คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อังกฤษ: Faculty of Education, Chiang Mai University) ก่อตั้งขึ้นตามโครงการพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยบรรจุไว้เป็นโครงการผลิตบัณฑิตทางศึกษาศาสตร์ ในการดำเนินงานมีองค์การยูเนสโก (UNESCO) ส่งผู้เชี่ยวชาญมาช่วยเตรียมการจัดตั้ง และได้ประกาศสถาปนาคณะศึกษาศาสตร์ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 85 ตอนที่ 69 ลงวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 ซึ่งถือเป็นวันสถาปนาคณะศึกษาศาสตร์ สถานที่ตั้งเดิมของสำนักงานโครงการจัดตั้งคณะศึกษาศาสตร์ตั้งอยู่ที่วิทยาลัย1 ต่อมาจึงย้ายมายังที่ตั้งปัจจุบัน

คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Faculty of Education,
Chiang Mai University
ชื่อย่อศษ.
สถาปนา2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 (55 ปี)
คณบดีรองศาสตราจารย์ ดร.เกียรติสุดา ศรีสุข
ที่อยู่
สี███ สีฟ้าอ่อน
เว็บไซต์www.edu.cmu.ac.th

ประวัติ แก้

 
ป้ายชื่อคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ประวัติความเป็นมาของคณะศึกษาศาสตร์แบ่งตามช่วงระยะเวลา ดังนี้

ปี พ.ศ. 2508 เป็นช่วงของการทำโครงการจัดตั้งคณะศึกษาศาสตร์ (Project for Secondary School Teacher Training Chiang Mai University) เพื่อมุ่งเน้นการปรับแนวความคิดและโครงสร้างมหาวิทยาลัย มีการกำหนดจุดประสงค์ของการจัดตั้งคณะโดยดำเนินการขอความร่วมมือด้านผู้เชี่ยวชาญจากองค์การยูเนสโก ได้มีการสำรวจสภาพการศึกษาระดับต่างๆ ในประเทศไทยอย่างกว้างขวาง ตลอดจนการวางแผนการสร้างอาคารเรียน วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งคณะศึกษาศาสตร์ (ตามร่างโครงการ)

ปี พ.ศ. 2511 - พ.ศ. 2514 เป็นช่วงที่มีการสร้างอาคารสถานที่ การพัฒนาหลักสูตร และมุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากร การผลิตบัณฑิตที่มุ่งเน้นการตอบสนองความต้องการของสังคม มี 2 หลักสูตร คือ หลักสูตร 2 ปี และหลักสูตร 4 ปี สำหรับนักศึกษาเต็มเวลาและนักศึกษานอกเวลา โครงสร้างภาควิชาประกอบด้วย 5 ภาควิชา คือ (1) ภาควิชาระเบียบวิธีสอนและหลักสูตร (2) ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา (3) ภาควิชาโสตทัศนศึกษา (4) ภาควิชาวัดผลและระเบียบวิธีวิจัยการศึกษา และ (5) ภาควิชาส่งเสริมการศึกษา ซึ่งหลักสูตรมีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2510 - 2514) คือ จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการกำลังคนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ เน้นการผลิตกำลังคนระดับสูงและสนองตอบต่อการขยายตัวของโรงเรียนมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา

ปี พ.ศ. 2515 - พ.ศ. 2519 มีการปรับปรุงจุดมุ่งหมายคณะ และจัดตั้งภาควิชาใหม่ (พ.ศ. 2516) ในขณะเดียวกันสหรัฐอเมริกาได้สนับสนุนรัฐบาลไทยให้จัดตั้งโครงการพัฒนามหาวิทยาลัย ได้มีการส่งอาจารย์ไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศด้วยการสนับสนุนจากมูลนิธิรอกกี้เฟลเลอร์ เพื่อสอนระดับปริญญาโทและปริญญาเอกภายในประเทศ ในปี พ.ศ. 2519 เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี 7 สาขาวิชา คือ (1) การศึกษาผู้ใหญ่ (2) คหกรรมศิลป์ (3) พลศึกษา (4) สุขศึกษา (5) ประถมศึกษา (6) บริหารการศึกษา และ (7) อุตสาหกรรมศิลป์ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายพัฒนาการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515 - 2519) ที่รัฐได้เร่งขยายการศึกษาภาคบังคับ โดยเฉพาะระดับประถมศึกษาตอนปลาย และขยายการศึกษาระดับมัธยมศึกษา การฝึกหัดครู และอุดมศึกษา ให้สอดคล้องกับความต้องการกำลังคนในระดับกลางและระดับสูง

ปี พ.ศ. 2520 - พ.ศ. 2524 มีการปรับเปลี่ยนภาควิชา โดยยุบภาควิชาระเบียบวิธีการสอนและหลักสูตร และทำการแบ่งภาควิชาต่างๆ ออกเป็น 9 ภาควิชา คือ (1) ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา (2) ภาควิชาประถมศึกษา (3) ภาควิชามัธยมศึกษา (จากชื่อระเบียบวิธีการสอนและหลักสูตร) (4) ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา (โสตทัศนศึกษา) (5) ภาควิชาอาชีวศึกษา (ศิลปะปฏิบัติ) (6) ภาควิชาบริหารการศึกษา (การนิเทศและการบริหารการศึกษา) (7) ภาควิชาพลานามัย (8) ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษา และ (9) ภาควิชาวิจัยและวัดผลการศึกษา (วัดผลและระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา)

ปี พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2529 ได้เริ่มทำการปฏิรูปหลักสูตร โดยมีปรัชญามุ่งให้บัณฑิตเป็นคนสมคน คือ สมภูมิ สมครูและสมงาน เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี 15 สาขาวิชา คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ บริหารธุรกิจ คหกรรมศิลป์ เกษตรกรรมศิลป์ พลศึกษา สุขศึกษา การศึกษาผู้ใหญ่ บริหารการศึกษา ประถมศึกษา ศิลปศึกษา และอุตสาหกรรมศิลป์ ในปี พ.ศ. 2525 ได้เปิดหลักสูตรปริญญาโท 2 สาขาวิชา คือ วิทยาศาสตร์ศึกษา และเทคโนโลยีทางการศึกษา และต่อมาในปี พ.ศ. 2526 เปิดหลักสูตรปริญญาโทเพิ่มอีก 3 สาขา คือ การวัดผลและประเมินผลการศึกษา บริหารการศึกษา และหลักสูตรและการสอน1

ปี พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2534 เปิดหลักสูตรปริญญาโทเพิ่มอีก 6 สาขาวิชาคือ การศึกษานอกระบบ ประถมศึกษา วิจัยและสถิติการศึกษา คณิตศาสตรศึกษา การส่งเสริมคุณภาพ และการสอนภาษาไทย

ปี พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2539 ได้เปิดหลักสูตรปริญญาโทเพิ่มอีก 3 สาขาวิชาคือ การสอนสังคมศึกษา จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว และอาชีวศึกษา เริ่มมีการเปิดสอนปริญญาโท ภาคพิเศษในวันเสาร์และวันอาทิตย์ รวม 7 สาขา คือ การวัดและประเมินผลการศึกษา ประถมศึกษา การศึกษานอกระบบ หลักสูตรและการสอน การบริหารการศึกษา จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว และการส่งเสริมสุขภาพ

ปี พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2544 มีการเปิดหลักสูตรปริญญาโท 15 สาขา และหลักสูตรร่วม 2 สาขา ได้มีการเตรียมเปิดหลักสูตรระดับปริญญาเอก 4 สาขาวิชา คือ หลักสูตรและการสอน วิจัยและพัฒนาการศึกษา การศึกษานอกระบบ และผู้นำทางการศึกษา และได้เปิดสอนหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต (วิชาชีพครู) และหลักสูตรปริญญาโทสาขาวิชาร่วม 2 สาขา คือ การจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม และภูมิภาคการศึกษา ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2543 มีการจัดทำประมวลแผนการสอน และแผนการสอนทุกวิชามีการประเมินการสอนของอาจารย์โดยนักศึกษาอย่างเป็นระบบ

ปี พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2549 คณะศึกษาศาสตร์ได้เปิดหลักสูตรปริญญาเอก ภาคพิเศษ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

ปี พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2555 คณะศึกษาศาสตร์ได้เปิดหลักสูตรปริญญาเอกด้านการวิจัยและพัฒนาการศึกษา 3 สาขาวิชา คือ วิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษา วิจัยเพื่อพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา และวิจัยเพื่อการบริหารการศึกษา ปีการศึกษา 2554 คณะศึกษาศาสตร์ได้เปิดหลักสูตรปริญญาตรี 15 สาขา ปริญญาโท 16 สาขา และปริญญาเอก 2 สาขา

รายนามคณบดี แก้

  • ทำเนียบคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ทำเนียบคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รายนามคณบดี ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง

1. ศาสตราจารย์ ดร.หม่อมหลวงตุ้ย ชุมสาย พ.ศ. 2510 - 2511
2. ศาสตราจารย์ นายแพทย์โอภาส พลางกูร พ.ศ. 2512 - 2513
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อำนวย ทะพิงค์แก พ.ศ. 2514 - 2515
4. ศาสตราจารย์ สุวัฒน์ นิยมค้า พ.ศ. 2516 - 2520
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จัน เกริกมธุกร พ.ศ. 2520 - 2524
6. รองศาสตราจารย์ ประจักษ์ สุดประเสริฐ พ.ศ. 2524 - 2528
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เชาวลิต พุทธวงศ์ พ.ศ. 2528 - 2532
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประสิทธิ์ ม้าลำพอง พ.ศ. 2532 - 2536
9. รองศาสตราจารย์ ดร.สุธรรม จันทน์หอม พ.ศ. 2536 - 2540
10. รองศาสตราจารย์ ดร.เสริมศรี ไชยศร พ.ศ. 2540 - 2544
11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุกานดา ตปนียางกูร พ.ศ. 2544 - 2548
12. รองศาสตราจารย์ ดร.อรรณพ พงษ์วาท พ.ศ. 2548 - 2552
13. รองศาสตราจารย์ ดร.นิ่มอนงค์ งามประภาสม พ.ศ. 2552 - 2554
14. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์ศักดิ์ แป้นแก้ว พ.ศ. 2554 - 2558
15. รองศาสตราจารย์ ดร.เกียรติสุดา ศรีสุข พ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน

หลักสูตรการศึกษา แก้


ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ)

  • สาขาการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาพิเศษ
  • สาขาประถมศึกษา
  • สาขาเคมี
  • สาขาฟิสิกส์
  • สาขาชีววิทยา
  • สาขาคณิตศาสตร์
  • สาขาภาษาไทย
  • สาขาภาษาอังกฤษ
  • สาขาศิลปศึกษา
  • สาขาสังคมศึกษา
  • สาขาพลศึกษา
  • สาขาอุตสาหกรรมศึกษา

หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม)

  • สาขาการศึกษา
  • สาขาประเมินผลและวิจัยการศึกษา
  • สาขาการศึกษาพิเศษ
  • สาขาหลักสูตรและการสอน

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) (Ph.D.)

  • สาขาการศึกษา
  • สาขาหลักสูตรและการสอน

อ้างอิง แก้