เจ้าไชยณรงค์ ณ เชียงใหม่
เจ้าไชยณรงค์ ณ เชียงใหม่ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ 2 สมัย เป็นบุตรของเจ้าไชยสงคราม (สมพมิตร ณ เชียงใหม่) และเป็นราชปทินัดดาในพระยาธรรมลังกา เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 2 สายตระกูลเจ้าเจ็ดตน (ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์)
เจ้าไชยณรงค์ ณ เชียงใหม่ | |
---|---|
ไชยณรงค์ ณ เชียงใหม่ | |
ราชวงศ์ | ทิพย์จักร |
ราชสกุล | ณ เชียงใหม่ |
พระบิดา | เจ้าไชยสงคราม (สมพมิตร ณ เชียงใหม่) |
พระมารดา | หม่อมคำใส ณ เชียงใหม่ |
เจ้าไชยณรงค์ ณ เชียงใหม่ เป็นเจ้านายฝ่ายเหนือที่ได้เข้าร่วมฟ้อนนำในกระบวนเครื่องพระขวัญของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในพิธีถวายพระขวัญเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรในจังหวัดทางภาคเหนือ วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2501[1]
ประวัติ
แก้เจ้าไชยณรงค์ เป็นโอรสพันตำรวจเอก เจ้าไชยสงคราม (สมพมิตร ณ เชียงใหม่) ผู้กำกับการตำรวจมณฑลพายัพ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นนายตำรวจมือปราบที่เหี้ยมหาญ มีวิชาคาถาอาคม และเป็นนายทหารคนสนิทใกล้ชิดกับเจ้าแก้วนวรัฐ กับหม่อมคำใส ณ เชียงใหม่[2]
เจ้าไชยณรงค์ มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา คือ
- เจ้าหญิงข่ายแก้ว ณ เชียงใหม่
- เจ้าไชยมงคล ณ เชียงใหม่
- เจ้าไชยณรงค์ ณ เชียงใหม่
- เจ้าไชยสุริวงศ์ ณ เชียงใหม่
- เจ้าไชยชนะ ณ เชียงใหม่
เจ้าไชยณรงค์ สมรสกับ นางอินเถา ณ เชียงใหม่ (สกุลเดิม ศิริพันธ์) บุตรีของนายอินสน ศิริพันธ์ เลขานุการส่วนตัวของเจ้าแก้วนวรัฐ มีบุตรธิดา 3 คน คนโตคือ นายจุลณรงค์ ณ เชียงใหม่ ธิดาอีก 2 คน เสียชีวิตตั้งแต่เยาว์วัย[3]
การศึกษา
แก้เจ้าไชยณรงค์ เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง จังหวัดเชียงใหม่ (ตั้งอยู่บริเวณห้วยแก้ว) ต่อมาโรงเรียนปิดกิจการลง จึงต้องเข้าไปเรียนต่อที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล กรุงเทพฯ โดยอาศัยพักกับเจ้าเทพ บูรณพิมพ์ เข้าศึกษาด้วยทุนของรัชกาลที่ 7[4] หลังจากนั้นได้สอบเข้าศึกษาวิชาแพทย์ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่เรียนได้เพียง 2 ปี จึงโอนย้ายมาเรียนวิชาวิศวกรรม[3] และได้รับเลือกตั้งเป็นนายกสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2480 และ พ.ศ. 2482[5][6] แต่ก็เรียนไม่จบ[3]
การทำงาน
แก้เจ้าไชยณรงค์ ณ เชียงใหม่ เป็นเจ้าของกิจการร้านอาหารชื่อ "ร้านไชยณรงค์" ตั้งอยู่บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งเป็นสถานที่ในการจัดประชุมจัดตั้งสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2488[6] ต่อมาได้ประกอบธุรกิจโรงแรมชื่อว่า "โรงแรมไชยณรงค์"[7]
งานการเมือง
แก้เจ้าไชยณรงค์ ณ เชียงใหม่ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ โดยไม่ได้สังกัดพรรคการเมือง แต่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับพรรคของจอมพล ป.พิบูลสงคราม (พรรคเสรีมนังคศิลา) และเป็นนักการเมืองคนสนิทของจอมพล ป. ด้วย
เจ้าไชยณรงค์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2 สมัย คือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500[8][9]
ราชตระกูล
แก้พงศาวลีของเจ้าไชยณรงค์ ณ เชียงใหม่ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ วรชาติ มีชูบท, เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ, กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, หน้า 190-192
- ↑ คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ , นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ. [1] เก็บถาวร 2021-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ 3.0 3.1 3.2 นักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า. 2551
- ↑ พ.ต.อ.เจ้าไชยสงคราม (สมพมิตร ณ เชียงใหม่) นายตำรวจมือปราบในอดีตของนครเชียงใหม่[ลิงก์เสีย]
- ↑ "รายนามนายกสโมสรนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-19. สืบค้นเมื่อ 2012-06-12.
- ↑ 6.0 6.1 สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ : ประวัติสมาคมฯ
- ↑ "ย่านถนนช้างม่อย(๓๘)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-24. สืบค้นเมื่อ 2019-04-21.
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
- ↑ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. เพ็ชร์ล้านนา. (ครั้งที่ 2) เชียงใหม่ :ผู้จัดการ ศูนย์ภาคเหนือ, 2538.
- หนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าไชยสุริวงศ์ ณ เชียงใหม่. 2547.