น ผู้ช่วยเจ้ากรมสรรพกำลังกลาโหม, ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาภาค 3 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา และผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการทหารสูงสุด

อินทรัตน์ ผ่านสงคราม 2 สมรภูมิ คือ สงครามเวียดนาม และสงครามกลางเมืองลาว โดยดำรงตำแหน่งนี้

การเมือง

แก้

หลังจากลาออกจากราชการทหาร อินทรัตน์ มาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงใหม่[2] ต่อมาได้เข้าร่วมจัดตั้งพรรคการเมือง และดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย จากนั้งได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง สส.จังหวัดเชียงใหม่ เขต 4 คู่กับอำนวย ยศสุข[3] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับสุรพล เกียรติไชยากร จากพรรคพลังประชาชน และนรพล ตันติมนตรี จากพรรคเพื่อแผ่นดิน

อินทรัตน์ ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นระยะเวลาทั้งหมด 5 ปี เนื่องจากการยุบพรรคมัชฌิมาธิปไตย[4]

ในปี พ.ศ. 2557 อินทรัตน์ ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา) ในรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[5]

การกีฬา

แก้

อินทรัตน์ ได้รับคัดเลือกจากมูลนิธิศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหาร (AFAPS Alumni Foundation) ให้ได้รับ "รางวัลเกียรติยศจักรดาว ประจำปี 2547" ในสาขาการเมือง และการพัฒนากีฬา

อินทรัตน์ ดำรงตำแหน่ง รองประธานสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติรองประธานสหพันธ์ยกน้ำหนักแห่งเอเชีย และประธานคณะกรรมาธิการพัฒนากีฬายกน้ำหนักสมาคมยกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ได้รับความไว้วางใจ เลือกตั้งให้เ ป็น นายกสมาคมยกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ต่อเนื่องมา 2 สมัยติดต่อกัน (ช่วงปี 2543 - 2547)

ปัจจุบันอินทรัตน์ ดำรงตำแหน่งทางด้านกีฬา คือ

  • พ.ศ. 2556 - พ.ศ. 2559 : รองประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และรองประธานสหพันธ์ยกน้ำหนักนานาชาติ (IWF)
  • รองประธานคนที่ 1 สหพันธ์ยกน้ำหนักแห่งเอเชีย (AWF)
  • ประธานสหพันธ์สมาคมกีฬาชาติ และ นายกสมาคมยกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

ต่างประเทศ

แก้
  •   เวียดนามใต้ :[1]
    • พ.ศ. 2512 –   แกลแลนทรีครอส ประดับใบปาร์ม
    • พ.ศ. 2512 –   เหรียญเกียรติยศกองทัพเวียดนาม ชั้นที่ 1
    • พ.ศ. 2512 –   เหรียญปฏิบัติการกิจการพลเรือน ชั้นที่ 1
    • พ.ศ. 2512 –   เหรียญรณรงค์เวียดนาม
  •   สหรัฐ :[1]
    • พ.ศ. 2512 –   เหรียญคอมเมนเดชัน (ทหารบก) ประดับ วี
    • พ.ศ. 2512 –   เหรียญเนชันดิเฟนเซอวิส

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 กว่าจะมาเป็นซีเกมส์ที่เชียงใหม่
  2. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา เขตเลือกตั้งจังหวัดเชียงใหม่ (พลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย นายถาวร เกียรติไชยากร พลตำรวจเอก สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-12-05. สืบค้นเมื่อ 2018-03-12.
  3. รายชื่อผู้สมัคร สส. จังหวัดเชียงใหม่[ลิงก์เสีย]
  4. "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
  5. คำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ ๘๔๒/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (พลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย)
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๐, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๘๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔๔, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๖๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๒๖ กันยายน ๒๕๑๗
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๑๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๙ มิถุนายน ๒๕๑๘
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔๔๙, ๒๑ เมษายน ๒๕๒๓

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้