สมชัย จึงประเสริฐ
สมชัย จึงประเสริฐ เกิดวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 อดีตกรรมการการเลือกตั้ง รับผิดชอบงานด้านสืบสวนสอบสวน
สมชัย จึงประเสริฐ | |
---|---|
กรรมการการเลือกตั้ง | |
ดำรงตำแหน่ง 20 กันยายน 2549 – 19 กันยายน 2556 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 |
อดีตดำรงตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา จบนิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจบเนติบัณฑิตไทย เคยเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลอุทธรณ์ภาค 3 อธิบดีผู้พิพากษาภาค 7 และอธิบดีผู้พิพากษาภาค 9 เคยพิจารณาคดีเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาหลายคดี
หลังการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2550 มีข่าวว่าสมชัยมีความเห็นในการพิจารณาใบแดง ใบเหลือง แย้งกับ กกต.อีก 4 คน จึงทำให้มีปัญหาในการทำงาน ซึ่งกล่าวกันว่า สมชัยจะลาออก แต่ได้รับการยืนยันว่า จะขอทำหน้าที่ต่อไป โดยยึดหลักกฎหมายและความถูกต้อง แม้ว่าตนจะเป็นเสียงข้างน้อยก็ตาม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2542 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[3]
- พ.ศ. 2551 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓๘๘, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๑ เก็บถาวร 2009-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๑๑, ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๒