พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)

อดีตพรรคการเมืองไทย

พรรคพลังประชาชน (อักษรย่อ: พปช. อังกฤษ: People Power Party) เป็นพรรคการเมืองไทยในอดีต มี สมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นหัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรคคือ สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี โฆษกพรรคคือ กุเทพ ใสกระจ่าง และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนใหญ่ของพรรคแต่เดิมมาจากพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชนมีนโยบายประชานิยมและมีฐานเสียงที่เข้มแข็งในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พรรคกลายเป็นผู้นำของรัฐบาลผสมหลังจากที่รัฐบาลทหารสนับสนุนการเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ. 2550 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเป็นแกนนำในการเคลื่อนไหวต่อต้านทักษิณ สาบานว่าจะต่อต้านพรรคพลังประชาชนหลังจากที่พรรคตัดสินใจแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

พรรคพลังประชาชน
ผู้ก่อตั้งพันตำรวจโท กานต์ เทียนแก้ว
หัวหน้าสมชาย วงศ์สวัสดิ์
(รักษาการ)
รองหัวหน้ายงยุทธ ติยะไพรัช
พันตำรวจโท กานต์ เทียนแก้ว
ไชยา สะสมทรัพย์
สมพงษ์ อมรวิวัฒน์
พลเอก เรืองโรจน์ มหาศรานนท์
สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์
ประสงค์ บูรณ์พงศ์
สุภาพร เทียนแก้ว
สุวัฒน์ วรรณศิริกุล
เลขาธิการสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
รองเลขาธิการนพดล ปัทมะ
อนุสรณ์ วงศ์วรรณ
สุขุมพงศ์ โง่นคำ
เหรัญญิกสงคราม กิจเลิศไพโรจน์
โฆษกกุเทพ ใสกระจ่าง
กรรมการบริหาร
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
(มกราคม–กันยายน พ.ศ. 2551)
สมชาย วงศ์สวัสดิ์
(กันยายน–ธันวาคม พ.ศ. 2551)
นโยบายเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ด้วยพลังประชาชน
ก่อตั้ง9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541
ถูกยุบ2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(10 ปี 23 วัน)
ก่อนหน้าพรรคไทยรักไทย
ถัดไปพรรคเพื่อไทย (ส่วนใหญ่)
พรรคภูมิใจไทย (กลุ่มเพื่อนเนวิน)
ที่ทำการเลขที่ 1770 ถนนเพชรบุรี แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
อุดมการณ์อนุรักษ์นิยม
กษัตริย์นิยม
ทักษิณนิยม
เสรีนิยมอนุรักษ์
สี  สีน้ำเงิน
เพลงพลังประชาชน
เว็บไซต์
www.ppp.or.th
(ปัจจุบันใช้การไม่ได้แล้ว)
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 รองหัวหน้าพรรคคือยงยุทธ ติยะไพรัช ถูกตั้งข้อหาทุจริตการเลือกตั้งในระหว่างการเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2550 ข้อหาเหล่านี้นำไปสู่การยุบพรรคโดยคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 โดยหลังยุบพรรค สส. จากพรรคพลังประชาชนแตกออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนใหญ่ไปก่อตั้งพรรคเพื่อไทยขึ้นมามีบทบาทต่อจากพรรคไทยรักไทยแทนพรรคพลังประชาชน แต่กลุ่มเพื่อนเนวินได้แยกตัวออกไปรวมกับ สส. อดีตพรรคมัชฌิมาธิปไตยที่ถูกยุบพรรคในคราวเดียวกัน ก่อตั้งเป็นพรรคภูมิใจไทย และหันไปสนับสนุนให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนายกรัฐมนตรีและจัดตั้งรัฐบาลแทน

รายชื่อนายกรัฐมนตรี

แก้

ประวัติ

แก้

พรรคพลังประชาชนก่อตั้งเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 โดยมีพันตำรวจโทกานต์ เทียนแก้ว เป็นหัวหน้าพรรค[1] และดำรงอยู่ในฐานะพรรคขนาดเล็กเป็นเวลาหลายปี พรรคพลังประชาชนในยุคแรกๆ ได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในระดับประเทศและในกรุงเทพมหานคร แต่ไม่เคยได้รับเลือกตั้ง

พรรคได้ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสองครั้ง โดยครั้งแรก ใน การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543 พรรคได้มีมติส่งพันตำรวจโท กานต์ เทียนแก้ว ลงสมัครในนามพรรค แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง และครั้งที่ 2 ใน การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2547 พรรคได้มีมติส่ง การุญ จันทรางศุ อดีต สส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย ลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่ก็ไม่ได้รับเลือกตั้งอีกเช่นกัน

พรรคได้ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งในการเลือกตั้งระดับประเทศทั้งสามครั้ง โดยใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2548 พรรคไม่ได้รับเลือกตั้ง จนกระทั่ง การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 มีการเลือกตั้งซ่อมในวันที่ 23 เมษายน พรรคพลังประชาชนได้รับเลือกตั้ง 3 เขต

เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 อดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทยส่วนใหญ่ตัดสินใจสมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชาชนหลังจากที่พรรคไทยรักไทยถูกยุบหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 และลงสมัครรับเลือกตั้งในฐานะผู้สมัครของพรรคพลังประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2550[2][3] ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากพรรคไทยรักไทยถูกยุบโดยคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 อีกทั้งยังมีคำสั่งห้ามอดีตกรรมการบริหารพรรคจำนวน 111 คนเล่นการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เช่น ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตหัวหน้าพรรค ทำให้นางสาวสุภาพร ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคในตอนนั้นได้ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งตั้งแต่เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2550 ส่งผลให้คณะกรรมการบริหารพรรคที่เหลืออีก 5 คนพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะแต่ยังคงรักษาการจนกว่าจะมีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่[4]

สมัคร สุนทรเวช อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและอดีตหัวหน้า พรรคประชากรไทย ซึ่งภายหลังประกาศตัวเป็น 'นอมินี' ของทักษิณ ชินวัตร และ นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคพลังประชาชนตามลำดับ ในคราวประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1/2550 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 พร้อมกับแก้ไขข้อบังคับพรรค เปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์พรรค และย้ายที่ทำการพรรคมาอยู่ที่ 1770 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง ซึ่งเป็นที่ทำการพรรคเพื่อไทยในปัจจุบัน[5][6]

หลังจากที่ สมัคร สุนทรเวช ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551 สมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองหัวหน้าพรรค จึงขึ้นรักษาการหัวหน้าพรรคไปก่อน แต่ยังไม่ทันที่จะมีการประชุมใหญ่ของพรรค พรรคก็ถูกยุบเสียก่อน

สัญลักษณ์ของพรรค

แก้

สัญลักษณ์ของพรรคในยุคแรก เป็นรูปวงกลมสีเขียว อันหมายถึงความสงบสุขร่มเย็นของแผ่นดินไทย มีภาพเสาธงชาติไทยปักอยู่บนแผนที่ประเทศไทยอยู่ใจกลางของวงกลม รายล้อมด้วยตุ๊กตาแต่งตัวเป็นอาชีพต่างๆ ซึ่งเป็นสื่อแทนชาวไทยในหลายสาขาอาชีพ โดยมีตัวอักษรชื่อพรรค เป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษ รายล้อมสัญลักษณ์ดังกล่าวทั้งหมด

ส่วนสัญลักษณ์ของพรรคในปัจจุบัน เป็นตัวอักษรไทย สีน้ำเงิน โดยเส้นทแยงจากล่างซ้ายขึ้นบนขวาเป็นสีแดง และขาว ซึ่งมีส่วนคล้ายคลึงกับสัญลักษณ์ของพรรคไทยรักไทย ที่เป็นตัวอักษรไทย สีน้ำเงิน ที่มีเส้นทแยงจากล่างซ้ายขึ้นบนขวา เป็นสีแดง ขาว และน้ำเงิน


บุคลากร

แก้

หัวหน้าพรรค

แก้
ลำดับ รูป รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ ตำแหน่งสำคัญ
1   พันตำรวจโทกานต์ เทียนแก้ว
(22 ตุลาคม พ.ศ. 2504 — ปัจจุบัน)
30 ธันวาคม พ.ศ. 2541 29 มกราคม พ.ศ. 2546 • อดีตผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

• อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบสัดส่วน

2   สุภาพร เทียนแก้ว
(5 มกราคม พ.ศ. 2516 — ปัจจุบัน)
7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 23 สิงหาคม พ.ศ. 2550
3   สมัคร สุนทรเวช
(13 มิถุนายน พ.ศ. 2478 — 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552)
24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 30 กันยายน พ.ศ. 2551 • อดีตนายกรัฐมนตรี
• อดีตรองนายกรัฐมนตรี 3 สมัย
• อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
• อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
• อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม 2 สมัย
• อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
• อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
• อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
4   สมชาย วงศ์สวัสดิ์
(31 สิงหาคม พ.ศ. 2490 — ปัจจุบัน)
30 กันยายน พ.ศ. 2551 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 • อดีตนายกรัฐมนตรี
• อดีตรองนายกรัฐมนตรี
• อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
• อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

เลขาธิการพรรค

แก้
ลำดับ รูป รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ ตำแหน่งสำคัญ
1   สุภาพร เทียนแก้ว
(5 มกราคม พ.ศ. 2516 — )
23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 20 ธันวาคม พ.ศ. 2541
2   ปิยะรัตน์ เทียนแก้ว
(13 มิถุนายน พ.ศ. 2478 — )
31 ธันวาคม พ.ศ. 2541 20 สิงหาคม พ.ศ. 2550
3   นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
(2 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 — )
24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 • อดีตรองนายกรัฐมนตรี
• อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
• อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
• อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

กรรมการบริหารพรรค

แก้
color:red; padding-top: 30px;" | ไชยา สะสมทรัพย์


กรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน
People Power Party Executive Committee[7]

หัวหน้าพรรค
 
สมัคร สุนทรเวช
รองหัวหน้าพรรค
สมชาย วงศ์สวัสดิ์ สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ พลเอก เรืองโรจน์ มหาศรานนท์
สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ ประสงค์ บูรณ์พงศ์ สุภาพร เทียนแก้ว
สุวัฒน์ วรรณศิริกุล
เลขาธิการพรรค
 

นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
รองเลขาธิการพรรค
อนุสรณ์ วงศ์วรรณ นพดล ปัทมะ ชูศักดิ์ ศิรินิล
สุขุมพงศ์ โง่นคำ
เหรัญญิกพรรค โฆษกพรรค
สงคราม กิจเลิศไพโรจน์ ร้อยโท กุเทพ ใสกระจ่าง
กรรมการบริหารพรรค
สุธา ชันแสง ศรีเมือง เจริญศิริ มงคล กิมสูนจันทร์
พันตำรวจโท ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ ทรงศักดิ์ ทองศรี สมาน เลิศวงศ์รัฐ
นิสิต สินธุไพร ธีระชัย แสนแก้ว วีระพล อดิเรกสาร
สุทิน คลังแสง อิทธิ ศิริลัทธยากร กิตติกร โล่ห์สุนทร
บุญลือ ประเสริฐโสภา พิเชษฐ์ ตันเจริญ มาลินี ภูตาสืบ
ปิยะรัตน์ เทียนแก้ว ศรัญญา แสงวิมา มนัสปรียา ภูตาสืบ
กาญจน์ณิชา แต้มดี

กลุ่มย่อยในพรรค

แก้

การเลือกตั้ง

แก้

ใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 พรรคส่งผู้สมัครในระบบบัญชีรายชื่อจำนวน 5 คน ได้คะแนน 305,015 คะแนน ไม่ได้รับเลือก และส่งผู้สมัครแบบแบ่งเขต ได้รับเลือกจำนวน 3 คนในการลงคะแนนรอบที่ 2 วันที่ 23 เมษายน 2549 ที่จังหวัดกระบี่ เขต 1 และเขต 3 และจังหวัดตรัง เขต 2 [8] โดยเป็นพื้นที่ในเขตฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งผู้มีสิทธิ์ส่วนใหญ่ลงคะแนนเสียงให้ เพื่อไม่ให้ผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทยได้รับเลือก และคะแนนเสียงที่ได้ น้อยกว่าคะแนนเลือกที่จะไม่เลือก (No Vote)

ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง รอบที่ 2 เมื่อวันที่ 23 เมษายน ปีเดียวกัน ผู้สมัครในนามพรรคพลังประชาชน ที่จังหวัดสงขลา เขต 2 ถูกกรรมการการเลือกตั้งตัดสิทธิ์ เนื่องจากเป็นผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อ เวียนเทียนมาสมัครใหม่ในระบบแบ่งเขต[9]

ใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 พรรคพลังประชาชนได้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 233 คน โดยมีแบบแบ่งเขต 199 คน และแบบสัดส่วน 34 คน กลายเป็นพรรคอันดับหนึ่ง และเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล

สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อธิบายถึงสาเหตุที่พรรคพลังประชาชนสามารถชนะเลือกตั้งครั้งนี้ รวมถึงวิเคราะห์พรรคที่แยกตัวออกไปจากพรรคไทยรักไทยอย่าง พรรคเพื่อแผ่นดิน และ พรรคมัชฌิมาธิปไตย ที่ไม่ได้จำนวน สส. ดังที่หวังไว้ ดังนี้[10]

  1. ความสำเร็จจากนโยบายของพรรคไทยรักไทยยังเป็นความจริงที่ประชาชนสัมผัสได้ทุกๆ วัน เช่น 30 บาทรักษาทุกโรค กองทุนหมู่บ้าน OTOP ฯลฯ
  2. การทำตามนโยบายหาเสียงของพรรคไทยรักไทยทันทีที่จัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้งทั้ง 2 ครั้งในปี พ.ศ. 2544 และในปี พ.ศ. 2548 ทำให้พรรคพลังประชาชนซึ่งต่อเนื่องมาจากพรรคไทยรักไทย ได้รับผลพวงความมั่นใจจากประชาชนติดมาด้วย ท่ามกลางการหาเสียงในปี พ.ศ. 2550 ที่มีสารพัดนโยบายซึ่งทุกพรรคการเมืองสาดใส่ผู้เลือกตั้ง จนจำกันไม่ได้ว่า นโยบายนั้นๆเป็นของพรรคใด พรรคพลังประชาชนเพียงหาเสียงด้วยคำขวัญว่า “นโยบายดีๆใครก็พูดได้ แต่คนที่พูดแล้วทำได้จริง อยู่ในพรรคพลังประชาชน” และ “เลือกผิด…เพิ่มหนี้ให้ครอบครัว เลือกถูก…เพิ่มเงินในกระเป๋า” ก็ชนะเลือกตั้งไป 233 ที่นั่ง
  3. พรรคเพื่อแผ่นดินและพรรคมัชฌิมาธิปไตยเพิ่งจัดตั้งขึ้นเพียงไม่กี่เดือนก่อนการเลือกตั้ง การบริหารจัดการพรรคแบบที่พรรคไทยรักไทยเคยทำไว้ไม่สามารถเรียนรู้ได้ในระยะเวลาสั้นๆ
  4. แกนนำของทั้งสองพรรคเชี่ยวชาญอย่างยิ่งในพื้นที่เขตเลือกตั้ง แต่ไม่เคยมีบทบาทในการวางยุทธศาสตร์เลือกตั้งในภาพรวมของพรรคไทยรักไทยเลย หัวใจของการรณรงค์เลือกตั้ง ไม่ใช่เพียงแต่รุกในเขตเลือกตั้ง แต่ต้องรุกเข้าไปในหัวใจประชาชนด้วย ศาสตร์ของการรณรงค์เลือกตั้งยุคใหม่ไม่มีพรรคใดสู้พรรคไทยรักไทยที่สั่งสมมากว่า 10 ปี และส่งผ่านมาถึงพรรคพลังประชาชนได้
  5. ภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มทรุดลงตอนปลายปี พ.ศ. 2550 ก่อนเกิดภาวะราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นถึง 140 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในกลางปี พ.ศ. 2551 ตลอดจนความรู้สึกของประชาชนต่อการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 ส่งผลให้มีการสนับสนุนพรรคพลังประชาชนมากขึ้น

ต่อมาได้เชิญพรรคอื่นมาร่วมรัฐบาลด้วย โดยมี พรรคชาติไทย, พรรคเพื่อแผ่นดิน, พรรคมัชฌิมาธิปไตย, พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา, และ พรรคประชาราช ซึ่งกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เชิญทุกพรรคร่วมรัฐบาล โดยทิ้ง พรรคประชาธิปัตย์ เป็นฝ่ายค้านเพียงพรรคเดียว

ผลการเลือกตั้งทั่วไป

แก้
การเลือกตั้ง จำนวนที่นั่ง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ผลการเลือกตั้ง ผู้นำเลือกตั้ง
2544
0 / 500
ไม่ได้รับเลือกตั้ง กานต์ เทียนแก้ว
2548
0 / 500
26,855[11]
2549
3 / 500
305,015 การเลือกตั้งเป็นโมฆะ สุภาพร เทียนแก้ว
2550
233 / 480
26,293,456 36.63% พรรคจัดตั้งรัฐบาล สมัคร สุนทรเวช

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

แก้
การเลือกตั้ง ผู้สมัคร คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ผลการเลือกตั้ง
2543 พันตำรวจตรี กานต์ เทียนแก้ว 1,613   พ่ายแพ้
2547 การุญ จันทรางศุ 11,070   พ่ายแพ้
2551 ประภัสร์ จงสงวน 543,488 25.19%   พ่ายแพ้

ข้อวิพากษ์วิจารณ์

แก้

นายสมัคร สุนทรเวช ในฐานะหัวหน้าพรรค

แก้

การเข้ามาของนายสมัครทำให้เกิดข้อวิจารณ์ในสังคม เนื่องจากแกนนำส่วนหนึ่งของพรรค ถูกมองว่า “ซ้ายจัด” เคยเข้าป่า ร่วมต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา ขณะที่นายสมัคร เป็นสัญลักษณ์ของอุดมการณ์ “ขวาสุดขั้ว” โดยนายแพทย์สุรพงษ์ ได้กล่าวถึงข้อวิจารณ์ในกรณีดังกล่าวว่า “ผมว่าคนที่คิดอย่างนี้เป็นคนที่ใช้ประสบการณ์เดิมเมื่อ 30 ปีที่แล้วมาพูด อุดมการณ์ซ้ายกับขวานั้นเป็นแนวคิดเรื่องการบริหารประเทศในอดีต ที่แยกออกจากกันระหว่างฝ่ายทุนนิยมกับสังคมนิยม แต่ทุกวันนี้สถานการณ์มันเปลี่ยนไป เพราะสังคมประชาธิปไตยสมัยใหม่ต้องเดินทางสายกลาง ฉะนั้น ไม่ว่าใครก็ตามที่ยืนยันจะต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ไม่ว่าพื้นเพความคิดจะเป็นซ้ายหรือขวา ถ้ามีจุดยืนที่จะทวงคืนประชาธิปไตยให้กลับสู่บ้านเมืองโดยเร็วที่สุดแล้วละก็ เราพร้อมที่จะร่วมมือ”[12]

และในช่วงก่อนการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 สมัครก็มีเรื่องพิพาทกับนักข่าว หลังจากที่ไม่พอใจที่นักข่าวซักไซ้เรื่องการมีอดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทยร่วมจัดสรรผู้สมัคร สส. สัดส่วนของพรรค จนเกิดวาทกรรมต่อสื่อมวลชนว่า “เมื่อคืนเสพเมถุนมาหรือ” ท่าทีฉุนเฉียวของนายสมัครทำให้เกิดความตึงเครียดกับผู้สื่อข่าวที่อยู่ในห้องแถลง และภายหลังการแถลงข่าวของนายสมัคร ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กทม.ของพรรคถึงกับกล่าวว่ารู้สึกไม่สบายใจที่หัวหน้าพรรคออกมาเช่นนี้ ที่ผ่านมาก็กังวลกับบุคลิกของนายสมัคร ที่พูดจาโผงผางที่จะทำให้คะแนนใน กทม. ร่วงลง แต่นี้มีปัญหากับสื่อซ้ำอีก พวก ส.ส. ยังพูดเลยว่าหัวหน้าดุ ขนาด ส.ส.ถามยังเจอด่ากันถ้วนหน้า[13]

นอกจากนี้ ยังมีการกล่าวหาว่าในพรรคพลังประชาชนมีแก๊งออฟโฟร์ ซึ่งสมาชิกพรรคใช้สื่อถึงบุคคลสี่คนในพรรค ซึ่งอ้างว่าพยายามจะยึดอำนาจภายในพรรค หลังจาก ทักษิณ ชินวัตร ออกนอกประเทศ ได้แก่

  1. สมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรค
  2. ธีรพล นพรัมภา เลขาธิการนายสมัคร
  3. เนวิน ชิดชอบ หัวหน้ากลุ่มเพื่อนเนวิน
  4. สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขาธิการพรรค

รัดทำมะนวย ฉบับหัวคูณ

แก้

วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 มีงานปฐมนิเทศผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ของพรรคพลังประชาชน โดยภายในงาน มีการแจกหนังสือวิพากษ์วิจารณ์ข้อบกพร่องของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ชื่อหนังสือว่า “รัดทำมะนวย ฉบับหัวคูณ” เขียนโดย พ.ต.อ.ประจักษ์ศิลป์ สุพรรณเภสัช ซึ่ง พ.ต.อ.ประจักษ์ศิลป์ ชี้แจงว่า ชื่อหนังสือได้นำมาจากเนื้อหาบางส่วนในบทความของ สุจิตต์ วงศ์เทศ และ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่เขียนไว้ว่า รัดทำมะนวยปล้นอำนาจประชาชน และ ไอ้พวกทุจริตมันเป็นพวกหัวคูณ คือคิดอะไรแต่เรื่องผลประโยชน์ของตัวเอง โดยการคูณ คูณ คูณ คูณ ว่าเป็นเงินเท่าไร โดยนำคำจากทั้งสองบทความ มาสมาสกันเป็นชื่อหนังสือ[14]

ต่อมา น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษา และส่งเสริมการสร้างคุณธรรมและจริยธรรมฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และอดีตประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2550 ได้ออกแถลงการณ์ประณามหนังสือเล่มดังกล่าว ว่าทำให้ผู้อ่านเข้าใจรัฐธรรมนูญ ที่ถือเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ไปในทางที่ไม่สุภาพ (ผวนแล้วเป็นคำหยาบ) [15]

การกล่าวโทษและการลาออก

แก้

รัฐบาลอายุ 5 เดือนของนายสมัคร สุนทรเวช ตกที่นั่งลำบากในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 หลังจากนายนพดล ปัทมะ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลาออกจากตำแหน่ง รองหัวหน้าพรรคและประธานสภาผู้แทนราษฎรคือนายยงยุทธ ติยะไพรัช ถูกห้ามเล่นการเมืองเป็นเวลา 5 ปี หลังศาลฎีกามีคำพิพากษาข้อหาซื้อเสียง จากนั้น นายไชยา สะสมทรัพย์ ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะปกปิดทรัพย์สินของภรรยา

ศาลรัฐธรรมนูญมีคำตัดสินเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคมว่านายนพดล ปัทมะ และคณะรัฐมนตรีทั้งหมดกระทำการโดยไม่ขอความเห็นชอบจากรัฐสภาสำหรับข้อตกลงทวิภาคีกับกัมพูชา โดยนายนพดลในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ลงนามในข้อตกลงเมื่อเดือนมิถุนายนเพื่อสนับสนุนกัมพูชาในการขอสถานะมรดกโลกสำหรับปราสาทพระวิหารอายุ 900 ปี[16] พรรคฝ่ายค้านยื่นคำร้องต่อรองประธานวุฒิสภานายนิคม ไวยรัชพานิช ให้ถอดถอนนายนพดล ปัทมะ ประเด็นปราสาทพระวิหาร ซึ่งนายนพดลถูกกล่าวหาว่าทำผิดมาตรา 190 และมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญ พรรคฝ่ายค้านยื่นญัตติไม่ไว้วางใจก่อนที่นายนพดลจะลงจากตำแหน่ง[17]

การเปลี่ยนตัวผู้เสนอชื่อดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

แก้

จากการสัมภาษณ์ของ ศุภชัย ใจสมุทร อดีตสมาชิกพรรคพลังประชาชน ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552 ความว่า หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ สมัคร สุนทรเวช พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2551 อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ได้ติดต่อ เนวิน ชิดชอบ ว่า ขอให้แจ้งกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคว่า ให้สนับสนุนนายสมัครเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป เนวินจึงแจ้งกับ สส. พรรค และให้มีการติดต่อไปหาสมัครให้กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง โดยสมัครตอบตกลงในอีก 3 วันต่อมา[18]

วันที่ 12 กันยายน เมื่อถึงเวลาประชุมสภา ซึ่งจะมีการตกลงให้มีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง กลับมีแต่ ส.ส.พรรคพลังประชาชนกลุ่มเพื่อนเนวิน และพรรคประชาธิปัตย์มาประชุม ไม่มี ส.ส. พรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆเลย ทำให้องค์ประชุมไม่ครบ ทำให้ไม่สามารถลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีในวันนั้นได้[19] โดยมีการกล่าวอีกว่า ในวันนั้นได้มีบุคคลไปประสานกับพรรคร่วมรัฐบาลว่า อย่าได้ไปสภา ทำให้องค์ประชุมไม่ครบ หลังจากนั้น การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย กันยายน พ.ศ. 2551 พรรคพลังประชาชนเสนอชื่อ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน[20] สร้างความไม่พอใจให้กับ สส. กลุ่มเพื่อนเนวินอย่างมาก

ยุบพรรค

แก้

2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยกรณีอัยการสูงสุดมีคำร้องให้ยุบพรรคพลังประชาชน รวมทั้งเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งต่อกรรมการบริหารพรรคเป็นจำนวน 37 คน มีกำหนด 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญคำสั่งให้ยุบพรรค

ตุลาการรัฐธรรมนูญ ระบุว่ากรณีที่นายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตรองหัวหน้าพรรคกระทำการฝ่าฝืนและขัดต่อ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 ที่มีผลทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปโดยสุจริต และได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางของรัฐธรรมนูญ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่พรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคคนอื่นๆ ต้องร่วมรับผิดชอบ

ศาลวินิจฉัยแล้วเห็นว่าคำแก้ข้อกล่าวหาของผู้ถูกร้องฟังไม่ขึ้น เนื่องจากนายยงยุทธ เป็นนักการเมืองหลายสมัย มีฐานะเป็นถึงรองหัวหน้าพรรค และอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ย่อมต้องเพิ่มความเข้มงวดที่จะไม่กระทำการใดๆ อันฝ่าฝืนกฎหมาย แต่นายยงยุทธ ติยะไพรัช กลับกระทำผิดเสียเอง

นอกจากนี้กรณีที่พรรคพลังประชาชนโต้แย้งว่าได้จัดการประชุมชี้แจงเพื่อกำชับไม่ให้ผู้สมัครของพรรคกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายเลือกตั้งแล้วก็ตามนั้น ศาลเห็นว่าแม้พรรคจะมีการกระทำดังกล่าวจริง แต่ไม่ได้เป็นข้อยกเว้นความรับผิดในการที่กรรมการบริหารพรรคจะไปกระทำผิดเอง เพราะทำให้เห็นว่ามาตรการดังกล่าวไม่ได้มีผลบังคับใช้

ส่วนที่มีข้อโต้แย้งว่าผลการสืบสวนของคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ละเมิดสิทธิและไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรมนั้น ศาลวินิจฉัยแล้วเห็นว่า กกต.มีหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาล และได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายมาอย่างถูกต้องแล้ว

ภายหลังการยุบพรรค

แก้

สส. ของพรรคที่ยังเหลืออยู่ได้ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย แต่ขณะเดียวกันก็มี สส.บางส่วนที่ไม่ได้ย้ายตามไป แต่ไปสังกัดพรรคอื่น ดังนี้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคพลังประชาชน
  2. Thaksin's legal advisor to join People Power party, People's Daily, July 30, 2007
  3. Ex-TRT MPs join little-known party เก็บถาวร 2007-12-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Nation (Thailand), July 29, 2007
  4. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน
  5. People Power to elect Samak as new leader on August 22 เก็บถาวร 2009-04-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Nation (Thailand), August 2007
  6. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน
  7. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน
  8. ไทยรัฐ, สรุปรวม พรรคไม้ประดับ แย่งที่นั่ง ทรท.ได้ถึง 9 เขต เก็บถาวร 2007-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  9. คมชัดลึก, ตัดสิทธิ์ผู้สมัครสส.พรรคเล็ก สงขลา 3 คนเมืองคอน 2 ราย เก็บถาวร 2008-12-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  10. “หมอเลี๊ยบ” เผย 4 สาเหตุ “เพื่อแผ่นดิน-มัชฌิมา” แพ้ยับในสนามเลือกตั้ง 50
  11. "ข้อมูลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ปี พ.ศ. 2548 - Open Government Data of Thailand". data.go.th.[ลิงก์เสีย]
  12. ฐากูร บุนปาน, คอลัมน์ สถานีคิดเลขที่ 12, ลืมได้?, นสพ.มติชน, 8 สิงหาคม 2550
  13. "คำต่อคำ : "หมัก" โชว์ภาวะผู้นำ! ถูกสื่อซักลั่นคำ "เมื่อคืนเสพเมถุนมาหรือ"". mgronline.com. 2007-11-09.
  14. มติชน, สนช.ประณาม พปช.แจก 'รัดทำมะนวยฯ' นศ.พระปกเกล้าแถลงสั่งสอนวัฒนธรรม, นสพ.มติชน, 15 พฤศจิกายน 2550
  15. ไทยรัฐ, “ประสงค์” ฉุนรัฐธรรมนูญถูกลบหลู่, นสพ.ไทยรัฐ, 16 พฤศจิกายน 2550
  16. afp.google.com, Thai government in disarray as foreign minister resigns เก็บถาวร 2008-12-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  17. nationmultimedia.com, Noppadon impeached by the Opposition เก็บถาวร 2008-12-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  18. ""หมอเลี้ยบ"เรียกประชุม พปช.ด่วนเย็นนี้หลัง"สมัคร"ตอบรับเสนอชื่อนายกฯ". ryt9.com.
  19. รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 14 (เป็นพิเศษ) วันที่ 12 กันยายน 2551
  20. "ฉากสุดท้ายของ สมัคร สุนทรเวช อาสาทักษิณจนตัวตาย". mgronline.com. 2009-11-25.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้