ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์
ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ (30 ธันวาคม พ.ศ. 2524 — ) ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็ม ลิงก์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)[1] เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคเพื่อไทย และเป็นบุตรสาวของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี กับนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย และยังเป็นหลานสาวของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คนที่ 28 ของไทย ปัจจุบันศึกษาปริญญาเอก คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง[ต้องการอ้างอิง]
ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ | |
ดำรงตำแหน่ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 19 เมษายน พ.ศ. 2555 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 ธันวาคม พ.ศ. 2524 จังหวัดเชียงใหม่ |
เชื้อชาติ | ไทย |
พรรคการเมือง | พลังประชาชน (พ.ศ. 2550–2551) เพื่อไทย (พ.ศ. 2551–2555) |
บุพการี |
|
ญาติ | ชยาภา วงศ์สวัสดิ์ (น้องสาว) ทักษิณ ชินวัตร (ลุง) ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (น้า) แพทองธาร ชินวัตร (ลูกน้อง) |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเคนต์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง |
เป็นที่รู้จักจาก | สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร |
ประวัติ
แก้ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ มีชื่อเล่นว่า "เชียร์" เกิดเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2524นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี คนที่ 26 ของประเทศไทย กับนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ มีพี่น้องทั้งหมด 3 คน และยังเป็นหลานสาวของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อีกด้วย
เป็นบุตรสาวของก่อนที่นางสาวชินณิชาจะเข้าสู่การเมือง ได้ทำธุรกิจเกี่ยวกับธุรกิจประเภทบริหารคลังสินค้า ในนามบริษัทวิโคสท์ อินดัสเทรียล พาร์ค นอกจากนี้ชื่อของเธอยังเป็นชื่อของหมู่บ้านหรู ชินณิชาวิลล์ และเป็นเจ้าบริษัทก่อสร้าง "แอสคอน คอนสตักชั่น" ที่เป็นบริษัทรับเหมาในส่วนสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ[2] นอกจากนั้นยังเป็นผู้ถือหุ้น บริษัท แอสคอน คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)[3]
การศึกษา
แก้- ปริญญาตรี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาบริหารธุรกิจ เอกการเงิน
- ปริญญาโท University of Kent at Canterbury ประเทศอังกฤษ, E-Commerce[ต้องการอ้างอิง]
- ระดับปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
การเมือง
แก้ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ เขต 1 ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 ในนามพรรคพลังประชาชน (ปัจจุบันคือ พรรคเพื่อไทย) และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่อายุน้อยที่สุด[4] (ขณะนั้นอายุ 25 ปี 11 เดือน 23 วัน) ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกสมัย ในเขตเลือกตั้งจังหวัดเชียงใหม่
ในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้มีคำพิพากษาให้นางสาวชินณิชา พ้นจากตำแหน่ง ส.ส. และห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองเป็นเวลา 5 ปี นับจากวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555 และให้จำคุกเป็นเวลา 2 เดือน พร้อมทั้งปรับเงิน 4,000 บาท แต่โทษจำคุกให้รอการลงโทษมีกำหนด 1 ปี จากกรณีแจ้งบัญชีทรัพย์สินหนี้สินเป็นเท็จ[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ ข้อมูลรายบริษัท/หลักทรัพย์
- ↑ นางสาวชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ ทายาทธุรกิจ “เจ๊แดง” จุดพลุกับธุรกิจคลังสินค้า
- ↑ เปิดชัด ๆ บ.แอสคอนฯ ก่อน‘เกษม’รวยผิดปกติ 186.6 ล. กลุ่ม‘วงศ์สวัสดิ์’ หุ้นใหญ่
- ↑ เปิดใจ"ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์"ลูกสาวนายกฯ-ส.ส.อายุน้อยที่สุด[ลิงก์เสีย]
- ↑ คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เรื่อง การแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (คดีหมายเลขดำที่ อม. 3/2554 คดีหมายเลขแดงที่ อม. 1/2555 ระหว่างคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ผู้ร้อง นางสาวชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ ผู้คัดค้าน)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๗๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๓๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒