เจ้าไชยสงคราม (สมพมิตร ณ เชียงใหม่)

นายพันตำรวจเอก เจ้าไชยสงคราม (สมพมิตร ณ เชียงใหม่) (ไทยถิ่นเหนือ: ) (พ.ศ. 2408 - พ.ศ. 2474) เป็นเจ้านายฝ่ายเหนือผู้สืบสายโลหิตจากพระยาธรรมลังกา เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 2 และพระยาคำฟั่น เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 3 อดีตผู้บัญชาการตำรวจมณฑลพายัพ และเป็นตาทวดของทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 23 ของประเทศไทย และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 28 ของประเทศไทย

เจ้าสมพมิตร ณ เชียงใหม่
เจ้าไชยสงคราม (สมพมิตร ณ เชียงใหม่) ปฏิบัติหน้าที่ควาญช้างพระที่นั่ง
เจ้าไชยสงคราม เมืองนครเชียงใหม่
แต่งตั้ง10 พฤษภาคม พ.ศ. 2449
ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่[1]
แต่งตั้งพ.ศ. 2465
เกิดพ.ศ. 2408
ถึงแก่กรรม12 สิงหาคม พ.ศ. 2474 (66 ปี)
ราชวงศ์ทิพย์จักร
ราชสกุลณ เชียงใหม่
เจ้าบิดาเจ้าน้อยรศ ณ เชียงใหม่
เจ้ามารดาเจ้าเอื้องผึ้ง ณ เชียงใหม่

พระประวัติ

แก้

เจ้าไชยสงคราม หรือ เจ้าสมพมิตร ณ เชียงใหม่ [2][3][4][1] เกิดปี พ.ศ. 2408 เป็นโอรสในเจ้าน้อยรศ ณ เชียงใหม่ (โอรสในเจ้าอุปราช (หน่อคำ ณ เชียงใหม่), เจ้าอุปราชนครเชียงใหม่ และเจ้าหญิงบุนนาค) กับ เจ้าเอื้องผึ้ง ณ เชียงใหม่

เจ้าไชยสงคราม สืบเชื้อสายโดยตรงจากพระยาธรรมลังกา เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 2 และพระยาคำฟั่น เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 3 และมีศักดิ์เป็นราชปนัดดา (เหลน-ปู่ทวด) ในพระเจ้ามโหตรประเทศ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 5

ประวัติการรับราชการ

แก้
  • พ.ศ. 2445 - เริ่มรับราชการเป็นเสนา ตำแหน่งทหารจังหวัดเชียงใหม่
  • พ.ศ. 2446 - รับพระราชทานสัญญาบัตรยศนายร้อยตำรวจเอก ตำแหน่งผู้บังคับกองตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่
  • 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 - เลื่อนยศเป็นนายพันตำรวจตรี[5]
  • 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 - รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าไชยสงคราม เมืองนครเชียงใหม่ [6]
  • พ.ศ. 2451 - ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดลำพูน
  • 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 - เลื่อนยศเป็นนายพันตำรวจโท[7]
  • พ.ศ. 2455 - ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้บังคับการตำรวจภูธรมณฑลพายัพ
  • 16 ธันวาคม 2458 – นายหมู่โท[8]
  • พ.ศ. 2459 - ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย
  • พ.ศ. 2465 - ดำรงตำแหน่งเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2466 - เลื่อนพระยศเป็นนายพันตำรวจเอก[9]
  • 26 พฤศจิกายน 2467 – นายหมวดตรี[10]
  • 19 พฤศจิกายน 2468 – นายหมวดโท[11]
  • พ.ศ. 2472 - ออกจากราชการรับพระราชทานบำนาญ

การปฏิบัติภารกิจ

แก้

เจ้าไชยสงคราม ได้รับฉายาว่าเป็น "มือปราบแห่งเวียงพิงค์" เป็นเจ้านายผู้มีบทบาทสำคัญในการปราบปรามโจรผู้ร้ายในมณฑลฝ่ายเหนือและรับราชการสนองพระเดชพระคุณถวายความปลอดภัยแก่เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 8 และ เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 9 ตลอดสองรัชสมัย

เจ้าไชยสงคราม ได้รับความไว้วางพระทัยจากเจ้าแก้วนวรัฐและเจ้านายฝ่ายเหนือ ให้ปฏิบัติหน้าที่ควาญช้างพระที่นั่งและถวายความปลอดภัยแก่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในคราวเสด็จพระราชดำเนินประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือ และจากการปฏิบัติภารกิจรับใช้สนองเบื้องพระยุคลบาทดังกล่าว เป็นที่ต้องพระราชหฤทัยในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวยิ่งนัก ต่อมาจึงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ รับโอรสของเจ้าไชยสงคราม ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้ได้รับการศึกษาในกรุงเทพมหานคร โดยโปรดฯ ให้พำนักในวังศุโขทัย

เจ้าไชยสงคราม เคยได้เข้าเฝ้าถวายเครื่องบรรณาการ พร้อมกับเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ พร้อมกับ เจ้าราชภาคินัย เจ้าน้อยเลาแก้ว เจ้าน้อยเมืองชื่น และเจ้าน้อยวุฒิวงษ์ ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2447[12] ตามราชประเพณีที่ประเทศราชต้องส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทอง และเครื่องราชบรรณาการไปยังกรุงเทพฯ ทุกๆ 3 ปี หรือทุกปี เพื่อแสดงความสวามิภักดิ์และการยอมเป็นเมืองขึ้น ซึ่งนับเป็นการถวายเครื่องราชบรรณาการครั้งสุดท้าย [13][14]

เจ้าไชยสงคราม ป่วยเป็นลม ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2474 สิริอายุได้ 66 ปี[1]

ครอบครัว

แก้

เจ้าไชยสงคราม มีชายา 1 ท่าน และหม่อม 2 ท่าน มีบุตรรวมทั้งหมด 11 คน ดังนี้

เจ้าศรีนวล ณ เชียงใหม่
  1. เจ้าหน่อคำ ณ เชียงใหม่
  2. เจ้าจันทรโสภา ณ เชียงใหม่
หม่อมคำใส ณ เชียงใหม่
  1. เจ้าข่ายแก้ว ณ เชียงใหม่
  2. เจ้าไชยมงคล ณ เชียงใหม่
  3. เจ้าไชยณรงค์ ณ เชียงใหม่ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ [15][16]
  4. เจ้าไชยสุริวงศ์ ณ เชียงใหม่ คหบดีผู้บุกเบิกกิจการโรงภาพยนตร์และโรงแรมในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นเจ้าบิดาในเจ้าธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง การต่างประเทศ และสาธารณสุข
  5. เจ้าไชยชนะ ณ เชียงใหม่
หม่อมอุษา ณ เชียงใหม่
  1. เจ้าน้อยอินทร์ ณ เชียงใหม่
  2. เจ้าน้อยหมอก ณ เชียงใหม่
  3. เจ้าจันทร์ทิพย์ ระมิงค์วงศ์ เป็นเจ้ายายของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 23 ของประเทศไทย และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 28 ของประเทศไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

ราชตระกูล

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตาย, เล่ม ๔๘, ตอน ง, ๓๐ สิงหาคม ๒๔๗๔, หน้า ๑๘๙๒-๓
  2. ความเป็นมาของตำรวจล้านนา
  3. ย่านท่าแพ[ลิงก์เสีย]
  4. "คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ , นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-14. สืบค้นเมื่อ 2006-08-10.
  5. ส่งสัญญาบัตรกรมตำรวจภูธรไปพระราชทาน
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งสัญญาบัตร์ขุนนางไปพระราชทาน, เล่ม ๒๓, ๑๓ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๕, หน้า ๑๓๑
  7. ตั้งตำแหน่งยศนายทหารตำรวจภูธร
  8. พระราชทานยศเสือป่า
  9. พระราชทานบรรดาศักดิ์
  10. พระราชทานยศเสือป่า (กองเสนาน้อยรักษาดินแดนพายัพ)
  11. พระราชทานยศนายเสือป่า
  12. เจ้าประเทศราชเฝ้าถวายเครื่องราชบรรณาการ เจ้านครเชียงใหม่ เฝ้าถวายต้นไม้ทองเงินเครื่องราชบรรณาการราชกิจจานุเบกษา เล่ม 21 ตอนที่ 28 วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2447
  13. ต้นไม้ทอง ต้นไม้เงินสมัยรัตนโกสินทร์ เก็บถาวร 2017-11-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจาก ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ
  14. วรชาติ มีชูบท, เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ, กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, หน้า 35
  15. ย่านท่าแพ[ลิงก์เสีย]
  16. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495
  17. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๐๙๒, ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๙
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๕๐, ๑๖ พฤษภาคม ๒๔๖๓
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเหรียญจักรมาลาไปพระราชทาน, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๕๙, ๒๔ ตุลาคม ๒๔๖๓

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  • ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. เพ็ชร์ล้านนา. (ครั้งที่ 2) เชียงใหม่ :ผู้จัดการ ศูนย์ภาคเหนือ, 2538.
  • คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ , นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ. [1] เก็บถาวร 2021-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • อนุ เนินหาด, พันตำรวจโท. สังคมเมืองเชียงใหม่: ย่านถนนเจริญเมือง (๑๙). [2] เก็บถาวร 2011-11-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน