เยาวภา วงศ์สวัสดิ์

เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ (ชื่อเล่น: แดง) อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ประธาน ส.ส.ภาคเหนือ พรรคเพื่อไทย อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ก่อตั้งบริษัท เอ็มลิงก์ เอเชีย คอรัปชั่น จำกัด[1] อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย[2] และหัวหน้ากลุ่มวังบัวบาน พรรคไทยรักไทย เป็นภริยาของสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 26 เป็นน้องสาวคนรองของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนที่ 23 และเป็นพี่สาวของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนที่ 28

เยาวภา วงศ์สวัสดิ์
คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย
ดำรงตำแหน่ง
18 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(0 ปี 75 วัน)
นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ก่อนหน้าสุรัตน์ สุนทรเวช
ถัดไปพิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
ดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
(4 ปี 31 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
ถัดไปพายัพ ชินวัตร
ดำรงตำแหน่ง
21 เมษายน พ.ศ. 2556 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556
(0 ปี 232 วัน)
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าเกษม นิมมลรัตน์
ถัดไปจักรพล ตั้งสุทธิธรรม
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
(1 ปี 18 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
เยาวภา ชินวัตร

15 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 (68 ปี)
เชียงใหม่ ประเทศไทย
พรรคการเมืองเพื่อไทย (2551–2564)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
ไทยรักไทย (2542–2549)
คู่สมรสสมชาย วงศ์สวัสดิ์
บุตร
บุพการี
ญาติทักษิณ ชินวัตร (พี่ชาย)
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (น้องสาว)
พายัพ ชินวัตร (น้องชาย)
แพทองธาร ชินวัตร (หลานสาว)
พานทองแท้ ชินวัตร (หลานชาย)
พินทองทา ชินวัตร (หลานสาว)
ศิษย์เก่าสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (รป.ม)
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ศษ.บ.)
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (น.บ.)
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โรงเรียนดาราวิทยาลัย
อาชีพนักการเมือง
ชื่อเล่นแดง

ประวัติ แก้

เยาวภาเกิดเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 ที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรคนที่ 6 และเป็นบุตรสาวคนที่ 4 ในจำนวน 10 คน ของนายเลิศ และยินดี ชินวัตร ซึ่งเป็นธิดาของเจ้าจันทร์ทิพย์ ระมิงค์วงศ์ (หลานตาของเจ้าไชยสงคราม สมพมิตร ณ เชียงใหม่ ซึ่งสืบเชื้อสายจากพระเจ้าช้างเผือกธรรมลังกา พระเจ้านครเชียงใหม่) [3][4][5] จบการศึกษาชั้นประถม จากโรงเรียนดาราวิทยาลัย, ชั้นมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, จบหลักสูตรพยาบาล โรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัยแมคคอร์มิคเชียงใหม่ สำเร็จปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และนิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, สำเร็จรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (ภาคพิเศษ) จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ด้านชีวิตครอบครัว เยาวภาสมรสกับสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ขณะที่ดำรงตำแหน่ง ผู้พิพากษาประจำศาลจังหวัดเชียงใหม่ มีบุตร 1 คนคือ ยศธนัน (เชน) และธิดา 2 คนคือ ชินณิชา (เชียร์) กับชยาภา (เชอรี่) โดยชินณิชาเป็นอดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย เจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์หลายแห่ง รวมถึงบริษัท แอสคอน คอนสตรักชั่น จำกัด ผู้รับเหมาก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ[6] ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 เยาวภาเปิดบริษัท สตรอง พอยต์ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด (Strong Point Entertainment) ดำเนินธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายดนตรี (ค่ายเพลง) เพื่อออกอัลบั้มแรกให้ชยาภา บุตรสาวคนสุดท้อง ใช้ชื่อว่า เชอรี่ ซีเครท ซี (Cherry - SECRET C)[7]

งานการเมือง แก้

เยาวภาเป็นนักการเมือง ระดับผู้นำของพรรคไทยรักไทย โดยเป็นหัวหน้ากลุ่มวังบัวบาน และได้รับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 โดยเอาชนะบรรจง ตะริโย จากพรรคประชาธิปัตย์ ถึงกว่า 20,000 คะแนน[8][9] จากนั้นในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 เยาวภาลงสมัครในระบบบัญชีรายชื่อ โดยพายัพ ชินวัตร ลงสมัครแทนในเขตเลือกตั้งเดิม

ในวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2548 ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี[10]

เพิกถอนสิทธิทางการเมือง แก้

เยาวภาเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย (บ้านเลขที่ 111) ในขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย ในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 จึงถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมือง เป็นเวลา 5 ปี[11] แม้ต้องยุติบทบาททางการเมือง แต่เยาวภายังมีบทบาทในฐานะ แกนนำกลุ่มวังบัวบาน ซึ่งต่อมาสมชาย ผู้เป็นสามี ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี และชินณิชา ผู้เป็นบุตรสาว ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. จึงทำให้ครอบครัวของเธอ มีความโดดเด่นมากยิ่งขึ้น

การเลือกตั้งซ่อม ส.ส.เชียงใหม่ พ.ศ. 2556 แก้

เยาวภา ลงสมัครในการเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 3 เชียงใหม่ พ.ศ. 2556 แทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากเกษม นิมมลรัตน์ ขอลาออก โดยให้เหตุผลว่า ต้องการทำงานการเมืองท้องถิ่น ในจังหวัดเชียงใหม่มากกว่า แต่มีการกล่าวหาว่า เพื่อเปิดทางให้เยาวภา ลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อเตรียมไว้เป็นนายกรัฐมนตรีสำรอง[12][13] แต่เยาวภาและเกษม ปฏิเสธข่าวดังกล่าว[14] การเลือกตั้งมีขึ้น ในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556 โดยเยาวภาจับสลากได้หมายเลข 2 และได้ 67,101 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 64.92 จึงได้รับการเลือกตั้ง[15]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ผู้ก่อตั้งบริษัท เอ็มลิงก์ เอเชีย คอรัปชั่น จำกัด
  2. ถนอมศักดิ์ จิรายุสวัสดิ์ และ ปราณีย์ คชพร, 2554, หน้า 156
  3. สายโลหิตของเจ้านายฝ่ายเหนือที่เหลืออยู่
  4. ไทยรัฐ, ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร, เรียกดู 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554
  5. ถนอมศักดิ์ จิรายุสวัสดิ์ และ ปราณีย์ คชพร, 2554, หน้า 21
  6. นางสาวชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ ทายาทธุรกิจ “เจ๊แดง” จุดพลุกับธุรกิจคลังสินค้า
  7. "มาฟังเพลงจากลูกสาวนายกกันเถอะ เชอรี ชยาภา วงศ์สวัสดิ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-02. สืบค้นเมื่อ 2011-04-10.
  8. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544
  9. "ผลการเลือกตั้ง ส.ส.เชียงใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2012-07-07.
  10. "มติครม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-26. สืบค้นเมื่อ 2018-05-21.
  11. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  12. "หวั่นสอย "ยิ่งลักษณ์" แผนสำรองเพื่อไทย วาง "เยาวภา" นายกฯ(แดง) คนที่ 4 สายเลือดชินวัตร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-05-02.
  13. 'โอ๊ค' โพสต์เฟซฯ ไม่ปฏิเสธ 'เยาวภา' นายกฯสำรอง 'ยิ่งลักษณ์'
  14. "เพื่อไทย" เผย "เกษม นิมมลรัตน์" ลาออกเพราะมีปัญหาสุขภาพ พร้อมปัดข่าววาง "เจ๊แดง" เป็น นายกฯ สำรอง[ลิงก์เสีย]
  15. "ผลการเลือกตั้ง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-14. สืบค้นเมื่อ 2013-05-02.
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๙, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๓๔, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗

บรรณานุกรม แก้

  • ถนอมศักดิ์ จิรายุสวัสดิ์ และ ปราณีย์ คชพร (2554). บริหารคนบริหารงานสไตล์ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร. ปราชญ์ สำนักพิมพ์. ISBN 9786162520129.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ก่อนหน้า เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ถัดไป
คุณหญิงสุรัตน์ สุนทรเวช   คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย
(9 กันยายน พ.ศ. 2551 - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551)
  รศ.ดร.ทพ.ญ.พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ