รชฏ พิสิษฐบรรณกร

ร้อยเอก รชฏ พิสิษฐบรรณกร อดีตทหารชาวไทยและเป็นนักการเมือง อดีตหัวหน้าพรรคภราดรภาพ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคไทยรักไทย และอดีตนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบกชาวไทย[1] ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ)

ร้อยเอก รชฏ พิสิษฐบรรณกร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด28 เมษายน พ.ศ. 2516 (50 ปี)
พรรคการเมืองพลังประชารัฐ

ประวัติ แก้

เกิดเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2516 สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนทิวไผ่งาม และสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย, ได้เข้าศึกษาต่อโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 34 ขณะเข้ารับการศึกษาได้รับเลือกเป็นหัวหน้าทีมบาสเก็ตบอลทีมโรงเรียนเตรียมทหารและได้รับการไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งประธานรุ่นที่ 34, เข้าศึกษาโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 45 ได้รับเลือกให้เป็น หัวหน้านักเรียนหลักสูตรส่งทางอากาศ ศูนย์สงครามพิเศษ และหัวหน้านักเรียนหลักสูตรจู่โจมศูนย์การทหารราบ หัวหน้านักเรียนหลักสูตรชั้นนายร้อยทหารราบ, ปริญญาโทหลักสูตรนักบริหารจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง,ได้รับการอบรมหลักสูตรจากสถาบันพระปกเกล้าเคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2 สมัยและอดีตเลขานุการคณะรัฐมนตรี 3 สมัย

การทำงาน แก้

เมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยได้รับราชการที่กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 8 จังหวัดเลย และกรมทหารพรานกองทัพภาคที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่นายทหารเสริมกำลังพิเศษ กองทัพภาคที่ 2 (ทหารเสือ) ก่อนจะย้ายมารับราชการ ทหารสังกัดกองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ และกองบังคับการ กรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ โดยทำหน้าที่ถวายอารักขา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ จากนั้นได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรกรุงเทพมหานคร 2 สมัย และเลขานุการรัฐมนตรีพาณิชย์ 3 สมัย

ด้านธุรกิจ แก้

เป็นประธานกรรมการ บริหารสายการบิน R Airlines มีอากาศยานแบบ Airbus A321 และ A320 และ A 319โดยมีภารกิจเช่าเหมาลำจากกองทัพบกรับส่งทหารใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ในปี 2561 ร.อ.รชฎ พิสิษฐบรรณกรได้เป็นประธาน กรรมการบริหาร สหมงคลประกันภัยจำกัด (มหาชน) และกลุ่มอาร์กรุ๊ป

ปี 2563 ร.อ.รชฎ พิสิษฐบรรณกรได้เป็นประธาน กรรมการบริหาร สหมงคลประกันภัยจำกัด (มหาชน) และกลุ่มอาร์กรุ๊ป

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธาน กรรมการบริษัทสหมงคลประกันภัย จำกัด (มหาชน) และกลุ่มอาร์กรุ๊ป

ด้านกีฬา แก้

เป็นประธานสโมสรฟุตบอลเลยซิตี้ซึ่งเป็นทีมที่เคยได้แชมป์ลีกภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาแล้วถึง 2 สมัย รวมถึงเป็นโปรโมเตอร์ของสนามมวยเวที ลุมพินี จัดรายการมวยในชื่อ"ศึกอาร์แอร์ไลน์"

งานการเมือง แก้

รชฏลาออกจากราชการ เพื่อมาทำงานด้านการเมืองการเมือง โดยได้ลงรับสมัครเลือกตั้งในเขต 4 กรุงเทพมหานคร (เขตพญาไท) สังกัดพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 โดยคู่แข่งคนสำคัญ คือ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่ง ร.อ.รชฏ สามารถเอาชนะไปได้อย่างเฉียดฉิว (ร.อ.รชฏได้ 30,352 คะแนน, นายพุทธิพงษ์ได้ 28,423 คะแนน)[2]

ปีต่อมาในการเลือกตั้งเดือนเมษายน เขาได้รับการเลือกตั้งเข้ามาอีกครั้งเป็นสมัยที่ 2 แต่ผลการเลือกตั้งในครั้งนั้นถือเป็นโมฆะจากคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ และหลังจากรัฐประหารในเดือนกันยายนปีเดียวกัน แล้ว ร.อ.รชฎพร้อมกับสมาชิกพรรคไทยรักไทยบางส่วน ได้ย้ายไปสังกัดพรรคมัชฌิมาธิปไตย ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นมา และ ร.อ.รชฏก็ได้มีตำแหน่งเป็นรองเลขาธิการพรรค และเป็นรองหัวหน้าพรรคตามลำดับ

ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 เขาได้ลงเลือกตั้งอีกครั้งในเขต 4 กรุงเทพมหานคร (เขตบางซื่อ, เขตหลักสี่, เขตจตุจักร) ซึ่งในครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งในเขตใหญ่และเป็นการเลือกตั้งแบบ 3 คน ตามรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2550 ปรากฏว่า ร.อ.รชฏและทีมพรรคมัชฌิมาธิปไตยไม่ได้รับการเลือกตั้ง[3]

ในสมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ร.อ.รชฏ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ 3 สมัย ก่อนที่เขาจะถูกศาลตัดสินให้เพิกถอนสิทธิ์รับสมัครเลือกตั้งเป็นเวลา 5 ปี จากคำพิพากษายุบพรรค[4]

ในสมัยรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ร.อ.รชฏ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการองค์การคลังสินค้า ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 เขาสังกัด พรรคภราดรภาพ และได้รับเลือกเป็นประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรค โดยลงสมัครเป็นผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 1 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2563 รอ. รชฏ พิสิษฐบรรรกร ได้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าพรรคภราดรภาพ ซึ่งมีบุญญา หลีเหลด ดำรงตำแหน่งรองหัวพรรค และสมบูรณ์ จิตตระบูรณ์ เป็นเลขาธิการพรรค

ต่อมาในปี 2565 เขาได้ย้ายไปร่วมงานกับพรรคสร้างอนาคตไทย[5] และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 เขาได้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตของกรุงเทพมหานคร เขต 6 สังกัดพรรคพลังประชารัฐ[6] แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

ในเดือนตุลาคม 2566 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี[7]ประจํากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ย้อนรอย ‘พรรคภราดรภาพ’ อยู่จุดไหนในการเมืองไทย?
  2. [1]
  3. [2]จากสนุกดอตคอม
  4. "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
  5. ‘สร้างอนาคตไทย’ เปิดตัวคนดังการเมือง 26 ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กทม. พร้อมทำงาน
  6. "ถึงคิว 'พรรคพลังประชารัฐ' เปิดหมายเลข 33 ผู้สมัครส.ส.กรุงเทพ". 2023-04-03.
  7. มติครม. แต่งตั้งพรึบ ชัยเกษม-สงคราม ไขก๊อกส.ส. รับที่ปรึกษานายกฯ มีชื่อนิพัทธ์-พิชัย
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘