สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (ย่อว่า สพบ.; อังกฤษ: National Institute of Development Administration) หรือ นิด้า (NIDA) เป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงของรัฐ มีสถานภาพเป็นหน่วยงานระดับกรม ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐแห่งเดียวในประเทศไทยที่ทำการสอนเฉพาะระดับ บัณฑิตศึกษา (สูงกว่าปริญญาตรี) โดยเน้นหนักในสาขาวิชาทางด้านการบริหารการพัฒนา นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในด้านการวิจัย ฝึกอบรม และให้บริการทางวิชาการด้านอื่นๆ แก่หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ธุรกิจเอกชน และประชาชนทั่วไป และถือเป็นสถาบันการศึกษาที่เปิดการสอนหลักสูตร MBA เป็นแห่งแรกในประเทศไทย โดยคณะบริหารธุรกิจของนิด้าได้รับการจัดอยู่ในอันดับต้นของทวีปเอเชียอยู่สม่ำเสมอจากสื่อชั้นนำระดับนานาชาติ ประกอบกับเป็นสถาบันที่มีอัตราส่วนอาจารย์ระดับปริญญาเอกต่อจำนวนนักศึกษาที่สูงที่สุดในประเทศไทย และสัดส่วนอาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการสูงที่สุดในประเทศไทย รวมไปถึงยังได้รับคะแนนการประเมินการดำเนินงานจากหลากหลายองค์กรในระดับสูงที่สุดในประเทศไทย[1][2]
National Institute of Development Administration | |
![]() สพบ. / นิด้า (NIDA) | |
คติพจน์ | นตฺถิ ปญฺญฺสมา อาภา (ไม่มีแสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญา) |
---|---|
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ |
สถาปนา | พ.ศ. 2509 |
นายกสภาฯ | รศ.ดร.ปรีชา จรุงกิจอนันต์ |
อธิการบดี | ศ.ดร.ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ |
ที่ตั้ง | |
สี | เหลือง |
เว็บไซต์ | www |
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับสถาบันรวมถึงคณาจารย์และศิษย์เก่ามีหลากหลาย ซึ่งรวมถึงบุคคลสำคัญในด้านการเมืองการปกครองและภาคธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรี, รองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีประจำกระทรวงต่างๆ, สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ, สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และข้าราชการระดับสูง รวมถึงเจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่ ของประเทศไทย[3][4]
ประวัติแก้ไข
เป็นสถาบันการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2509 ด้วยความช่วยเหลือเบื้องต้นจาก คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรมวิเทศสหการ มูลนิธิฟอร์ด และ Midwest University Consortium for International Affairs (MUCIA) โดยโอนคณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ งานฝึกอบรมส่วนหนึ่งของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ งานฝึกอบรม และงานสอนส่วนหนึ่งของสำนักงานสถิติแห่งชาติ มาเป็นกิจกรรมหนึ่งของสถาบัน
ปัจจุบัน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้มีการเปลี่ยนแปลงจาก "ส่วนราชการ" สู่ การเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ โดย พระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. 2562 ได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 136 ตอนที่ 50 ก วันที่ 16 เมษายน 2562 หน้า 177-207 เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2562
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ในอดีตแก้ไข
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เป็นสถาบันการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของรัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงสนพระทัยในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นพิเศษ เมื่อราว พ.ศ. 2503 ได้ทรงปรารภกับ นายเดวิด รอกกิเฟลเลอร์ ถึงเรื่องที่จะปรับปรุงการสถิติของชาติ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศ และในที่สุดได้มีการจัดทำโครงการเสนอรัฐบาล โดยให้ตั้ง Graduate Institute of Development Administration (GIDA) ขึ้น ต่อมารัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาจัดตั้งสถาบันสอนวิชาการบริหารเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศ โดยได้นำโครงการ GIDA มาศึกษา และได้เสนอมติของที่ประชุมคณะกรรมการต่อคณะรัฐมนตรีว่าควรจะตั้ง สถาบันพัฒนาการบริหาร (Institute of Development Administration) โดยดำเนินการสอนในขั้นปริญญาโทและเอก การศึกษาฝึกอบรม และการวิจัย ต่อมาจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2509 ด้วยความช่วยเหลือเบื้องต้นจาก กรมวิเทศสหการ, มูลนิธิฟอร์ด และ Midwest University Consortium for International Affairs (MUCIA) โดยโอนคณะรัฐประศาสนศาสตร์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ งานฝึกอบรมส่วนหนึ่งของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และงานฝึกอบรมและงานสอนส่วนหนึ่งของสำนักงานสถิติแห่งชาติ มาเป็นกิจกรรมหนึ่งของสถาบัน
สัญลักษณ์ประจำสถาบันแก้ไข
- ตราประจำสถาบัน เป็นรูปธรรมจักร อยู่ภายในวงกลมซ้อนกันสองวง วงกลมด้านบนบรรจุคำขวัญว่า "นตฺถิ ปญฺญฺสมา อาภา" แปลว่า "ไม่มีแสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญา" ขอบล่างของวงกลมเป็นชื่อ "สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์" ภายในวงกลมทำเป็นรูปคบเพลิง 8 อัน มีกงที่แยกออกเป็นแกน 8 กง มีเปลวเป็นสีขาว ซึ่งหมายความว่า "การใช้ความรู้ไปในทางที่ดี โดยถือมรรค 8 เป็นหลัก จะส่งผลให้เกิดความรุ่งเรืองแก่ประเทศชาติหรือมวลมนุษย์" ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายของสถาบัน[5]
ปรัชญาแก้ไข
- “สร้างปัญญา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” “WISDOM for Sustainable Development”
อำนาจและหน้าที่แก้ไข
- "สถาบันซึ่งจัดตั้งขึ้นตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่ทรงเห็นความสำคัญของการจัดให้มีสถาบันการศึกษาชั้นสูง ทางด้านการบริหารเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศ เป็นสถานศึกษาชั้นสูงระดับบัณฑิตศึกษา มีวัตถุประสงค์และพันธกิจในการให้การศึกษาและอบรม สร้าง พัฒนา ประมวล ประยุกต์ และเผยแพร่องค์ความรู้ ทำการวิจัย และให้บริการทางวิชาการด้านพัฒนบริหารศาสตร์และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ความสัมพันธ์กับหน่วยงานภายนอก ทำนุบำรุงและส่งเสริมคุณธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สถาบันมีปณิธานในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และคุณธรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคมและ ประเทศชาติ ตลอดจนมุ่งพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยนำความรู้และคุณธรรมมาสร้างปัญญาสร้างจิตสำนึก และความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล"
รายนามอธิการบดีแก้ไข
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์มีอธิการบดีมาแล้ว ดังรายนามต่อไปนี้
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | ||
---|---|---|
รายนามอธิการบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง | อ้างอิง |
1. บุญชนะ อัตถากร | 27 เมษายน พ.ศ. 2509 - พ.ศ. 2510 | [6] |
2. มาลัย หุวะนันทน์ | 29 ธันวาคม พ.ศ. 2510 - 28 ธันวาคม พ.ศ. 2514 | [7] |
3. ชุบ กาญจนประกร | 29 ธันวาคม พ.ศ. 2514 - พ.ศ. 2517 | [8] |
4. สมศักดิ์ ชูโต | 12 เมษายน พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2521, 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 - 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 | [9] [10] |
5. ไพจิตร เอื้อทวีกุล | พ.ศ. 2521 - พ.ศ. 2524 | [11] |
6. ฑิตยา สุวรรณะชฎ | พ.ศ. 2524 - พ.ศ. 2528 | [12] |
7. อมร รักษาสัตย์ | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 - 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 | |
8. ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ | พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2538 | [13] |
9. อนุมงคล ศิริเวทิน | พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2542 | [14] |
10. จุรี วิจิตรวาทการ | พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2544 | [15] |
11. ปรีชา จรุงกิจอนันต์ | พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2550 | [16] |
12. สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ | พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2556 | [17] |
13. ประดิษฐ์ วรรณรัตน์ | พ.ศ. 2556 - 30 กันยายน พ.ศ. 2561 | [18][19] |
14. กำพล ปัญญาโกเมศ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 - 24 ธันวาคม พ.ศ. 2561 (รักษาการอธิการบดี) 25 ธันวาคม พ.ศ. 2561 - 24 ธันวาคม พ.ศ. 2564 |
[20][21] |
15. ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ | 25 ธันวาคม พ.ศ. 2564 - 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 (รักษาการอธิการบดี)
23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน |
หน่วยงานแก้ไข
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เปิดสอนเฉพาะหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษา ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยมีหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอน 11 คณะ 1 วิทยาลัยและหน่วยงานสนับสนุน ดังนี้[22]
คณะแก้ไข
- คณะรัฐประศาสนศาสตร์
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Governance and Development) หลักสูตรนานาชาติ
- หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต
- หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ภาคปกติ
- หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ กทม.
- หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ พิษณุโลก
- หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ นครราชสีมา
- หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ อุดรธานี
- หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ สุราษฎร์ธานี
- หลักสูตรการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต ภาคปกติ
- หลักสูตรการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ กทม.
- หลักสูตรการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ ชลบุรี
- หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาธรรมาภิบาลดิจิทัลเพื่อความยั่งยืน ภาคปกติ
- หลักสูตรฝึกอบรม
− หลักสูตร Mini Master of Management Program
− หลักสูตรนักบริหารการพัฒนาในยุคดิจิทัล
− หลักสูตรนวัตกรรมการบริหารในโลกยุคใหม่สำหรับนักบริหารระดับสูง
− หลักสูตรวิทยาการการจัดการสำหรับนักบริหารระดับสูง
- คณะบริหารธุรกิจ[23]
- หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ เสาร์-อาทิตย์ (Flexible MBA Program)
- หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ สำหรับผู้บริหาร (Executive MBA Program)
- หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ สำหรับผู้บริหารรุ่นใหม่ (Young Executive MBA Program)
- หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ภาคพิเศษ สำหรับมืออาชีพ (Professional MBA Program)
- หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ภาคปกติ ภาษาไทย (Regular MBA)
- หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ภาคปกติ ภาษาอังกฤษ(English MBA Program)
- หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต นานาชาติ (International MBA Program)
- หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต การลงทุนและการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน (M.Sc. in Financial Investment and Risk Management (FIRM))
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงินองค์กร การลงทุนและการบริหารความเสี่ยง
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงินองค์กร การลงทุนและการบริหารความเสี่ยง โครงการ Flexible - CFIRM (เรียนในเวลาราชการ และ เสาร์ อาทิตย์)
- หลักสูตรปรัชญาฎีบัณฑิต บริหารธุรกิจ (Ph.D. in Business Administration)
- หลักสูตร Double Degree Program (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์และมหาวิทยาลัย Indiana)
- คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์) หลักสูตรนานาชาติ
- หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์) ภาคปกติ
- หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) ภาคปกติ
- หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) ภาคพิเศษ เสาร์-อาทิตย์
- หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์การเงิน) ภาคปกติ
- หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์การเงิน) ภาคพิเศษ เสาร์-อาทิตย์
- หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์และการผู้บริหาร) ภาคพิเศษ เสาร์-อาทิตย์
- หลักสูตรอีเลิร์นนิ่ง − EC7012 : Project Planning and Analysis Teacher: ผศ.ดร. อนันต์ วัฒนกุลจรัส − EX7003 : Project Planning and Analysis Teacher: ผศ.ดร. อนันต์ วัฒนกุลจรัส − ME7004 : GLOBAL ECONOMICS AND IMPACT ANALYSIS Teacher: ผศ.ดร. อนันต์ วัฒนกุลจรัส − ศศ.610 : จุลเศรษฐศาสตร์
- หลักสูตรอบรมพัฒนา − ผู้บริโภคและผู้ประกอบการอัจฉริยะภายใต้เศรษฐกิจไร้พรมแดน − เศรษฐกิจไทยยุคดิจิตอลและบทบาทภาครัฐ − การวิเคราะห์และการบริหารโครงการสำหรับภาครัฐและเอกชน − การบริหารการเงินเพื่อความมั่งคั่ง − การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับธุรกิจและเศรษฐศาสตร์
- คณะสถิติประยุกต์
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สถิติประยุกต์) หลักสูตรนานาชาติ − สาขาวิชาเอก Statistics − สาขาวิชาเอก Quantitative Risk Management − สาขาวิชาเอก Business Analytics and Research − สาขาวิชาเอก Operations Research − สาขาวิชาเอก Population and Development
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ) หลักสูตรนานาชาติ − สาขาวิชาเอก Computer Science − สาขาวิชาเอก Information Systems
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การวิเคราะห์ธุรกิจและวิทยาการข้อมูล) หลักสูตรนานาชาติ
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การจัดการโลจิสติกส์) หลักสูตรนานาชาติ
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สถิติประยุกต์) − สาขาวิชาเอกสถิติ (Statistics : STAT) − สาขาวิชาเอกวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง (Actuarial Science and Risk Management : ACT) − พลเมืองวิทยาการข้อมูล (Citizen Data Sciences)
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ) − สาขาวิชาเอกวิทยาการคอมพิวเตอร์ − สาขาวิชาเอกการจัดการระบบสารสนเทศ − สาขาวิชาเอกวิศวกรรมซอฟต์แวร์ − สาขาวิชาเอกเทคโนโลยีสารสนเทศ
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการโลจิสติกส์)
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ)
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การวิเคราะห์ข้อมูลและวิทยาการข้อมูล)
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการวิเคราะห์ข้อมูลและเทคโนโลยีข้อมูล)
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการความเสี่ยงความมั่นคงทางไซเบอร์)
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สถิติประยกค์) − สาขาวิชาเอกวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง − สาขาวิชาเอกการวิเคราะห์ธุรกิจและการวิจัย (Business Analytics and Research) − สาขาวิชาเอกสิถิติ
- หลักสูตรฝึกอบรม − ReAct Native Development − Mobile Application Development for iOS Devices − FinTech and Blockchain for Digital Transformation − High Impact Professional Presentation (HIPP)
- คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการพัฒนาสังคม)
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การเมืองและยุทธศาตร์การพัฒนา)
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการพัฒนาสังคม) ภาคปกติ
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการพัฒนาสังคม) ภาคพิเศษ กทม.
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการพัฒนาสังคม) ภาคพิเศษ ยะลา
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา) ภาคปกติ
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา) ภาคพิเศษ
- คณะภาษาและการสื่อสาร
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาอังกฤษศึกษาและการสอนภาษาอังกฤษ) หลักสูตรนานาชาติ ภาคปกติ
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาอังกฤษศึกษาและการสอนภาษาอังกฤษ) หลักสูตรนานาชาติ ภาคพิเศษ
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การสื่อสาร วัฒนธรรม และภาษาญี่ปุ่น) ภาคปกติ
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การสื่อสาร วัฒนธรรม และภาษาญี่ปุ่น) ภาคพิเศษ
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาอาชีพ) ภาคปกติ
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาอาชีพ) ภาคพิเศษ
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ภาษาอังกฤษศึกษาและการสอนภาษาอังกฤษ) หลักสูตรนานาชาติ
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ภาษาและการสื่อสาร) หลักสูตรนานาชาติ
- หลักสูตรฝึกอบรม (การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษระดับย่อหน้า)
- คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ) ภาคพิเศษ
- หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (ภาวะผู้นำ การจัดการและ นวัตกรรม) ภาคปกติ
- หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (ภาวะผู้นำ การจัดการและ นวัตกรรม) ภาคพิเศษ
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนามนุษย์และองค์การ
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ นานาชาติ
- หลักสูตรระยะสั้น − การบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไปสู่องค์การยุคใหม่ − วิชา (ชะตา) ชีพทรัพยากรมนุษย์ในยุค New Normal − พื้นฐานทางการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ − เตรียมความพร้อม HR ในยุค PDPA
- คณะนิติศาสตร์
- หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต − สาขาวิชาเอกกฎหมายเพื่อวิชาชีพกฎหมาย (Law for Legal Professions) − สาขาวิชาเอกกฎหมายมหาชน (Public Law) − สาขาวิชาเอกกฎหมายธุรกิจและการค้าระหว่างประเทศ (International Business and Trade Law)
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายเพื่อการบริหาร
- หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต
- หลักสูตรประกาศนียบัตรทางกฎหมายปกครอง และคดีปกครองชั้นสูง
- คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ[24]
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์และนวัตกรรม − สาขาวิชาเอกนวัตกรรมการสื่อสารการตลาดและดิจิทัล − สาขาวิชาเอกนวัตกรรมการจัดการสื่อสารดิจิทัลเพื่ออุตสาหกรรมสร้างสรรค์ − สาขาวิชาเอกนวัตกรรมการสื่อสารผ่านสื่อสังคม − สาขาวิชาเอกนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อสุขภาพและการขับเคลื่อนสังคมอย่างยั่งยืน − นวัตกรรมการสื่อสารการตลาด − นวัตกรรมการจัดการนโยบายการสื่อสารสาธารณะและสารสนเทศ − นวัตกรรมนิเทศศาสตร์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการสื่อสารด้วยการวิเคราะห์ข้อมูล
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม)
- คณะการจัดการการท่องเที่ยว
- หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ) ภาคปกติ / ภาคพิเศษ กทม./ ภาคพิเศษภูเก็ต − สาขาวิชาเอกนโยบาย การวางแผนการจัดการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ − สาขาวิชาเอกการจัดการธุรกิจท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ − สาขาวิชาเอกการจัดการธุรกิจโรงแรม − สาขาวิชาเอกการจัดการธุรกิจขนส่งและการบิน − สาขาวิชาเอกการจัดการธุรกิจบริการ
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ (Ph.D. in Integrated Tourism Management)
- คณะการบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม) ภาคปกติ
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม) ภาคพิเศษ กทม.
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม) ภาคพิเศษ ระยอง
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ศาสตร์และการจัดการความยั่งยืน) ภาคปกติ
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ศาสตร์และการจัดการความยั่งยืน) ภาคพิเศษ กทม.
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม)
- วิทยาลัยนานาชาติ (International College of NIDA)
- หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (Master of Management) 9 หลักสูตร − International Business Management − Financial Management − Entrepreneurship Management − E-Business Management − Human Capital Management − Policy and Management − International Development and Governance − Sustainable Business Management − Digital Innovation and Communication
- หลักสูตร DOUBLE-DEGREE PROGRAMS − Master of Management (ICO-NIDA) and Master of Economics (University of Economics in Bratislava, Slovakia) − Master of Management (ICO-NIDA) and Master of Money and Banking (University of Economics in Bratislava, Slovakia) − Master of Management (ICO NIDA) and MA in Media and Design (RheinMain University of Applied Science, Germany) − Master of Management (ICO NIDA) and Master of International Business Management (MIBA) (RheinMain University of Applied Science, Germany) − Master of State Governance (College of State Governance, Southwest University, China) − Master of Management (ICO NIDA) and Master of Business Administration (Nürtingen-Geislingen University, Germany) − Master of Management (ICO NIDA) and Master of International Finance (Nürtingen-Geislingen University, Germany) − Master of Management in Public Policy Management (ICO-NIDA) and Public Administration (MPA) (Indiana University at Bloomington, USA)
- หลักสูตรการจัดการดุษฎีบัณฑิต (Ph.D. in Management)
หน่วยงานแก้ไข
- สำนักงานสถาบัน
- สำนักงานสภาสถาบัน
- สำนักงานตรวจสอบภายใน
- กองกลาง
- กองแผนงาน
- กองบริการการศึกษา
- กองคลังและพัสดุ
- กองบริหารทรัพยากรบุคคล
- กองงานผู้บริการ
- งานสภาคณาจารย์
- งานสภาพพนักงาน
- สำนักสิริพัฒนา
- สำนักงานเลขานุการสำนัก
- ฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้
- สำนักวิจัย
- สำนักงานเลขานุการสำนัก
- หน่วยสนับสนุนศูนย์วิจัย
- สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร
- สำนักงานเลขานุการสำนัก
- กลุ่มสนับสนุนการปฏิบัติงานห้องสมุด
- สำนักเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศ Information and Digital Technology Center (IDT)
- กองอำนวยการบริหารงานสำนัก
- กองบริหารเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศ
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ คณะผู้บริหารของ NIDA
- ↑ ผลการประเมินคุณภาพของ NIDA
- ↑ ขอแสดงความยินดีกับตัวแทนจากประชาคมนิด้า ที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
- ↑ นายพรชัย รุจิประภา
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๒ (ฉบับที่ ๕๒) (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี)
- ↑ [1]
- ↑ [2]
- ↑ [3]
- ↑ [4]
- ↑ [5]
- ↑ [6]
- ↑ [7]
- ↑ [8]
- ↑ [9]
- ↑ [10]
- ↑ [11]
- ↑ [12]
- ↑ [13]
- ↑ [14]
- ↑ คณะผู้บริหารของ NIDA
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ [นายกำพล ปัญญาโกเมศ]
- ↑ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งส่วนราชการในสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๕๕
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-08. สืบค้นเมื่อ 2021-08-29.
- ↑ http://gscm.nida.ac.th/home/th/index.php
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- IT grads นิด้า | สาระน่ารู้ สำหรับคนทำงานไอทีต้องอ่าน คนสนใจศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาโท MIS ต้องรู้
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°46′11″N 100°39′09″E / 13.769621°N 100.652622°E