อิทธิ ศิริลัทธยากร
อิทธิ ศิริลัทธยากร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย อดีตกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน
อิทธิ ศิริลัทธยากร ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 – 6 มกราคม พ.ศ. 2544 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 18 มิถุนายน พ.ศ. 2497 จังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศไทย |
พรรค | พลังประชาชน |
คู่สมรส | นางสุพัฒตรา ศิริลัทธยากร |
บุตร | อรรถกร ศิริลัทธยากร |
ศาสนา | พุทธ |
ประวัติแก้ไข
อิทธิ ศิริลัทธยากร เกิดเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2497 เป็นชาวตำบลพนม อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา จบการศึกษา ปริญญาตรี สาขารัฐศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นนักการเมืองชาวฉะเชิงเทรา เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หลายสมัยของจังหวัดฉะเชิงเทรา[1]
อิทธิ ศิริลัทธยากร เคยเข้าร่วมกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553[2]
งานการเมืองแก้ไข
อิทธิ ศิริลัทธยากร เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดฉะเชิงเทรา 5 สมัย ระหว่างปี พ.ศ. 2535 ถึง พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคชาติพัฒนา พรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชนตามลำดับ และเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย (ครม.53)
เขายังเป็นหนึ่งในสมาชิก ส.ส.กลุ่ม 16[3] อีกด้วย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชนซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551[4]
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 นายอิทธิได้สนับสนุนบุตรชายคือนาย อรรถกร ศิริลัทธยากร ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคพลังประชารัฐ[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ นายอิทธิ ศิริลัทธยากร[ลิงก์เสีย]
- ↑ "อากาศเป็นใจม็อบเสื้อแดงแน่นผ่านฟ้า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-31. สืบค้นเมื่อ 2011-07-15.
- ↑ แหยงกลุ่ม 16 ไม่กล้าแตะ ‘ราเกซ’[ลิงก์เสีย]
- ↑ "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
- ↑ "สุชาติ" ฮึด ยึดแปดริ้วอีอีซี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๐, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓