กานต์ เทียนแก้ว
พันตำรวจโท กานต์ เทียนแก้ว เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน เป็นอดีตผู้ก่อตั้งและหัวหน้าพรรคพลังประชาชน พรรคเงินเดือนประชาชน และเป็นแกนนำกลุ่ม นปช.ลำปาง[1]
กานต์ เทียนแก้ว | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วน | |
ดำรงตำแหน่ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 | |
หัวหน้าพรรคพลังประชาชน | |
ดำรงตำแหน่ง 30 ธันวาคม พ.ศ. 2541 – 29 มกราคม พ.ศ. 2546 | |
หัวหน้าพรรคเงินเดือนประชาชน | |
ดำรงตำแหน่ง 25 ธันวาคม พ.ศ. 2556 – 18 มิถุนายน พ.ศ. 2557 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 ตุลาคม พ.ศ. 2504 |
พรรคการเมือง | พลังประชาชน (2541–2551) เงินเดือนประชาชน (2556–2557) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | นปช.ลำปาง |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กรมตำรวจ |
ประจำการ | พ.ศ. 2524 - พ.ศ. 2541 |
ยศ | พันตำรวจโท |
ประวัติ
แก้พันตำรวจโท กานต์ เทียนแก้ว เกิดเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2504 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ระดับปริญญาตรีรัฐประศาสนศาสตร์ จากโรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน
การทำงาน
แก้พันตำรวจโท กานต์ เทียนแก้ว เคยรับราชการตำรวจ ต่อมาเขาได้จัดตั้งพรรคการเมืองขึ้น มีชื่อว่า "พรรคพลังประชาชน" ในปี พ.ศ. 2541 โดยเขารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนแรก ต่อมาลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[2] และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งเช่นกัน
กระทั่งในปี พ.ศ. 2550 เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักไทย และสมาชิกพรรคไทยรักไทยจำนวนมากย้ายเข้ามาสังกัดพรรคพลังประชาชน ซึ่งขณะนั้นเขารับตำแหน่งประธานที่ปรึกษาพรรค จึงได้มีการปรับโครงสร้างการบริหารงานพรรค โดยเขาได้รับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วน ในนามพรรคพลังประชาชน ซึ่งเขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[3]สมัยแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคพลังประชาชน และตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา 5 ปี ทำให้เขาถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองในครั้งนั้นด้วย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ เสื้อแดงจัดพิธีสืบชะตา"แม้ว"ที่ลำปาง
- ↑ ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จาก เก็บถาวร 2013-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรุงเทพมหานคร
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๔, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ก่อนหน้า | กานต์ เทียนแก้ว | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ก่อตั้งพรรค | หัวหน้าพรรคพลังประชาชน (30 ธันวาคม พ.ศ. 2541 – 29 มกราคม พ.ศ. 2546) |
สุภาพร เทียนแก้ว |