สีแดง
สีแดง คือสีมีความถี่ของแสงที่ต่ำที่สุด ที่ตามนุษย์สามารถแยกแยะได้ แสงสีแดงมีบริเวณช่วงคลื่นระหว่าง 630-760 นาโนเมตร สีแดงเป็นสีอย่างสีเลือดหรือสีชาด, ใช้ประกอบสิ่งต่าง ๆ บางอย่างโดยอนุโลมตามลักษณะสี เป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น มดแดง ผ้าแดง
สีแดง | |
---|---|
Spectral coordinates | |
ความยาวคลื่น | approx. 625–740 [1] nm |
Frequency | ~480–400 THz |
Color coordinates | |
Hex triplet | #FF0000 |
ระบบสี RGBB (r, g, b) | (255, 0, 0) |
HSV (h, s, v) | (0°, 100%, 100%) |
CIELChuv (h, s, v) | (53, 179, 12°) |
Source | X11 |
B: อยู่ในช่วง [0–255] (ไบต์) |
สัญลักษณ์ที่มีสีแดง
แก้- ดอกกุหลาบ
- กาชาด
- เลือด
- ธงชาติไทย สีแดงแสดงถึง ชาติ, ธงชาติจีน, ธงชาติญี่ปุ่น ธงชาติเวียดนาม
- ระบบสี RGB สีแดงเป็นสีพื้นฐาน
สัญลักษณ์
แก้- สีแดง เป็นสีแทนสัญลักษณ์ของความร้อนแรง และมีอำนาจ
- สีแดง เป็นสีแห่งความเป็นสิริมงคลของชาวจีน
- สีแดง เป็นสีแห่งความโชคร้ายในบนเครื่องแบบนักเรียนในมังงะ
- ในทางลบ สีแดงเป็นสัญลักษณ์ของบาปโทสะ
- สีแดง เป็นสัญลักษณ์สีของดวงอาทิตย์
- สีแดง เป็นสีประจำวันอาทิตย์
- สีแดง ในทางการเมืองไทย เป็นสีประจำของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน (นปช.)
- สีแดง เป็นสัญลักษณ์ของคอมมิวนิสต์
- สีแดง เป็นสีประจำพรรคแรงงานเกาหลี
- สีแดง เป็นสีประจำทหารบก เหล่าทหารราบ
- สีแดง เป็นสีของเลือดมนุษย์
- สีแดง เป็นสีประจำวง เจเคทีโฟร์ตีเอต วงไอดอลของอินโดนีเซีย
- สีแดง เป็นสีประจำวง ทงบังชินกี วงบอยแบนด์เกาหลี
- สีแดง เป็นสีประจำตัว โชอา สมาชิกวง เครยอนป๊อป เกิร์ลกรุปเกาหลี
- สีแดง เป็นสีประจำสายการบินในกลุ่มแอร์เอเชีย, กลุ่มไลอ้อนแอร์, เวียดเจ็ทแอร์
- สีแดง เป็นสีประจำทีมลิเวอร์พูล, แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด, มิดเดิลสโบร, ไกเซอร์สเลาเทิร์น, ทีมชาติเกาหลีใต้, ทีมชาติจีน และทีมชาติเบลเยียม
- สีแดง เป็นสีประจำสถานีโทรทัศน์ทีเอสทีวี
- สีแดง เป็นสีประจำธนาคารซีไอเอ็มบีไทย
- สีแดงคู่กับสีขาว เป็นสีประจำทีมอาร์เซนอล, ซันเดอร์แลนด์, เซาแทมป์ตัน, อาแจ็กซ์ อัมเตอร์ดัม และสโมสรฟุตบอลไฟเยอโนร์ด และสีประจำโรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนสตรีวิทยา
- สีแดงคู่กับสีน้ำเงิน เป็นสีประจำทีมบาเยิร์นมิวนิก, บาร์เซโลนา
- สีแดงคู่กับสีดำ เป็นสีประจำทีมเอซี มิลาน, เชฟฟีลด์ ยูไนเต็ด, เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด
- สีแดงเป็นหนึ่งในสีที่มีอยู่ในสัญญาณไฟจราจร หมายถึง ให้หยุดรถ
- เป็นสีของธนบัตรชนิดราคา 100 บาท
สีประจำสถาบันการศึกษา
แก้- สีแดงตัด เป็นสีประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร[2]
- สีแดงเลือดนก เป็นสีประจำคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- สีแดงเลือดหมู เป็นสีประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- สีแดงชาด เป็นสีประจำวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร[2]
- สีแดง เป็นสีประจำ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- สีแดงเลือดนก เป็นสีประจำ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สีแดงเลือดหมู คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
แก้สีแดงเลือดหมู คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ | |
---|---|
Spectral coordinates | |
ความยาวคลื่น | approx. 616[3] nm |
Frequency | ~486 THz |
Color coordinates | |
Hex triplet | #8D1B23 |
ระบบสี RGBB (r, g, b) | (141, 27, 35) |
HSV (h, s, v) | (356°, 81%, 55%) |
CIELChuv (h, s, v) | (31, 82, 10°) |
Source | Color Hex |
B: อยู่ในช่วง [0–255] (ไบต์) |
โดยทั่วไปแล้ว สีแดงเลือดหมูถือว่าเป็นสีประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษาหลากหลายแห่งภายในประเทศไทย สืบเนื่องมาจากการที่สีโลหิตของพระวิษณุกรรม ซึ่งเป็นเทพแห่งวิศวกรรม และเทพแห่งการช่างทั้งปวง มีสีโลหิตเป็นสีแดงเลือดหมู โดยสีประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ในแต่ละสถาบันก็จะมีโทนสีที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งในส่วนของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ทำการกำหนดให้รหัสสี #8D1B23[4] เป็นสีประจำคณะวิชา และได้นำสีดังกล่าวมาปรับใช้กับตราสัญลักษณ์, ธง, ปกชุดครุยวิทยฐานะ ฯลฯ ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ตั้งแต่ในช่วงระยะเวลาที่เริ่มทำการก่อตั้งคณะวิชาจวบจนมาถึงในช่วงระยะเวลาปัจจุบัน
ชื่อที่ใช้ใน HTML |
R G B Hex |
ตัวอย่างสี | |||
---|---|---|---|---|---|
Indianred | CD | 5C | 5C | ||
Lightcoral | F0 | 80 | 80 | ||
Salmon | FA | 80 | 72 | ||
Darksalmon | E9 | 96 | 7A | ||
Orangered | FF | 45 | 00 | ||
Red | FF | 00 | 00 | ||
Crimson | DC | 14 | 3C | ||
Firebrick | B2 | 22 | 22 | ||
Darkred | 8B | 00 | 00 |
อ้างอิง
แก้- ↑ Georgia State University Department of Physics and Astronomy. "Spectral Colors". HyperPhysics site. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 27, 2017. สืบค้นเมื่อ October 20, 2017.
- ↑ 2.0 2.1 สรุปมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 4/2560 เมื่อวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560 (โดยมีอาจารย์ ดร. ไพโรจน์ พิทยเมธี อาจารย์ประจำภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้จัดทำสีไทยโทน ในการควบคุมและประสานงานเพื่อปรับสีประจำคณะวิชา)
- ↑ #8d1b23 Hex Color Code
- ↑ สีประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ